คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชา มั่นสกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ถอนจำนำที่ดินเมื่อผู้จำนำและผู้รับจำนำถึงแก่ความตาย และการขอเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินการ
ซ.จำนำที่ดินให้แก่ ข. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2458 กรณีต้องบังคับตามประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ. 118 เมื่อยังไม่มีการไถ่ถอนจำนำและที่ดินยังไม่หลุดเป็นสิทธิแก่ ข.เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่า ซ.ยินยอมหรือศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ดังนั้นถ้าหาก ซ.และ ข.ยังมีชีวิตอยู่ ซ.ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนจำนำได้ และ ข.ก็มีหน้าที่ให้ไถ่ถอนจำนำ แต่เมื่อ ซ.และ ข.ถึงแก่ความตายลัทธิและหน้าที่ของ ซ.และ ข.ซึ่งถือว่าเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599และ 1600 ผู้ร้องเป็นทายาท ซ.สิทธิและหน้าที่ของซ. ในการไถ่ถอนจำนำย่อมตกแก่ผู้ร้องด้วย เมื่อกองมรดกของ ข.ไม่มีทายาทกองมรดกของ ข.ย่อมตกแก่แผ่นดิน แต่แผ่นดินไม่ใช่ทายาท ของ ข.ดังนี้ ทายาทของ ซ.ผู้จำนำ จึงไม่สามารถทำการไถ่ถอนจำนำได้จนกว่าจะได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ข.ขึ้นและตราบใดที่กองมรดกของ ข.ยังไม่มีผู้จัดการมรดก ผู้จำนำก็ไม่มีทางไถ่ถอนจำนำได้เลย การที่ผู้ร้องจะไถ่ถอนจำนำ จากกองมรดกของ ข. จึงขึ้นอยู่กับการที่กองมรดกของ ข. มีผู้จัดการมรดกเสียก่อน ในกรณีนี้จึงต้องถือว่าผู้ร้องซึ่ง มีสิทธิไถ่ถอนจำนำเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องขอต่อศาล ให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของ ข. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5731/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำความผิดข่มขืน และความไม่สมบูรณ์ของคำฟ้องในคดีข่มขืนเด็ก
จำเลยพาผู้เสียหายไปให้พวกของจำเลยข่มขืนกระทำชำเรา แม้จำเลยจะคบคิดกับพวกของจำเลยมาก่อนก็ตาม แต่เป็น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนพวกของจำเลยจะข่มขืนกระทำชำเรา ผู้เสียหาย ในขณะพวกของจำเลยข่มขืนกระทำชำเราไม่ปรากฏว่า จำเลยได้กระทำการใดอันมีลักษณะเป็นตัวการร่วมกระทำความผิด ด้วย ทั้งจำเลยมิได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์และมิได้ร่วม ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็น ตัวการร่วมกระทำความผิด การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปให้ พวกของจำเลยข่มขืนกระทำชำเราโดยคบคิดกันมาก่อนนั้น เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่พวกของจำเลยข่มขืน กระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 องค์ประกอบความผิดในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคสาม จะต้องมีการร่วมกันกระทำความผิดประการหนึ่ง และการกระทำที่ร่วมกันนั้นเข้าลักษณะอันเป็นการโทรม เด็กหญิงอีกประการหนึ่ง คำฟ้องของโจทก์บรรยายเฉพาะ ส่วนที่ร่วมกันกระทำความผิดเท่านั้น ไม่ได้บรรยายยืนยันให้เห็นโดยชัดแจ้งถึงองค์ประกอบในส่วนที่สอง ข้อความที่ว่าพวกของจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่คนละ 1 ครั้ง มิใช่ข้อที่จะแสดงให้เห็นเป็นการแน่ชัดว่ามีลักษณะ เป็นการโทรมเด็กหญิง คำฟ้องของโจทก์ไม่ครบถ้วนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) จึง ไม่เป็นคำฟ้องที่จะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 86 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5651/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบทรัพย์ให้ขาย กับ ความผิดฐานยักยอก: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่ใช่ความผิดอาญา
โจทก์ร่วมได้มอบทรัพย์แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยนำไปขาย โดยจำเลยจะกำหนดราคาขายมากหรือน้อยหรือจะจัดการแก่ทรัพย์ นั้นอย่างไรก็ได้ จำเลยเพียงแต่มีหน้าที่ต้องนำเงินตามราคา ที่โจทก์ร่วมกำหนดไว้หรือนำทรัพย์สินมาคืนแก่โจทก์ร่วมเท่านั้น การที่จำเลยไม่ยอมนำทรัพย์ตามฟ้องมาคืนหรือมอบเงินแก่ โจทก์ร่วมถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาทางแพ่งต่อโจทก์ร่วม เท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินภาษีการค้า, การประเมินรายรับซับโบรกเกอร์, และเบี้ยปรับเงินเพิ่ม
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534มาตรา 38(7) ระบุว่าอธิบดีอาจมอบอำนาจให้รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนได้ โดยการมอบอำนาจตามมาตรานี้ให้ทำเป็นหนังสือ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสี่มิได้นำสืบว่า การมอบอำนาจระหว่างอธิบดีและรองอธิบดี ดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ จึงรับฟังไม่ได้ว่าได้มีการ มอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนโดยชอบ และการที่ มาตรา 32 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ระบุให้รองอธิบดีช่วยอธิบดีปฏิบัติราชการได้นั้น การที่จะช่วยปฏิบัติราชการได้จะต้องได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากอธิบดีตามมาตรา 38 ดังกล่าวเสียก่อนจึงจะช่วยปฏิบัติราชการตามมาตรา 32 ได้ การที่จำเลยทั้งสี่ไม่นำสืบถึงการมอบอำนาจระหว่าง อธิบดีกรมสรรพากรและ ป.รองอธิบดีกรมสรรพากรย่อมทำให้ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า ป.รองอธิบดีกรมสรรพากรได้รับมอบอำนาจจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ขยายเวลาการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรของโจทก์ ดังนั้นการออกหมายเรียกตรวจสอบจึงไม่ชอบ เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจตรวจสอบภาษีเงินได้นิติบุคคล ของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลภาษีอากรมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 การออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้า นั้นประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในมาตรา 87 ตรี แล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19เจ้าพนักงานประเมิน จึงมีอำนาจออกหมายเรียกตรวจสอบได้ภายใน ระยะเวลาตามมาตรา 88 ทวิ(1) คือห้าปีนับแต่วันสุดท้าย แห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือวันที่ยื่น แบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง ภาษีการค้าสำหรับเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2533ที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ ถ้าโจทก์เสียไม่ถูกต้องย่อมถือได้ว่าเป็นภาษีการค้าที่ค้างอยู่ เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินได้ตาม พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 มาตรา 21(2) การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยลูกค้าจะซื้อผ่านโจทก์ และจ่ายค่าธรรมเนียมการซื้อหรือขายอัตราร้อยละ 0.5 ให้โจทก์การที่โจทก์ดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าและลูกค้าจ่ายค่าธรรมเนียมให้โจทก์อัตราร้อยละ 0.5 ค่าธรรมเนียมอัตราร้อยละ 0.5ดังกล่าวจึงเป็นรายรับที่โจทก์รับจากลูกค้า การที่โจทก์นำไปจ่ายให้แก่โบรกเกอร์เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นซับโบรกเกอร์ปฏิบัติต่อโบรกเกอร์ตามความผูกพันระหว่างกัน โจทก์จะนำรายจ่ายดังกล่าวมาลดยอดรายรับที่โจทก์ได้รับจากลูกค้าโจทก์ในอัตราร้อยละ 0.5ให้ต่ำลงไม่ได้ ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบเป็นอย่างดีโดยงดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งสิ้นเว้นแต่เบี้ยปรับตามการประเมินภาษีการค้าจากค่าธรรมเนียมรับและดอกเบี้ยรับส่วนลดรับซึ่งโจทก์กระทำผิดพลาดโดยการเข้าใจข้อกฎหมายผิด จึงลด ให้ร้อยละ 50 นั้น ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยชอบ ด้วยเหตุผลแล้ว ส่วนเงินเพิ่มภาษีการค้านั้น ประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติให้งดหรือลดได้ ศาลจึงไม่มีอำนาจงดหรือลดให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจตรวจสอบภาษีอากรต้องทำเป็นหนังสือ และการประเมินภาษีการค้าตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 38(7) ระบุว่าอธิบดีอาจมอบอำนาจให้รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนได้ โดยการมอบอำนาจตามมาตรานี้ให้ทำเป็นหนังสือ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสี่มิได้นำสืบว่า การมอบอำนาจระหว่างอธิบดีและรองอธิบดีดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ จึงรับฟังไม่ได้ว่าได้มีการมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนโดยชอบ และการที่มาตรา 32 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ระบุให้รองอธิบดีช่วยอธิบดีปฏิบัติราชการได้นั้น การที่จะช่วยปฏิบัติราชการได้จะต้องได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากอธิบดีตามมาตรา 38 ดังกล่าวเสียก่อนจึงจะช่วยปฏิบัติราชการตามมาตรา 32 ได้
การที่จำเลยทั้งสี่ไม่นำสืบถึงการมอบอำนาจระหว่างอธิบดีกรมสรรพากรและ ป.รองอธิบดีกรมสรรพากร ย่อมทำให้ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า ป.รองอธิบดีกรมสรรพากรได้รับมอบอำนาจจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ขยายเวลา การออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรของโจทก์ ดังนั้น การออกหมายเรียกตรวจสอบจึงไม่ชอบ เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจตรวจสอบภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลภาษีอากรมีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17
การออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้านั้นป.รัษฎากรได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในมาตรา 87 ตรี แล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกตรวจสอบได้ภายในระยะเวลาตามมาตรา 88 ทวิ (1) คือห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง
ภาษีการค้าสำหรับเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2533ที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ ถ้าโจทก์เสียไม่ถูกต้องย่อมถือได้ว่าเป็นภาษีการค้าที่ค้างอยู่ เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินได้ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 มาตรา 21 (2)
การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลูกค้าจะซื้อผ่านโจทก์ และจ่ายค่าธรรมเนียมการซื้อหรือขายอัตราร้อยละ 0.5 ให้โจทก์การที่โจทก์ดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าและลูกค้าจ่ายค่าธรรมเนียมให้โจทก์อัตราร้อยละ 0.5 ค่าธรรมเนียมอัตราร้อยละ 0.5 ดังกล่าวจึงเป็นรายรับที่โจทก์รับจากลูกค้า การที่โจทก์นำไปจ่ายให้แก่โบรกเกอร์เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นซับโบรกเกอร์ปฏิบัติต่อโบรกเกอร์ตามความผูกพันระหว่างกัน โจทก์จะนำรายจ่ายดังกล่าวมาลดยอดรายรับที่โจทก์ได้รับจากลูกค้าโจทก์ในอัตราร้อยละ 0.5ให้ต่ำลงไม่ได้
ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบเป็นอย่างดีโดยงดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งสิ้น เว้นแต่เบี้ยปรับตามการประเมินภาษีการค้าจากค่าธรรมเนียมรับและดอกเบี้ยรับส่วนลดรับซึ่งโจทก์กระทำผิดพลาดโดยการเข้าใจข้อกฎหมายผิด จึงลดให้ร้อยละ 50 นั้น ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยชอบด้วยเหตุผลแล้ว ส่วนเงินเพิ่มภาษีการค้านั้น ป.รัษฎากรมิได้บัญญัติให้งดหรือลดได้ ศาลจึงไม่มีอำนาจงดหรือลดให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5524/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาในคดีที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรี: ศาลชั้นต้นอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
ป.วิ.อ.มาตรา 221 บัญญัติให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 218, 219 และ 220 เท่านั้น แต่จะอนุญาตให้ฎีกาในคดีซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 219 ตรีไม่ได้
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังจำเลยแทนโทษจำคุกและศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรี การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5524/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงที่ผิดเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 บัญญัติให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 218,219 และ 220 เท่านั้น แต่จะอนุญาตให้ฎีกาในคดีซึ่งต้องห้ามฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 219 ตรีไม่ได้ คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังจำเลยแทนโทษจำคุก และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรีการที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5003/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม การลดเบี้ยปรับตามพฤติการณ์ และการไม่ติดใจอุทธรณ์
ข้อกล่าวอ้างของโจทก์ที่ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(10) นั้น หาได้ระบุไว้ในคำอุทธรณ์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ ถือได้ว่าโจทก์ไม่ติดใจที่จะอุทธรณ์คัดค้านในประเด็นนี้แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในประเด็นที่ได้สละแล้วมาฟ้องต่อศาลได้อีก แม้จำเลยจะมิได้ให้การและอุทธรณ์ในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ จากการตรวจสอบภาษีของเจ้าหน้าที่ของจำเลยพบว่าโจทก์ได้กระทำความผิดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว2 ครั้ง จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์แต่เมื่อโจทก์เพิ่งจะกระทำความผิดในเรื่องไม่จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบเป็นครั้งแรกและโจทก์ได้จัดทำรายงานภาษีขายและภาษีซื้อสำหรับเดือนภาษีพิพาทถูกต้อง ทั้งกรณีดังกล่าวจะต้องเสียเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(10) หรือไม่ยังเป็นปัญหาซึ่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยเองก็มีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ ผู้ไม่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านภาษีอากรเยี่ยงโจทก์ย่อมยากจะเข้าใจว่าจะต้องเสียเบี้ยปรับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ประกอบกับโจทก์ก็ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีของเจ้าหน้าที่ของจำเลย เป็นอย่างดีและยินยอมเสียภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมิน ได้เรียกเก็บในชั้นแรก การที่จะให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามจำนวน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้กำหนดมา ย่อมหนักเกินไป ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้เหมาะสมตามพฤติการณ์แห่งรูปคดี โดยให้ลดเบี้ยปรับลง คงให้โจทก์เสียเพียงร้อยละ 25 ของเบี้ยปรับที่ถูกเรียกเก็บ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์คำพิพากษายกฟ้อง ทำให้ไม่สามารถฎีกาทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายได้
คดีทั้งสามสำนวนนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 ไว้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ต้องห้ามฎีกาทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
คดีทั้งสามสำนวนนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาทั้งปัญหาข้อเท็จจริง และปัญหาข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๐ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ร่วมที่ ๑ และที่ ๒ ไว้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 17