พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งสิทธิจากผู้ใช้ก่อน & การรับรองเอกสารจากต่างประเทศ
บทบัญญัติมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช2474 บัญญัติไว้ตอนต้นว่า 'ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้' ซึ่งรับกับมาตรา 41(1) ที่ให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้ หากผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ ฉะนั้นเมื่อจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่แท้จริงและได้ส่งสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นเวลานาน ก่อนที่โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทดังกล่าว แม้จำเลยจะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยจำเลยก็มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์ได้ตามมาตรา 41(1)
การที่โนตารีปับลิกรับรองการมีอยู่ของหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยในประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องรับรองความถูกต้องไว้แล้วนั้น เทียบเคียงได้กับกรณีการเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47 วรรคสาม คือไม่จำต้องมีเจ้าพนักงานสถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยรับรองอีกชั้นว่าผู้รับรองเอกสารดังกล่าวเป็นโนตารีปับลิกจริง ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่ลงลายมือชื่อรับรองในฐานะโนตารีปับลิกดังกล่าว ทั้งโจทก์ก็มิได้นำสืบหักล้างหรือโต้แย้งอย่างใดแล้วศาลก็รับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทนั้นได้.
การที่โนตารีปับลิกรับรองการมีอยู่ของหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยในประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องรับรองความถูกต้องไว้แล้วนั้น เทียบเคียงได้กับกรณีการเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47 วรรคสาม คือไม่จำต้องมีเจ้าพนักงานสถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยรับรองอีกชั้นว่าผู้รับรองเอกสารดังกล่าวเป็นโนตารีปับลิกจริง ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่ลงลายมือชื่อรับรองในฐานะโนตารีปับลิกดังกล่าว ทั้งโจทก์ก็มิได้นำสืบหักล้างหรือโต้แย้งอย่างใดแล้วศาลก็รับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทนั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: หลักฐานหนังสือมอบอำนาจจากต่างประเทศที่ถูกต้อง และการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า
หนังสือมอบอำนาจของบริษัทโจทก์ที่มอบอำนาจให้ ร. ฟ้องคดีนี้มีหนังสือซึ่งโนตารีปับลิกแห่งเมืองที่โจทก์มีภูมิลำเนาลงนามรับรองว่า บริษัทโจทก์ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศนั้นและผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวซึ่งเป็นหัวหน้าเสมียนของบริษัทโจทก์ได้ลงนามและประทับตรากำกับในนามของบริษัทโจทก์โดยคำสั่งของคณะกรรมการด้วยความสมัครใจและเป็นการกระทำเพื่อบริษัทโจทก์ทุกประการ ทั้งยังมีคำรับรองลายมือชื่อโนตารีปับลิกจากประธานศาล และคำรับรองลายมือชื่อของประธานศาลดังกล่าวจากสถานกงสุลใหญ่ของประเทศไทยในประเทศนั้นต่อท้ายอีกด้วย เมื่อจำเลยมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ตามหนังสือมอบอำนาจนั้นว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจให้ ร. ฟ้องคดีนี้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "Adidas" อ่านออกเสียงว่า อะดีดาส ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "Adidang" อ่านออกเสียงว่า อะดีดัง รูปลักษณ์และลีลาการเขียนของตัวอักษรและการออกสำเนียงเรียกขาน ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในประเทศไทยมาก่อน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "Adidas" อ่านออกเสียงว่า อะดีดาส ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "Adidang" อ่านออกเสียงว่า อะดีดัง รูปลักษณ์และลีลาการเขียนของตัวอักษรและการออกสำเนียงเรียกขาน ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในประเทศไทยมาก่อน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล & การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การพิจารณาความคล้ายคลึงและเจตนาเลียนแบบ
หนังสือมอบอำนาจของบริษัทโจทก์ที่มอบอำนาจให้ ร. ฟ้องคดีนี้มีหนังสือซึ่งโนตารีปับลิก แห่งเมืองที่โจทก์มีภูมิลำเนาลงนามรับรองว่า บริษัทโจทก์ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศนั้นและผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวซึ่งเป็นหัวหน้าเสมียนของบริษัทโจทก์ได้ลงนามและประทับตรากำกับในนามของบริษัทโจทก์โดยคำสั่งของคณะกรรมการด้วยความสมัครใจและเป็นการกระทำเพื่อบริษัทโจทก์ทุกประการ ทั้งยังมีคำรับรองลายมือชื่อโนตารีปับลิก จากประธานศาลและคำรับรองลายมือชื่อของประธานศาลดังกล่าวจากสถานกงสุลใหญ่ของประเทศไทยในประเทศนั้นต่อท้ายอีกด้วย เมื่อจำเลยมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ตามหนังสือมอบอำนาจนั้นว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจให้ ร. ฟ้องคดีนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "Adidas"อ่านออกเสียงว่า อะดีดาส ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "Adidang" อ่านออกเสียงว่า อดีดังรูปลักษณ์และลีลาการเขียนของตัวอักษรและการออกสำเนียงเรียกขาน ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในประเทศไทยมาก่อน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาตั้งแต่แรก แม้แก้ไขภายหลังก็ไม่สมบูรณ์
เมื่อโจทก์ที่ 2 ไม่ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีแทนดังที่กล่าวในฟ้อง ฟ้องของโจทก์ที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณามาแต่แรก แม้ต่อมาโจทก์ที่ 2 จะได้ยื่นใบมอบอำนาจที่แท้จริงต่อศาล ก็หาทำให้ฟ้องที่เสียใช้ไม่ได้มาแต่ต้นกลับคืนดีขึ้นมาในภายหลังไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 2 ที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาตั้งแต่แรก แม้แก้ไขภายหลังก็ไม่อาจใช้ได้
เมื่อโจทก์ที่ 2 ไม่ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีแทนดังที่กล่าวในฟ้อง ฟ้องของโจทก์ที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณามาแต่แรก แม้ต่อมาโจทก์ที่ 2 จะได้ยื่นใบมอบอำนาจที่แท้จริงต่อศาล ก็หาทำให้ฟ้องที่เสียใช้ไม่ได้มาแต่ต้นกลับคืนดีขึ้นมาในภายหลังไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันคำให้การและการใช้ดุลพินิจรับพยานนอกกรอบกฎหมายในคดีแรงงาน
แม้ อ. ประธานกรรมการบริษัทจำเลยแต่ผู้เดียวทำหนังสือมอบอำนาจให้ ว. กรรมการบริหารมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยอันเป็นการไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยก็ตาม แต่หลังจาก ว. ได้ยื่นคำให้การต่อศาลแล้ว จำเลยก็ทำหนังสือมอบอำนาจใหม่ให้ ฉ.เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนโดยอ.และว. ลงชื่อถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยเช่นนี้ การที่ ฉ. ดำเนินคดีต่อมาโดยนำสืบพยานไปตามคำให้การที่ ว. ต่อสู้คดีไว้ ถือได้ว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันยอมรับคำให้การดังกล่าวจึงมีสิทธินำสืบพยานไปตามคำให้การนั้นได้
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งเกี่ยวกับบัญชีระบุพยานของจำเลยว่า'รับ 5 อันดับ' แสดงว่าได้ใช้ดุลพินิจสั่งรับบัญชีระบุพยานของจำเลยที่ยื่นฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแล้ว.(ที่มา-ส่งเสริม)
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งเกี่ยวกับบัญชีระบุพยานของจำเลยว่า'รับ 5 อันดับ' แสดงว่าได้ใช้ดุลพินิจสั่งรับบัญชีระบุพยานของจำเลยที่ยื่นฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแล้ว.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3166/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีมรดก, อายุความ, และคุณสมบัติผู้จัดการมรดกของนิติบุคคล
การที่สภากาชาดไทยมอบอำนาจให้เลขาธิการยื่นคำร้องคดีนี้โดยอาศัยใบมอบอำนาจทั่วไปไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีได้ด้วยเป็นเพียงเรื่องการมอบอำนาจบกพร่องเท่านั้นไม่เป็นผลถึงกับทำให้คำร้องของผู้ร้องเสียไปก่อนสืบพยานผู้ร้องก็ได้ส่งใบมอบอำนาจให้เลขาธิการฟ้องคดีได้ซึ่งถือว่าเป็นการให้สัตยาบันการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่ได้กระทำไปแล้วการมอบอำนาจให้เลขาธิการยื่นคำร้องคดีนี้จึงสมบูรณ์ผู้ร้องมีอำนาจร้องคดีนี้ได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงแม้การจัดการมรดกจะล่วงเลยมาเกินกว่าห้าปีแล้วคดีของผู้ร้องก็ยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733 สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกโดยสภาพไม่ใช่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะบุคคลธรรมดาเมื่อการจัดการมรดกไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของผู้ร้องซึ่งเป็นนิติบุคคลผู้ร้องก็ไม่อยู่ในฐานะต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1718.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3166/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีมรดก, อายุความ, และคุณสมบัติผู้จัดการมรดกที่เป็นนิติบุคคล
การที่สภากาชาดไทยมอบอำนาจให้เลขาธิการยื่นคำร้องคดีนี้โดยอาศัยใบมอบอำนาจทั่วไป ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีได้ด้วย เป็นเพียงเรื่องการมอบอำนาจบกพร่องเท่านั้น ไม่เป็นผลถึงกับทำให้คำร้องของผู้ร้องเสียไป ก่อนสืบพยานผู้ร้องก็ได้ส่งใบมอบอำนาจให้เลขาธิการฟ้องคดีได้ ซึ่งถือว่าเป็นการให้สัตยาบันการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่ได้กระทำไปแล้ว การมอบอำนาจให้เลขาธิการยื่นคำร้อง คดีนี้ จึงสมบูรณ์ ผู้ร้องมีอำนาจร้องคดีนี้ได้
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลง แม้การจัดการมรดกจะล่วงเลยมาเกินกว่าห้าปีแล้ว คดีของผู้ร้องก็ยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733
สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดก โดยสภาพไม่ใช่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะบุคคลธรรมดา เมื่อการจัดการมรดกไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของผู้ร้องซึ่งเป็นนิติบุคคล ผู้ร้องก็ไม่อยู่ในฐานะต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลง แม้การจัดการมรดกจะล่วงเลยมาเกินกว่าห้าปีแล้ว คดีของผู้ร้องก็ยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733
สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดก โดยสภาพไม่ใช่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะบุคคลธรรมดา เมื่อการจัดการมรดกไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของผู้ร้องซึ่งเป็นนิติบุคคล ผู้ร้องก็ไม่อยู่ในฐานะต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันคำให้การของตัวแทน และการรับฟังพยานที่ศาลเรียกเองในคดีแรงงาน
หนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่มอบอำนาจให้ช.ต่อสู้คดีไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลยแต่การที่ช.ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้แล้วจำเลยได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีต่อมาโดยนำสืบพยานไปตามคำให้การนั้นถือได้ว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันยอมรับคำให้การดังกล่าวแล้วจำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำสืบพยานไปตามคำให้การนั้นได้โดยชอบ. จำเลยนำสืบเอกสารหมายล.1ถึงล.15โดยมิได้ส่งสำเนาให้แก่โจทก์แต่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับคดีและจำเลยได้ยื่นบัญชีระบุอ้างเป็นพยานแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมถือว่าเป็นพยานที่ศาลเรียกมาดังนี้เมื่อศาลแรงงานได้ใช้อำนาจตามมาตรา45แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522แล้วเอกสารดังกล่าวย่อมรับฟังได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันคำให้การของตัวแทน และการรับพยานหลักฐานที่มิได้ส่งสำเนาตามอำนาจศาลแรงงาน
หนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่มอบอำนาจให้ ช.ต่อสู้คดีไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลย แต่การที่ ช. ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้แล้วจำเลยได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีต่อมาโดยนำสืบพยานไปตามคำให้การนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันยอมรับคำให้การดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำสืบพยานไปตามคำให้การนั้นได้โดยชอบ.
จำเลยนำสืบเอกสารหมาย ล.1 ถึงล.15 โดยมิได้ส่งสำเนาให้แก่โจทก์ แต่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับคดีและจำเลยได้ยื่นบัญชีระบุอ้างเป็นพยานแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมถือว่าเป็นพยานที่ศาลเรียกมา ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานได้ใช้อำนาจตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แล้ว เอกสารดังกล่าวย่อมรับฟังได้
จำเลยนำสืบเอกสารหมาย ล.1 ถึงล.15 โดยมิได้ส่งสำเนาให้แก่โจทก์ แต่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับคดีและจำเลยได้ยื่นบัญชีระบุอ้างเป็นพยานแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมถือว่าเป็นพยานที่ศาลเรียกมา ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานได้ใช้อำนาจตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แล้ว เอกสารดังกล่าวย่อมรับฟังได้