คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชา มั่นสกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิขายทรัพย์สินของทายาทโดยไม่ได้รับความยินยอม ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. จำเลยที่ 1 ก็เพียงแต่มีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกของ ช. แทนทายาททุกคนและมีหน้าที่ต้องแบ่งปันที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคน จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่บุคคลใดโดยทายาทผู้ได้รับทรัพย์มรดกไม่ยินยอม แม้จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่โจทก์ทั้งห้ามาฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทคืน จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 กรณีไม่ใช่เรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เพราะการที่จะเป็นเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลได้นั้น จำเลยที่ 1 ผู้โอนจะต้องมีสิทธิโอนอยู่แล้ว แต่การโอนทำให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16000/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์และการใช้บัตรปลอม ศาลฎีกาวินิจฉัยกรรมเดียวผิดหลายบทและยืนโทษเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ จำคุก 2 ปี ฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ จำคุก 2 ปี และฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอม จำคุก 3 ปี แต่ความผิดฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอม ศาลชั้นต้นปรับบทว่าเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269/5 ซึ่งไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ปรับบทว่าเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269/4 วรรคแรก ให้ถูกต้องเท่านั้น ส่วนโทษคงพิพากษาจำคุก 3 ปี เช่นเดิมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7883/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพนันฟุตบอล: โจทก์บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน แม้ไม่ได้ระบุมาตรา 4 ทวิ ในคำขอท้ายฟ้อง
แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุในใบคำขอท้ายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 4 ทวิ มาด้วย แต่โจทก์ก็ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยทั้งสองบังอาจลักลอบเล่นการพนันทายผลฟุตบอล อันเป็นการพนันนอกเหนือจากที่ได้กล่าวไว้ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 ทั้งนี้มิใช่การพนันที่ระบุชื่อไว้ในกฎกระทรวงและไม่อนุญาตให้เล่น ได้เล่นพนันทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยทั้งสองเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นทายผลการแข่งขันฟุตบอลต่างประเทศหลายทีมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย อันเป็นการบรรยายความผิดของจำเลยทั้งสองครบองค์ประกอบของมาตรา 4 ทวิแล้ว ศาลลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตราดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5860/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลเยาวชนและครอบครัวเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งอบรมเยาวชน ไม่ถือเป็นการลงโทษตาม ป.อ. และจำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริง
การที่ศาลชั้นต้นอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 9 ปี เป็นส่งจำเลยที่ 2 ไปฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 5 ปี นับแต่วันพิพากษา เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นอันเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 18 และต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 และมาตรา 124

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.เช็ค: โจทก์ไม่ต้องบรรยายรายละเอียดหนี้ในฟ้อง เพียงแสดงว่ามีหนี้จริงและบังคับได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นผู้ออกเช็คมีความผิด" ตามบทบัญญัติดังกล่าวการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้น จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายด้วยอันเป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิด การที่โจทก์บรรยายฟ้องมีสาระสำคัญว่าจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครั้นเช็คถึงกำหนดโจทก์นำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน การกระทำของจำเลยเป็นการออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค จึงเป็นที่เห็นได้ว่าคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงแล้วว่าจำเลยออกเช็คเพียงชำระหนี้อันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 และได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยครบถ้วนเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยเป็นหนี้อะไรนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนการสมรส: เฉพาะคู่สมรสที่ถูกข่มขู่เท่านั้นที่มีสิทธิ
ป.พ.พ. มาตรา 1508 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะคู่สมรสสำคัญผิดตัว หรือถูกฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ เฉพาะแต่คู่สมรสที่สำคัญผิดตัว หรือถูกฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่เท่านั้นขอเพิกถอนการสมรสได้ โจทก์ทั้งเจ็ดเป็นเพียงหลานของผู้ตายแม้จะมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย แต่มิใช่ผู้ถูกข่มขู่ จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสระหว่างผู้ตายกับจำเลยที่อ้างว่าเกิดจากการข่มขู่ของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าต้องมีเหตุตามกฎหมาย การแยกกันอยู่ต้องเกิดจากฝ่ายที่ถูกละทิ้งเป็นผู้ต้องการ
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุเหตุหย่าเพียงการละทิ้งร้างกันเกินกว่าหนึ่งปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) ไม่ได้ระบุถึงการสมัครใจแยกกันอยู่เพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปีตามมาตรา 1516 (4/2) และแม้ว่าคำฟ้องโจทก์แนบบันทึกตกลงแยกทางกันด้วยว่า "ศ. (จำเลย) มีความประสงค์ขอแยกทางกันอยู่กับ ว. (โจทก์) และ ว. ก็ยินยอม" ไว้ท้ายคำฟ้องก็ตาม แต่เหตุหย่าตาม 1516 (4/2) นั้น ไม่ได้มีเพียงระยะเวลาที่แยกกันอยู่เกินสามปีเท่านั้น ยังต้องมีองค์ประกอบอื่นอีกคือ ต้องเป็นเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาด้วย ซึ่งโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงองค์ประกอบดังกล่าวไว้ ฟ้องของโจทก์ในประเด็นนี้จึงไม่ชอบ ไม่ถือว่าคำฟ้องโจทก์มีเหตุหย่าตามบทบัญญัติในมาตรา 1516 (4/2) กรณีสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปีด้วย
ตามบันทึกตกลงแยกทางกันนั้นได้บันทึกถึงเหตุที่โจทก์และจำเลยต้องทำบันทึกดังกล่าว และภายหลังทำบันทึกตกลง จำเลยไม่เคยพูดเรื่องขอจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ แต่จำเลยเคยพูดกับโจทก์ให้กลับมาอยู่กับจำเลยและบุตรอีก การบันทึกข้อความเรื่องแยกกันอยู่ดังกล่าวจึงเป็นความประสงค์อันเป็นเจตนาของโจทก์แต่ฝ่ายเดียว การที่จำเลยยอมลงลายมือชื่อในบันทึกตกลงเชื่อว่าเพราะเกรงว่าจะไม่ได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับความจริงในข้อนี้ ก็ยิ่งย้ำให้เห็นชัดแจ้งว่ามีสาระเพื่อได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง กรณีจึงไม่ใช่กล่าวอ้างขึ้นมาลอยๆ การพิจารณาข้อความในบันทึกตกลงในเรื่องแยกกันอยู่จึงพิจารณาเฉพาะข้อความในเอกสารโดยไม่พิจารณาถึงเจตนาของจำเลยย่อมไม่ชอบ ทั้งโจทก์ก็รับว่าโจทก์เป็นผู้ออกจากบ้านพักของจำเลยไปเอง กรณีจึงถือว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยฝ่ายเดียว จำเลยหาได้สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น จำเลยจึงไม่ได้ละทิ้งร้างโจทก์เกินกว่าหนึ่งปี อันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้ตามมาตรา 1516 (4) ซึ่งการไม่ให้โจทก์หย่าขาดจากจำเลยนี้ก็ไม่ได้ขัดแย้งกับข้อยุติเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดู กรณีจึงไม่มีเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (4)
สิทธิในการได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นสิทธิเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลที่จะได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุหย่าทางแพ่ง: การแยกกันอยู่, การละทิ้งร้าง, และการพิจารณาค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) โดยอ้างว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไปเกินหนึ่งปีไม่ได้ระบุถึงการสมัครใจแยกกันอยู่เพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมา แม้โจทก์จะอ้างข้อตกลงแยกทางตามเอกสารท้ายคำฟ้องก็ตาม แต่เหตุหย่าตาม มาตรา 1516 (4/2) นั้น ไม่ได้มีเพียงระยะเวลาที่แยกกันอยู่เกินสามปีเท่านั้น ยังต้องมีองค์ประกอบอื่นอีก คือต้องเป็นเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมา ซึ่งโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงองค์ประกอบดังกล่าวไว้ ฟ้องของโจทก์ในประเด็นนี้จึงไม่ชอบ ถือว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่มีเหตุหย่าตามบทบัญญัติในมาตรา 1516 (4/2)
โจทก์ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้ออกจากบ้านพักของจำเลยไปเอง กรณีจึงถือว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยฝ่ายเดียว จำเลยหาได้สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์แต่อย่างใดไม่ จำเลยจึงไม่ได้ละทิ้งร้างโจทก์เกินกว่าหนึ่งปี อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4)
??
??
??
??
1/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6036/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสร้างถนนก่อนเช่าที่ดิน ไม่เป็นละเมิด แต่เป็นการรอนสิทธิสัญญาเช่า
จำเลยสร้างถนนพิพาทบนที่ดินตามฟ้องขึ้นมาก่อนที่โจทก์จะเช่าที่ดินนั้นจากโจทก์ร่วมการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ แต่เป็นการรอนสิทธิของโจทก์ที่โจทก์มีต่อโจทก์ร่วมตามสัญญาเช่า โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตามฟ้องจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8923/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) และการคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
การใช้อำนาจประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานประเมิน การที่เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยใช้อำนาจตามมาตรา 71(1) ประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เป็นการปฏิบัติไปตามมาตรา 71(1)จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้โจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิก็ตาม
บทบัญญัติประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสามระบุให้คำนวณเงินเพิ่มโดยเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยคิดเงินเพิ่มจากโจทก์นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลรัษฎากรและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 69 แล้ว
of 17