พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโนตารีปับลิกรับรองนิติบุคคล: หนังสือมอบอำนาจเป็นหลักฐานสำคัญยืนยันสถานะ
อำนาจของโนตารีปับลิกมิใช่เพียงแต่การรับรองลายมือชื่อของผู้ทำเอกสารว่าได้มีการลงลายมือชื่อต่อหน้าตนเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงอำนาจที่จะรับรองการกระทำคือหนังสือมอบอำนาจด้วย เมื่อข้อเท็จจริงในหนังสือมอบอำนาจมีข้อความชัดแจ้งว่าโจทก์เป็นบริษัทจำกัด จึงต้องฟังไปตามนั้น หาจำเป็นจะต้องมีหนังสือจากนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมาแสดงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึงกันของเครื่องหมาย, อายุความ, และสิทธิในเครื่องหมายการค้า
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุถึงการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและได้มอบอำนาจให้ ร.หรือ ธ. ฟ้องคดีโดยมีเลขานุการสถานทูตไทยรับรองว่า ได้เห็นเอกสารการมอบอำนาจนั้น แม้เลขานุการสถานทูตไทยจะมิได้รับรองว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลมีอำนาจแท้จริงเมื่อจำเลยไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้านก็รับฟังว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องได้ การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 41(1) จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ ในการโฆษณาตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "HansGrohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์กับตัวอักษรโรมันว่า "HanGroh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพาทเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้า, ความเหมือน/คล้ายคลึง, อายุความ, และการใช้ก่อน
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุถึงการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและได้มอบอำนาจให้ ร.หรือ ธ. ฟ้องคดี โดยมีเลขานุการสถานทูตไทยรับรองว่าได้เห็นเอกสารการมอบอำนาจนั้น แม้เลขานุการสถานทูตไทยจะมิได้รับรองว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลมีอำนาจแท้จริง เมื่อจำเลยไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้าน ก็รับฟังว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องได้
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยย่อมเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนการค้านั้น
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ เวลาใช้ในการโฆษณา ตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "Hans Grohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์ เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์ตัวอักษรโรมันว่า "Han Groh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศ ไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยย่อมเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนการค้านั้น
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ เวลาใช้ในการโฆษณา ตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "Hans Grohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์ เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์ตัวอักษรโรมันว่า "Han Groh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศ ไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้าเดิมย่อมเหนือกว่าการจดทะเบียนภายหลัง แม้มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุถึงการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน และได้มอบอำนาจให้ ร.หรือ ธ. ฟ้องคดี โดยมีเลขานุการสถานทูตไทยรับรองว่าได้เห็นเอกสารการมอบอำนาจนั้น แม้เลขานุการสถานทูตไทยจะมิได้รับรองว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลมีอำนาจแท้จริง เมื่อจำเลยไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้าน ก็รับฟังว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องได้ การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยย่อมเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 41(1) ซึ่งมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนการค้านั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ เวลาใช้ในการโฆษณา ตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "HansGrohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์ เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์ตัวอักษรโรมันว่า "HanGroh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศ ไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดี: ตราประทับบริษัทใช้ได้แม้ขนาดเล็กกว่าที่จดทะเบียน หากเป็นตราที่ใช้ในกิจการทั่วไป
ตราสำคัญของบริษัทโจทก์ที่ประทับในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับตราสำคัญซึ่งได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แม้จะมีขนาดเล็กกว่าแต่ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้ และเป็นตราที่โจทก์ใช้ในกิจการทั่ว ๆ ไปเป็นประจำทั้งกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ยืนยันว่าเป็นผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์เมื่อลงลายมือชื่อตามอำนาจกรรมการที่สำนักงานทะเบียนระบุ แม้กรรมการบางคนไม่ได้ลงชื่อ
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า บริษัทโจทก์โดย ว. และ ณ.กรรมการเป็นผู้มอบอำนาจให้ฟ้อง แต่ ตอนท้ายของหนังสือมอบอำนาจกลับปรากฏว่า ว. ร่วมกับ อ. กรรมการอีกคนหนึ่งของโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ฟ้อง เมื่อตาม หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครระบุว่า กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนโจทก์คือ ว. ลงลายมือชื่อร่วมกับ ก.หรือคนใดคนหนึ่งในสองคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการอีกคนหนึ่งและต้อง ประทับตราสำคัญของโจทก์ ดังนั้นการที่ ว. ลงลายมือชื่อร่วมกับ อ. กรรมการอีกคนหนึ่งของโจทก์และประทับตราสำคัญของโจทก์ จึงถือได้ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์สมบูรณ์แล้วแม้ ณ. จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดี: ความสมบูรณ์ของหนังสือมอบอำนาจและการลงลายมือชื่อของกรรมการบริษัท
หนังสือมอบอำนาจระบุว่าบริษัทโจทก์โดย ว. และ ณ.กรรมการเป็นผู้มอบอำนาจให้ฟ้อง แต่ตอนท้ายของหนังสือมอบอำนาจกลับปรากฏว่า ว.ร่วมกับอ. กรรมการอีกคนหนึ่งของโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ฟ้อง เมื่อตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครระบุว่า กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนโจทก์คือ ว. ลงลายมือชื่อร่วมกับ ก.หรือคนใดคนหนึ่งในสองคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการอีกคนหนึ่งและต้องประทับตราสำคัญของโจทก์ ดังนั้นการที่ ว. ลงลายมือชื่อร่วมกับ อ. กรรมการอีกคนหนึ่งของโจทก์และประทับตราสำคัญของโจทก์จึงถือได้ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์สมบูรณ์แล้ว แม้ ณ.จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินค่าหุ้นของสมาชิกสหกรณ์โดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้ข้อบังคับสหกรณ์จะระบุเป็นทุน แต่สมาชิกยังมีสิทธิเรียกร้องคืนได้
ม. และ อ. ร่วมกันลงชื่อท้ายคำร้องในฐานะผู้แทนของผู้ร้องและร่วมกันลงชื่อแต่งตั้งให้ ส. เป็นทนายความมีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาและดำเนินกระบวนพิจารณาต่างๆ แทนผู้ร้องด้วยแม้ว่า ม. จะลงชื่อในฐานะผู้เรียงและพิมพ์คำร้องแต่ผู้เดียวเมื่อ ส. ยื่นฎีกาแทนผู้ร้องจึงถือว่าเป็นฎีกาของผู้ร้องหาใช่เป็นฎีกาของ ม. เป็นการส่วนตัวไม่
เงินค่าหุ้นแม้จะเป็นทุนสำรองของผู้ร้อง แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังมีสิทธิเรียกเอาคืนได้เพราะจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระเงินค่าหุ้นดังกล่าว ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของผู้ร้องมิใช่กฎหมาย เป็นระเบียบภายในที่ใช้บังคับระหว่างผู้ร้องกับสมาชิก ไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา การอายัดเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 2จึงชอบแล้ว.
เงินค่าหุ้นแม้จะเป็นทุนสำรองของผู้ร้อง แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังมีสิทธิเรียกเอาคืนได้เพราะจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระเงินค่าหุ้นดังกล่าว ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของผู้ร้องมิใช่กฎหมาย เป็นระเบียบภายในที่ใช้บังคับระหว่างผู้ร้องกับสมาชิก ไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา การอายัดเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 2จึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินค่าหุ้นของสมาชิกสหกรณ์โดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา: สิทธิของสมาชิก vs. สิทธิของเจ้าหนี้
ม. และ อ. ร่วมกันลงชื่อท้ายคำร้องในฐานะผู้แทนของผู้ร้องและร่วมกันลงชื่อแต่งตั้งให้ ส. เป็นทนายความมีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาและดำเนินกระบวนพิจารณาต่าง ๆ แทนผู้ร้องด้วยแม้ว่า ม. จะลงชื่อในฐานะผู้เรียงและพิมพ์คำร้องแต่ผู้เดียวเมื่อ ส. ยื่นฎีกาแทนผู้ร้องจึงถือว่าเป็นฎีกาของผู้ร้องหาใช่เป็นฎีกาของ ม. เป็นการส่วนตัวไม่
เงินค่าหุ้นแม้จะเป็นทุนสำรองของผู้ร้อง แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังมีสิทธิเรียกเอาคืนได้เพราะจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระเงินค่าหุ้นดังกล่าว ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของผู้ร้องมิใช่กฎหมาย เป็นระเบียบภายในที่ใช้บังคับระหว่างผู้ร้องกับสมาชิก ไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา การอายัดเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้ว
เงินค่าหุ้นแม้จะเป็นทุนสำรองของผู้ร้อง แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังมีสิทธิเรียกเอาคืนได้เพราะจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระเงินค่าหุ้นดังกล่าว ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของผู้ร้องมิใช่กฎหมาย เป็นระเบียบภายในที่ใช้บังคับระหว่างผู้ร้องกับสมาชิก ไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา การอายัดเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ติดอากรแสตมป์ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จะชำระหลังฟ้อง
โจทก์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจซึ่งไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ แม้โจทก์จะได้เสียค่าอากรแสตมป์สำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวครบถ้วนในระหว่างอุทธรณ์ก็ตามแต่ในขณะฟ้องหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวก็ยังรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เท่ากับผู้ฟ้องคดีมิได้รับมอบอำนาจจากโจทกื ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การไม่ปิดอากรแสตมป์นี้แม้จำเลยจะไม่ตั้งประเด็นขึ้นมาแต่แรก จำเลยก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
การไม่ปิดอากรแสตมป์นี้แม้จำเลยจะไม่ตั้งประเด็นขึ้นมาแต่แรก จำเลยก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน.