พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและความรับผิดร่วมของนิติบุคคลในสัญญาซื้อขาย การชำระหนี้หลังเลิกห้าง
หนังสือมอบอำนาจระบุให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแพ่งว่าด้วยสัญญาซื้อขายแทนโจทก์ ดังนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในเรื่องดังกล่าวกับบุคคลใด ผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ ซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับมอบหมายได้โดยไม่จำต้องระบุชื่อจำเลย
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันประกอบธุรกิจบ้านจัดสรรจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ค่าสินค้าที่ซื้อจากโจทก์มาใช้ในการประกอบธุรกิจดังกล่าวแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 3 จะจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด และจำเลยที่ 4 ไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 ต่อไป แต่เมื่อยังไม่มีการชำระบัญชีจำเลยที่ 3 สภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ 3 ยังคงมีอยู่ต่อไปตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 จึงเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดในฐานะหุ้นส่วนไม่ใช่ในฐานะห้างหุ้นส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 มาตรา 1077 (2) ดังนั้นจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันประกอบธุรกิจบ้านจัดสรรจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ค่าสินค้าที่ซื้อจากโจทก์มาใช้ในการประกอบธุรกิจดังกล่าวแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 3 จะจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด และจำเลยที่ 4 ไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 ต่อไป แต่เมื่อยังไม่มีการชำระบัญชีจำเลยที่ 3 สภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ 3 ยังคงมีอยู่ต่อไปตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 จึงเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดในฐานะหุ้นส่วนไม่ใช่ในฐานะห้างหุ้นส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 มาตรา 1077 (2) ดังนั้นจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันในคดีแรงงาน: อายุความ, อำนาจฟ้อง, และขอบเขตความรับผิด
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ในระหว่างทำงานให้แก่โจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานให้แก่โจทก์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หลายครั้ง โดยบรรยายรายละเอียดว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำความเสียหายเมื่อใด อย่างไร จำนวนเท่าใด พร้อมทั้งมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแทนโจทก์ตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธว่าใบมอบอำนาจดังกล่าวไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และศาลแรงงานกลางก็ไม่มีเหตุสงสัยว่า ไม่ใช่ใบอำนาจอันแท้จริงจึงเท่ากับจำเลยที่ 2 รับว่า ส. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 ประกอบมาตรา 47 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่ลูกจ้างยักยอกเงินของนายจ้างนอกจากเป็นการกระทำละเมิดต่อนายจ้างยังเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งการที่นายจ้างฟ้องเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแทนโจทก์ตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธว่าใบมอบอำนาจดังกล่าวไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และศาลแรงงานกลางก็ไม่มีเหตุสงสัยว่า ไม่ใช่ใบอำนาจอันแท้จริงจึงเท่ากับจำเลยที่ 2 รับว่า ส. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 ประกอบมาตรา 47 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่ลูกจ้างยักยอกเงินของนายจ้างนอกจากเป็นการกระทำละเมิดต่อนายจ้างยังเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งการที่นายจ้างฟ้องเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล, อายุความ, สกุลเงิน, การบังคับคดี: ข้อพิพาทซื้อขายระหว่างประเทศและการคำนวณหนี้
คำแปลเป็นภาษาไทยของหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้อง ไม่ปรากฏว่ามีการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแพ่งด้วยซึ่งไม่ตรงกับข้อความในภาษาอังกฤษในต้นฉบับ ต้องถือข้อความภาษาอังกฤษในต้นฉบับที่แท้จริงที่ดำเนินคดีแพ่งด้วยเป็นสำคัญ
สัญญาแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายสินค้ามีข้อตกลงในเรื่องการใช้สิทธิทางศาลว่า ศาลในประเทศของผู้จัดหาสินค้า (หมายถึงโจทก์) มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดจากข้อพิพาททางกฎหมายใด ๆ อย่างไรก็ตามถ้าผู้จัดหาสินค้าอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลในประเทศจของตัวแทน (หมายถึงจำเลย) ซึ่งมีความหมายชัดเจนอยู่แล้วว่า บรรดาข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยให้เสนอต่อศาลในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนีแต่โจทก์ก็มีสิทธที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยในศาลของประเทศไทยได้ข้อตกลงดังกล่าวมิได้ขัดต่อกฎหมายใดหรือขัดต่อตวามสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยได้
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์มาเพื่อประกอลบเข้ากับมอเตอร์และอุปกรณ์อื่นผลิตเป็นปั๊มเซตแล้วนำออกจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อนำมาใช้ในกิจการของลูกหนี้นั่นเอง สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)
สัญญาแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายสินค้ามีข้อตกลงในเรื่องการใช้สิทธิทางศาลว่า ศาลในประเทศของผู้จัดหาสินค้า (หมายถึงโจทก์) มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดจากข้อพิพาททางกฎหมายใด ๆ อย่างไรก็ตามถ้าผู้จัดหาสินค้าอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลในประเทศจของตัวแทน (หมายถึงจำเลย) ซึ่งมีความหมายชัดเจนอยู่แล้วว่า บรรดาข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยให้เสนอต่อศาลในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนีแต่โจทก์ก็มีสิทธที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยในศาลของประเทศไทยได้ข้อตกลงดังกล่าวมิได้ขัดต่อกฎหมายใดหรือขัดต่อตวามสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยได้
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์มาเพื่อประกอลบเข้ากับมอเตอร์และอุปกรณ์อื่นผลิตเป็นปั๊มเซตแล้วนำออกจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อนำมาใช้ในกิจการของลูกหนี้นั่นเอง สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7455/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีและการมอบอำนาจช่วง: การมอบอำนาจช่วงก่อนยื่นฟ้องมีผลสมบูรณ์ แม้การมอบอำนาจภายหลังมีข้อบกพร่อง
น. ได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์และมีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงกระทำการดังกล่าวได้ ขณะยื่นฟ้องคดี น. มอบอำนาจช่วงให้ ว. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย ดังนี้ ว. ผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงมีอำนาจยื่นคำฟ้องแทนโจทก์โดยชอบ แม้ภายหลังเมื่อ ว. ลาออกจากบริษัทโจทก์แล้ว น. จะมอบอำนาจช่วงให้ ช. เป็นผู้ดำเนินคดีแทนและหนังสือมอบอำนาจช่วงฉบับหลังนี้ไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนก็หามีผลกระทบไปถึงการฟ้องที่ ว. ได้ดำเนินการไปแล้วโดยชอบตามหนังสือมอบอำนาจช่วงฉบับแรกซึ่งได้ปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าโดยถูกต้องครบถ้วนแล้วแต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจผู้รับมอบอำนาจ: การมอบอำนาจต้องระบุชัดเจนถึงขอบเขตการกระทำแทน
แม้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 จะมิได้กำหนดแบบของหนังสือมอบอำนาจไว้ก็ตาม แต่ข้อความในหนังสือมอบอำนาจก็ต้องระบุไว้ว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการใดแทนผู้มอบอำนาจได้บ้างอันจะทำให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำแทนผู้มอบอำนาจได้เท่าที่ได้รับมอบอำนาจเท่านั้น เมื่อตามหนังสือมอบอำนาจผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มอบอำนาจได้มอบอำนาจให้ ธ. ติดต่อขอรับรถของกลางจากพนักงานสอบสวนและให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับการติดต่อขอรับรถของกลางคืนเมื่อคดีถึงที่สุดเท่านั้น ผู้มอบอำนาจไม่ได้มอบอำนาจให้ ธ. ยื่นคำร้องต่อศาลหรือดำเนินคดีในชั้นศาล ดังนั้น ธ. ย่อมไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาตใช้สิทธิเครื่องหมายการค้า: โมฆะจาก พรบ.เครื่องหมายการค้า, ลาภมิควรได้, ศาลพิพากษาเกินคำฟ้อง
การที่โจทก์อ้างส่งหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ต่อศาลเพียง 2 ฉบับโดยฉบับแรกรับรองตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2540 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2541 ฉบับที่สองรับรองตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2542 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2543 แม้ว่าโจทก์จะมิได้แสดงหลักฐานการต่ออายุการจดทะเบียนดังกล่าวในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม2541 ถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2542 แต่จากหนังสือรับรองฉบับที่สองมีข้อความว่า โจทก์ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดมาตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2533 และได้รับอนุญาตให้ต่ออายุไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2543 นั้น ย่อมหมายความว่า ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2533 โจทก์ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมาอย่างต่อเนื่องจนถึงฉบับหลังสุด ซึ่งจำเลยเองก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าในช่วงเวลาดังกล่าวโจทก์มิได้ต่ออายุการจดทะเบียนบริษัทโจทก์แต่อย่างใด จึงรับฟังได้ว่าช่วงเวลาที่โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องหรือในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ โจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคล คำฟ้องของโจทก์จึงมีผลตามกฎหมาย
การทำหนังสือมอบอำนาจไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำ ณ สถานที่อันเป็นภูมิลำเนาของผู้มอบอำนาจ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47วรรคสาม กำหนดเพียงว่า หากหนังสือมอบอำนาจทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยามต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน เมื่อหนังสือมอบอำนาจคดีนี้ได้ทำขึ้นในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีสถานกงสุลของประเทศไทยตั้งอยู่ โดยหนังสือมอบอำนาจมีลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจและประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์มีเจ้าพนักงานรับรองหนังสือสัญญาของฮ่องกงลงลายมือชื่อเป็นพยาน และมีกงสุลไทยประจำฮ่องกงลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานรับรองหนังสือสัญญาดังกล่าว ทั้งจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าบุคคลผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ หรือขณะลงลายมือชื่อมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้ว กรณีจึงรับฟังได้ว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจที่แท้จริงและมีผลบังคับตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระค่าสิทธิและส่วนต่างของค่าธรรมเนียมจากยอดขายและค่าสิทธิขั้นต่ำตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วงในเครื่องหมายการค้าPUMA คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการคืนทรัพย์อันเกิดจากโมฆะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าจำเลยต้องจ่ายค่าใช้สิทธิแก่โจทก์ตามควรในฐานลาภมิควรได้นั้น จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 คำพิพากษาในส่วนนี้จึงไม่ชอบ
การทำหนังสือมอบอำนาจไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำ ณ สถานที่อันเป็นภูมิลำเนาของผู้มอบอำนาจ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47วรรคสาม กำหนดเพียงว่า หากหนังสือมอบอำนาจทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยามต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน เมื่อหนังสือมอบอำนาจคดีนี้ได้ทำขึ้นในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีสถานกงสุลของประเทศไทยตั้งอยู่ โดยหนังสือมอบอำนาจมีลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจและประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์มีเจ้าพนักงานรับรองหนังสือสัญญาของฮ่องกงลงลายมือชื่อเป็นพยาน และมีกงสุลไทยประจำฮ่องกงลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานรับรองหนังสือสัญญาดังกล่าว ทั้งจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าบุคคลผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ หรือขณะลงลายมือชื่อมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้ว กรณีจึงรับฟังได้ว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจที่แท้จริงและมีผลบังคับตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระค่าสิทธิและส่วนต่างของค่าธรรมเนียมจากยอดขายและค่าสิทธิขั้นต่ำตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วงในเครื่องหมายการค้าPUMA คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการคืนทรัพย์อันเกิดจากโมฆะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าจำเลยต้องจ่ายค่าใช้สิทธิแก่โจทก์ตามควรในฐานลาภมิควรได้นั้น จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 คำพิพากษาในส่วนนี้จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945-1946/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการสิ้นผลผูกพันเมื่อมีการตกลงระงับข้อพิพาทใหม่ต่อศาล และการแก้ไขอัตราแลกเปลี่ยนตามกฎหมาย
หลังจากที่มีข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงเกิดขึ้นแล้ว ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มีการตกลงกันใหม่เพื่อระงับข้อพิพาทด้วยการเสนอคดีให้ศาลไทยเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ดังนี้ข้อตกลงเดิมที่ต้องเสนอให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยจึงสิ้นผลผูกพันไปแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทตามสัญญาดังกล่าวให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยก่อน
หนังสือมอบอำนาจที่ทำขึ้นในต่างประเทศซึ่งมีโนตารีปับลิกและเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศและการค้าของต่างประเทศรับรองและยังมีเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศนั้นรับรอง จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำขึ้นโดยถูกต้อง ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทตามอัตราเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าวให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเช่นว่านั้นก่อนมีคำพิพากษา เป็นการกำหนดที่ไม่สอดคล้องกับ ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
หนังสือมอบอำนาจที่ทำขึ้นในต่างประเทศซึ่งมีโนตารีปับลิกและเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศและการค้าของต่างประเทศรับรองและยังมีเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศนั้นรับรอง จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำขึ้นโดยถูกต้อง ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทตามอัตราเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าวให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเช่นว่านั้นก่อนมีคำพิพากษา เป็นการกำหนดที่ไม่สอดคล้องกับ ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนต่างประเทศ การเสนอขายสินค้าปลอมเครื่องหมายการค้า
การอ้างหนังสือจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศเป็นพยานเอกสารมิได้มีกฎหมายบัญญัติว่าจะต้องมีโนตารีปับลิกเป็นพยานและต้องมีเจ้าหน้าที่สถานทูตของประเทศไทยรับรองลายมือชื่อของโนตารีปับลิกดังเช่นหนังสือมอบอำนาจที่ได้กระทำในต่างประเทศ
ป.อ. มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ได้ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนไว้นอกราชอาณาจักร โดยให้สิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาแก่ผู้เสนอจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายปลอมได้ การที่ผู้เสียหายไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทยไม่อาจถือว่าผู้เสียหายไม่ประสงค์จะได้รับความคุ้มครองเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทย
ป.อ. มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ได้ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนไว้นอกราชอาณาจักร โดยให้สิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาแก่ผู้เสนอจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายปลอมได้ การที่ผู้เสียหายไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทยไม่อาจถือว่าผู้เสียหายไม่ประสงค์จะได้รับความคุ้มครองเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6982/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีทรัพย์สินทางปัญญา: การบรรยายฟ้อง และหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คำฟ้องในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศต้องเป็นไปตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 6 กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 172 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับ โจทก์ในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่จำต้องบรรยายฟ้องให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 วรรคสอง ดังนี้หากโจทก์บรรยายฟ้องให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับก็เพียงพอที่จะให้ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายตามข้อกำหนดดังกล่าวแล้ว หากจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่เข้าใจคำฟ้องในส่วนใด ศาลอาจสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยอธิบายรายละเอียดในส่วนนั้นให้ชัดเจนขึ้นก็ได้ และจำเลยมีสิทธิแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในส่วนคำฟ้องที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นได้ ตามข้อกำหนดดังกล่าวข้อ 6 วรรคสอง แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของ ข้อกำหนดดังกล่าวว่าประสงค์จะให้คู่ความแพ้ชนะกันในเนื้อหาแห่งคดี ไม่ถือเอาข้อบกพร่องในการบรรยายฟ้อง อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความมาเป็นข้อแพ้ชนะในคดี ดังนี้ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้สั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง แสดงว่าศาลเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากรกำหนดในข้อ 7 ว่า กรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคล คนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และกรณี (ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ คิดตามรายตัวบุคคลที่ รับมอบคนละ 30 บาท
โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายหรือ บ. ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายของธนาคารโจทก์เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ในการดำเนินคดี แก้ต่างคดีของโจทก์ ฟ้องแย้ง ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความรวมทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีล้มละลาย ในศาลทั่วราชอาณาจักร ต่อบุคคล นิติบุคคล กลุ่มคณะบุคคลใด ๆ ที่ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ต่อโจทก์ และกระทำการอื่นตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 ถึง 8 โดยให้ผู้รับมอบอำนาจคนใด คนหนึ่งมีอำนาจกระทำการดังกล่าวแทนโจทก์ในนามโจทก์ได้ การมอบอำนาจดังกล่าวของโจทก์เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้ต่างคนกระทำกิจการแยกกันได้ ค่าอากรแสตมป์จึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่ รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7(ค) ท้าย ป.รัษฎากรดังกล่าว เมื่อตามหนังสือ มอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 โจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจ 2 คน คนใดคนหนึ่งทำการฟ้องคดีแพ่งและกระทำการอื่น ๆ แทนโจทก์ได้ โจทก์จึงต้องปิดอากรแสตมป์คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท รวมจำนวน 60 บาท
โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย แม้โจทก์ได้ไป เสียอากรแสตมป์และเงินเพิ่มสำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 117 ก็ตาม แต่โจทก์ได้ดำเนินการดังกล่าวภายหลังจากที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้พิพากษาคดีไปแล้ว โจทก์มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์เสียก่อนหรือในขณะที่ได้นำหนังสือ มอบอำนาจนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ทั้ง ๆ ที่จำเลยทั้งสี่ก็ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นนี้ไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย หนังสือมอบอำนาจจึงเป็น ตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ในขณะที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐาน หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ ดังที่บัญญัติไว้ในป.รัษฎากร มาตรา 118 กรณีย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจ ส. ให้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากรกำหนดในข้อ 7 ว่า กรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคล คนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และกรณี (ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ คิดตามรายตัวบุคคลที่ รับมอบคนละ 30 บาท
โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายหรือ บ. ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายของธนาคารโจทก์เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ในการดำเนินคดี แก้ต่างคดีของโจทก์ ฟ้องแย้ง ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความรวมทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีล้มละลาย ในศาลทั่วราชอาณาจักร ต่อบุคคล นิติบุคคล กลุ่มคณะบุคคลใด ๆ ที่ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ต่อโจทก์ และกระทำการอื่นตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 ถึง 8 โดยให้ผู้รับมอบอำนาจคนใด คนหนึ่งมีอำนาจกระทำการดังกล่าวแทนโจทก์ในนามโจทก์ได้ การมอบอำนาจดังกล่าวของโจทก์เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้ต่างคนกระทำกิจการแยกกันได้ ค่าอากรแสตมป์จึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่ รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7(ค) ท้าย ป.รัษฎากรดังกล่าว เมื่อตามหนังสือ มอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 โจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจ 2 คน คนใดคนหนึ่งทำการฟ้องคดีแพ่งและกระทำการอื่น ๆ แทนโจทก์ได้ โจทก์จึงต้องปิดอากรแสตมป์คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท รวมจำนวน 60 บาท
โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย แม้โจทก์ได้ไป เสียอากรแสตมป์และเงินเพิ่มสำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 117 ก็ตาม แต่โจทก์ได้ดำเนินการดังกล่าวภายหลังจากที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้พิพากษาคดีไปแล้ว โจทก์มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์เสียก่อนหรือในขณะที่ได้นำหนังสือ มอบอำนาจนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ทั้ง ๆ ที่จำเลยทั้งสี่ก็ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นนี้ไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย หนังสือมอบอำนาจจึงเป็น ตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ในขณะที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐาน หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ ดังที่บัญญัติไว้ในป.รัษฎากร มาตรา 118 กรณีย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจ ส. ให้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีและการใช้ดุลพินิจของศาลในการงดสืบพยานที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญ
จำเลยเคยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายเรียกพยานปากอ.และ น.กรรมการของโจทก์มาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยแถลงศาลก่อนว่าพยานที่ขอออกหมายเรียกที่ประสงค์จะนำสืบข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีอย่างไรแล้วจะพิจารณาสั่งต่อไป แต่จำเลยก็ไม่ได้แถลงถึงเหตุที่ต้องขอหมายเรียกพยานดังกล่าวให้ศาลชั้นต้นทราบ จนถึงวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างเหตุที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ออกหมายเรียก อ.และ น.มาเป็นพยานจำเลย และจำเลยไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา ซึ่งศาลชั้นต้นก็อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีโดยกำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อมสืบตามนัด เนื่องจากศาลเลื่อนคดีไปเป็นระยะเวลานานเกือบ 3 เดือน หากในวันนัดไม่สามารถนำพยานอื่นมาสืบได้ก็ให้นำตัวจำเลยเข้าสืบก่อน แต่ครั้นถึงกำหนด จำเลยก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีกอ้างเหตุว่าประสงค์จะนำ อ.เข้าสืบเป็นพยานจำเลยปากแรกเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง แต่เกิดเหตุขัดข้องในด้านธุรการศาล เจ้าหน้าที่ศาลไม่สามารถนำหมายเรียกพยานบุคคลดังกล่าวมาให้ทนายจำเลยได้ และไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาล พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการประวิงคดี
ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยมิชักช้า การเลื่อนคดีก็อนุญาตให้เลื่อนได้เพียงครั้งเดียว คู่ความที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีไปแล้ว จะขอเลื่อนคดีอีกได้ก็ต่อเมื่อเข้าข้อยกเว้น คือมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ เมื่อการขอเลื่อนคดี ตามคำร้อง และคำแถลงของทนายจำเลยต่อศาลชั้นต้นไม่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทั้งมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม พฤติการณ์จึงเป็นการประวิงคดี ชอบที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยโดยไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไป และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสอง คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณากำหนดนัดฟังคำพิพากษา จึงมีความหมายในตัวว่ากำหนดนัดสืบพยานจำเลยที่เหลือล่วงหน้าเป็นอันยกเลิกไปในตัว ศาลชั้นต้นหาจำต้องสั่งยกเลิกวันนัดสืบพยานจำเลยทั้งสองอีกไม่ กรณีมิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 27ได้
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า อ.ไม่ใช่กรรมการผู้มีสิทธิมอบอำนาจกระทำการแทนโจทก์ หรือลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม อันมีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง ที่จะนำเข้าสู่ประเด็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ และข้อต่อสู้ของจำเลยเกี่ยวกับใบมอบอำนาจในเรื่องวันที่ สถานที่ ที่ทำใบมอบอำนาจ และผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ และพยานร่วมกันลงชื่อตามวันและสถานที่ตามใบมอบอำนาจหรือไม่ ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ใบมอบอำนาจไม่สมบูรณ์และไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่จำเลยขอหมายเรียก อ.มาเบิกความเป็นพยานจำเลยในเรื่องอำนาจฟ้องเป็นพยานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดี จึงงดสืบพยานดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง และ มาตรา 104 แล้ว
คำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยไม่ได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยมาศาลไม่ได้ในวันนัดสืบพยานจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามทนายจำเลยถึงการไม่นำตัวจำเลยมาเบิกความเป็นพยาน ทนายจำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยติดธุระสำคัญไม่อาจมาศาลได้เท่านั้น ถือได้ว่าข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลชั้นต้นแล้วว่า คำร้องขอเลื่อนคดีและคำแถลงของทนายจำเลยไม่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้และไม่แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมประกอบกับศาลชั้นต้นได้กำชับให้นำตัวจำเลยเข้าเบิกความ หากไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาลในนัดก่อนหน้านี้แล้ว ศาลชั้นต้นหาจำต้องไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยอีกแต่อย่างใดไม่
ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยมิชักช้า การเลื่อนคดีก็อนุญาตให้เลื่อนได้เพียงครั้งเดียว คู่ความที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีไปแล้ว จะขอเลื่อนคดีอีกได้ก็ต่อเมื่อเข้าข้อยกเว้น คือมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ เมื่อการขอเลื่อนคดี ตามคำร้อง และคำแถลงของทนายจำเลยต่อศาลชั้นต้นไม่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทั้งมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม พฤติการณ์จึงเป็นการประวิงคดี ชอบที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยโดยไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไป และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสอง คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณากำหนดนัดฟังคำพิพากษา จึงมีความหมายในตัวว่ากำหนดนัดสืบพยานจำเลยที่เหลือล่วงหน้าเป็นอันยกเลิกไปในตัว ศาลชั้นต้นหาจำต้องสั่งยกเลิกวันนัดสืบพยานจำเลยทั้งสองอีกไม่ กรณีมิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 27ได้
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า อ.ไม่ใช่กรรมการผู้มีสิทธิมอบอำนาจกระทำการแทนโจทก์ หรือลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม อันมีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง ที่จะนำเข้าสู่ประเด็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ และข้อต่อสู้ของจำเลยเกี่ยวกับใบมอบอำนาจในเรื่องวันที่ สถานที่ ที่ทำใบมอบอำนาจ และผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ และพยานร่วมกันลงชื่อตามวันและสถานที่ตามใบมอบอำนาจหรือไม่ ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ใบมอบอำนาจไม่สมบูรณ์และไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่จำเลยขอหมายเรียก อ.มาเบิกความเป็นพยานจำเลยในเรื่องอำนาจฟ้องเป็นพยานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดี จึงงดสืบพยานดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง และ มาตรา 104 แล้ว
คำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยไม่ได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยมาศาลไม่ได้ในวันนัดสืบพยานจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามทนายจำเลยถึงการไม่นำตัวจำเลยมาเบิกความเป็นพยาน ทนายจำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยติดธุระสำคัญไม่อาจมาศาลได้เท่านั้น ถือได้ว่าข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลชั้นต้นแล้วว่า คำร้องขอเลื่อนคดีและคำแถลงของทนายจำเลยไม่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้และไม่แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมประกอบกับศาลชั้นต้นได้กำชับให้นำตัวจำเลยเข้าเบิกความ หากไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาลในนัดก่อนหน้านี้แล้ว ศาลชั้นต้นหาจำต้องไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยอีกแต่อย่างใดไม่