คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9083/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลต่อความเสียหายของสินค้า และอำนาจฟ้องคดีของโจทก์
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่มลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจประกันภัยหลายประเภท โดยมีหนังสือรับรองของสถานกงสุลไทย ณ เมืองบอสตันรับรองความถูกต้องของเอกสารรับรองความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ จำเลยไม่ได้นำสืบถึงความไม่ถูกต้องและไม่ได้ฎีกาโต้แย้งเอกสารดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับอนุญาตให้ตั้งสาขาของบริษัทประกอบธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยจากทางราชการ
โจทก์ได้แต่งตั้งให้ พ.เป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ในประเทศไทยและมีอำนาจยื่นฟ้องคดีทั้งปวงแทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งได้ทำในเมืองต่างประเทศ มี ป.โนตารีปับลิกลงลายมือชื่อรับรองเป็นพยานว่าผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจได้สาบานและลงลายมือชื่อต่อหน้าตน และมีใบสำคัญของเลขาธิการแห่งมลรัฐนิวแฮมป์เชียร์กับจ่าศาลสูงแห่งมลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ณ มณฑลฮิลส์โบโรห์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องรับรองว่า ป.เป็นโนตารีปับลิกผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย แสดงว่า ป.ซึ่งเป็นโนตารีปับลิกมีอำนาจเป็นพยานรับการสาบานและการลงลายมือชื่อดังกล่าวได้ จึงไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่ใช่เอกสารที่แท้จริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47
โจทก์มีหนังสือมอบอำนาจซึ่ง อ.และ จ.ได้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจในฐานะรองประธานและเลขานุการของโจทก์ ซึ่งบุคคลทั้งสองมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ และได้มอบอำนาจให้ พ.มีอำนาจฟ้องคดีทั้งปวงในประเทศไทยและมีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ พ.จึงมีสิทธิมอบอำนาจช่วงให้ส.ฟ้องคดีทั้งปวงแทนโจทก์ได้ แม้โจทก์จะได้ใช้หนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าวฟ้องคดีอื่น ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้นำมาใช้ฟ้องคดีนี้อีก เพราะมิใช่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องเฉพาะคดีในคดีหนึ่งเท่านั้น
ใบตราส่งมีข้อความกำหนดไว้ว่า ในกรณีที่การขนส่งสินค้าไปยังหรือมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดความเสียหายในระหว่างการขนส่งให้ใช้กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาบังคับ และศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีคือศาลแห่งกรุงนิวยอร์ก ดังนั้น เมื่อสินค้าลงเรือแล้วผู้รับขนได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้าและสัญญาว่าผู้รับขนจะขนส่งสินค้าไปส่งมอบแก่ผู้รับใบตราส่งในประเทศปลายทาง ใบตราส่งจึงมีลักษณะเป็นหลักฐานแห่งสัญญาในการขนส่งสินค้าอยู่ด้วย ซึ่งจำเลยก็ได้ให้การยอมรับแล้ว ข้อความดังกล่าวจึงมีผลผูกพันคู่สัญญาในใบตราส่ง คือบริษัท บ.ผู้ส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและจำเลยผู้รับขน ส่วนโจทก์เป็นเพียงผู้รับประกันภัยสินค้าในระหว่างการขนส่งจากผู้รับตราส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศไทย โจทก์เป็นบุคคลภายนอก ไม่ใช่คู่สัญญาในใบตราส่ง จึงไม่ถูกผูกพันตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (2) เดิม อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีกรณีจึงไม่มีข้อที่จะต้องวินิจฉัยตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481
คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดและจำนวนหนังโคฟอกย้อมสีที่ได้รับความเสียหายเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจและให้การต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการคิดคำนวณค่าเสียหายเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
บริษัท 2 บริษัทที่ประเทศเดนมาร์ก คือ ด.และ อ.ได้ร่วมกันมอบอำนาจให้ พ.จดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยในประเทศไทยเพื่อประกอบธุรกิจเดินเรือจำเลยจึงเป็นตัวแทนหรือบริษัทสาขาของบริษัทแม่ 2 บริษัทดังกล่าว คนทั่วไปรู้จักจำเลยในชื่อว่าเมอส์กไลน์หรือสายเดินเรือเมอส์ก ดังนั้น คำว่าเมอร์กไลน์ จึงเป็นชื่อที่ใช้ในทางธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเลของบริษัทแม่ 2 บริษัท ที่ประเทศเดนมาร์กรวมทั้งจำเลยด้วย ในใบตราส่งใช้คำว่า เมอส์กไลน์ ที่ข้างกระดาษและลงลายมือชื่อโดยเมอส์กไลน์เอเยนซี่ เมืองบอสตัน ในฐานะตัวแทนผู้ขนส่ง แม้จะไม่ได้ใช้ชื่อจำเลยออกใบตราส่ง แต่ก็ต้องถือว่าใบตราส่งได้ออกโดยสายเดินเรือเมอส์กที่เมืองบอสตันซึ่งเป็นตัวแทนสาขาของบริษัทแม่ดังกล่าวในประเทศเดนมาร์ก
เมื่อเรือ ม.เดินทางมาถึงประเทศไทย จำเลยซึ่งเป็นบริษัทสาขาหรือตัวแทนบริษัทเดินเรือที่ประเทศเดนมาร์กในประเทศไทยได้ยื่นเอกสารขอนำเรือเข้าท่าและขอเช่าเรือลากจูงกับนำหนังสือสัญญาค้ำประกันค่าใช้จ่ายของธนาคารมาวางเป็นประกันต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทย และยื่นเอกสารต่อกองตรวจคนเข้าเมืองตามรายการเกี่ยวกับพาหนะโดยระบุว่าเป็นสายเดินเรือเมอส์ก และเมื่อเรือ ม.เดินทางมาถึงท่าเรือแล้ว จำเลยได้ขออนุญาตต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขอนำเรือเข้าเทียบท่าเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์เข้าโรงพักสินค้า ดังนั้น เมื่อสายเดินเรือเมอส์กเป็นธุรกิจของบริษัทเดินเรือแม่ในประเทศเดนมาร์กที่จำเลยเป็นตัวแทนในประเทศไทย และจำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท และสินค้าที่ขนส่งโดยเรือของสายเดินเรือเมอส์กเพื่อส่งให้แก่ผู้รับตราส่งในประเทศไทยเกิดความเสียหายซึ่งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบ จำเลยจะปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่ง จึงไม่ได้เป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าหาได้ไม่
สินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างขนส่งเพราะเกิดแต่เหตุสุดวิสัยจำเลยผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 นั้น จำเลยมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์
สินค้าหนังโคฟอกย้อมสีที่จำเลยขนส่งถึงกรุงเทพมหานครมาโดยเรือ ล.และเรือ ม.บางส่วนเปียกน้ำทะเลและขึ้นรา เนื่องจากมีน้ำทะเลเข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์การที่น้ำทะเลเข้าดาดฟ้าเรือในขณะเรือแล่นอยู่กลางทะเลย่อมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามปกติของการขนส่งทางทะเล ซึ่งจำเลยผู้ขนส่งทางทะเลย่อมทราบดีถึงภัยทางทะเลดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้สินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ต้องเสียหายจากการที่น้ำทะเลไหลเข้าไปในตู้สินค้า จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่เปียกน้ำทะเลว่าเกิดแต่เหตุสุดวิสัยได้ ทั้งเหตุพายุหมุนอย่างรุนแรง คลื่นสูง และท้องทะเลปั่นป่วน จำเลยก็มิได้นำสืบให้ปรากฏว่าเป็นเหตุผิดปกติวิสัยที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาระเช่นจำเลย จึงยังไม่อาจถือเป็นเหตุสุดวิสัย ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่งป.พ.พ.
บริษัท ซ.ผู้เอาประกันภัยสินค้าที่จำเลยขนส่งมา และผู้แทนจำเลยได้พบว่าสินค้าที่จำเลยขนส่งมาเกิดความเสียหายในวันเดียวกับที่จำเลยได้ส่งมอบ แม้จะฟังว่าผู้รับตราส่งได้ชำระค่าระวางเรือแล้ว ก็ไม่อาจฟังได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับสินค้าไว้โดยไม่อิดเอื้อน ความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งจึงยังไม่สิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 623 วรรคหนึ่ง
โจทก์ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยผู้ขนส่งสินค้า มิได้ฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาประกันภัย จึงไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการรับประกันภัยเป็นหนังสือมาแสดง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6228/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างสัญญาซื้อขายเนื่องจากจำเลยปกปิดข้อบกพร่องของทรัพย์ที่ขัดขวางการใช้ประโยชน์ได้
ศาลมีอำนาจที่วินิจฉัยว่าลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่โดยไม่จำต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์และไม่จำเป็นที่ผู้มอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อในวันที่ลงในหนังสือมอบอำนาจอาจมีการลงลายมือชื่อไว้ก่อนได้และแม้ขณะลงลายมือชื่อดังกล่าวจะมิได้กรอกข้อความให้ครบถ้วนแต่เมื่อได้กรอกข้อความให้ครบถ้วนก่อนฟ้องคดีตรงตามความประสงค์ของผู้มอบอำนาจแล้วย่อมเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ใช้ได้ โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินและอาคารจากจำเลยเพื่อดำเนินกิจการโรงแรมแต่จำเลยไม่ได้บอกให้โจทก์ทราบถึงคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนส่วนที่ผิดแบบออกไปทำให้โจทก์สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์อันเป็นสาระสำคัญเป็นเหตุให้สัญญาจะซื้อขายเป็นโมฆียะโจทก์ขึงมีสิทธิบอกล้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้, การรับสภาพหนี้, และขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้
คำฟ้องบรรยายว่า นับตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กู้เงินไปจากโจทก์ด้วยวิธีการนำเช็คมาขายลดและกู้เงินแบบทั่วไปหลายครั้ง ทุกครั้งที่กู้เงินไปก็ได้รับเงินไปครบถ้วนทุกครั้งและจำเลยทั้งสามได้ร่วมกันทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์หลายครั้งครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2531 คำฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยชัดเจนแล้ว ส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้ง กู้เงินกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดของลูกหนี้ตามหนังสือรับสารภาพหนี้ ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมประเด็นเรื่องนี้ในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้รวมถึงจำเลยที่ 2 ด้วยจึงเป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งถึงแม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ในประเด็นนี้ไว้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์โดย ผ. และ น.กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญลงในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์ แม้ต่อมา ผ. และ น.จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์หนังสือมอบอำนาจนี้หาระงับไปไม่ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวระบุว่ามอบอำนาจให้ ป. หรือ อ. คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์ได้เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7(2) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อ ป. ร่วมกับ น.มอบอำนาจช่วงให้ ว. ฟ้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้มาทำสัญญารับสภาพหนี้ไว้กับโจทก์เป็นสัญญา 2 ฝ่ายอันมีลักษณะเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งมาตรา 350มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด ดังนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่ และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้คนใหม่ให้ลูกหนี้คนเดิมทราบ เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจลูกหนี้เดิมแล้ว สัญญาแปลงหนี้ใหม่ดังกล่าวจึงใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, การบอกเลิกสัญญา, ดอกเบี้ยทบต้น, และการคิดดอกเบี้ยหลังสิ้นสุดสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์และได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์และเพิ่มวงเงินกู้2ครั้งรวมเป็นวงเงิน5,000,000บาทคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดตามประเพณีการค้าของธนาคารร้อยละ15ต่อปีโดยมีกำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญาหลังจากนั้นจำเลยที่1ได้ถอนเงินและนำเงินเข้าหักทอนบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีกันตลอดมาจนสัญญาครบกำหนดจำเลยที่1คงเบิกเงินจากบัญชีต่อไปแต่ไม่ได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์อีกต่อไปจึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่1จำเลยที่1คงค้างชำระหนี้โจทก์ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน7,095,820.70บาทรายละเอียดปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ซึ่งโจทก์จะส่งศาลให้ชั้นพิจารณาขอให้จำเลยที่1รับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ดังนี้คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้วแม้โจทก์จะไม่มีบัญชีเดินสะพัด(บัญชีกระแสรายวัน)ของจำเลยที่1แนบมาท้ายฟ้องแต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีรายละเอียดปรากฏอยู่ในบัญชีกระแสรายวันที่โจทก์ไม่ได้แนบบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1มาท้ายฟ้องจึงไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุม เอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับคำขอเปิดเลตเตอร์2ฉบับตั๋วแลกเงิน6ฉบับและทรัสต์รีซีท6ฉบับรวม15ฉบับซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศรวม3ครั้งค่าสินค้าคิดเป็นเงินตราต่างประเทศตามจำนวนที่ระบุในฟ้องโจทก์ได้ชำระค่าสินค้าดังกล่าวแก่ผู้ขายในต่างประเทศแล้วเมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยที่1ไม่ชำระค่าสินค้าจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์แต่จำเลยที่1ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์รวม6ฉบับเพื่อขอรับเอกสารเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวไปขอออกสินค้าก่อนโดยทำตั๋วแลกเงินสัญญาว่าจะชำระเงินแก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดรวม6ฉบับให้โจทก์ไว้เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีททั้งหกฉบับถึงกำหนดโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่1ชำระจำเลยที่1ชำระค่าสินค้าให้โจทก์บางส่วนคงค้างชำระค่าสินค้าและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน4,551,867.19บาทโดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขที่คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจำนวนเงินค่าสินค้าชื่อบริษัทผู้ขายในต่างประเทศเลขที่ตั๋วแลกเงินพร้อมจำนวนเงินตามตั๋วและรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายอื่นๆตามใบแจ้งเรียกเก็บเงินของโจทก์กับจำนวนเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์บางส่วนแล้วคำฟ้องในส่วนนี้จึงมีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ชัดแจ้งแล้วเอกสารท้ายฟ้องหมายเลขดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานที่โจทก์ส่งประกอบคำบรรยายฟ้องเท่านั้นแม้จะเป็นภาษาต่างประเทศก็ไม่มีผลทำให้คำฟ้องที่มีข้อความชัดแจ้งแล้วกลับกลายเป็นฟ้องเคลือบคลุม ข้อความในหนังสือมอบอำนาจเป็นเรื่องโจทก์ตั้งป. เป็นตัวแทนของโจทก์ให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่งคดีอาญาคดีล้มละลายและกิจการทั้งหลายอื่นอันเกี่ยวเนื่องกับคดีดังกล่าวภายในขอบวัตถุประสงค์ของธนาคารโจทก์ต่อศาลทั้งปวงป. จึงเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจฟ้องคดีหรือทำกิจการใดๆเกี่ยวกับคดีในศาลแทนโจทก์ได้ทุกอย่างโดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพียงคดีเดียวและหนังสือมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวจึงปิดอากรแสตมป์30บาทถูกต้องตามข้อ7(ข)ของบัญชีอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรแล้วโจทก์จึงมีสิทธิที่จะใช้ตราสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในคดีแพ่งได้ทุกคดีหาได้ฝ่าฝืนประมวลรัษฎากรมาตรา118ไม่การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบแล้ว จำเลยที่1ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์และทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์2ครั้งในวงเงิน5,000,000บาทโดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความในข้อ2และ3ใจความว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีกำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือนถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดดังกล่าวก็ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราวๆไปและให้ถือว่าเป็นต้นเงินที่ผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในคราวต่อไปตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันปรากฏว่ามีการหักทอนบัญชีและคิดดอกเบี้ยทบต้นกันทุกวันสิ้นเดือนประกอบกับในบัญชีกระแสรายวันมีแต่รายการที่จำเลยที่1สั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีกับรายการคิดดอกเบี้ยเท่านั้นดังนี้แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่1ได้ปฏิบัติต่อกันตามข้อตกลงในลักษณะเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่อกันอันเป็นบัญชีเดินสะพัดโดยมีการถอนเงินและนำเงินเข้าเพื่อหักทอนบัญชีกับคิดดอกเบี้ยทบต้นกันตลอดมาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามข้อ3ของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้น สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดตามสัญญาที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่1เบิกเงินเกินบัญชีและจำเลยที่1ต้องนำเงินเข้าบัญชีมีการหักทอนบัญชีกันเป็นระยะจึงมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วยเมื่อสิ้นสุดกำหนดระยะเวลาตามสัญญาสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ย่อมสิ้นสุดไปด้วยปรากฏว่าเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อวันที่25เมษายน2532จำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์5,492,962.01บาทหลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญาโจทก์ยังคงยอมให้จำเลยที่1เบิกเงินต่อไปส่วนจำเลยที่1ก็นำเงินเข้าหักทอนบัญชีต่อมาอีกหลายครั้งโจทก์ยอมให้จำเลยที่1เบิกเงินเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่1กุมภาพันธ์2533หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่1เบิกหรือถอนเงินต่อไปส่วนจำเลยที่1ก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีกดังนี้ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่1ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดกันทางบัญชีระหว่างกันต่อไปและโจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีในวันที่28กุมภาพันธ์2533ปรากฏว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์ทั้งสิ้นเป็นเงิน6,118,039.86บาทซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกันพฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่1ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่28กุมภาพันธ์2533ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงโจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่1อีกคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นได้ต่อไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาบัญชีเดินสะพัดและการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังสิ้นสุดสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์และได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ และเพิ่มวงเงินกู้ 2 ครั้ง รวมเป็นวงเงิน 5,000,000 บาท คิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดตามประเพณีการค้าของธนาคารร้อยละ 15 ต่อปี โดยมีกำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญา หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินและนำเงินเข้าหักทอนบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบํญชีกันตลอดมาจนสัญญาครบกำหนด จำเลยที่ 1 คงเบิกเงินจากบัญชีต่อไป แต่ไม่ได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชี โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อีกต่อไป จึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 คงค้างชำระหนี้โจทก์ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 7,095,820.70 บาท รายละเอียดปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์จะส่งศาลให้ชั้นพิจารณา ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ดังนี้ คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว แม้โจทก์จะไม่มีบัญชีเดินสะพัด (บัญชีกระแสรายวัน) ของจำเลยที่ 1 แนบมาท้ายฟ้อง แต่สัญญาบัญชี-เดินสะพัดรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี มีรายละเอียดปรากฏอยู่ในบัญชีกระแสรายวันที่โจทก์ไม่ได้แนบบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 มาท้ายฟ้อง จึงไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุม
เอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับคำขอเปิดเลตเตอร์ 3 ฉบับ ตั๋วแลกเงิน 6 ฉบับ และทรัสต์รีซีท 6 ฉบับ รวม15 ฉบับ ซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศรวม 3 ครั้ง ค่าสินค้าคิดเป็นเงินตราต่างประเทศตามจำนวนที่ระบุในฟ้อง โจทก์ได้ชำระค่าสินค้าดังกล่าวแก่ผู้ขายในต่างประเทศแล้ว เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าสินค้าจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์รวม 6 ฉบับเพื่อขอรับเอกสารเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวไปขอออกสินค้าก่อน โดยทำตั๋วแลกเงินสัญญาว่าจะชำระเงินแก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดรวม 6 ฉบับ ให้โจทก์ไว้เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีททั้งหกฉบับถึงกำหนดโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระ จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้าให้โจทก์บางส่วน คงค้างชำระค่าสินค้าและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน4,551,867.19 บาท โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขที่คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจำนวนเงินค่าสินค้า ชื่อบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ เลขที่ตั๋วแลกเงินพร้อมจำนวนเงินตามตั๋ว และรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามใบแจ้งเรียกเก็บเงินของโจทก์กับจำนวนเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์บางส่วนแล้ว คำฟ้องในส่วนนี้จึงมีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ชัดแจ้งแล้ว เอกสารท้ายฟ้องหมายเลขดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานที่โจทก์ส่งประกอบคำบรรยายฟ้องเท่านั้น แม้จะเป็นภาษาต่างประเทศก็ไม่มีผลทำให้คำฟ้องที่มีข้อความชัดแจ้งแล้วกลับกลายเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ข้อความในหนังสือมอบอำนาจเป็นเรื่องโจทก์ตั้ง ป.เป็นตัวแทนของโจทก์ให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลายและกิจการทั้งหลายอื่นอันเกี่ยวเนื่องกับคดีดังกล่าวภายในขอบวัตถุประสงค์ของธนาคารโจทก์ต่อศาลทั้งปวง ป.จึงเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจฟ้องคดีหรือทำกิจการใด ๆ เกี่ยวกับคดีในศาลแทนโจทก์ได้ทุกอย่าง โดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพียงคดีเดียว และหนังสือมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวจึงปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ถูกต้องตามข้อ 7 (ข) ของบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิที่จะใช้ตราสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในคดีแพ่งได้ทุกคดีหาได้ฝ่าฝืน ป.รัษฎากร มาตรา 118 ไม่ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์และทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ 2 ครั้ง ในวงเงิน 5,000,000 บาท โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความในข้อ 2 และ 3 ใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี กำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือน ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดดังกล่าว ก็ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ถือว่าเป็นต้นเงินที่ผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในคราวต่อไปตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันปรากฏว่ามีการหักทอนบัญชีและคิดดอกเบี้ยทบต้นกันทุกวันสิ้นเดือน ประกอบกับในบัญชีกระแสรายวันมีแต่รายการที่จำเลยที่ 1สั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีกับรายการคิดดอกเบี้ยเท่านั้น ดังนี้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติต่อกันตามข้อตกลงในลักษณะเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่อกันอันเป็นบัญชีเดินสะพัด โดยมีการถอนเงินและนำเงินเข้าเพื่อหักทอนบัญชีกับคิดดอกเบี้ยทบต้นกันตลอดมา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามข้อ 3 ของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้น
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดตามสัญญาที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชี และจำเลยที่ 1 ต้องนำเงินเข้าบัญชีมีการหักทอนบัญชีกันเป็นระยะ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย เมื่อสิ้นสุดกำหนดระยะเวลาตามสัญญา สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมสิ้นสุดไปด้วย ปรากฏว่า เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เมื่อวันที่25 เมษายน 2532 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 5,492,962.01 บาท หลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญาโจทก์ยังคงยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ก็นำเงินเข้าหักทอนบัญชีต่อมาอีกหลายครั้ง โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกเงินเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดกันทางบัญชีระหว่างกันต่อไป และโจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งสิ้นเป็นเงิน6,118,039.86 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่28 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 อีก คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นได้ต่อไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834-4835/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท การครอบครองปรปักษ์ และความรับผิดทางละเมิด กรณีบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า"กระทรวงการคลังโดยก.อธิบดีกรมธนรักษ์ผู้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอมอบอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารเรือมีอำนาจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งกับผู้บุกรุกพร้อมบริวารให้ออกไปจากที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481ตามข้อความดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ที่บุกรุกที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481หาใช่มอบอำนาจทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา801ไม่และในกรณีเช่นนี้ก็ไม่อาจระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องไว้ล่วงหน้าก็ได้เมื่อจำเลยที่1และที่2ถูกกล่าวหาว่าบุกรุกที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481ผู้รับมอบอำนาจก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่1และที่2ตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรีพ.ศ.2479มีความมุ่งหมายกำหนดเขตหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าสำหรับไว้ใช้ในราชการทหารที่ดินที่หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(3)แม้ต่อมาในปี2498จะมีผู้แจ้งการครอบครองที่ดิน(ส.ค.1)นั้นตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา5ก็ตามที่ดินนั้นก็ยังคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตามมาตรา10ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้แจ้งที่ดินดังกล่าวจึงเป็นที่ราชพัสดุตามความหมายของมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ.2518 จำเลยทั้งสี่ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบเมื่อผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบแจ้งให้จำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินพิพาทจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมออกการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการไม่ชอบการที่โจทก์ที่2ถึงที่8ได้กระทำการขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสี่เข้าครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่แต่ละคนมีอยู่มิได้มีเจตนาจะกลั่นแกล้งจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นละเมิดต่อจำเลยทั้งสี่การทำละเมิดของบริษัทจำเลยที่1ได้แสดงออกโดยจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้แทนและเป็นการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่1จำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76วรรคสอง จำเลยที่1และที่2ไม่ได้นำดินลูกรังไปไถไปถมทะเลแต่นำที่ดินลูกรังไปถมทำถนนและถมที่ดินพิพาทแล้วปรับพื้นที่ให้ทราบจำเลยที่1และที่2ไม่ได้นำดินลูกรังออกไปจากพื้นที่ของโจทก์ที่1ดินลูกรังยังคงอยู่ในที่ดินของกระทรวงการคลังโจทก์ที่1มิได้สูญหายไปไหนโจทก์ที่1จึงมิได้เสียหายเกี่ยวกับดินลูกรัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4446/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี ไม่ต้องระบุจำเลยเฉพาะเจาะจง อำนาจฟ้องย่อมเป็นไปตามที่ระบุในหนังสือ
หนังสือมอบอำนาจให้ ฟ้องคดีไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นจำเลยทั้งสองหรือผู้ใดแม้หนังสือมอบอำนาจจะไม่ได้ระบุว่ามอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยทั้งสองแต่ก็มีข้อความระบุไว้แล้วว่าโจทก์มอบอำนาจให้ พ. เป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลในทางแพ่งเพื่อเรียกร้องทวงคืนซึ่งทรัพย์สินฯลฯรวมทั้งการบังคับจำนองแทนและในนามของโจทก์ พ. จึงมี อำนาจฟ้องคดีจำเลยทั้งสองแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4446/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี และการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นจำเลยหรือผู้ใดแม้หนังสือมอบอำนาจจะไม่ได้ระบุว่ามอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยแต่ก็มีข้อความระบุไว้แล้วว่าโจทก์มอบอำนาจให้ พ.เป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลในทางแพ่ง เพื่อเรียกร้องทวงคืนซึ่งทรัพย์สิน รวมทั้งการบังคับจำนองแทนและในนามของโจทก์ ฉะนั้น พ. จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์ได้ โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวโดยจำเลยรับหนังสือบอกกล่าวเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2535และโจทก์ฟ้องวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2536 ถือว่าโจทก์บอกกล่าวเป็นเวลาอันสมควรแล้ว เพราะหนี้ดังกล่าวเกิดจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งโจทก์และจำเลยต้องหักทอนบัญชีกันตามระยะเวลาจำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนเท่าใด ประกอบกับโจทก์ยื่นฟ้องหลังจากจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวเป็นเวลา 4 เดือนเศษ ดังนั้นการบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4008/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีซ้ำได้หากคดีก่อนยังไม่เสร็จสิ้น แม้เคยฟ้องแล้วแต่ขาดนัดพิจารณา
โจทก์มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันจนเสร็จการถึงแม้ว่าผู้รับมอบอำนาจจะเคยฟ้องจำเลยในข้อหาผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันมาครั้งหนึ่งแล้วแต่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณา จึงยังไม่เสร็จการตามที่ได้มอบอำนาจไว้ดังนั้น ผู้รับมอบอำนาจจึงอาศัยหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมาฟ้องจำเลยใหม่ในมูลหนี้รายเดียวกันได้ ไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8039/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, เอกสารประกอบการฟ้อง, การรับฟังพยานหลักฐาน (โทรสาร, ภาพถ่าย), ประเด็นการสั่งซื้อสินค้า
แม้ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัทโจทก์และหนังสือรับรองว่าค. เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์พนักงานโนตารีปับลิก แห่งประเทศสิงคโปร์จะได้รับรองความถูกต้องและสถานฑูตไทยประจำประเทศสิงคโปร์ได้รับรองลายมือชื่อและตราประทับของพนักงานโนตารีปับลิกแห่งประเทศสิงคโปร์หลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ก็ตามแต่ใบสำคัญจดทะเบียนบริษัทโจทก์ระบุว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์และระบุว่าค. เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้อีกทั้งค.ก็ได้ลงชื่อในใบมอบอำนาจให้น.ฟ้องคดีนี้ด้วยจำเลยที่1มิได้นำสืบให้ฟังเป็นอย่างอื่นย่อมฟังได้ว่าในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์และค.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และได้มอบอำนาจให้น. ฟ้องคดีนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา47นั้นเป็นเรื่องอำนาจของศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับใบมอบอำนาจหรือใบสำคัญและเอกสารอื่นๆในกรณีที่ศาลมีความสงสัยเท่านั้นหาใช่ว่าหากเอกสารไม่มีการรับรองจากโนตาลีปัปลิกจะถือว่าเป็นเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ โทรสารใบสั่งซื้อสินค้าที่จำเลยที่1ส่งถึงโจทก์ต้นฉบับเอกสารจะอยู่ที่จำเลยที่1โจทก์ได้รับโทรสารที่เป็นสำเนาเอกสารส่วนใบกำกับสินค้าซึ่งต้นฉบับเอกสารโจทก์ได้ส่งให้แก่จำเลยที่1โจทก์คงมีแต่ภาพถ่ายใบกำกับสินค้าดังนี้เอกสารเฉพาะที่เป็นโทรสารซึ่งจำเลยที่1ส่งถึงโจทก์และบริษัทในเครือของโจทก์นั้นต้นฉบับเอกสารจึงอยู่ที่จำเลยที่1ส่วนใบกำกับสินค้านั้นโจทก์มอบต้นฉบับให้แก่จำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าโจทก์คงมีแต่สำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้จึงรับฟังสำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93(2)ส่วนภาพถ่ายเอกสารที่เหลือซึ่งเป็นโทรสารที่โจทก์ส่งไปถึงจำเลยที่1นั้นก็เป็นเพียงการตอบโทรสารที่จำเลยที่1มีไปถึงโจทก์ซึ่งแม้หากจะไม่รับฟังเอกสารนี้ข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าจำเลยที่1ได้สั่งซื้อสินค้าและรับสินค้าไปจากโจทก์จริงดังนี้ปัญหาว่าเอกสารดังกล่าวจะรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93หรือไม่จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
of 21