คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชา มั่นสกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4553/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแลกเปลี่ยนที่ดินถือเป็นการขาย ต้องเสียภาษีเงินได้ตามราคาตลาด เงินเพิ่มตามกฎหมายมิใช่เบี้ยปรับ ลดไม่ได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 39 บัญญัติคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึง ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินกับผู้อื่นก็มีผลเท่ากับโจทก์ขายที่ดินนั่นเอง จึงต้องถือราคาขายที่ดินเป็นเงินได้ของโจทก์ มิใช่ถือเอาเฉพาะเงินบริจาคบำรุงมูลนิธิโจทก์ที่โจทก์ได้รับมาเป็นรายได้ ที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดราคาขายตามราคาตลาดในวันที่ดินโอนที่ดินโดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) จึงชอบแล้ว
เงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากรเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายมิได้เกิดจากข้อสัญญาที่ลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ จึงมิใช่เบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ศาลจะใช้ดุลพินิจลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับโทษทางศุลกากร: การตีความบทบัญญัติโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร และการไม่ใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 37 ตรีซึ่งห้ามมิให้เรือที่อยู่ในเขตต่อเนื่องขนถ่ายสิ่งของใด ๆ โดยไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และความผิดตามมาตรา 27 ทวิ ซึ่งห้ามผู้ใดช่วยซ่อนเร้นช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใด ๆ ซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามหรือข้อจำกัดนั้น บทบัญญัติทั้งสองได้ระบุเน้นชัดไว้แล้วว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมอากรเข้าด้วย และปรับสองเท่าของราคาของ ตามลำดับ ดังนั้น หากศาลจะปรับจำเลยแต่ละคน คนละสี่เท่าและสองเท่า ก็จะเป็นการปรับเกินกว่าโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้และมาตรา 120 แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากรฯ ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า เมื่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับกฎหมายอื่นให้ยกเอาพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดังนี้ จึงจะนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31 ซึ่งบัญญัติให้ศาลลงโทษปรับผู้กระทำผิดหลายคนในความผิดเดียวกัน ในกรณีเดียวกันเรียงตามตัวบุคคลมาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: การปรับเกินโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ และการยกเว้นการใช้มาตรา 31 ป.อ.
ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในหมวดเดียวกับมาตรา 27 ทวิ และมาตรา 37 ตรี ซึ่งเป็นหมวดต่อเนื่องกัน ได้บัญญัติเกี่ยวกับโทษว่า "สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ" ส่วนมาตรา 37 ตรี บัญญัติเกี่ยวกับโทษไว้ว่า "ถ้านายเรือหรือบุคคลใดฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับเป็นเงินสองเท่าของราคาของหรือปรับเป็นเงินห้าหมื่นบาท แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า หรือทั้งจำทั้งปรับ" และมาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้ "ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ? หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามหรือข้อจำกัด มีความผิดต้องระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ" ตามบทบัญญัติดังกล่าวกฎหมายระบุเน้นชัดไว้แล้วว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วย และปรับสองเท่าของราคาของ ตามมาตรา 27 ทวิ และ 37 ตรีตามลำดับ หากศาลจะปรับจำเลยแต่ละคน คนละสี่เท่า และสองเท่า ตามกฎหมายดังกล่าวก็จะเป็นการปรับเกินกว่าโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และมาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า เมื่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับกฎหมายอื่น ให้ยกเอาพระราชบัญญัตินี้ขึ้นบังคับ จึงนำบทบัญญัติมาตรา 31 แห่ง ป.อ. ที่ให้ศาลปรับเรียงตามรายตัวบุคคลมาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม การรับสารภาพ และดุลพินิจศาลในการลดโทษคดีเกี่ยวกับยาเสพติดในเรือนจำ
ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะสอบคำให้การได้อ่านอธิบายฟ้องให้จำเลยเข้าใจข้อหาดีแล้ว จำเลยจึงได้ให้การรับสารภาพและลงลายมือชื่อไว้โดยโจทก์บรรยายฟ้องโดยชัดเจนในข้อ ก. ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตเป็นจำนวนเท่าใด และมีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาสถานที่กระทำผิด และในคำฟ้องข้อ ข. บรรยายว่า จำเลยได้นำยาเสพติดให้โทษอันเป็นของต้องห้ามเข้าไปในเรือนจำจังหวัดสมุทรปราการ จึงเป็นการบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ พอสมควรเท่าที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
สิ่งของต้องห้ามที่จำเลยนำเข้าไปในเรือนจำจังหวัดสมุทรปราการเป็นยาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นภัยต่อสังคมโดยรวมและกระทำในขณะต้องขังคดีอื่น แสดงว่าจำเลยไม่มีสำนึกและความรับผิดชอบทั้งไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง การที่จำเลยมีบิดามารดาที่ชราแล้ว มีบุตรที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูและไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนนั้น ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลล่างที่ไม่ลดโทษและรอการลงโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม จำเลยเข้าใจข้อหาหลังศาลอ่านอธิบายแล้ว การรับสารภาพใช้ได้
โจทก์บรรยายฟ้องโดยชัดเจนในข้อ ก. ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต เป็นจำนวนเท่าใด และมีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่กระทำความผิด และในคำฟ้องข้อ ข. บรรยายว่าจำเลยได้นำ ยาเสพติดให้โทษดังกล่าวอันเป็นของต้องห้ามเข้าไปในเรือนจำ คำฟ้องของโจทก์บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ พอสมควรเท่าที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ก่อนที่ศาลจะสอบคำให้การ ศาลได้อ่านอธิบายฟ้อง ให้จำเลยเข้าใจข้อหาดีแล้ว จำเลยจึงได้ให้การรับสารภาพและลงลายมือชื่อไว้ คดีไม่มีเหตุที่จะต้องสืบพยานดังที่จำเลย อ้างว่าไม่เข้าใจคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดของจำเลยแต่ละคนในคดีปล้นทรัพย์ และเหตุในลักษณะคดี
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดจะเป็นเหตุในลักษณะคดีหรือไม่ต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป ข้อเท็จจริงใดที่รับฟังต้องฟังถึงจำเลยคนอื่นเช่นเดียวกัน ย่อมเป็นเหตุในลักษณะคดีเมื่อคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6แยกกันเป็นคนละส่วนและมีข้อที่แตกต่างกันรวมทั้งพยานอื่นที่เกี่ยวข้องกับจำเลยด้วย พยานหลักฐานที่จะใช้วินิจฉัยความผิดของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์จึงแตกต่างไปจากจำเลยที่ 6มิใช่พยานชุดเดียวกันทั้งหมด จึงไม่เป็นเหตุในลักษณะคดีศาลอุทธรณ์พิพากษาให้มีผลยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 6ที่มิได้อุทธรณ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดของจำเลยแต่ละคนในคดีปล้นทรัพย์ ต้องอาศัยพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน และไม่ถือเป็นเหตุในลักษณะคดีหากพยานไม่เชื่อมโยง
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดจะเป็นเหตุในลักษณะคดีหรือไม่ ต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป ข้อเท็จจริงใดที่รับฟังต้องฟังถึงจำเลยคนอื่นเช่นเดียวกัน ย่อมเป็นเหตุในลักษณะคดี สำหรับคดีนี้พยานหลักฐานที่ใช้วินิจฉัยจำเลยที่ 5 แตกต่างจากจำเลยที่ 6 คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสองแยกกันเป็นคนละส่วนและมีข้อที่แตกต่างกัน รวมทั้งพยานอื่นที่เกี่ยวข้องกับจำเลยทั้งสองด้วย ดังนั้น พยานหลักฐานที่จะใช้วินิจฉัยความผิดของจำเลยที่ 5 จึงแตกต่างไปจากจำเลยที่ 6 มิใช่พยานชุดเดียวกันทั้งหมด จึงไม่เป็นเหตุในลักษณะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุในลักษณะคดี: พยานหลักฐานจำเลยแต่ละคนแตกต่างกัน ไม่เชื่อมโยงกัน จึงไม่เป็นเหตุในลักษณะคดี
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดจะเป็นเหตุในลักษณะคดีหรือไม่ ต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป ข้อเท็จจริงใดที่รับฟังต้องฟังถึงจำเลยคนอื่นเช่นเดียวกัน ย่อมเป็นเหตุในลักษณะคดี สำหรับคดีนี้พยานหลักฐานที่ใช้วินิจฉัยจำเลยที่ 5 แตกต่างจากจำเลยที่ 6 คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสองแยกกันเป็นคนละส่วนและมีข้อที่แตกต่างกัน รวมทั้งพยานอื่นที่เกี่ยวข้องกับจำเลยทั้งสองด้วย ดังนั้น พยานหลักฐานที่จะใช้วินิจฉัยความผิดของจำเลยที่ 5 จึงแตกต่างไปจากจำเลยที่ 6 มิใช่พยานชุดเดียวกันทั้งหมด จึงไม่เป็นเหตุในลักษณะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องรับของโจรต้องเกิดหลังการลักทรัพย์ หากฟ้องก่อนเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบ
คำฟ้องข้อ 1.6 เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ โจทก์บรรยายว่าเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2542 เวลากลางวัน คนร้ายได้บังอาจลักทรัพย์ของผู้เสียหายไป แต่ในคำฟ้องข้อ 2.3 เกี่ยวกับความผิดฐานรับของโจรกลับบรรยายว่า เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2542 จำเลยทั้งสองได้บังอาจร่วมกันรับของโจรทรัพย์ตามข้อ 1.6 ที่มีคนร้ายลักไป แต่ความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดที่ต้องเกิดขึ้นหลังจากมีการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์เกิดขึ้นแล้ว เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำความผิดฐานรับของโจรก่อนย่อมเป็นคำฟ้องที่ขัดต่อสภาพและลักษณะของการกระทำความผิด จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานรับของโจรได้ และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 213

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คฉบับใหม่แทนเช็คที่หาย: 'เนื้อความเดียวกัน' หมายถึง สาระสำคัญใช้บังคับได้ ไม่ใช่ข้อความเหมือนเดิมทุกประการ
คำว่า "เนื้อความเดียวกัน" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1011 มิได้หมายความว่าจะต้องมีข้อความเหมือนเดิมทุกประการมิฉะนั้น วรรคสองของมาตราเดียวกันนี้คงไม่บัญญัติว่า หากผู้สั่งจ่ายรับคำขอร้องดั่งว่ามานั้นแล้ว หากบอกปัดไม่ยอมให้ตั๋วเงินคู่ฉบับเช่นนั้นอาจจะถูกบังคับให้ออกให้ก็ได้ ซึ่งการบังคับดังกล่าว เป็นกรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล หากจะต้องลงวัน เดือน ปี เหมือนเดิมทุกประการตั๋วเงินอาจขาดอายุความหรือไม่สามารถบังคับด้วยเหตุอื่น กฎหมายมิได้มีเจตนารมณ์เช่นนั้น คำว่าเนื้อความเดียวกัน จึงมีความหมายแต่เพียงว่า จะต้องมีสาระสำคัญใช้บังคับได้เช่นตั๋วเงินฉบับเดิม
of 17