พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดี: การรับฟังพยานหลักฐานจากผู้รับมอบอำนาจโดยไม่ต้องใช้ต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้มอบอำนาจให้ พ.และหรือ ส.เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทน และได้แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไว้ท้ายฟ้อง จำเลยให้การว่า โจทก์จะมอบอำนาจให้ พ.และหรือ ส.เป็นผู้ฟ้องคดีหรือไม่ จำเลยไม่รับรองและใบมอบอำนาจไม่ถูกต้อง คำให้การของจำเลยแปลได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้แต่จะมอบอำนาจให้ พ.และหรือ ส.เป็นผู้ฟ้องคดีแทนหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง ส่วนที่ให้การต่อไปว่าใบมอบอำนาจไม่ถูกต้องก็ไม่ได้ให้การว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และมิได้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของหนังสือมอบอำนาจ โจทก์จึงไม่จำต้องส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาล และคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย ศาลรับฟังพยานโจทก์ได้ว่า ส.เป็นผู้ได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์โดยไม่จำต้องอาศัยต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจและไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องพิจารณาจากเหตุตามคำร้องเท่านั้น ศาลมิอาจนำเหตุอื่นนอกคำร้องมาวินิจฉัยได้ และประเด็นเรื่องอำนาจมอบอำนาจต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านเพียงว่า ผู้ร้องไม่มีอำนาจฟ้องเพราะผู้ร้องไม่เคยมอบอำนาจให้ ส. หรือ อ. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้อง ดังนี้ประเด็นในคำคัดค้านจึงมีเพียงว่า ผู้ร้องมอบอำนาจให้บุคคลทั้งสองเป็นผู้ดำเนินคดีนี้หรือไม่เท่านั้น ข้อที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะตราที่ประทับในหนังสือนั้นมิใช่ตราของผู้ร้องและมิใช่ตราที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์ จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
เหตุขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างตามคำร้องของนายจ้างเป็นประการใด ศาลแรงงานชอบที่จะพิจารณาแต่เหตุนั้นโดยเฉพาะ เมื่อเหตุตามคำร้องรับฟังไม่ได้ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องเสีย จะนำเหตุที่มิใช่ข้ออ้างไว้อันเป็นเหตุนอกคำร้องนอกประเด็นมาพิจารณาแล้วยกเอาเหตุนั้นมาเป็นข้อเลิกจ้างหาชอบด้วยกระบวนพิจารณาไม่.
นายจ้างขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยอ้างเหตุว่าสินค้าของนายจ้างสูญหายเกิดจากลูกจ้างทุจริตหรือเกิดจากการร่วมทุจริตกับผู้อื่นหรือเกิดจากการประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง เมื่อเหตุตามคำร้องฟังไม่ได้ศาลแรงงานกลางจะยกเอาเหตุที่ลูกจ้างเคยทำคำแถลงการณ์ในลักษณะชักชวนให้พนักงานกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชามาเป็นเหตุเลิกจ้างไม่ได้.
เหตุขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างตามคำร้องของนายจ้างเป็นประการใด ศาลแรงงานชอบที่จะพิจารณาแต่เหตุนั้นโดยเฉพาะ เมื่อเหตุตามคำร้องรับฟังไม่ได้ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องเสีย จะนำเหตุที่มิใช่ข้ออ้างไว้อันเป็นเหตุนอกคำร้องนอกประเด็นมาพิจารณาแล้วยกเอาเหตุนั้นมาเป็นข้อเลิกจ้างหาชอบด้วยกระบวนพิจารณาไม่.
นายจ้างขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยอ้างเหตุว่าสินค้าของนายจ้างสูญหายเกิดจากลูกจ้างทุจริตหรือเกิดจากการร่วมทุจริตกับผู้อื่นหรือเกิดจากการประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง เมื่อเหตุตามคำร้องฟังไม่ได้ศาลแรงงานกลางจะยกเอาเหตุที่ลูกจ้างเคยทำคำแถลงการณ์ในลักษณะชักชวนให้พนักงานกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชามาเป็นเหตุเลิกจ้างไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, เหตุเลิกจ้าง, การพิจารณาข้อเท็จจริงนอกคำร้อง: ศาลฎีกาตัดสินให้ยกคำร้องเลิกจ้างเนื่องจากเหตุผลที่อาศัยไม่ตรงกับคำร้อง
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านเพียงว่าผู้ร้องไม่มีอำนาจฟ้องเพราะผู้ร้องไม่เคยมอบอำนาจให้ส.หรืออ.เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องดังนี้ประเด็นในคำคัดค้านจึงมีเพียงว่าผู้ร้องมอบอำนาจให้บุคคลทั้งสองเป็นผู้ดำเนินคดีนี้หรือไม่เท่านั้นข้อที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะตราที่ประทับในหนังสือนั้นมิใช่ตราของผู้ร้องและมิใช่ตราที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้. เหตุขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างตามคำร้องของนายจ้างเป็นประการใดศาลแรงงานชอบที่จะพิจารณาแต่เหตุนั้นโดยเฉพาะเมื่อเหตุตามคำร้องรับฟังไม่ได้ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องเสียจะนำเหตุที่มิใช่ข้ออ้างไว้อันเป็นเหตุนอกคำร้องนอกประเด็นมาพิจารณาแล้วยกเอาเหตุนั้นมาเป็นข้อเลิกจ้างหาชอบด้วยกระบวนพิจารณาไม่. นายจ้างขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยอ้างเหตุว่าสินค้าของนายจ้างสูญหายเกิดจากลูกจ้างทุจริตหรือเกิดจากการร่วมทุจริตกับผู้อื่นหรือเกิดจากการประมาทเลินเล่อของลูกจ้างเมื่อเหตุตามคำร้องฟังไม่ได้ศาลแรงงานกลางจะยกเอาเหตุที่ลูกจ้างเคยทำคำแถลงการณ์ในลักษณะชักชวนให้พนักงานกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชามาเป็นเหตุเลิกจ้างไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้, อายุความ, อำนาจฟ้อง: ศาลฎีกายืนตามศาลล่าง ฟ้องไม่เคลือบคลุม ไม่ขาดอายุความ
บรรยายฟ้องว่าให้จำเลยชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อที่ค้างชำระตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ระบุจำนวนหนี้ที่ค้างอยู่อย่างชัดแจ้งเป็นคำฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม หนังสือรับสภาพหนี้กำหนดให้ชำระหนี้ทั้งหมดภายในวันที่31ธันวาคม2521เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดดังกล่าวเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงสิ้นสุดลงในวันที่31ธันวาคม2521ต้องเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันรุ่งขึ้น หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าซึ่งจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ว่ายังเป็นหนี้ค่าสินค้าคือค่าน้ำมันและปรากฏว่าจำเลยยังมิได้ชำระแก่โจทก์(ผู้รับมอบอำนาจ)โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องหรือมอบอำนาจให้ผู้ใดฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ได้ ตามหนังสือรับสภาพหนี้ระบุให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งซึ่งโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยคดีนี้ต่อศาลแพ่ง หนังสือรับสภาพหนี้ที่ระบุชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าสินค้าจำนวนแน่นอนอยู่จริงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ที่ใช้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีจากต่างประเทศ: การคัดค้านที่ไม่ชัดเจนไม่เป็นเหตุให้การมอบอำนาจไม่สมบูรณ์
หนังสือมอบอำนาจที่ส่งศาลเป็นสำเนาใบมอบอำนาจที่โจทก์กระทำมาจากต่างประเทศ จำเลยคัดค้านว่าโจทก์มิใช่นิติบุคคล และแต่งตั้งผู้รับมอบอำนาจโดยไม่สมบูรณ์แบบ แต่ไม่ได้แสดงเหตุว่าไม่สมบูรณ์แบบเพราะเหตุใด มิได้คัดค้านการมีอยู่และความถูกต้องของสำเนาหนังสือมอบอำนาจต่อศาลตามที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 ดังนี้ ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องอย่างถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928-1931/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, หนังสือมอบอำนาจ, การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์, และการตัดพยาน: หลักเกณฑ์ตามกฎหมาย
การเป็นนิติบุคคลประเภทหุ้นส่วนบริษัทและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนั้น นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1021 และ 1022จำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่และบ.จะเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามฟ้องหรือไม่จำเลยไม่ทราบและไม่รับรองคำให้การของจำเลยเป็นการฝ่าฝืน ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดตามกฎหมายจึงไม่เป็นประเด็นที่โจทก์ จะต้องนำสืบ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ทราบไม่รับรองมิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของใบมอบอำนาจ การที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไป และที่จำเลยไม่รับรองก็ไม่ปรากฏเหตุผลจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ศ.มีอำนาจบอกกล่าวฟ้องขับไล่เรียกค่าเสียหาย ผู้เช่าที่ดินผู้เช่าอาคารและผู้อยู่อาศัยในที่ดินโฉนดเลขที่ 3997เลขที่ดิน 72 เมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่พิพาทซึ่ง ตั้งอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าวศ.ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทน โจทก์โดยโจทก์หาจำต้องระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่ เอกสารการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและตึกแถวเป็นเอกสารมหาชนซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของจำเลย ที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารจำเลยไม่มีพยานหลักฐานอย่างใดดังนั้นเมื่อโจทก์นำสืบผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนประกอบ เอกสารการจดทะเบียนซื้อขายก็เป็นการเพียงพอแล้วไม่จำต้องนำสืบกรรมการของโจทก์หรือผู้ขาย หรือเจ้าพนักงานผู้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้นเมื่อศาลสืบพยานจำเลยในเรื่องค่าเสียหายไปบ้างแล้วจึงสั่งตัดพยาน จำเลยดังนี้ เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928-1931/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, หนังสือมอบอำนาจ, การซื้อขายที่ดิน, และการตัดพยาน: หลักเกณฑ์ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การเป็นนิติบุคคลประเภทหุ้นส่วนบริษัทและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนั้น นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1021 และ 1022 จำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่และบ.จะเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามฟ้องหรือไม่จำเลยไม่ทราบและไม่รับรองคำให้การของจำเลยเป็นการฝ่าฝืน ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดตามกฎหมายจึงไม่เป็นประเด็นที่โจทก์ จะต้องนำสืบ
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ทราบไม่รับรองมิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของใบมอบอำนาจการที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไป และที่จำเลยไม่รับรองก็ไม่ปรากฏเหตุผลจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ศ. มีอำนาจบอกกล่าวฟ้องขับไล่เรียกค่าเสียหาย ผู้เช่าที่ดินผู้เช่าอาคารและผู้อยู่อาศัยในที่ดินโฉนดเลขที่ 3997 เลขที่ดิน 72 เมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่พิพาทซึ่ง ตั้งอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าวศ.ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทน โจทก์โดยโจทก์หาจำต้องระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่
เอกสารการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและตึกแถวเป็นเอกสารมหาชนซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของจำเลย ที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารจำเลยไม่มีพยานหลักฐานอย่างใดดังนั้นเมื่อโจทก์นำสืบผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนประกอบ เอกสารการจดทะเบียนซื้อขายก็เป็นการเพียงพอแล้วไม่จำต้องนำสืบกรรมการของโจทก์หรือผู้ขาย หรือเจ้าพนักงานผู้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้นเมื่อศาลสืบพยานจำเลยในเรื่องค่าเสียหายไปบ้างแล้วจึงสั่งตัดพยาน จำเลยดังนี้ เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ทราบไม่รับรองมิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของใบมอบอำนาจการที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไป และที่จำเลยไม่รับรองก็ไม่ปรากฏเหตุผลจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ศ. มีอำนาจบอกกล่าวฟ้องขับไล่เรียกค่าเสียหาย ผู้เช่าที่ดินผู้เช่าอาคารและผู้อยู่อาศัยในที่ดินโฉนดเลขที่ 3997 เลขที่ดิน 72 เมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่พิพาทซึ่ง ตั้งอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าวศ.ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทน โจทก์โดยโจทก์หาจำต้องระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่
เอกสารการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและตึกแถวเป็นเอกสารมหาชนซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของจำเลย ที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารจำเลยไม่มีพยานหลักฐานอย่างใดดังนั้นเมื่อโจทก์นำสืบผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนประกอบ เอกสารการจดทะเบียนซื้อขายก็เป็นการเพียงพอแล้วไม่จำต้องนำสืบกรรมการของโจทก์หรือผู้ขาย หรือเจ้าพนักงานผู้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้นเมื่อศาลสืบพยานจำเลยในเรื่องค่าเสียหายไปบ้างแล้วจึงสั่งตัดพยาน จำเลยดังนี้ เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีและสิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความหมายของเอกสารและการลอกเลียนแบบ
การที่จะตีความเอกสารฉบับใดเพื่อให้ได้ความหมายที่ถูกต้องแท้จริงจะพิจารณาจากข้อความเพียงประโยคใดตอนใดแล้วสรุปความหมายเอาหาได้ไม่ จำต้องพิเคราะห์จากถ้อยคำทั้งหมดในเอกสารนั้นประมวลเข้าด้วยกันจึงจะสามารถทราบ ความหมายที่แท้จริงได้ โดยเฉพาะถ้อยคำที่แปลและเรียบเรียง จากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทยการใช้ถ้อยคำอาจไม่ตรงกัน แต่มีความหมายในทำนองเดียวกัน เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้ ฟ้องคดีนี้ถ้อยคำที่เกี่ยวข้องคือ "เพื่อป้องกัน เครื่องหมายการค้าของ ข้าพเจ้าให้พ้นจากการปลอมแปลงเลียนแบบ จะโดยทางศาลแพ่งหรือกระบวนพิจารณาอาญารวมทั้ง ให้มีอำนาจที่จะกระทำการต่อสู้ในการเรียกร้องฟ้องแย้งหรือ ผู้ขอเรียกร้องที่แยกออก ประนีประนอมยอมความหรือตกลงกัน เกี่ยวกับการพิจารณาใดๆเช่นว่ามาแล้วเพื่อให้ เป็นไป ตามความมุ่งหมายที่ได้กล่าวมาแล้วให้มีอำนาจ ไปกระทำการ และปรากฏตัวเพื่อและในนามของข้าพเจ้ายัง สำนักงานรัฐบาลแห่งประเทศไทยหรือสถานที่อื่นใด หรือที่ศาลสถิตย์ยุติธรรม "ถ้อยคำ ทั้งหมดดังกล่าวที่ว่า มอบอำนาจเพื่อป้องกันเครื่องหมายการค้าให้พ้นจากการปลอมแปลง เลียนแบบโดยทางศาลแพ่ง รวมทั้งมีอำนาจต่อสู้ เรียกร้อง ฟ้องแย้งก็มีความหมายชัดแจ้งถึงว่าให้มีอำนาจฟ้องคดีแพ่งเพื่อป้องกันสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์แทนโจทก์นั่นเอง จะตีความ ว่าเพียงมีอำนาจให้ฟ้องแย้งเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ได้
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ใช้กับสินค้าประเภทเครื่องเขียนไว้ที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันตั้งแต่พ.ศ. 2518และบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยได้ สั่งสินค้าประเภทนี้ของโจทก์เข้ามาขายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2517 ก่อนมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 1 ปี นอกจากนี้โจทก์ยังได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศ ต่างๆ อีกหลายประเทศทั้งได้มีการโฆษณาถึงคุณภาพสินค้า สำหรับประเทศไทยทำผ่านบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย โจทก์ เป็นผู้คิด ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ขึ้น มาใช้กับสินค้าของโจทก์ก่อนจำเลยจะผลิตสินค้าของจำเลย ประเภทเดียวกันนี้เป็นเวลาหลายปี เมื่อจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " กับสินค้าจำพวกเดียวกันมีลักษณะเหมือนและคล้ายของโจทก์โดยรู้ถึงว่าสินค้าของ โจทก์ประเภทนี้มีเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " จำหน่าย อยู่ในประเทศไทยแล้ว แม้จำเลยจะนำเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใน ประเทศไทยไว้ก่อน ก็หาทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นไม่
ฎีกาปัญหาข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การและไม่ เป็นประเด็นแห่งคดี จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากัน มาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า" BOSS " ดีกว่า จำเลย จำเลยเป็นฝ่ายลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไป ลวงขาย ทำให้ผู้ซื้อสินค้าหลงผิดซื้อสินค้าจำเลยโดยเข้าใจ ผิดว่าเป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นฝ่าย ได้รับความเสียหาย และ ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเอาได้ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474 มาตรา 29 วรรคสองและ ศาลมีอำนาจ กำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์ได้
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ใช้กับสินค้าประเภทเครื่องเขียนไว้ที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันตั้งแต่พ.ศ. 2518และบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยได้ สั่งสินค้าประเภทนี้ของโจทก์เข้ามาขายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2517 ก่อนมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 1 ปี นอกจากนี้โจทก์ยังได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศ ต่างๆ อีกหลายประเทศทั้งได้มีการโฆษณาถึงคุณภาพสินค้า สำหรับประเทศไทยทำผ่านบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย โจทก์ เป็นผู้คิด ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ขึ้น มาใช้กับสินค้าของโจทก์ก่อนจำเลยจะผลิตสินค้าของจำเลย ประเภทเดียวกันนี้เป็นเวลาหลายปี เมื่อจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " กับสินค้าจำพวกเดียวกันมีลักษณะเหมือนและคล้ายของโจทก์โดยรู้ถึงว่าสินค้าของ โจทก์ประเภทนี้มีเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " จำหน่าย อยู่ในประเทศไทยแล้ว แม้จำเลยจะนำเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใน ประเทศไทยไว้ก่อน ก็หาทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นไม่
ฎีกาปัญหาข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การและไม่ เป็นประเด็นแห่งคดี จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากัน มาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า" BOSS " ดีกว่า จำเลย จำเลยเป็นฝ่ายลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไป ลวงขาย ทำให้ผู้ซื้อสินค้าหลงผิดซื้อสินค้าจำเลยโดยเข้าใจ ผิดว่าเป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นฝ่าย ได้รับความเสียหาย และ ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเอาได้ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474 มาตรา 29 วรรคสองและ ศาลมีอำนาจ กำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งเรื่องการมอบอำนาจ และสิทธิในเครื่องหมายการค้า การลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้เกิดความเสียหาย
การที่จะตีความเอกสารฉบับใดเพื่อให้ได้ความหมายที่ถูกต้องแท้จริงจะพิจารณาจากข้อความเพียงประโยคใดตอนใด แล้วสรุปความหมายเอาหาได้ไม่ จำต้องพิเคราะห์จากถ้อยคำ ทั้งหมดในเอกสารนั้นประมวลเข้าด้วยกันจึงจะสามารถทราบ ความหมายที่แท้จริงได้ โดยเฉพาะถ้อยคำที่แปลและเรียบเรียง จากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทยการใช้ถ้อยคำอาจไม่ตรงกัน แต่มีความหมายในทำนองเดียวกัน เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้ ฟ้องคดีนี้ถ้อยคำที่เกี่ยวข้องคือ "เพื่อป้องกัน เครื่องหมายการค้าของ ข้าพเจ้าให้พ้นจากการปลอมแปลงเลียนแบบ จะโดยทางศาลแพ่งหรือกระบวนพิจารณาอาญารวมทั้ง ให้มีอำนาจที่จะกระทำการต่อสู้ในการเรียกร้องฟ้องแย้งหรือ ผู้ขอเรียกร้องที่แยกออก ประนีประนอมยอมความหรือตกลงกัน เกี่ยวกับการพิจารณาใดๆเช่นว่ามาแล้ว เพื่อให้ เป็นไป ตามความมุ่งหมายที่ได้กล่าวมาแล้วให้มีอำนาจ ไป กระทำการ และปรากฏตัวเพื่อและในนามของข้าพเจ้ายัง สำนักงานรัฐบาลแห่งประเทศไทยหรือสถานที่อื่นใด หรือที่ศาลสถิตย์ยุติธรรม "ถ้อยคำ ทั้งหมดดังกล่าวที่ว่า มอบอำนาจเพื่อป้องกันเครื่องหมายการค้าให้พ้น จากการปลอมแปลง เลียนแบบโดยทางศาลแพ่ง รวมทั้งมีอำนาจต่อสู้ เรียกร้อง ฟ้องแย้งก็มีความหมายชัดแจ้งถึงว่าให้มีอำนาจฟ้องคดีแพ่งเพื่อป้องกันสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์แทนโจทก์นั่นเอง จะตีความ ว่าเพียงมีอำนาจให้ฟ้องแย้งเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ได้ โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" ใช้กับสินค้าประเภทเครื่องเขียนไว้ที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันตั้งแต่พ.ศ. 2518 และบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยได้ สั่งสินค้าประเภทนี้ของโจทก์เข้ามาขายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2517 ก่อนมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 1 ปี นอกจากนี้โจทก์ยังได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศ ต่างๆ อีกหลายประเทศทั้งได้มีการโฆษณาถึงคุณภาพสินค้า สำหรับประเทศไทยทำผ่านบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย โจทก์ เป็นผู้คิด ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" ขึ้น มาใช้กับสินค้าของโจทก์ก่อนจำเลยจะผลิตสินค้าของจำเลย ประเภทเดียวกันนี้เป็นเวลาหลายปี เมื่อจำเลยใช้ เครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" กับสินค้าจำพวกเดียวกันมีลักษณะเหมือนและคล้ายของโจทก์โดยรู้ถึงว่าสินค้าของ โจทก์ประเภทนี้มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" จำหน่าย อยู่ในประเทศไทยแล้ว แม้จำเลยจะนำเครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใน ประเทศไทยไว้ก่อน ก็หาทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นไม่ ฎีกาปัญหาข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การและไม่ เป็นประเด็นแห่งคดี จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากัน มาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า"BOSS" ดีกว่า จำเลย จำเลยเป็นฝ่ายลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไป ลวงขาย ทำให้ผู้ซื้อสินค้า หลงผิดซื้อสินค้าจำเลยโดยเข้าใจ ผิดว่าเป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นฝ่าย ได้รับความเสียหาย และ ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเอาได้ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474 มาตรา 29 วรรคสอง และ ศาลมีอำนาจ กำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดิน & สิทธิการครอบครอง: ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฟ้องเนื่องจากที่ดินเป็นของผู้ร้องสอดและจำเลยครอบครองโดยอาศัยสิทธินั้น
เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์คงมีแต่ผู้ร้องสอดเท่านั้นที่ใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดเมื่อศาลฎีกาฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอด และจำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของผู้ร้องสอด ถือได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลยในเรื่องที่ดินพิพาทเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงจำเลยด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1),247