คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ม. 27

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า 'MANDARIN' ศาลฎีกาตัดสินให้โรงแรมแมนดารินฮ่องกงมีสิทธิเหนือกว่า เนื่องจากใช้ก่อนและมีชื่อเสียง
โรงแรมแมนดารินที่เมืองฮ่องกงของจำเลยเป็นโรงแรมใหญ่ เริ่มเปิดดำเนินกิจการตั้งแต่ปี 2506 ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงเพิ่มขึ้น จนปี 2510 ได้รับการยกย่องว่าเป็นโรงแรมที่ดีที่สุดอันดับหนึ่งของโลก ส่วนโจทก์นั้นเดิมชื่อบริษัทควีนส์โฮเต็ล จำกัด ประกอบกิจการโรงแรมใช้ชื่อว่า ควีนส์โฮเต็ล ในกรุงเทพมหานคร ในปี 2508 พ. กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์เคยเดินทางไปเมืองฮ่องกงทุกปี ปีละหลายครั้ง ย่อมต้องรู้จักโรงแรมแมนดารินของเมืองฮ่องกง พ. ประกอบกิจการโรงแรม ย่อมต้องศึกษาและมีความสนใจในกิจการของโรงแรมต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปเพื่อนำมาใช้กับโรงแรมของตนโรงแรมควีนส์โฮเต็ล ของโจทก์เปิดดำเนินงานได้เพียง 2 ปี ก็เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นแมนดาริน และเปลี่ยนชื่อโรงแรมเป็นแมนดารินกรุงเทพในปี2510ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่โรงแรมแมนดารินที่เมืองฮ่องกงของจำเลยกำลังมีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าเป็นโรงแรมที่ดีที่สุด ไม่ปรากฏว่าเหตุใดโจทก์จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่าบริษัทแมนดารินโฮเต็ล จำกัด การตั้งชื่อสถานประกอบกิจการเป็นเรื่องสำคัญมีผลต่อการประกอบกิจการเป็นอย่างมาก ที่โจทก์อ้างว่าเหตุที่โจทก์เปลี่ยนชื่อจากควีนส์โฮเต็ล มาเป็นโรงแรมแมนดาริน เพราะผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นคนมีเชื้อสายจีนและเพื่อให้รู้สึกว่าเป็นการบริการของจีนนั้น นับว่ามีเหตุผลน้อย ไม่น่าเชื่อถือเพราะผู้ถือหุ้นของโจทก์ในตอนเริ่มก่อตั้งบริษัทและโรงแรม กับตอนเปลี่ยนชื่อส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ถือหุ้นชุดเดียวกัน น่าเชื่อว่าการเปลี่ยนชื่อบริษัทและโรงแรมของโจทก์ให้เหมือนกับชื่อโรงแรมแมนดารินที่เมืองฮ่องกงของจำเลยก็เพื่อต้องการให้กิจการโรงแรมของโจทก์มีผู้ใช้บริการมากขึ้น กิจการเจริญขึ้น จึงรับฟังไม่ได้ว่า โจทก์ใช้ชื่อและเครื่องหมายบริการคำว่า MANDARIN โดยสุจริต จำเลยจึงมีสิทธิในชื่อและเครื่องหมายบริการคำว่า MANDARIN ดีกว่าโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความแตกต่างของลักษณะเครื่องหมายและการเรียกขานทางการค้าเพื่อวินิจฉัยการละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ใช้ปิดกับกระป๋องนมมีลักษณะประกอบกัน3ประการคือแม่หมีอุ้มลูกอักษรโรมันคำว่า"BEARBRAND"และอักษรไทยคำว่า"ตราหมี"ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1มีลักษณะประกอบกัน5ประการคือลูกหมีขวดนมถ้วยอักษรโรมันคำว่า"SIMILAC"และอักษรไทยคำว่า"ซิมิแลค"เครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายที่มีลักษณะเดียวกันมีเพียงรูปหมีลำพังแต่รูปหมีทั่วๆไปโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะสงวนไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของตนแต่ผู้เดียวสำหรับรูปหมีของจำเลยที่1เป็นรูปตุ๊กตาหมีตัวเดียวรูปขวดนมสูงใหญ่และรูปถ้วยใหญ่ประกอบกับชื่อสินค้าเป็นอักษรโรมันและอักษรไทยตัวใหญ่แสดงว่าไม่ได้เน้นที่รูปตุ๊กตาหมีเป็นสาระสำคัญซึ่งแตกต่างกับรูปหมีของโจทก์เป็นรูปแม่หมีอุ้มลูกหมีประกอบกับชื่อสินค้าทั้งอักษรโรมันและอักษรไทยเรียกตราหมีส่วนที่เรียกทางการค้าซึ่งของโจทก์เรียกขานว่าตราหมีของจำเลยที่1เรียกขานว่าซิมิแลคเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1จึงมีลักษณะไม่เหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันจะทำให้สาธารณชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า: ความแตกต่างของภาพรวมสำคัญกว่าองค์ประกอบย่อยที่คล้ายคลึงกัน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ใช้ปิดกับกระป๋องนม มีลักษณะประกอบกัน 3 ประการ คือแม่หมีอุ้มลูก อักษรโรมันคำว่า "BEAR BRAND" และอักษรไทยคำว่า "ตราหมี" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีลักษณะประกอบกัน 5 ประการ คือลูกหมี ขวดนม ถ้วย อักษรโรมันคำว่า "SIMILAC"และอักษรไทยคำว่า "ซิมิแลค" เครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายที่มีลักษณะเดียวกันมีเพียงรูปหมี ลำพังแต่รูปหมีทั่ว ๆ ไป โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะสงวนไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของตนแต่ผู้เดียว สำหรับรูปหมีของจำเลยที่ 1 เป็นรูปตุ๊กตาหมีตัวเดียว รูปขวดนมสูงใหญ่ และรูปถ้วยใหญ่ประกอบกับชื่อสินค้าเป็นอักษรโรมัน และอักษรไทยตัวใหญ่ แสดงว่าไม่ได้เน้นที่รูปตุ๊กตาหมีเป็นสาระสำคัญซึ่งแตกต่างกับรูปหมีของโจทก์เป็นรูปแม่หมีอุ้มลูกหมีประกอบกับชื่อสินค้าทั้งอักษร-โรมันและอักษรไทย เรียกตราหมี ส่วนที่เรียกทางการค้าซึ่งของโจทก์เรียกขานว่าตราหมีของจำเลยที่ 1 เรียกขานว่าซิมิแลค เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1จึงมีลักษณะไม่เหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันจะทำให้สาธารณชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์
of 3