พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้ใบมอบอำนาจ: เหตุสงสัยและสิทธิในการต่อสู้คดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 ศาลจะบังคับให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับใบมอบอำนาจปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 47 วรรคสาม เฉพาะแต่เมื่อมีเหตุผลอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริงหรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริงฉะนั้นเมื่อศาลมิได้สงสัย.และจำเลยมิได้ให้การต่อสู้แสดงเหตุอันควรสงสัยก็ไม่จำต้องสั่งให้มีการปฏิบัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิด
อ.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เบิกความว่า บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดส่งใบรับรองภาษาอังกฤษของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีเจ้าหน้าที่ลงนามรับรอง พร้อมกับคำแปล นอกจากนี้ใบมอบอำนาจซึ่งมีคำแปรประกอบก็ปรากฏว่า ท. ประธานกรรมการบริษัทโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจและแต่งตั้งให้ อ. ฟ้องคดีนี้ มี ม. ผู้จัดการหอการค้ารับรองลายเซ็นชื่อ กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นรับรองลายเซ็นของผู้จัดการหอการค้าฯ และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวรับรองลายเซ็นชื่อของเจ้าพนักงานกระทรวงการต่างประเทศอีกชั้นหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าเอกสารดังกล่าวไม่ใช่เอกสารแท้จริง และมิได้เถียงว่าคำแปลไม่ถูกต้อง จึงเป็นการเพียงพอที่จะให้ฟังได้ว่าบริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้แทนได้ และคดีหาจำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาสืบการแปลเอกสารนั้นอีกไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์พิมพ์เป็นอักษรโรมันไว้ที่หีบห่อ(กล่อง) สำหรับบรรจุสินค้าเครื่องกันสะเทือนว่า KAYABA และ KYB ส่วนของจำเลยใช้คำว่า KAYADA และ KYD ซึ่งต่างกับของโจทก์เพียงอักษร D ส่วนของโจทก์เป็นอักษร B เท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมดทุกตัวอักษร ทั้งสำเนียงการอ่านก็คล้ายกัน ลักษณะหีบห่อ(กล่อง) สีสรร ตลอดจนการวางรูปของตัวอักษรก็เหมือนกันหรือคล้ายกับของโจทก์ที่สุด และยังใช้สินค้าเครื่องกันสะเทือนเหมือนกัน ดังนี้ นับได้ว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และชอบที่จะฟ้องร้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าฝ่ายใดสมควรที่จะได้รับการจดทะเบียนดีกว่ากันนั้นได้
ในกรณีดังกล่าว แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เพราะเป็นการเลียนแบบล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาจนถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก และกรณีไม่ต้องด้วยวรรค 2 เพราะไม่มีประเด็นเรื่องการลวงขาย โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกค่าเสียหายให้การล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าจากจำเลย และตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อน โจทก์ย่อมไม่สิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยผลิตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย และไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเรียกเก็บคืนซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยจากตลาดการค้าได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์พิมพ์เป็นอักษรโรมันไว้ที่หีบห่อ(กล่อง) สำหรับบรรจุสินค้าเครื่องกันสะเทือนว่า KAYABA และ KYB ส่วนของจำเลยใช้คำว่า KAYADA และ KYD ซึ่งต่างกับของโจทก์เพียงอักษร D ส่วนของโจทก์เป็นอักษร B เท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมดทุกตัวอักษร ทั้งสำเนียงการอ่านก็คล้ายกัน ลักษณะหีบห่อ(กล่อง) สีสรร ตลอดจนการวางรูปของตัวอักษรก็เหมือนกันหรือคล้ายกับของโจทก์ที่สุด และยังใช้สินค้าเครื่องกันสะเทือนเหมือนกัน ดังนี้ นับได้ว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และชอบที่จะฟ้องร้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าฝ่ายใดสมควรที่จะได้รับการจดทะเบียนดีกว่ากันนั้นได้
ในกรณีดังกล่าว แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เพราะเป็นการเลียนแบบล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาจนถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก และกรณีไม่ต้องด้วยวรรค 2 เพราะไม่มีประเด็นเรื่องการลวงขาย โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกค่าเสียหายให้การล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าจากจำเลย และตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อน โจทก์ย่อมไม่สิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยผลิตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย และไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเรียกเก็บคืนซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยจากตลาดการค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเครื่องหมายการค้า: แม้เลียนแบบแต่โจทก์มิได้จดทะเบียนภายใน 5 ปี ไม่มีสิทธิขอห้ามหรือเรียกคืนสินค้า
อ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เบิกความว่า บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดส่งใบรับรองภาษาอังกฤษของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีเจ้าหน้าที่ลงนามรับรอง พร้อมกับคำแปล นอกจากนี้ใบมอบอำนาจซึ่งมีคำแปลประกอบก็ปรากฏว่า ท. ประธานกรรมการบริษัทโจทก์ เป็นผู้มอบอำนาจและแต่งตั้งให้ อ. ฟ้องคดีนี้ มี ม.ผู้จัดการหอการค้ารับรองลายเซ็นชื่อ กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นรับรองลายเซ็นของผู้จัดการหอการค้าฯ และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวรับรองลายเซ็นชื่อของเจ้าพนักงานกระทรวงการต่างประเทศอีกชั้นหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าเอกสารดังกล่าวไม่ใช่เอกสารแท้จริง และมิได้เถียงว่าคำแปลไม่ถูกต้อง จึงเป็นการเพียงพอที่จะให้ฟังได้ว่าบริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีนี้แทนได้ และคดีหาจำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาสืบการแปลเอกสารนั้นอีกไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์พิมพ์เป็นอักษรโรมันไว้ที่หีบห่อ (กล่อง)สำหรับบรรจุสินค้าเครื่องกันสะเทือนว่า KAYABA และ KYB ส่วนของจำเลยใช้คำว่า KAYADA และ KYD ซึ่งต่างกับของโจทก์เพียงอักษร D ส่วนของโจทก์เป็นอักษร B เท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมดทุกตัวอักษร ทั้งสำเนียงการอ่านก็คล้ายกัน ลักษณะหีบห่อ(กล่อง) สีสรร ตลอดจนการวางรูปของตัวอักษรก็เหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์ที่สุด และยังใช้กับสินค้าเครื่องกันสะเทือนเหมือนกัน ดังนี้นับได้ว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และชอบที่จะฟ้องร้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยว่าฝ่ายใดสมควรที่จะได้รับการจดทะเบียนดีกว่ากันนั้นได้
ในกรณีดังกล่าว แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เพราะเป็นการเลียนแบบล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาจนถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคแรกและกรณีไม่ต้องด้วยวรรคสองเพราะไม่มีประเด็นเรื่องการลวงขาย โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าจากจำเลย และตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อนโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยผลิตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย และไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเรียกเก็บคืนซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยจากตลาดการค้าได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์พิมพ์เป็นอักษรโรมันไว้ที่หีบห่อ (กล่อง)สำหรับบรรจุสินค้าเครื่องกันสะเทือนว่า KAYABA และ KYB ส่วนของจำเลยใช้คำว่า KAYADA และ KYD ซึ่งต่างกับของโจทก์เพียงอักษร D ส่วนของโจทก์เป็นอักษร B เท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมดทุกตัวอักษร ทั้งสำเนียงการอ่านก็คล้ายกัน ลักษณะหีบห่อ(กล่อง) สีสรร ตลอดจนการวางรูปของตัวอักษรก็เหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์ที่สุด และยังใช้กับสินค้าเครื่องกันสะเทือนเหมือนกัน ดังนี้นับได้ว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และชอบที่จะฟ้องร้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยว่าฝ่ายใดสมควรที่จะได้รับการจดทะเบียนดีกว่ากันนั้นได้
ในกรณีดังกล่าว แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เพราะเป็นการเลียนแบบล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาจนถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคแรกและกรณีไม่ต้องด้วยวรรคสองเพราะไม่มีประเด็นเรื่องการลวงขาย โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าจากจำเลย และตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อนโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยผลิตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย และไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเรียกเก็บคืนซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยจากตลาดการค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีของหุ้นส่วน: ถอนอำนาจต้องทำโดยเสียงข้างมาก ห้ามโต้แย้งหลังจำหน่ายคดี
การที่ผู้เป็นหุ้นส่วน 5 คนรวมทั้ง อ.ได้ร่วมกันลงชื่อในใบมอบอำนาจให้ พ.ผู้เป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการของหุ้นส่วนตามสัญญาเข้าหุ้นส่วนซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีผลประโยชน์ร่วมกันนั้น ย่อมถือว่า พ.ฟ้องคดีในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคน หาใช่ฟ้องคดีแทนผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะไม่ ฉะนั้นหากจะมีการถอนการมอบอำนาจให้ พ.เป็นโจทก์ฟ้องคดี ก็ชอบที่จะกระทำโดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนร่วมกันขอถอนหรือกระทำโดยเสียงข้างมาก ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยจะขอถอนใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นซึ่งเป็นเสียงข้างมากมิได้ยินยอมด้วยหาได้ไม่ ฉะนั้น การที่ อ.ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่เพียงคนเดียวยื่นคำร้องขอถอนการมอบอำนาจโดยผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ มิได้ยินยอมด้วย จึงหาทำให้การมอบอำนาจให้ พ.ฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจเสียไปไม่และหามีผลทำให้ อ.กลับเข้ามาเป็นโจทก์ด้วยตนเองไม่ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะ พ.ขอถอนฟ้อง แม้ อ.จะได้ยื่นคำร้องของถอนการมอบอำนาจไว้ก่อนศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีก็ตาม อ.ก็ไม่มีสิทธิขอเป็นโจทก์ดำเนินคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีของหุ้นส่วน การถอนอำนาจต้องทำโดยเสียงข้างมาก สิทธิการเป็นโจทก์
การที่ผู้เป็นหุ้นส่วน 5 คนรวมทั้ง อ. ได้ร่วมกันลงชื่อในใบมอบอำนาจให้ พ. ผู้เป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการของหุ้นส่วนตามสัญญาเข้าหุ้นส่วนซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีผลประโยชน์ร่วมกันนั้น ย่อมถือว่า พ. ฟ้องคดีในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนหาใช่ฟ้องคดีแทนผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะไม่ฉะนั้น หากจะมีการถอนการมอบอำนาจให้ พ. เป็นโจทก์ฟ้องคดี ก็ชอบที่จะกระทำโดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนร่วมกันขอถอนหรือกระทำโดยเสียงข้างมาก ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยจะขอถอนใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นซึ่งเป็นเสียงข้างมากมิได้ยินยอมด้วยหาได้ไม่ฉะนั้น การที่ อ. ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่เพียงคนเดียวยื่นคำร้องขอถอนการมอบอำนาจโดยผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ มิได้ยินยอมด้วย จึงหาทำให้การมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจ เสียไปไม่และหามีผลทำให้ อ. กลับเข้ามาเป็นโจทก์ด้วยตนเองไม่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะพ.ขอถอนฟ้องแม้ อ. จะได้ยื่นคำร้องขอถอนการมอบอำนาจไว้ก่อนศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีก็ตามอ. ก็ไม่มีสิทธิขอเป็นโจทก์ดำเนินคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายเดิม vs. ผู้จดทะเบียนภายหลัง, อายุความฟ้องเพิกถอน
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเช็คโกสโลวาเกียมี ฟ. เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจลงนามแทนโจทก์ ฟ. ได้มอบอำนาจให้อ. ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ ซึ่งหนังสือมอบอำนาจได้มีการรับรองความถูกต้องและแท้จริงกันมาเป็นทอดๆ โดยมีโนตารีแห่งรัฐรับรองการมอบอำนาจของ ฟ. และกระทรวงยุติธรรมแห่งกรุงปร้ากรับรองลายมือชื่อและตราราชการของโนตารีแห่งรัฐกระทรวงการต่างประเทศของเช็คโกสโลวาเกียรับรองลายมือชื่อและตราราชการของกระทรวงยุติธรรมและสถานเอกอัครราชทูตแห่งสหรัฐอเมริกาประจำกรุงปร้ากรับรองลายมือชื่อและตราราชการของกระทรวงการต่างประเทศของเช็คโกสโลวาเกีย ดังนี้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงมีผลใช้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 ไม่มีเหตุที่ศาลควรสงสัยว่าจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง อ. ผู้รับมอบอำนาจจึงฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA(สะลาเวีย) ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ในรายการสินค้าจำพวก 6 และจำพวก 7 นั้นเดิมผู้ผลิตในประเทศเช็คโกสโลวาเกียได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศเช็คโกสโลวาเกียตั้งแต่พ.ศ.2465 ใน พ.ศ.2491 ผู้ผลิตได้โอนเครื่องหมายการค้านี้ให้แก่บริษัทสะลาเวีย มอเตอร์เวอร์คต่อมาพ.ศ.2501บริษัทสะลาเวียฯ ได้โอนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์อีกทอดหนึ่ง เครื่องหมายการค้านี้ได้มีการต่ออายุมาทุกสิบปี ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศเช็คโกสโลวาเกียและในประเทศต่างๆ อีกหลายประเทศ และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสากลด้วย เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA(สะลาเวีย) ได้มีจำหน่ายอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2478 และโจทก์ได้ตั้งให้จำเลยเป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องยนต์สะลาเวียของโจทก์ ต่อมาจำเลยเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนนานแล้วไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นของตนเองดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่พิพาทดีกว่าจำเลย
โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทไว้ในประเทศไทย จึงยังไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแม้จำเลยนำเอาเครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของตนอันเป็นการขัดต่อประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ ก็ยังไม่ถึงกับเป็นเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่โจทก์ก็อาจใช้สิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติเรื่องอายุความเพื่อการนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปอันว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับโดยอนุโลมซึ่งให้เริ่มนับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เมื่อสิทธิของโจทก์เป็นสิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนทะเบียนตราบใดที่ยังไม่มีทะเบียน โจทก์ก็ไม่อาจจะใช้สิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนได้ อายุความในกรณีนี้จึงต้องเริ่มนับแต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีผลสมบูรณ์เป็นทะเบียน คือนับแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันจดทะเบียน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA(สะลาเวีย) ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ในรายการสินค้าจำพวก 6 และจำพวก 7 นั้นเดิมผู้ผลิตในประเทศเช็คโกสโลวาเกียได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศเช็คโกสโลวาเกียตั้งแต่พ.ศ.2465 ใน พ.ศ.2491 ผู้ผลิตได้โอนเครื่องหมายการค้านี้ให้แก่บริษัทสะลาเวีย มอเตอร์เวอร์คต่อมาพ.ศ.2501บริษัทสะลาเวียฯ ได้โอนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์อีกทอดหนึ่ง เครื่องหมายการค้านี้ได้มีการต่ออายุมาทุกสิบปี ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศเช็คโกสโลวาเกียและในประเทศต่างๆ อีกหลายประเทศ และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสากลด้วย เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA(สะลาเวีย) ได้มีจำหน่ายอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2478 และโจทก์ได้ตั้งให้จำเลยเป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องยนต์สะลาเวียของโจทก์ ต่อมาจำเลยเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนนานแล้วไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นของตนเองดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่พิพาทดีกว่าจำเลย
โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทไว้ในประเทศไทย จึงยังไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแม้จำเลยนำเอาเครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของตนอันเป็นการขัดต่อประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ ก็ยังไม่ถึงกับเป็นเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่โจทก์ก็อาจใช้สิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติเรื่องอายุความเพื่อการนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปอันว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับโดยอนุโลมซึ่งให้เริ่มนับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เมื่อสิทธิของโจทก์เป็นสิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนทะเบียนตราบใดที่ยังไม่มีทะเบียน โจทก์ก็ไม่อาจจะใช้สิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนได้ อายุความในกรณีนี้จึงต้องเริ่มนับแต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีผลสมบูรณ์เป็นทะเบียน คือนับแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันจดทะเบียน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนโดยไม่สุจริต และอายุความในการฟ้องเพิกถอนทะเบียน
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเช็คโกสโลวาเกีย มี ฟ.เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจลงนามแทนโจทก์ ฟ.ได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ซึ่งหนังสือมอบอำนาจได้มีการรับรองความถูกต้องและแท้จริงกันมาเป็นทอด ๆ โดยมีโนตารีแห่งรัฐรับรองการมอบอำนาจของ ฟ. และกระทรวงยุติธรรมแห่งกรุงปร้ากรับรองลายมือชื่อและตราราชการของโนตารีแห่งรัฐ กระทรวงการต่างประเทศของเช็คโกสโลวาเกียรับรองลายมือชื่อและตราราชการของกระทรวงยุติธรรมและสถาน เอกอัครราชฑูตแห่งสหรัฐอเมริกาประจำกรุงปร้ากรับรองลายมือชื่อและตราราชการของกระทรวงการต่างประเทศ ของเช็คโกสโลวาเกีย ดังนี้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงมีผลใช้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47 ไม่มีเหตุที่ศาลควรสงสัยว่าจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง อ.ผู้รับมอบอำนาจจึงฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA (สะลาเวีย) ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ในรายการสินค้าจำพวก 6 และจำพวก 7 นั้น เดิมผู้ผลิตในประเทศเช็คโกสโลวาเกียได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศเช็คโกสโลวาเกียตั้งแต่ พ.ศ.2465 ใน พ.ศ.2491 ผู้ผลิตได้โอนเครื่องหมายการค้านี้ให้แก่บริษัทสะลาเวีย มอเตอร์เวอร์ค ต่อมา พ.ศ.2501 บริษัทสะลาเวียฯ ได้โอนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์อีกทอดหนึ่งเครื่องหมายการค้านี้ได้มีการต่ออายุมาทุกสิบปี ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศเช็คโกสโลวาเกียและในประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศ และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสากลด้วย เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA (สะลาเวีย) ได้มีจำหน่ายอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2478 และโจทก์ได้ตั้งให้จำเลยเป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องยนต์สะลาเวียของโจทก์ ต่อมาจำเลยเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนนานแล้วไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นของตนเองดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่พิพาทดีกว่าจำเลย
โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทไว้ในประเทศไทย จึงยังไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย แม้จำเลยนำเอาเครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของตนอันเป็นการขัดต่อ ประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ ก็ยังไม่ถึงกับเป็นเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่โจทก์ก็อาจใช้สิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติเรื่องอายุความเพื่อการนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปอันว่าด้วยอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งให้เริ่มนับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เมื่อสิทธิของโจทก์เป็นสิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนทะเบียน ตราบใดที่ยังไม่มีทะเบียน โจทก์ก็ไม่อาจจะใช้สิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนได้อายุความในกรณีนี้จึงต้องเริ่มนับแต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของ จำเลยมีผลสมบูรณ์เป็นทะเบียน คือนับแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันจดทะเบียน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA (สะลาเวีย) ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ในรายการสินค้าจำพวก 6 และจำพวก 7 นั้น เดิมผู้ผลิตในประเทศเช็คโกสโลวาเกียได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศเช็คโกสโลวาเกียตั้งแต่ พ.ศ.2465 ใน พ.ศ.2491 ผู้ผลิตได้โอนเครื่องหมายการค้านี้ให้แก่บริษัทสะลาเวีย มอเตอร์เวอร์ค ต่อมา พ.ศ.2501 บริษัทสะลาเวียฯ ได้โอนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์อีกทอดหนึ่งเครื่องหมายการค้านี้ได้มีการต่ออายุมาทุกสิบปี ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศเช็คโกสโลวาเกียและในประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศ และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสากลด้วย เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA (สะลาเวีย) ได้มีจำหน่ายอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2478 และโจทก์ได้ตั้งให้จำเลยเป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องยนต์สะลาเวียของโจทก์ ต่อมาจำเลยเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนนานแล้วไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นของตนเองดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่พิพาทดีกว่าจำเลย
โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทไว้ในประเทศไทย จึงยังไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย แม้จำเลยนำเอาเครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของตนอันเป็นการขัดต่อ ประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ ก็ยังไม่ถึงกับเป็นเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่โจทก์ก็อาจใช้สิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติเรื่องอายุความเพื่อการนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปอันว่าด้วยอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งให้เริ่มนับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เมื่อสิทธิของโจทก์เป็นสิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนทะเบียน ตราบใดที่ยังไม่มีทะเบียน โจทก์ก็ไม่อาจจะใช้สิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนได้อายุความในกรณีนี้จึงต้องเริ่มนับแต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของ จำเลยมีผลสมบูรณ์เป็นทะเบียน คือนับแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันจดทะเบียน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2463/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสัตยาบันหนังสือมอบอำนาจที่ไม่มีตราบริษัท ศาลรับฟังได้หากมีการยืนยันและส่งมอบเอกสารที่ถูกต้อง
บริษัทโจทก์มอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแทน โดย ส.กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ซึ่งมีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท เป็นผู้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจตามภาพถ่ายท้ายฟ้อง ซึ่งไม่ได้ประทับตราบริษัทก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ ส. ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้สัตยาบันในการที่ บ. ฟ้องคดีแทนบริษัทโจทก์ พร้อมทั้งขอส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจอันมีตราของบริษัทประทับถูกต้องมาด้วย โดยชี้แจงประกอบว่าภาพถ่ายหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องได้เอาฉบับที่ไม่มีตราประทับส่งมาโดยความเข้าใจผิดของ บ. การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในทางแพ่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก็คงให้ถือหลักตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั่นเอง การที่ ส. กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการที่ บ. ฟ้องคดีแทนบริษัทโจทก์พร้อมทั้งขอส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจอันมีตราของบริษัทประทับถูกต้องและชี้แจงประกอบด้วย ย่อมเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันในการมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งห้ามไว้แต่ประการใด เมื่อพิจารณามาตรา 47 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยแล้ว ศาลชอบที่จะพึงรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวนี้ได้ บ. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1780/2493)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2463/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสัตยาบันหนังสือมอบอำนาจที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้มีอำนาจฟ้องคดีได้
บริษัทโจทก์มอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแทน โดย ส.กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ซึ่งมีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท เป็นผู้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจตามภาพถ่ายท้ายฟ้องซึ่งไม่ได้ประทับตราบริษัทก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ ส. ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้สัตยาบันในการที่ บ. ฟ้องคดีแทนบริษัทโจทก์ พร้อมทั้งขอส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจอันมีตราของบริษัทประทับถูกต้องมาด้วย โดยชี้แจงประกอบว่าภาพถ่ายหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องได้เอาฉบับที่ไม่มีตราประทับส่งมาโดยความเข้าใจผิดของ บ. การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในทางแพ่งนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็คงให้ถือหลักตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั่นเอง การที่ ส. กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการที่ บ. ฟ้องคดีแทนบริษัทโจทก์พร้อมทั้งขอส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจอันมีตราของบริษัทประทับถูกต้องและชี้แจงประกอบด้วย ย่อมเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันในการมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งห้ามไว้แต่ประการใด เมื่อพิจารณามาตรา 47 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยแล้ว ศาลชอบที่จะพึงรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวนี้ได้ บ. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1780/2493)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่, การโอนสิทธิจำนอง, ดอกเบี้ยทบต้น, สัญญาแปลงหนี้
ผู้แทนโจทก์ในคดียื่นสำเนาหนังสือมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นฟ้องและในวันนัดพิจารณา โจทก์ส่งหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต่อศาลซึ่งจำเลยได้แถลงรับว่าถูกต้องเป็นความจริง และรับว่าผู้รับมอบได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ และมีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจช่วงได้จริงดังนี้ เป็นการปฏิบัติชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้วผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไป ส่วนประกันของหนี้เดิมอันเป็นอุปกรณ์ของหนี้เช่นจำนอง ถ้าคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่มิได้ตกลงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมระงับไปด้วยเช่นเดียวกัน
มาตรา 352 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เท่านั้น การโอนสิทธิจำนองของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่แปลงใหม่ จึงทำเป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่ก็ใช้ได้ โดยไม่จำต้องจดทะเบียนจำนองซ้ำอีกอย่างจำนองธรรมดาที่เป็นหลักทั่วไป
หนี้เดิมเป็นหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีเดินสะพัด ซึ่งคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ เมื่อหนี้เดิมระงับไปเพราะการแปลงหนี้ใหม่ การคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนก็ต้องระงับไปตั้งแต่วันทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไป ส่วนประกันของหนี้เดิมอันเป็นอุปกรณ์ของหนี้เช่นจำนอง ถ้าคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่มิได้ตกลงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมระงับไปด้วยเช่นเดียวกัน
มาตรา 352 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เท่านั้น การโอนสิทธิจำนองของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่แปลงใหม่ จึงทำเป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่ก็ใช้ได้ โดยไม่จำต้องจดทะเบียนจำนองซ้ำอีกอย่างจำนองธรรมดาที่เป็นหลักทั่วไป
หนี้เดิมเป็นหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีเดินสะพัด ซึ่งคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ เมื่อหนี้เดิมระงับไปเพราะการแปลงหนี้ใหม่ การคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนก็ต้องระงับไปตั้งแต่วันทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่