คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การมอบอำนาจฟ้องต่อผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้อง
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า โจทก์ขอมอบอำนาจให้ ส. มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีกับกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ขอให้เพิกถอนการประเมิน และคำชี้ขาด และขอคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินส่วนที่โจทก์ ชำระไว้เกินแก่จำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุให้ฟ้อง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 ไว้ด้วยแต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการต่าง ๆ แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และเมื่อโจทก์ไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของ จำเลยที่ 1 จะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ ต่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 เท่านั้นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำคำชี้ขาด หากโจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลได้ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 29,30,31 เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องเพื่อขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดและขอคืนเงินค่าภาษี ที่ชำระไว้เกิน การที่ ส. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย จึงถูกต้องตามหนังสือมอบอำนาจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3821/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทน, หนังสือมอบอำนาจ, การจดทะเบียนนิติบุคคลต่างประเทศ, และการปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ไม่ชัดเจน
หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แต่ฝ่ายเดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจให้ ก. กระทำกิจการติดตามทวงถามหนี้สินตลอดจนดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามแทนโจทก์นั้นแม้ ก. ไม่ได้ลงชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจด้วยเพียงแต่มาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจก็ตามหนังสือมอบอำนาจย่อมสมบูรณ์และมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ก. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศมีการรับรองโดยโนตารีปับลิกและหัวหน้าฝ่ายกงสุลเมือง จากาตาร์ประเทศ อินโดนีเซีย รับรองอีกชั้นหนึ่งว่าได้มีการจัดทำเอกสารขึ้นอย่างแท้จริงหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวถือว่าถูกต้องตามกฎหมายประเทศดังกล่าวแล้วไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรจึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยจดทะเบียนในประเทศ อินโดนีเซีย มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการด้านประมงจำเลยทั้งสามให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศ อินโดนีเซียและมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขอออกใบอนุญาตในการทำการประมงภายในขอบข่ายงานการดำเนินการของบริษัทโจทก์กับเรือประมงต่างด้าวเพื่อการประมงในเขตน่านน้ำของประเทศ อินโดนีเซีย(อีซีแซด) ตามกฎหมายหรือไม่จำเลยทั้งสามไม่ทราบและไม่ยอมรับว่าโจทก์สามารถที่จะทำได้คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งเพราะมิได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบถึงหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3821/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีสมบูรณ์ แม้ผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ลงลายมือชื่อ และการจดทะเบียนนิติบุคคลต่างประเทศ
หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แต่ฝ่ายเดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจให้ ก. กระทำกิจการติดตามทวงถามหนี้สินตลอดจนดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามแทนโจทก์นั้นแม้ ก. ไม่ได้ลงชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจด้วยเพียงแต่มาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจก็ตามหนังสือมอบอำนาจย่อมสมบูรณ์และมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ก. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศมีการรับรองโดยโนตารีปับลิกและหัวหน้าฝ่ายกงสุลเมือง จากาตาร์ประเทศ อินโดนีเซีย รับรองอีกชั้นหนึ่งว่าได้มีการจัดทำเอกสารขึ้นอย่างแท้จริงหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวถือว่าถูกต้องตามกฎหมายประเทศดังกล่าวแล้วไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรจึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยจดทะเบียนในประเทศ อินโดนีเซีย มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการด้านประมงจำเลยทั้งสามให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศ อินโดนีเซียและมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขอออกใบอนุญาตในการทำการประมงภายในขอบข่ายงานการดำเนินการของบริษัทโจทก์กับเรือประมงต่างด้าวเพื่อการประมงในเขตน่านน้ำของประเทศ อินโดนีเซีย(อีซีแซด) ตามกฎหมายหรือไม่จำเลยทั้งสามไม่ทราบและไม่ยอมรับว่าโจทก์สามารถที่จะทำได้คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งเพราะมิได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบถึงหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3821/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี, อำนาจฟ้อง, นิติบุคคล, การทำสัญญา, การพิสูจน์สถานะทางกฎหมาย
หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แต่ฝ่ายเดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจให้ ก. กระทำกิจการติดตามทวงถามหนี้สินตลอดจนดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามแทนโจทก์นั้น แม้ ก. ไม่ได้ลงชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจด้วย เพียงแต่มาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจก็ตาม หนังสือมอบอำนาจย่อมสมบูรณ์และมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ก. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศ มีการรับรองโดยโนตารีปับลิกและหัวหน้าฝ่ายกงสุลเมืองจากาตาร์ประเทศอินโดนีเซีย รับรองอีกชั้นหนึ่งว่า ได้มีการจัดทำเอกสารขึ้นอย่างแท้จริง หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวถือว่าถูกต้องตามกฎหมายประเทศดังกล่าวแล้ว ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยจดทะเบียนในประเทศอินโดนีเซีย มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการด้านประมงจำเลยทั้งสามให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนในประเทศอินโดนีเซียและมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขอออกใบอนุญาตในการทำการประมงภายในขอบข่ายงานการดำเนินการของบริษัทโจทก์กับเรือประมงต่างด้าวเพื่อการประมงในเขตน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซีย(อีซีแซด) ตามกฎหมายหรือไม่จำเลยทั้งสามไม่ทราบและไม่ยอมรับว่าโจทก์สามารถที่จะทำได้คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งเพราะมิได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบถึงหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 20,000 บาท และอำนาจฟ้องแทน
โจทก์ที่2ที่3และที่4ฟ้องขอให้จำเลยผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามใช้ค่าเสียหายรวมเป็นเงิน91,380บาทโดยโจทก์ที่2เรียกร้องเป็นเงิน8,275บาทโจทก์ที่3เรียกร้องเป็นเงิน12,921บาทและโจทก์ที่4เรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับรถของตนเองเป็นเงิน70,184บาทดังนี้ไม่ใช่โจทก์ที่2ที่3และที่4เป็นเจ้าหนี้ร่วมแต่เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายแยกจากกันจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยรับผิดมาดังกล่าวเท่านั้นเมื่อคดีในส่วนของโจทก์ที่2ที่3มีทุนทรัพย์ไม่เกิน20,000บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาจำเลยไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงในส่วนของโจทก์ที่2และที่3ต่อมาได้แม้จำเลยจะให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงมาแล้วก็ตาม โจทก์ที่2ผู้มอบอำนาจจะลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแต่ฝ่ายเดียวโจทก์ที่1มิได้ลงชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจด้วยก็ใช้ได้เพราะไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้รับมอบอำนาจต้องลงชื่อด้วยและแม้ขณะที่โจทก์ที่1ยื่นฟ้องคดีแทนโจทก์ที่2และที่3ตามหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่2และที่3นั้นจะมิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมายแต่เมื่อโจทก์ที่1ที่2แบะที่3ได้อ้างส่งเอกสารดังกล่าวเป็นพยานก็ได้ปิดแสตมป์ครบถ้วนบริบูรณ์แล้วหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าโจทก์ที่2และที่3ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่1ฟ้องคดีนี้มิใช่กรณีที่หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นอันจะทำให้ฟ้องสำหรับคดีโจทก์ที่2และที่3ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายแต่อย่างใดโจทก์ที่1จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์ที่2และที่3ตามหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่2และที่3ได้ แม้ใบเสร็จรับเงินจะเป็นภาษาต่างประเทศบางส่วนไม่มีคำแปลภาษาต่างประเทศดังกล่าวให้เป็นภาษาไทยก็เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา46วรรคสามหรือไม่เมื่อศาลมิได้สั่งให้โจทก์ที่2ทำคำแปลโจทก์ที่2ก็ไม่จำเป็นต้องทำคำแปลศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวได้หาขัดต่อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาลอุทธรณ์, หนังสือมอบอำนาจ, หลักฐานเอกสารต่างประเทศ: การพิจารณาคดีค่าเสียหายและการรับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ฟ้องขอให้จำเลยผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามใช้ค่าเสียหายรวมเป็นเงิน 91,380 บาท โดยโจทก์ที่ 2เรียกร้องเป็นเงิน 8,275 บาท โจทก์ที่ 3 เรียกร้องเป็นเงิน 12,921 บาทและโจทก์ที่ 4 เรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับรถของตนเองเป็นเงิน 70,184 บาทดังนี้ไม่ใช่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าหนี้ร่วม แต่เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายแยกจากกัน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยรับผิดมาดังกล่าวเท่านั้น เมื่อคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ที่ 3 มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาจำเลยไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงในส่วนของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ต่อมาได้แม้จำเลยจะให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงมาแล้วก็ตาม
โจทก์ที่ 2 ผู้มอบอำนาจจะลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ที่ 1 มิได้ลงชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจด้วยก็ใช้ได้เพราะไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้รับมอบอำนาจต้องลงชื่อด้วย และแม้ขณะที่โจทก์ที่ 1ยื่นฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตามหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ 2 และที่ 3นั้นจะมิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมาย แต่เมื่อโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3ได้อ้างส่งเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ก็ได้ปิดแสตมป์ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้ มิใช่กรณีที่หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นอันจะทำให้ฟ้องสำหรับคดีโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตามหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ 2และที่ 3 ได้
แม้ใบเสร็จรับเงินจะเป็นภาษาต่างประเทศบางส่วน ไม่มีคำแปลภาษาต่างประเทศดังกล่าวให้เป็นภาษาไทย ก็เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม หรือไม่ เมื่อศาลมิได้สั่งให้โจทก์ที่ 2 ทำคำแปล โจทก์ที่ 2 ก็ไม่จำเป็นต้องทำคำแปล ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ หาขัดต่อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลายต้องมีข้อความมอบอำนาจชัดเจน การฟ้องล้มละลายไม่ใช่การเรียกหนี้ธรรมดา
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่าเรียกร้องทวงถามให้ชำระหนี้แจ้งบังคับจำนองหรือจำนำดำเนินคดีฟ้องร้องแก้ต่างทั้งคดีแพ่งและคดีอาญารวมตลอดถึงการร้องทุกข์กล่าวโทษและมอบคดีอาญาหรือคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในนามของธนาคารต่อพนักงานสอบสวนตลอดทั้งการเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมในคดีแพ่งคดีอาญาดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีและขอรับชำระหนี้คดีล้มละลายเป็นการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับการติดตามทวงถามและฟ้องร้องเกี่ยวกับคดีแพ่งสามัญโดยตรงเพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้มอบอำนาจได้รับชำระหนี้เท่านั้นไม่มีข้อความใดที่ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายและการฟ้องคดีล้มละลายก็ไม่ใช่การฟ้องเรียกหนี้ที่ค้างชำระกันอยู่แต่เป็นการขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ต้องตกเป็นผู้ไร้ความสามารถในบางประการโดยเป็นบุคคลล้มละลายซึ่งเป็นการนอกเหนือข้อความในหนังสือมอบอำนาจโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหาย, การทิ้งฟ้อง, ข้อหาฟ้องซ้ำ, และอำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจ
จำเลยกล่าวในฟ้องแย้งว่า การที่โจทก์ฟ้องคดีเป็นการกลั่นแกล้งจำเลยอันเป็นละเมิด ทำให้จำเลยเสียหายในทางการค้าและชื่อเสียงขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปนั้นเป็นการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดโดยตรง มิใช่เพียงต่อสู้ว่าจำเลยอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ น. ไม่ได้อาศัยสิทธิโจทก์เท่านั้นการที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยคำนวณตั้งทุนทรัพย์และชำระค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์โดยกำหนดเวลาให้จำเลยปฏิบัติจึงชอบแล้ว เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นการทิ้งฟ้องแย้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่จำเลยไม่คำนวณตั้งทุนทรัพย์และชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องแย้งนั้นจึงชอบแล้ว ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด ศาลอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่ และไม่ต้องกำหนดเวลาให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลอีก
หนังสือมอบอำนาจมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไปผู้มอบอำนาจอาจมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำการหลายสิ่งหลายอย่างแทนตนได้ และในหนังสือมอบอำนาจก็ระบุว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งคดีล้มละลาย... เพื่อป้องกันและรักษาทรัพย์สินผลประโยชน์หรือสิทธิต่าง ๆ ของธนาคารโจทก์ได้ เมื่อการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายเป็นการฟ้องคดีแพ่งจึงถือได้ว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้
เดิมศาลพิพากษาขับไล่ ว. และ ศ. คดีถึงที่สุด ชั้นบังคับคดีจำเลยได้ยื่นคำร้องในคดีดังกล่าวว่า ไม่ใช่บริวารของ ว. และ ศ. ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยเป็นบริวารให้ขับไล่จำเลย คดียังไม่ถึงที่สุด ในคดีดังกล่าวจำเลยมิได้เป็นคู่ความ ดังนั้นคู่ความในคดีนี้กับคดีดังกล่าวจึงไม่ใช่คู่ความรายเดียวกันอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และ 144 ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว
จำเลยให้การเพียงว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยไม่ได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธ จึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ และศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ และเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง
ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าได้ขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้บุคคลภายนอกแล้ว ก็ไม่ลบล้างสิทธิต่าง ๆ ของโจทก์ที่มีอยู่เดิมที่ได้ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายไว้ก่อนแล้วโจทก์อาจเสียสิทธิไปเฉพาะเรื่องค่าเสียหายหลังจากการขายที่ดินและตึกแถวพิพาทไปแล้วเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายละเมิด, การทิ้งฟ้อง, และอำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจ
จำเลยกล่าวในฟ้องแย้งว่าการที่โจทก์ฟ้องคดีเป็นการกลั่นแกล้งจำเลยอันเป็นละเมิดทำให้จำเลยเสียหายในทางการค้าและชื่อเสียงขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายเดือนละ5,000บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปนั้นเป็นการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดโดยตรงมิใช่เพียงต่อสู้ว่าจำเลยอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ น. ไม่ได้อาศัยสิทธิโจทก์เท่านั้นการที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยคำนวณตั้งทุนทรัพย์และชำระค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์โดยกำหนดเวลาให้จำเลยปฏิบัติจึงชอบแล้วเมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นการทิ้งฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการที่จำเลยไม่คำนวณตั้งทุนทรัพย์และชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นการทิ้งฟ้องแย้งนั้นจึงชอบแล้วไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใดศาลอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่และไม่ต้องกำหนดเวลาให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลอีก หนังสือมอบอำนาจมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไปผู้มอบอำนาจอาจมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำการหลายสิ่งหลายอย่างแทนตนได้และในหนังสือมอบอำนาจก็ระบุว่าให้ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งคดีล้มละลายเพื่อป้องกันและรักษาทรัพย์สินผลประโยชน์หรือสิทธิต่างๆของธนาคารโจทก์ได้เมื่อการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายเป็นการฟ้องคดีแพ่งจึงถือได้ว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้ เดิมศาลพิพากษาขับไล่ ว. และ ศ. คดีถึงที่สุดชั้นบังคับคดีจำเลยได้ยื่นคำร้องในคดีดังกล่าวว่าไม่ใช่บริวารของ ว. และ ศ. ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยเป็นบริวารให้ขับไล่จำเลยคดียังไม่ถึงที่สุดในคดีดังกล่าวจำเลยมิได้เป็นคู่ความดังนั้นคู่ความในคดีนี้กับคดีดังกล่าวจึงไม่ใช่คู่ความรายเดียวกันอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148และ144ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว จำเลยให้การเพียงว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยไม่ได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธจึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้และศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าได้ขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้บุคคลภายนอกแล้วก็ไม่ลบล้างสิทธิต่างๆของโจทก์ที่มีอยู่เดิมที่ได้ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายไว้ก่อนแล้วโจทก์อาจเสียสิทธิไปเฉพาะเรื่องค่าเสียหายหลังจากการขายที่ดินและตึกแถวพิพาทไปแล้วเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ, สิทธิเครื่องหมายการค้า, การฟ้องซ้ำ, ความคล้ายคลึงเครื่องหมายการค้า, และความสุจริต
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ อ.ฟ้องคดีเป็นใบมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศ โดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ 2 คน ลงชื่อต่อหน้าโนตารีปับลิก และมีรองกงสุลไทย ณ เมืองนั้นลงชื่อเป็นพยาน ใบมอบอำนาจของโจทก์จึงเชื่อได้ว่าเป็นใบมอบอำนาจอันแท้จริง ไม่มีเหตุอันควรสงสัยใบมอบ-อำนาจดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น แม้ อ.จะไม่เคยเดินทางไปบริษัทโจทก์ที่ประเทศมาเลเซีย และโจทก์ไม่ได้นำกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์2 คน มาเบิกความเป็นพยาน แต่จำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่นหนังสือมอบอำนาจนั้นก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ และแม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะได้ทำขึ้นก่อนโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคดีนี้แต่ข้อความในใบมอบอำนาจมีว่าโจทก์มอบอำนาจให้ อ.มีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับการป้องกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และดำเนินการจนถึงที่สุดในศาลไทยได้อ.จึงมีอำนาจฟ้องคดีผู้โต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้
ข้อที่จำเลยฎีกาว่าใบมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้นั้น แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในเมืองต่างประเทศ มีโนตารีปับลิกและกงสุลไทย ณ เมืองนั้น รับรองอีกชั้นหนึ่งว่าลายมือชื่อและตราที่ประทับเป็นลายมือชื่อและตราที่ประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริง เป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศดังกล่าวแล้ว ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
ป.วิ.พ. มาตรา 144 ห้ามศาลมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีเรื่องเดิมนั้นในศาลเดียวกันต่อไปอีกทั้งคดีหรือเฉพาะประเด็นบางเรื่องซึ่งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งครั้งหนึ่งและศาลนั้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นอีก จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเดิมในศาลเดียวกัน ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีของศาลแพ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 143673 ที่โจทก์ยื่นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ดีกว่าจำเลยที่ 2 ห้ามการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ตามคำขอเลขที่ 139116 ซึ่งยื่นเมื่อวันที่15 พฤษภาคม 2527 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2530 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอเลขที่ 164038 จึงทราบว่าจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปขอจดทะเบียนอีก 2 คำขอ คือคำขอเลขที่ 142555 ซึ่งได้รับการจดทะเบียนแล้วสำหรับสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวกและคำขอเลขที่ 163600 ซึ่งยังไม่ได้รับการจดทะเบียน ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเลขที่ 163600 ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทในคดีเดิมจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่143673 ดีกว่าจำเลยตามคำขอเลขที่ 139116 หรือไม่ ส่วนคดีนี้ประเด็นข้อพิพาทมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่164038 ดีกว่าจำเลยตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 142555 และ 163600หรือไม่ และโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอเลขที่ 163600 หรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีเดิมกับคดีนี้จึงอาศัยข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่แตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม เพราะมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตราม้าทองคำพิพาทซึ่งได้จดทะเบียนที่ประเทศมาเลเซีย สำหรับสินค้าลูกมะกอก (ลูกหนำเลี้ยบ)ในน้ำเกลือ ตั้งแต่ พ.ศ.2515 โดยได้รับโอนจาก ฉ. และ ท. เมื่อ พ.ศ.2522 ได้สั่งสินค้าลูกมะกอก (ลูกหนำเลี้ยบ) ในน้ำเกลือของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2519ก่อนจำเลยและบริษัท ล.ของบิดาจำเลยจะผลิตสินค้าอย่างเดียวกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทออกจำหน่ายใน พ.ศ.2520 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเป็นคดีนี้ได้ แม้คำขอที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ก่อนฟ้องคดีนี้จะระบุชื่อสินค้าเฉพาะอย่างในจำพวก 42 คือลูกมะกอก (ลูกหนำเลี๊ยบ) ในน้ำเกลือ ส่วนคำขอของจำเลยระบุว่าจำพวก 42ทั้งจำพวกก็ตาม เพราะเป็นการพิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าใครจะมีสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนดีกว่ากันตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ศาลชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอของจำเลยได้
เครื่องหมายการค้ารูปม้า 2 ตัว ของจำเลยคงมีม้าตัวใหญ่กับชื่อภาษาอังกฤษว่า GOLDEN HORSE BRAND อยู่ข้างบน กับชื่ออักษรจีนอีก3 ตัว อยู่ข้างล่างเหมือนเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ทุกประการคงมีต่างกันเฉพาะรูปม้าตัวเล็ก ๆ เพิ่มเติมที่มุมล่างด้านซ้ายในเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเท่านั้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด เพราะผู้ซื้อเห็นรูปม้าตัวใหญ่แล้วก็อาจเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ คงไม่ได้สังเกตรูปม้าตัวเล็กอีก จำเลยอาจเพิ่มเติมรูปม้าในเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นม้า 2 ตัวตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความให้แตกต่างกับเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ได้อีกหลายแบบเพื่อแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยหาได้ทำไม่ การแก้ไขเพิ่มเติมรูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวส่อให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่เจตนาจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีของศาลแพ่ง เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเสียด้วยได้
of 21