พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีแก่ทายาทผู้เสียภาษีถึงแก่กรรม และขอบเขตความรับผิดของทายาทต่อหนี้ภาษี
หลังจาก ว.ถึงแก่กรรมจำเลยที่1ซึ่งเป็นภริยาของว.ได้รับแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล จากเจ้าหน้าที่ประเมิน ถือได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้ง การประเมินไปยังจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาและทายาทของ ว. ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 18 วรรคสอง แล้ว การที่แบบแจ้งการประเมินระบุชื่อ ว. เป็นผู้รับแจ้งผลการประเมินโดยมิได้ระบุชื่อจำเลยทั้งสามคนใดคนหนึ่งลงในแบบแจ้งการประเมิน ว่าเป็นผู้รับแจ้งการประเมิน แม้จะไม่ถูกต้องแต่ก็ได้มีการแจ้ง การประเมินไปยังจำเลยที่ 1 ผู้เป็นภรรยาและทายาทของ ว. ผู้ต้องเสียภาษีซึ่งถึงแก่ความตายนั้นแล้ว จึงถือได้ว่าได้มีการแจ้ง การประเมินไปยังทายาทของ ว. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการประเมินภาษีไปยังทายาทผู้เสียภาษีถึงแก่กรรม
หลังจาก ว.ถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของ ว.ได้รับแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลจากเจ้าหน้าที่ประเมิน ถือได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาและทายาทของ ว.ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 18 วรรคสอง แล้ว การที่แบบแจ้งการประเมินระบุชื่อ ว.เป็นผู้รับแจ้งผลการประเมินโดยมิได้ระบุชื่อจำเลยทั้งสามคนใดคนหนึ่งลงในแบบแจ้งการประเมินว่าเป็นผู้รับแจ้งการประเมิน แม้จะไม่ถูกต้องแต่ก็ได้มีการแจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 ผู้เป็นภรรยาและทายาทของ ว.ผู้ต้องเสียภาษีซึ่งถึงแก่ความตายนั้นแล้ว จึงถือได้ว่าได้มีการแจ้งการประเมินไปยังทายาทของ ว.ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุด: การผิดสัญญาจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ และผลของการนัดโอนหลังผิดสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุด ระบุวันเดือนปีในการชำระเงินมัดจำไว้ 6 งวด เริ่มงวดแรกวันที่15 มีนาคม 2533 งวดสุดท้ายวันที่ 15 สิงหาคม 2533ส่วนที่เหลือ 358,800 บาท กำหนดชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์และหมายเหตุว่าโอนกันเดือนพฤศจิกายน ตามข้อสัญญาดังกล่าวได้กำหนดเวลาในการชำระหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ไว้แล้ว ผู้จะซื้อย่อมบอกเลิกสัญญาได้เลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 การที่ผู้จะซื้อปล่อยเวลาไว้นานเกือบ 5 ปี จึงบอกเลิกสัญญา และขอมัดจำคืนก็มิใช่กรณีที่คู่สัญญาผู้จะซื้อจะขายมิได้ถือเอาระยะเวลาเป็นสาระสำคัญในการชำระหนี้การเลิกสัญญาจึงมิต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้ตามมาตรา 387 การที่จำเลยผู้จะขายมีปัญหากับบริษัทท.ผู้รับจำนอง แล้วโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาไม่ได้ เป็นความผิดของจำเลยเพียงฝ่ายเดียวแม้โจทก์มิได้ดำเนินการอย่างไร จะถือว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้จำเลยไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ได้ตามกำหนดเวลาในสัญญาจึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว หนังสือนัดโอนห้องชุดที่จำเลยมีไปถึงโจทก์หลังจากจำเลย ไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามวันที่กำหนด ไว้ในสัญญา เป็นการกระทำของจำเลยหลังจากที่กำหนด เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว หนังสือที่จำเลยนัดให้โจทก์ มารับโอนห้องชุดพิพาทหลังจากจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์ แล้วย่อมไม่มีผลทำให้โจทก์กลับมาเป็นผู้ผิดสัญญาแทนจำเลยไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุดเนื่องจากผู้ขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ตามกำหนด ผู้ซื้อมีสิทธิได้รับมัดจำคืน
สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุด ระบุวันเดือนปีในการชำระเงินมัดจำไว้ 6 งวด เริ่มงวดแรกวันที่ 15 มีนาคม 2533 งวดสุดท้ายวันที่ 15สิงหาคม 2533 ส่วนที่เหลือ 358,800 บาท กำหนดชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ และหมายเหตุว่าโอนกันเดือนพฤศจิกายน ตามข้อสัญญาดังกล่าวได้กำหนดเวลาในการชำระหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ไว้แล้ว ผู้จะซื้อย่อมบอกเลิกสัญญาได้เลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 388 การที่ผู้จะซื้อปล่อยเวลาไว้นานเกือบ 5 ปี จึงบอกเลิกสัญญา และขอมัดจำคืนก็มิใช่กรณีที่คู่สัญญาผู้จะซื้อจะขายมิได้ถือเอาระยะเวลาเป็นสาระสำคัญในการชำระหนี้ การเลิกสัญญาจึงมิต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้ตาม มาตรา 387 การที่จำเลยผู้จะขายมีปัญหากับบริษัท ท.ผู้รับจำนอง แล้วโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาไม่ได้ เป็นความผิดของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว แม้โจทก์มิได้ดำเนินการอย่างไร จะถือว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้จำเลยไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ได้ตามกำหนดเวลาในสัญญา จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว
หนังสือนัดโอนห้องชุดที่จำเลยมีไปถึงโจทก์หลังจากจำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามวันที่กำหนดไว้ในสัญญา เป็นการกระทำของจำเลยหลังจากที่กำหนดเป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว หนังสือที่จำเลยนัดให้โจทก์มารับโอนห้องชุดพิพาทหลังจากจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์แล้วย่อมไม่มีผลทำให้โจทก์กลับมาเป็นผู้ผิดสัญญาแทนจำเลยไปได้
หนังสือนัดโอนห้องชุดที่จำเลยมีไปถึงโจทก์หลังจากจำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามวันที่กำหนดไว้ในสัญญา เป็นการกระทำของจำเลยหลังจากที่กำหนดเป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว หนังสือที่จำเลยนัดให้โจทก์มารับโอนห้องชุดพิพาทหลังจากจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์แล้วย่อมไม่มีผลทำให้โจทก์กลับมาเป็นผู้ผิดสัญญาแทนจำเลยไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากพยานหลักฐานที่ไม่ชัดเจนและการให้ประโยชน์แห่งความสงสัยแก่จำเลย
จากแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุและคำเบิกความผู้เสียหายที่ว่าจุดที่คนร้ายเดินตามผู้เสียหายทันเป็นบริเวณเสาไฟฟ้าที่มีหลอดไฟฟ้า แต่ตามภาพถ่ายไม่ปรากฏว่าเสาไฟฟ้าบริเวณดังกล่าวมีหลอดไฟฟ้าดังที่ผู้เสียหายเบิกความคงมีแต่ที่เสาไฟฟ้าซึ่งอยู่ห่างไกลจากที่เกิดเหตุ บริเวณที่เกิดเหตุจึงมีแสงสว่างไม่มากนักทั้งได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายเห็นหน้าคนร้ายขณะผู้เสียหายหันหน้าไปพูดคุยกับคนร้ายเพียงไม่กี่ประโยคเท่านั้นแล้วคนร้ายก็เข้าล็อกคอผู้เสียหาย ระยะเวลาที่ผู้เสียหายเห็นหน้าคนร้ายจึงน้อยมาก ยิ่งกว่านั้นในคืนเกิดเหตุผู้เสียหายได้ดูภาพถ่ายอาชญากรจากแฟ้มประวัติอาชญากรที่เจ้าพนักงานตำรวจนำไปให้ผู้เสียหายตรวจดูเพื่อหาคนร้ายที่ทำการชิงทรัพย์ของผู้เสียหาย ดังนี้หากผู้เสียหายจำหน้าคนร้ายได้ ผู้เสียหายน่าจะชี้ภาพถ่ายของจำเลยที่มีอยู่ในแฟ้มประวัติอาชญากรแก่เจ้าพนักงานตำรวจในคืนเกิดเหตุโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เสียหายเบิกความยืนยันว่า จำเลยเป็นคนร้ายชิงทรัพย์ของตนนั้นไม่ใช่เพราะจำหน้าคนร้ายได้หากแต่ผู้เสียหายเห็นว่าจำเลยไว้เล็บยาวกับผูกด้ายสีขาวที่ข้อมือเท่านั้น ส่วนที่ผู้เสียหายอ้างว่าจำลักษณะการมองและสายตาของคนร้ายได้ก็ไม่ปรากฏว่าลักษณะการมองและสายตา ของคนร้ายมีลักษณะพิเศษที่ทำให้ผู้เสียหายจำได้ ส่วนที่ ผู้เสียหายอ้างว่าจำลักษณะรูปพรรณคนร้ายได้นั้นที่ผู้เสียหายแจ้งความไว้ในคืนเกิดเหตุก็ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้แจ้งตำหนิรูปพรรณของคนร้ายไว้แต่อย่างใดโจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวคำเบิกความของผู้เสียหายจึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดโดยบันดาลโทสะ: พิจารณาจากเหตุการณ์ต่อเนื่องและโทสะของผู้กระทำ
การที่ผู้ตายเอาเบียร์จากโต๊ะของจำเลยที่ 1 ไปดื่มโดยพลการ จนผู้ตายและจำเลยที่ 1 ทะเลาะกัน เมื่อ ป.เข้าห้าม ผู้ตายก็เดินไปทางปากซอยส่วนจำเลยที่ 1กลับไปนั่งดื่มเบียร์ต่อที่โต๊ะ แต่ผู้ตายยังไม่ยอมเลิกแล้วต่อกันกลับไปท้าท้ายจำเลยที่ 1 ให้ชกต่อยกันอีกจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้มีดแทงผู้ตายในเวลาเกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกันจึงเป็นการกระทำผิดโดยบันดาลโทสะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 การกระทำผิดโดยบันดาลโทสะต้องพิจารณาว่า ขณะนั้นโทสะของผู้กระทำผิดหมดสิ้นไปแล้วหรือหาไม่ โดยพิจารณาจากพฤติการณ์อื่นประกอบ การที่จำเลยทั้งสองบันดาลโทสะจึงวิ่งไล่แทงผู้ตาย และจำเลยที่ 2 แทงผู้ตายได้ในที่สุดเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกันย่อมแสดงว่าขณะผู้ตายหนีต่อไปไม่ได้และใช้โต๊ะขึ้นกันนั้นโทสะของจำเลยทั้งสองยังไม่หมดสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง: แม้ไม่ลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ ยังริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 32
ของกลางวัตถุออกฤทธิ์ที่ศาลจะสั่งริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 116 ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ได้นั้น ต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89 แต่คดีนี้ศาลพิพากษายกฟ้อง จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข ตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ แต่เมื่อการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเป็นความผิด ซึ่งตาม ป.อ.มาตรา 32 ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลาง ตาม ป.อ.มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมาย และอำนาจริบตามประมวลกฎหมายอาญา แม้ไม่มีโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์
ของกลางวัตถุออกฤทธิ์ที่ศาลจะสั่งริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 116 ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ได้นั้นต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89 แต่คดีนี้ศาลพิพากษายกฟ้อง จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข ตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ แต่เมื่อการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเป็นความผิดซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีภาษีขาดและเงินเพิ่ม การชำระภาษีเกินกำหนด และการนำรายรับไปยื่นเสียภาษีการค้า
ตามคำโต้แย้งหลายประการในคำอุทธรณ์ ของโจทก์ โจทก์ได้โต้แย้งว่า การประเมินของ เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้อง โจทก์ ยินดีที่จะให้ปรับปรุงภาษีให้ถูกต้องและจะเสียเงิน เฉพาะส่วนที่เพิ่มจากผลต่างระหว่างภาษีการค้าและ ภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมทั้งเงินเพิ่มจนถึงวันที่โจทก์ได้ชำระเงิน เท่านั้นมิใช่จนถึงวันที่ถูกประเมิน ส่วนยอดภาษีบางยอด โจทก์ก็ยืนยันว่านำส่งถูกต้องแล้วเพียงแต่ล่าช้าไปเท่านั้น เมื่อโจทก์ได้รับการประเมินจากเจ้าพนักงานของ จำเลยที่ 1 ปรากฏว่ายอดเงินที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้ โจทก์ชำระไม่เป็นไปตามที่โจทก์อุทธรณ์จึงเห็นได้ว่าข้อโต้แย้ง ของโจทก์ได้ถูกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นคณะกรรมการ อุทธรณ์วินิจฉัยแตกต่างจากการอุทธรณ์ของโจทก์ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ เกี่ยวกับการประเมินและโจทก์ได้อุทธรณ์โต้แย้ง การประเมินไว้แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ กรณีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 21 นั้น เป็นเรื่องที่ผู้ต้องเสียภาษีไม่ปฏิบัติตามมาตรา 19 โดยไม่ยอมมาให้ไต่สวนหรือไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงหรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้มาให้ไต่สวนและส่งบัญชีเอกสารหรือหลักฐานมาแสดงเกือบครบถ้วนแล้ว การที่ศาลภาษีอากรรับฟังเอกสารใบแจ้งหนี้และใบลดหนี้ที่โจทก์นำส่งภายหลัง การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินและหลังจาก การพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว จึงมิได้ ขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 21 ดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30)พ.ศ. 2534 มาตรา 24 การขายสินค้าที่มีการขายเสร็จเด็ดขาดหรือการให้บริการที่สิ้นสุดลงก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 แม้จะมีการชำระค่าตอบแทนหลังวันที่ 1 มกราคม 2535 โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มย่อมมีสิทธินำรายรับ ซึ่งเป็นค่าตอบแทนไปยื่นเสียภาษีการค้าได้ ดังนั้น การที่โจทก์นำรายรับดังกล่าวไปยื่นเสียภาษี การค้าไว้จึงชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ส่วนกรณี ที่สัญญาคาบเกี่ยวถึงปี 2535 นั้น เมื่อปรากฏว่า การให้บริการ แต่ละครั้งมีการรับค่าตอบแทนจากการให้บริการแยกได้ ชัดเจน จึงถือได้ว่าการให้บริการแต่ละครั้งสิ้นสุดในวันนั้น มิใช่ถือวันสิ้นสุดสัญญาเป็นหลัก ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 วรรคสาม การคำนวณ เงินเพิ่มกรณีไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนจะต้องเริ่มนับแต่เมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือยื่นแบบนำส่งภาษีจนถึงวันชำระภาษีหรือนำส่งภาษี ดังนั้น การที่โจทก์ชำระภาษีในเดือนที่เหลื่อมไปจึงต้องคำนวณเงินเพิ่มจนถึงวันที่โจทก์ชำระภาษีนั้นมิใช่คำนวณถึงวันที่มีการประเมินภาษี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี การอุทธรณ์ และการคำนวณเงินเพิ่ม กรณีภาษีการค้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามคำโต้แย้งหลายประการในคำอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ได้โต้แย้งว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้อง โจทก์ยินดีที่จะให้ปรับปรุงภาษีให้ถูกต้องและจะเสียเงินเฉพาะส่วนที่เพิ่มจากผลต่างระหว่างภาษีการค้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมทั้งเงินเพิ่มจนถึงวันที่โจทก์ได้ชำระเงินเท่านั้นมิใช่จนถึงวันที่ถูกประเมิน ส่วนยอดภาษีบางยอดโจทก์ก็ยืนยันว่านำส่งถูกต้องแล้วเพียงแต่ล่าช้าไปเท่านั้น เมื่อโจทก์ได้รับการประเมินจากเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1ปรากฏว่ายอดเงินที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ชำระไม่เป็นไปตามที่โจทก์อุทธรณ์จึงเห็นได้ว่าข้อโต้แย้งของโจทก์ได้ถูกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นคณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยแตกต่างจากการอุทธรณ์ของโจทก์ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิเกี่ยวกับการประเมินและโจทก์ได้อุทธรณ์โต้แย้งการประเมินไว้แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
กรณีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา21 นั้น เป็นเรื่องที่ผู้ต้องเสียภาษีไม่ปฏิบัติตามมาตรา 19 โดยไม่ยอมมาให้ไต่สวนหรือไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดง หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้มาให้ไต่สวนและส่งบัญชีเอกสารหรือหลักฐานมาแสดงเกือบครบถ้วนแล้ว การที่ศาลภาษีอากรรับฟังเอกสารใบแจ้งหนี้และใบลดหนี้ที่โจทก์นำส่งภายหลังการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินและหลังจากการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว จึงมิได้ขัดต่อ ป.รัษฎากร มาตรา 21 ดังกล่าว
ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534มาตรา 24 การขายสินค้าที่มีการขายเสร็จเด็ดขาดหรือการให้บริการที่สิ้นสุดลงก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 แม้จะมีการชำระค่าตอบแทนหลังวันที่ 1 มกราคม 2535โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มย่อมมีสิทธินำรายรับซึ่งเป็นค่าตอบแทนไปยื่นเสียภาษีการค้าได้ ดังนั้น การที่โจทก์นำรายรับดังกล่าวไปยื่นเสียภาษีการค้าไว้จึงชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ส่วนกรณีที่สัญญาคาบเกี่ยวถึงปี 2535 นั้นเมื่อปรากฏว่า การให้บริการแต่ละครั้งมีการรับค่าตอบแทนจากการให้บริการแยกได้ชัดเจน จึงถือได้ว่าการให้บริการแต่ละครั้งสิ้นสุดในวันนั้น มิใช่ถือวันสิ้นสุดสัญญาเป็นหลัก
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89/1 วรรคสาม การคำนวณเงินเพิ่มกรณีไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนจะต้องเริ่มนับแต่เมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือยื่นแบบนำส่งภาษีจนถึงวันชำระภาษีหรือนำส่งภาษีดังนั้น การที่โจทก์ชำระภาษีในเดือนที่เหลื่อมไป จึงต้องคำนวณเงินเพิ่มจนถึงวันที่โจทก์ชำระภาษีนั้น มิใช่คำนวณถึงวันที่มีการประเมินภาษี
กรณีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา21 นั้น เป็นเรื่องที่ผู้ต้องเสียภาษีไม่ปฏิบัติตามมาตรา 19 โดยไม่ยอมมาให้ไต่สวนหรือไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดง หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้มาให้ไต่สวนและส่งบัญชีเอกสารหรือหลักฐานมาแสดงเกือบครบถ้วนแล้ว การที่ศาลภาษีอากรรับฟังเอกสารใบแจ้งหนี้และใบลดหนี้ที่โจทก์นำส่งภายหลังการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินและหลังจากการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว จึงมิได้ขัดต่อ ป.รัษฎากร มาตรา 21 ดังกล่าว
ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534มาตรา 24 การขายสินค้าที่มีการขายเสร็จเด็ดขาดหรือการให้บริการที่สิ้นสุดลงก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 แม้จะมีการชำระค่าตอบแทนหลังวันที่ 1 มกราคม 2535โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มย่อมมีสิทธินำรายรับซึ่งเป็นค่าตอบแทนไปยื่นเสียภาษีการค้าได้ ดังนั้น การที่โจทก์นำรายรับดังกล่าวไปยื่นเสียภาษีการค้าไว้จึงชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ส่วนกรณีที่สัญญาคาบเกี่ยวถึงปี 2535 นั้นเมื่อปรากฏว่า การให้บริการแต่ละครั้งมีการรับค่าตอบแทนจากการให้บริการแยกได้ชัดเจน จึงถือได้ว่าการให้บริการแต่ละครั้งสิ้นสุดในวันนั้น มิใช่ถือวันสิ้นสุดสัญญาเป็นหลัก
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89/1 วรรคสาม การคำนวณเงินเพิ่มกรณีไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนจะต้องเริ่มนับแต่เมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือยื่นแบบนำส่งภาษีจนถึงวันชำระภาษีหรือนำส่งภาษีดังนั้น การที่โจทก์ชำระภาษีในเดือนที่เหลื่อมไป จึงต้องคำนวณเงินเพิ่มจนถึงวันที่โจทก์ชำระภาษีนั้น มิใช่คำนวณถึงวันที่มีการประเมินภาษี