พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1439/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ห้องชุดเป็นสำนักงาน: การยินยอมโดยปริยายและข้อยกเว้นข้อบังคับอาคารชุด
ข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดของโจทก์ ข้อ 7 ระบุว่า"การใช้ทรัพย์ส่วนบุคคลเจ้าของห้องชุดมีสิทธิที่จะใช้ห้องชุดและทรัพย์ส่วนบุคคลของตนได้ ภายใต้ระเบียบข้อบังคับ สำหรับการพักอาศัยเท่านั้น และจะไม่ใช้ห้องชุด ไปประกอบกิจการอื่นใดที่จะเป็นการน่ารังเกียจรบกวนต่อ บุคคลอื่นหรือเป็นการเสียหายต่อนิติบุคคลอาคารชุดเว้นแต่ว่าห้องชุดดังกล่าวทางนิติบุคคลอาคารชุดได้จัดหาไว้เป็นพิเศษเพื่อใช้ประกอบกิจการอื่นได้ ทั้งนี้ การประกอบกิจการจะต้องได้รับอนุญาตจากทางนิติบุคคลอาคารชุด และไม่เป็นที่น่ารังเกียจ รบกวนต่อผู้อื่น หรือเป็นการเสียหาย ต่อนิติบุคคลอาคารชุด" การที่บริษัทจำเลยนำถังแกลลอนแบบใส่น้ำมันเครื่องยนต์ ซึ่งบรรจุสินค้าของจำเลยโดยที่ฝาของถังแกลลอนมีซีลกระดาษตะกั่วปิดอยู่ และสินค้าของจำเลย ไม่มีกลิ่นเคมีภัณฑ์ นอกจากนั้นถังแกลลอนที่บรรจุสินค้าของจำเลยก็มีขนาดกะทัด รัดไม่กินเนื้อที่มาก ประกอบกับการขนถ่ายสินค้าของจำเลยโดยใช้รถยนต์บรรทุกขนาดเล็กก็ไม่เป็นที่รบกวนและกีดขวางเจ้าของร่วมคนอื่น ทั้งห้องชุดพิพาทมีห้องของโจทก์ จำเลย และบุคคลอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ที่ชั้น 3 เท่านั้น ดังนั้น ถ้าโจทก์อ้างว่า การขนถ่ายสินค้าของจำเลยเป็นการรบกวนต่อผู้อื่นแล้ว ก็น่าที่จะนำผู้ที่พักอาศัยในห้องชุดชั้นที่ 3 มาเบิกความ สนับสนุนคำกล่าวอ้างด้วย แต่โจทก์หาได้นำมาไม่ พยานหลักฐาน ของโจทก์จึงขาดน้ำหนัก ไม่อาจรับฟังได้ว่าการขนถ่ายสินค้า ของจำเลยเป็นการรบกวนผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและการลดเบี้ยปรับตามคำสั่งกรมสรรพากร โดยคำนึงถึงวันหยุดราชการ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.37/2534 เรื่อง ระเบียบการงด หรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.45/2536 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2536 ข้อ 2 ที่ให้เจ้าพนักงานประเมิน มีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ โดยให้ลดลงคงเสียตาม อัตราและเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้ชำระภาษีตามที่กำหนดในข้อ 2(ก)(ข)และ(ค) นั้น ระยะเวลาดังกล่าวตามระเบียบนั้นมิได้มีบทบัญญัติ ว่าด้วยการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ จึงต้องนับระยะเวลา ไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/1 เมื่อวันสุดท้ายของระยะเวลาที่กำหนดเป็นวันหยุดราชการ จึงต้องนับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลาตามมาตรา 193/8 ดังนั้นเมื่อโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนกรกฎาคม 2539 ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2539 ตามมาตรา 83 วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากร ในวันที่ 16 กันยายน 2539 เพราะวันที่ 14 และ 15 กันยายน 2539 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ จึงถือว่าโจทก์ยื่นแบบ แสดงรายการภายใน 30 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวให้ลดเบี้ยปรับลง คงเสียร้อยละ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับ กรณีวันสุดท้ายเป็นวันหยุดราชการ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.37/2534 เรื่อง ระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา91/21 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.45/2536 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2536 ข้อ 2 ที่ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ชำระภาษีตามที่กำหนดในข้อ 2(ก) (ข) และ (ค) นั้น ระยะเวลาดังกล่าวตามระเบียบนั้นมิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ จึงต้องนับระยะเวลาไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/1 เมื่อวันสุดท้ายของระยะเวลาที่กำหนดเป็นวันหยุดราชการ จึงต้องนับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลาตามมาตรา 193/8 ดังนั้น เมื่อเมื่อโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนกรกฎาคม 2539 ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 สิงหาคม2539 ตามมาตรา 83 วรรคสองแห่ง ป.รัษฎากร ในวันที่ 16 กันยายน 2539เพราะวันที่ 14 และ 15 กันยายน 2539 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ จึงถือว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภายใน 30 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวให้ลดเบี้ยปรับลง คงเสียร้อยละ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1186/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา พยานจำได้จากเหตุการณ์กลางวัน ชี้ตัวผู้ต้องหาได้
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวันพยานโจทก์และโจทก์ร่วม ทั้งสามมีโอกาสได้เห็นหน้าจำเลยในลักษณะเต็มใบหน้าในท่าตรง ในระยะใกล้เป็นเวลานานพอสมควร เมื่อเจ้าพนักงาน ตำรวจจับกุมจำเลยได้ พยานโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสาม ก็สามารถชี้ตัวจำเลยได้ถูกต้องโดยระบุว่าจำเลยไม่ใช่ คนร้ายที่ใช้มีดแทงผู้ตาย แต่เป็นคนนั่งซ้อนท้าย รถจักรยานยนต์ไปกับคนร้ายที่ใช้มีดแทงผู้ตาย พยานโจทก์ และโจทก์ร่วมทั้งสามเบิกความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน ประกอบ กับพยานโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสามไม่มีสาเหตุโกรธเคือง กับจำเลยจึงไม่มีเหตุที่พยานโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสามจะ แกล้งเบิกความปรักปรำจำเลยให้ต้องรับโทษคำเบิกความ ของพยานโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสามจึงมีน้ำหนักฟังได้ จำเลยนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไปกับคนร้ายอีก 2 คนและหลังจากคนร้ายที่นั่งซ้อนท้าย รถจักรยานยนต์เป็นคนที่สองใช้มีดแทงผู้ตายแล้ว จำเลยนั่งซ้อนท้าย รถจักรยานยนต์หลบหนีไปกับคนร้าย 2 คนนั้นด้วย แสดงให้เห็นว่าจำเลยร่วมรู้เห็นกับคนร้ายในการไปฆ่าผู้ตาย เพราะตามปกติ วิสัยคนร้ายที่จะไปกระทำความผิดจะไม่นำบุคคล ที่ไม่ได้เป็นพวกเดียวกันไปด้วยเพื่อให้รู้เห็นการกระทำ ความผิดของตน และการที่คนร้ายใช้มีดแทงผู้ตายก็อยู่ ในความรู้เห็นของจำเลย แต่จำเลยก็ยังนั่งซ้อนท้าย รถจักรยานยนต์คนร้ายหลบหนีไปด้วยกัน ถือได้ว่าจำเลยได้ร่วม คบคิดกับคนร้ายอีก 2 คน ไปฆ่าผู้ตายมาตั้งแต่ต้น จำเลยจึงมี ความผิดฐานร่วมกับพวกฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกทำร้ายร่างกายในบ้านพักอาศัย ศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นกรรมเดียวและแก้ไขโทษ
การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปทำร้าย อ. ผู้เสียหายที่ 2ถึงในบ้านซึ่งเป็นที่พักอาศัยของ น. ผู้เสียหายที่ 1และผู้เสียหายที่ 2 ในเวลากลางคืน นับว่าเป็นการกระทำผิดอย่างอุกอาจ ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย ทั้งจำเลยยังเลือกทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 ที่ใบหน้าอันเป็นอวัยวะสำคัญการกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดร้ายแรงไม่สมควรรอการลงโทษ การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายทั้งสองแล้ว ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายทั้งสองเพราะมีเจตนา จะกระทำการอย่างอื่น จึงต้องถือว่าจำเลยเข้าไปในบ้านของ ผู้เสียหายโดยมีเจตนาอันแท้จริงเพื่อทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหายที่ 2 เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แม้ปัญหา ดังกล่าวจะไม่มีคู่ความใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง,215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินจากการกระทำผิด: ศาลริบเงินจากการจำหน่ายยาเสพติด แม้ไม่ใช่ของกลางในคดีปัจจุบัน
เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสองได้พร้อมกับยึดได้เงินสดของกลาง จากจำเลยที่ 1 และในชั้นจับกุม จำเลยที่ 1 รับว่าเงินสดของกลางจำเลยที่ 1 ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนก่อนที่ถูกจับในคดีนี้ เงินสดของกลางจึงเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มาโดยการกระทำความผิดเพราะการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้จะไม่ได้มาโดยการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้โดยตรงก็ตาม ศาลก็มีอำนาจริบเงินสดของกลางดังกล่าวได้ตาม ป.อ.มาตรา 33 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินสดที่ได้จากการจำหน่ายยาเสพติด แม้ไม่ใช่ของกลางในคดีปัจจุบัน
เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสองได้พร้อมกับยึดได้เงินสด ของกลาง จากจำเลยที่ 1 และในชั้นจับกุม จำเลยที่ 1 รับว่า เงินสดของกลางจำเลยที่ 1 ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ก่อนที่ถูกจับในคดีนี้ เงินสดของกลางจึงเป็นทรัพย์สิน ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มาโดยการกระทำความผิดเพราะการจำหน่าย เมทแอมเฟตามีนอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้จะไม่ได้มา โดยการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้โดยตรงก็ตามศาลก็มีอำนาจริบเงินสดของกลางดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันกระทำผิดยาเสพติด: จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดฐานร่วมกระทำความผิด และการริบเงินจากการจำหน่ายยาเสพติด
เจ้าพนักงานตำรวจแอบดูเห็นจำเลยที่ 1 ยืนพูดโทรศัพท์ จำเลยที่ 2 ยืนอยู่กลางห้อง เจ้าพนักงานตำรวจเคาะประตู ให้เปิดประตู จำเลยที่ 2 ตะโกนบอกจำเลยที่ 1 ว่า "ตำรวจมา" แล้วจำเลยที่ 1 หยิบถุงพลาสติกเข้าไปในห้องน้ำและ ทิ้งถุงพลาสติก 11 ถุงที่ภายในบรรจุเมทแอมเฟตามีนลงในโถส้วม ขณะนั้นจำเลยที่ 2 เดินเข้าไปในห้องนอนไม่ได้เข้าไปมีส่วน ช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ในการซุกซ่อนหรือทำลายเมทแอมเฟตามีน หรือช่วยปกปิดการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 การที่ จำเลยที่ 2 ตะโกนว่า "ตำรวจมา" ไม่ได้หมายความว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิด เพราะเป็นการ ตะโกนบอกไปตามความเป็นจริง และไม่พบสิ่งผิดกฎหมายใด ๆจากจำเลยที่ 2 ทั้งจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธตลอดมา จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยพร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีนและเงินสดจำนวน 3,500 บาท จำเลยรับว่าได้เงินดังกล่าวมาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนก่อนที่ถูกจับในคดีนี้เงินสดดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยการกระทำความผิดกฎหมายแม้จะไม่ได้มาโดยการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ในคดีนี้โดยตรงก็ตาม ศาลก็มีอำนาจริบเงินสดดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดเรื่องยาเสพติด: การมียาเสพติดเกิน 20 กรัม ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 เป็น ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดของกฎหมายที่ให้ถือว่าถ้ามียาเสพติด ให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้บัญญัติว่าถ้ามีไว้ในครอบครองไม่ถึง 20 กรัม แม้จะจำหน่าย ก็จะฟังว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ และการนับระยะเวลาฟ้องคดีภาษีอากร
การส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ กระทำได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 8 วรรคแรก และจะถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใดต้องนำไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทมาใช้บังคับ ไปรษณียนิเทศดังกล่าวข้อ 572 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์ อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้" ข้อ 573 กำหนดว่า"ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับ การสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ มาตรา 573.4 ผู้ทำหน้าที่เวรรับส่งหรือเวรรักษาการณ์ของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น บริษัท กรม กอง สำนักงาน โรงเรียน หน่วยทหารเป็นต้น"และข้อ 575 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ ผู้แทนของผู้รับ ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลา ที่นำจ่าย" ดังนั้น แม้ส. จะไม่ได้เป็นพนักงานของโจทก์และไม่มีหน้าที่รับจดหมายหรือเอกสารแทนโจทก์ แต่ส. ได้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สำนักงานของโจทก์ในวันหยุดทำงาน จึงเป็นการทำหน้าที่เป็นเวรรักษาการณ์ของสำนักงานโจทก์นั่นเอง เมื่อส.ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จากพนักงานการสื่อสารแห่งประเทศไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2540 ย่อมถือได้ว่าส.เป็นผู้แทนโจทก์และหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับคือโจทก์ตั้งแต่ วันดังกล่าว ตามไปรษณียนิเทศ ข้อ 573.4 และ ข้อ 575 ดังกล่าวข้างต้น มาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ มิใช่นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2540 แม้โจทก์จะทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ในวันที่ 29 ธันวาคม 2540 โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ต่อศาลหรือ ฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว ภายในวันที่ 26 มกราคม 2541 หากมีพฤติการณ์พิเศษเป็นเหตุ ให้โจทก์ไม่สามารถอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาต่อศาลก่อนระยะเวลา ดังกล่าวสิ้นสุดลง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบมาตรา 17แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฟ้องตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฟ้องคดีของโจทก์ลงวันที่ 28 มกราคม 2541 ซึ่งเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโดยสำคัญผิดว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2540จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฟ้องคดีต่อศาลหลังจากสิ้นระยะเวลาตามกฎหมาย แล้ว โดยมิได้มีเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดโจทก์จึงไม่อาจอาศัย คำสั่งอนุญาตดังกล่าวมาฟ้องคดีนี้ได้