คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่ติดอากรแสตมป์ ไม่มีผลทางกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจซึ่งไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ แม้โจทก์จะได้เสียค่าอากรแสตมป์สำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวครบถ้วนในระหว่างอุทธรณ์ก็ตาม แต่ในขณะฟ้องหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวก็ยังรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เท่ากับผู้ฟ้องคดีมิได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีอำนาจฟ้อง การไม่ปิดอากรแสตมป์นี้แม้จำเลยจะไม่ตั้งประเด็นขึ้นมาแต่แรกจำเลยก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจทำนอกประเทศ ไม่ต้องติดอากรแสตมป์ มีผลสมบูรณ์
หนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีทำขึ้นในต่างประเทศ มีการรับรองโดยโนตารีปับลิกและมีผู้ช่วยกงสุลไทยเมืองมอนต์โกเมอรีรัฐอลาบามา ประเทศสหรัฐอเมริกา รับรองอีกชั้นหนึ่งว่าได้มีการจัดทำเอกสารขึ้นอย่างแท้จริง หนังสือมอบอำนาจนี้ถือว่าถูกต้องตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรจึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจทำนอกประเทศ: ความถูกต้องตามกฎหมายและการไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
หนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีทำขึ้นในต่างประเทศมีการรับรองโดยโนตารีปับลิก และมีผู้ช่วยกงสุลไทยเมืองมอนต์โกเมอรี่รัฐอลาบามา ประเทศสหรัฐอเมริกา รับรองอีกชั้นหนึ่งว่าได้มีการจัดทำเอกสารขึ้นอย่างแท้จริง หนังสือมอบอำนาจนี้ถือว่าถูกต้องตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ประมวลรัษฎากร จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4206/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ: การรับรองและการพิสูจน์ลายมือชื่อ
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ประเทศเยอรมนี มอบอำนาจให้ ว. ฟ้องคดี แม้หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์จะไม่มีเจ้าหน้าที่สถานทูตไทยในประเทศเยอรมนีรับรองมา แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้สอบสวนและจำเลยก็ไม่ร้องขอให้ศาลสอบสวนถึงอำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจ ถือว่าศาลและจำเลยมิได้สงสัยอำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจ เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานมาสืบหักล้างว่า ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจไม่ใช่ของโจทก์ก็ฟังได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีโดยถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายกันจากส่วนประกอบหลักและการประเมินเจตนาทุจริต
โจทก์มีหนังสือรับรองของเจ้าพนักงานโนตารีบับลิกแห่งประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมาแสดงต่อศาล ซึ่งมีข้อความรับรองว่า หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ได้รับการลงนามและประทับตรากำกับในนามของบริษัท โดยคำสั่งของคณะกรรมการและผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองได้กระทำเพื่อบริษัทดังกล่าวแล้วทุกประการ จำเลยมิได้คัดค้านว่าหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้อง ทั้งมิได้นำสืบให้เห็นว่าผู้ลงลายมือชื่อไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เช่นนี้ ผู้มอบอำนาจเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ได้ การมอบอำนาจจึงถูกต้องใช้ได้
โจทก์ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าใช้กับรองเท้าเป็นรูปแถบโค้งประดิษฐฺ์และรูปแถบโค้งประดิษฐ์ประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่า PUMA (พูม่า) โดยติดอยู่ข้างรองเท้าสินค้าของโจทก์ มีลักษณะโค้งมน ส่วนล่างกว้าง 5 เซนติเมตรครึ่งแล้วค่อย ๆ รีเล็กลง ส่วนที่จรดกับตะเข็บส้นรองเท้ากว้างเพียง 1 เซนติเมตร เครื่องหมายนี้ต่างกับลักษณะของตะเข็บรองเท้าทั่ว ๆ ไป และมีสีสรรสวยงามตัดกับสีพื้นรองเท้ามองเห็นอย่างเด่นชัด จึงถือได้ว่าเครื่องหมายแถบโค้งดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าตามมาตราในมาตรา 3 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474
จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 2 แบบ เป็นรูปประดิษฐ์ลักษณะเหมือนกล้องยาเส้นหงายขึ้นและตะขอหงาย จึงแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยผลิตและจำหน่ายรองเท้าโดยใช้เครื่องหมายแถบโค้งเหมือนกับของโจทก์ทุกประการ สินค้ารองเท้าบางแบบของจำเลยเพียงแต่มาประทับตัวหนังสืออักษรโรมันคำว่า LONG HORN ไว้ที่หุ้มข้อด้านหลังเหนือแถบโค้งที่เรียวมาบรรจบกันเท่านั้น ซึ่งต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอักษรโรมันว่า PUMA บ้าง หรือรูปเสือกำลังกระโจนอยู่เหนือแถบโค้งบ้างที่ส้นรองเท้าบ้าง เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ มีรูปแถบโค้งเป็นส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเพราะเป็นส่วนที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด และมีรูปตัวอักษรโรมัน PUMA หรือรูปเสือกระโจนเป็นส่วนประกอบรองหรือส่วนประกอบย่อยเพราะประชาชนมุ่งดูรูปแถบโค้งเป็นที่หมายแห่งสินค้าของโจทก์ยิ่งกว่าดูรูปตัวอักษรโรมัน PUMA หรือรูปเสือกระโจน การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าลักษณะดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันกับของจำเลยหรือไม่จำต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบปลีกย่อยจะต่างกันซึ่งมองเห็นได้ยาก จึงถือได้ว่าจำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และการที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ลักษณะหนึ่งซึ่งต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นำมาใช้อีกอย่างหนึ่ง แตกต่างจากที่ขอจดทะเบียนไว้โดยใช้ให้เหมือนกับของโจทก์ แสดงถึงเจตนาอันไม่สุจริตของจำเลยและเป็นการจงใจเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: พิจารณาองค์ประกอบหลักและส่วนประกอบรองเพื่อวินิจฉัยความเหมือน/ต่าง
โจทก์มีหนังสือรับรองของเจ้าพนักงานโนตารีปับลิก แห่งประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมาแสดงต่อศาล ซึ่งมีข้อความรับรองว่า หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ได้รับการลงนามและประทับตรากำกับในนามของบริษัท โดยคำสั่งของคณะกรรมการและผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองได้กระทำเพื่อบริษัทดังกล่าวแล้วทุกประการ จำเลยมิได้คัดค้านว่าหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้องทั้งมิได้นำสืบให้เห็นว่าผู้ลงลายมือชื่อไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เช่นนี้ ผู้มอบอำนาจเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ได้ การมอบอำนาจจึงถูกต้องใช้ได้ โจทก์ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าใช้กับรองเท้าเป็นรูปแถบโค้งประดิษฐ์และรูปแถบโค้งประดิษฐ์ประกอบอักษรโรมันคำว่าPUMA(พูม่า)โดยติดอยู่ข้างรองเท้าสินค้าของโจทก์มีลักษณะโค้งมนส่วนล่างกว้าง 5 เซนติเมตรครึ่ง แล้วค่อย ๆ รีเล็กลง ส่วนที่จรดกับตะเข็บเส้นรองเท้ากว้างเพียง 1 เซนติเมตร เครื่องหมายนี้ต่างกับลักษณะของตะเข็บรองเท้าทั่ว ๆ ไป และมีสีสรรสวยงามตัดกับสีพื้นรองเท้ามองเห็นอย่างเด่นชัด จึงถือได้ว่าเครื่องหมายแถบโค้งดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าตามความในมาตรา 3 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 2 แบบ เป็นรูปประดิษฐ์ลักษณะเหมือนกล้องยาเส้นหงายขึ้นและตะขอหงาย จึงแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยผลิตและจำหน่ายรองเท้าโดยใช้เครื่องหมายแถบโค้งเหมือนกับของโจทก์ทุกประการ สินค้ารองเท้าบางแบบของจำเลยเพียงแต่มาประทับตัวหนังสืออักษรโรมันคำว่า LONGHORNไว้ที่หุ้มข้อด้านหลังเหนือแถบโค้งที่เรียว มาบรรจบกันเท่านั้น ซึ่งต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอักษรโรมันว่า PUMAบ้างหรือรูปเสือกำลังกระโจนอยู่เหนือแถบโค้งบ้างที่ลิ้นรองเท้าบ้างเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ มีรูปแถบโค้งเป็นส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเพราะเป็นส่วนที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด และมีรูปตัวอักษรโรมัน PUMA หรือรูปเสือกระโจนเป็นส่วนประกอบรองหรือส่วนประกอบย่อย เพราะประชาชนมุ่งดูรูปแถบโค้งเป็นที่หมายแห่งสินค้าของโจทก์ยิ่งกว่าดูรูปตัวอักษรโรมันPUMA หรือรูปเสือกระโจน การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าลักษณะดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันกับของจำเลยหรือไม่ จำต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นรูปแถบโค้งเหมือนกันอย่างเห็นได้โดยเด่นชัดแม้ส่วนประกอบรองหรือส่วนประกอบปลีกย่อยจะต่างกันซึ่งมองเห็นได้ยากจึงถือได้ว่าจำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และการที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ลักษณะหนึ่งซึ่งต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นำมาใช้อีกอย่างหนึ่งแตกต่างจากที่ขอจดทะเบียนไว้โดยใช้ให้เหมือนกับของโจทก์ แสดงถึงเจตนาอันไม่สุจริตของจำเลยและเป็นการจงใจเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3659/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า การแจ้งความร้องทุกข์ และการยึดของกลางของเจ้าพนักงานตำรวจ
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าฮาริสของบริษัท อ. ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ต่างประเทศ โจทก์เคยสั่งซื่อสินค้าดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ย่อมรู้จักรอยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของสินค้าที่จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายได้ดี การที่โจทก์ที่ 1 สั่งสินค้ามาตรวัดความดันแก๊สของกลางซึ่งมีเครื่องหมายการค้าฮาริสปลอมเข้ามาจำหน่ายโดยเจตนาให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นสินค้าของบริษัท อ. จึงทำให้บริษัทดังกล่าวเสียหายเป็นการละเมิดดังนั้น จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ผู้ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท อ. ให้ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่ละเมิดสิทธิดังกล่าว จึงมีสิทธิมอบให้จำเลยที่ 3 ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินการตามกฎหมายกับโจทก์ได้
การที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเมื่อได้รับแจ้งความแล้วได้ดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ตามอำนาจหน้าที่และโดยสุจริต กล่าวคือทำการตรวจค้น เมื่อได้ความว่าสินค้าของกลางมีการนำเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาใช้เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นอันเข้าลักษณะความผิดทางอาญา จึงได้ยึดสินค้าดังกล่าวเป็นของกลาง แล้วมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจดำเนินคดีต่อไป การกระทำของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ดังกล่าว เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศ มีการรับรองโดยโนตารีบับลิก และกงสุลไทยแห่งเมืองนั้นรับรองอีกชั้นหนึ่งว่าเป็นลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริง เป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้น ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3659/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การยึดสินค้าปลอมและการดำเนินการตามกฎหมายโดยเจ้าพนักงาน
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าฮาริสของบริษัทอ. ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ต่างประเทศ โจทก์เคยสั่งซื้อสินค้าดังกล่าวจากจำเลยที่ 1ย่อมรู้จัก รอยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของสินค้าที่จำเลยที่ 1เป็นตัวแทนจำหน่ายได้ดี การที่โจทก์ที่ 1 สั่งสินค้ามาตรวัดความดันแก๊สของกลางซึ่งมีเครื่องหมายการค้าฮาริสปลอมเข้ามาจำหน่ายโดยเจตนาให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นสินค้าของบริษัทอ.จึงทำให้บริษัทดังกล่าวเสียหายเป็นการละเมิด ดังนั้น จำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ผู้ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท อ.ให้ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่ละเมิดสิทธิดังกล่าว จึงมีสิทธิมอบให้จำเลยที่ 3 ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินการตามกฎหมายกับโจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเมื่อได้รับแจ้งความแล้วได้ดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมายตามอำนาจหน้าที่และโดยสุจริต กล่าวคือทำการตรวจค้น เมื่อได้ความว่าสินค้าของกลางมีการนำเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาใช้เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นอันเข้าลักษณะความผิดทางอาญา จึงได้ยึดสินค้าดังกล่าวเป็นของกลางแล้วมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจดำเนินคดีต่อไปการกระทำของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ดังกล่าว เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศ มีการรับรองโดยโนตารีปับลิกและกงสุลไทยแห่งเมืองนั้นรับรองอีกชั้นหนึ่งว่าเป็นลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริงเป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้น ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งสิทธิเนื่องจากใช้ก่อนและการจดทะเบียนในต่างประเทศ
บทบัญญัติมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช2474 บัญญัติไว้ตอนต้นว่า 'ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้' ซึ่งรับกับมาตรา 41 (1) ที่ให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้ หากผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ ฉะนั้นเมื่อจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่แท้จริงและได้ส่งสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นเวลานาน ก่อนที่โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทดังกล่าว แม้จำเลยจะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยจำเลยก็มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์ได้ตามมาตรา 41 (1)
การที่โนตารีปับลิกรับรองการมีอยู่ของหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยในประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องรับรองความถูกต้องไว้แล้วนั้น เทียบเคียงได้กับกรณีการเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47 วรรคสาม คือไม่จำต้องมีเจ้าพนักงานสถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยรับรองอีกชั้นว่าผู้รับรองเอกสารดังกล่าวเป็นโนตารีปับลิกจริง ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่ลงลายมือชื่อรับรองในฐานะโนตารีปับลิกดังกล่าว ทั้งโจทก์ก็มิได้นำสืบหักล้างหรือโต้แย้งอย่างใดแล้วศาลก็รับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือผู้จดทะเบียนภายใต้ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
บทบัญญัติมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 บัญญัติไว้ตอนต้นว่า "ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้" ซึ่งรับกับมาตรา 41(1) ที่ให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้ หากผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ ฉะนั้นเมื่อจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่แท้จริงและได้ส่งสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นเวลานานก่อนที่โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทดังกล่าวแม้จำเลยจะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยจำเลยก็มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์ได้ตามมาตรา 41(1) การที่โนตารีปับลิก รับรองการมีอยู่ของหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยในประเทศต่าง ๆซึ่งมีนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องรับรองความถูกต้องไว้แล้วนั้น เทียบเคียงได้กับกรณีการเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47 วรรคสาม คือไม่จำต้องมีเจ้าพนักงานสถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยรับรองอีกชั้นว่าผู้รับรองเอกสารดังกล่าวเป็นโนตารีปับลิกจริง ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่ลงลายมือชื่อรับรองในฐานะโนตารีปับลิก ดังกล่าว ทั้งโจทก์ก็มิได้นำสืบหักล้างหรือโต้แย้งอย่างใดแล้ว ศาลก็รับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทนั้นได้
of 21