พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2265/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ตาม น.ส.3ก. และการสันนิษฐานถึงสิทธิครอบครองของผู้มีชื่อในเอกสาร
จำเลยเป็นผู้มีชื่อในที่ดินตาม น.ส.3 ก. ที่โจทก์นำยึดซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 สันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้ร้องเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่แตกต่างไปจากหลักฐานที่ปรากฏตาม น.ส.3 ก. ซึ่งเป็นเอกสารมหาชนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง จึงเป็นกรณีที่มีพยานหลักฐาน เบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้อง ไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า จึงเป็นการสมควร และเหมาะสมที่จะให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2120/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่ลดหรือเสื่อมความสะดวก แม้มีการติดตั้งสิ่งปลูกสร้างและจอดรถบนทางเดิน
จำเลยจดทะเบียนยอมให้ที่ดินของจำเลยบางส่วน อยู่ในบังคับทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยให้ใช้เป็น ทางเข้าออก ต่อมาจำเลยติดตั้งป้ายโฆษณาใกล้บริเวณทางเข้าออกและปลูกต้นอโศก อินเดียตามแนวยาวของทางภารจำยอม ประมาณ 13 เมตร แต่ต้นอโศก อินเดียเป็นต้นไม้ที่ขึ้นสูงในแนวตรง มีกิ่งและใบลู่ ลงตามลำต้น แม้จะมีบางส่วนล้ำเข้ามาในทางภารจำยอม บ้างก็ไม่เป็นที่กีดขวางทางเข้าออกแต่อย่างใด ส่วนป้ายโฆษณาที่ จำเลยได้ติดตั้งขนานไปกับทางภารจำยอมนั้นก็อยู่ในแนว ใกล้เคียงกับป้ายโฆษณาของโจทก์ แต่อยู่ในระดับที่สูงกว่า ไม่กีดขวางรถยนต์ที่แล่นเข้าหรือออกจากทางภารจำยอม การติดตั้งป้ายโฆษณาและปลูกต้นอโศก อินเดียจึงไม่ทำให้ประโยชน์ในการใช้ทางภารจำยอมของโจทก์ลดลงหรือเสื่อมความสะดวกไป แม้รถยนต์ที่จอดอยู่ใต้ชายคาอาคารของจำเลยซึ่งอาจล้ำเข้ามา บนทางภารจำยอมบ้าง แต่รถยนต์ก็ยังสามารถแล่นเข้าออก สวนทางกันได้ และจำเลยยังจัดให้มียามรักษาการณ์เพื่อดูแล การจอดรถยนต์บนทางภารจำยอมมิให้กีดขวางหรือเป็นอุปสรรค ในการเข้าออกของรถยนต์ ซึ่งโจทก์ยังสามารถขับรถยนต์แล่น เข้าออกบนทางภารจำยอมได้ตามปกติ การกระทำของจำเลย จึงยังไม่ทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดหรือเสื่อมความสะดวก แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2120/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: การติดตั้งสิ่งปลูกสร้างและจอดรถไม่ทำให้ประโยชน์ใช้สอยทางภาระจำยอมลดลงหรือเสื่อมความสะดวก
++ เรื่อง ภาระจำยอม
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 60 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 60 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ผู้รับประกันภัยมีสิทธิฟ้องตามเจ้าของรถจริงหรือไม่
ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ ส. ถึงแก่ความตายและความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ พ.เจ้าของรถยนต์ไม่ใช่ผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ ส. ถึงแก่ความตาย และข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย พ. เจ้าของรถยนต์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาและถือไม่ได้ว่า พนักงานอัยการฟ้องคดีแทน พ.แม้พ. จะเป็นโจทก์ ฟ้องคดีเองก็ไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองต้องใช้อายุความ 1 ปี เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์จาก พ.ได้ซ่อมรถยนต์ให้พ. ผู้เอาประกันภัยแล้วจึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่ พ. มีอยู่ในมูลหนี้ต่อ จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 226 วรรคหนึ่ง เมื่อสิทธิของ พ.ที่จะฟ้องคดีนี้มีกำหนดอายุความ 1 ปี โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิ ของ พ.จึงย่อมมีอายุความ 1 ปีเช่นกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองมีความหมายว่าในกรณีเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด และการกระทำละเมิดนั้นเป็นความผิดอาญาด้วยดังนั้น ผู้ที่ถูกกระทำละเมิดที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ผู้รับประกันภัยซ่อมรถแล้วฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย ต้องใช้อายุความ 1 ปี
ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลย ในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 56,152 เจ้าของรถยนต์ที่จำเลยขับชนได้รับ ความเสียหายย่อมมิใช่ผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ส่วนข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56,152 รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาดังกล่าว และถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนเจ้าของรถยนต์ ดังนี้ การที่เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ย่อมมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง ต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง โจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์จากพ.เจ้าของรถยนต์ที่ถูกจำเลยขับชนได้ซ่อมรถยนต์ให้พ.ผู้เอาประกันภัยแล้วจึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่พ.มีอยู่ในมูลหนี้ต่อจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 226 วรรคหนึ่ง เมื่อสิทธิของพ.ที่จะฟ้องคดีนี้มีกำหนดอายุความ 1 ปี โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของพ.จึงย่อมมีอายุความ 1 ปี เช่นเดียวกัน ดังนี้ แม้โจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยเมื่อพนักงานอัยการฟ้องจำเลยต่อศาลในคดีอาญาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2535แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536 จึงล่วงพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองในกรณีเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด การกระทำละเมิดนั้นต้องเป็นความผิดอาญาด้วย ฉะนั้น ผู้ที่ถูกกระทำละเมิดที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)ในความผิดอาญาที่ผู้กระทำละเมิดได้กระทำต่อผู้ถูกกระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิดจากการกระทำโดยประมาท: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา และอายุความ 1 ปี
ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลย ในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56, 152 เจ้าของรถยนต์ที่จำเลยขับชนได้รับความเสียหายย่อมมิใช่ผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ส่วนข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 56, 152 รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาดังกล่าว และถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนเจ้าของรถยนต์ดังนี้ การที่เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ย่อมมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ต้องใช้อายุความ1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
โจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์จาก พ.เจ้าของรถยนต์ที่ถูกจำเลยขับชนได้ซ่อมรถยนต์ให้ พ.ผู้เอาประกันภัยแล้ว จึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่พ.มีอยู่ในมูลหนี้ต่อจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 226วรรคหนึ่ง เมื่อสิทธิของ พ.ที่จะฟ้องคดีนี้มีกำหนดอายุความ 1 ปี โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของ พ.จึงย่อมมีอายุความ 1 ปี เช่นเดียวกัน ดังนี้ แม้โจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยเมื่อพนักงานอัยการฟ้องจำเลยต่อศาลในคดีอาญาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2535 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536จึงล่วงพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ในกรณีเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด การกระทำละเมิดนั้นต้องเป็นความผิดอาญาด้วย ฉะนั้น ผู้ที่ถูกระทำละเมิดที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องเป็นผู้เสียหายตามป.วิ.อ.มาตรา 2 (4) ในความผิดอาญาที่ผู้กระทำละเมิดได้กระทำต่อผู้ถูกกระทำละเมิด
โจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์จาก พ.เจ้าของรถยนต์ที่ถูกจำเลยขับชนได้ซ่อมรถยนต์ให้ พ.ผู้เอาประกันภัยแล้ว จึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่พ.มีอยู่ในมูลหนี้ต่อจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 226วรรคหนึ่ง เมื่อสิทธิของ พ.ที่จะฟ้องคดีนี้มีกำหนดอายุความ 1 ปี โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของ พ.จึงย่อมมีอายุความ 1 ปี เช่นเดียวกัน ดังนี้ แม้โจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยเมื่อพนักงานอัยการฟ้องจำเลยต่อศาลในคดีอาญาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2535 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536จึงล่วงพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ในกรณีเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด การกระทำละเมิดนั้นต้องเป็นความผิดอาญาด้วย ฉะนั้น ผู้ที่ถูกระทำละเมิดที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องเป็นผู้เสียหายตามป.วิ.อ.มาตรา 2 (4) ในความผิดอาญาที่ผู้กระทำละเมิดได้กระทำต่อผู้ถูกกระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีภาษีอากรเริ่มต้นเมื่อผู้มีอำนาจของนิติบุคคลทราบการตายของผู้เสียภาษี
กองกฎหมายและคดีได้ทำบันทึกให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับทราบถึงการตายของ ย.เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2541 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงลายมือชื่อรับทราบการตายของ ย. ในวันนั้นโดยจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นถือได้ว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพิ่งทราบการตายของ ย. ในวันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 เมษายน2541 จึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้รู้ถึงความตายของ ย. ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกรุงเทพมหานคร การนับอายุความจึงต้อง เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึง การตายของ ย. มิใช่นับแต่วันที่สำนักงานเขตบางกอกน้อย รับแจ้งการตายของ ย.แม้สำนักงานเขตดังกล่าวเป็นหน่วยงานของโจทก์ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุความคดี การตายของบุคคล และฐานะโจทก์เป็นนิติบุคคล
กองกฎหมายและคดีได้ทำบันทึกให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรับทราบถึงการตายของ ย. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2541 และ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงลายมือชื่อรับทราบการตายของ ย.ในวันนั้นโดยจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่น ถือได้ว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพิ่งทราบการตายของ ย.ในวันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2541 จึงยังไม่พ้นกำหนด1 ปี นับแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รู้ถึงความตายของ ย. ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร การนับอายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึงการตายของ ย.มิใช่นับแต่วันที่สำนักงานเขตบางกอกน้อยรับแจ้งการตายของ ย. แม้สำนักงานเขตดังกล่าวเป็นหน่วยงานของโจทก์ก็ตาม
โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร การนับอายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึงการตายของ ย.มิใช่นับแต่วันที่สำนักงานเขตบางกอกน้อยรับแจ้งการตายของ ย. แม้สำนักงานเขตดังกล่าวเป็นหน่วยงานของโจทก์ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกอสังหาริมทรัพย์: การเริ่มต้นการกระทำความผิดและการถือครองต่อเนื่อง
จำเลยให้คนงานเข้าพักอาศัยในห้องพิพาทของโจทก์ร่วมโดยทำการรื้อฝาผนังห้องออกแล้วก่ออิฐบล็อกแทน กับทำพื้นห้องพิพาทใหม่นั้น เป็นการเข้าครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม เมื่อฟ้องระบุว่าจำเลยบุกรุกเข้าไประหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2533ถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน แต่ทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบไม่ได้ว่าจำเลยเริ่มบุกรุกเข้าไปในห้องพิพาทของโจทก์ร่วมในเวลากลางวันหรือกลางคืน จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่า จำเลยบุกรุกเข้าถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วมในเวลากลางวัน ความผิดฐานบุกรุกเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยเข้าถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม การที่จำเลยครอบครองห้องพิพาทต่อมาเป็นผลของการบุกรุก ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่จำเลยยังถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 ไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 365(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกอสังหาริมทรัพย์: การพิจารณาเวลาเริ่มต้นการกระทำผิดและลักษณะความผิดต่อเนื่อง
++ เรื่อง บุกรุก ++
++ (ประชุมใหญ่)
++ จำเลยให้คนงานเข้าพักอาศัยในห้องพิพาทของโจทก์ร่วม โดยทำการรื้อฝาผนังห้องออกแล้วก่ออิฐบล็อกแทนกับทำพื้นห้องพิพาทใหม่ เป็นการเข้าครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม เมื่อฟ้องระบุว่าจำเลยบุกรุกเข้าไประหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน แต่ทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบไม่ได้ว่าจำเลยเริ่มบุกรุกเข้าไปในห้องพิพาทของโจทก์ร่วมในเวลากลางวันหรือกลางคืน จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าจำเลยบุกรุกเข้าถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วมในเวลากลางวัน การที่จำเลยครอบครองห้องพิพาทต่อมาเป็นผลของการบุกรุก ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่จำเลยยังถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 ไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 365(3) ++
++ (ประชุมใหญ่)
++ จำเลยให้คนงานเข้าพักอาศัยในห้องพิพาทของโจทก์ร่วม โดยทำการรื้อฝาผนังห้องออกแล้วก่ออิฐบล็อกแทนกับทำพื้นห้องพิพาทใหม่ เป็นการเข้าครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม เมื่อฟ้องระบุว่าจำเลยบุกรุกเข้าไประหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน แต่ทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบไม่ได้ว่าจำเลยเริ่มบุกรุกเข้าไปในห้องพิพาทของโจทก์ร่วมในเวลากลางวันหรือกลางคืน จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าจำเลยบุกรุกเข้าถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วมในเวลากลางวัน การที่จำเลยครอบครองห้องพิพาทต่อมาเป็นผลของการบุกรุก ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่จำเลยยังถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 ไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 365(3) ++