คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเครื่องหมายการค้า: การพิพาทระหว่างเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศกับการใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันในไทย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ อ. ฟ้องคดีเป็นใบมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศ โดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ 2 คนลงชื่อต่อหน้าโนตารีปัปลิก และมีรองกงสุลไทย ณ เมืองนั้นลงชื่อเป็นพยาน ใบมอบอำนาจของโจทก์จึงเชื่อได้ว่าเป็นใบมอบอำนาจอันแท้จริง ไม่มีเหตุอันควรสงสัยใบมอบอำนาจดังกล่าวแต่อย่างใดดังนั้น แม้ อ. จะไม่เคยเดินทางไปบริษัทโจทก์ที่ประเทศมาเลเซียและโจทก์ไม่ได้นำกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ 2 คนมาเบิกความเป็นพยาน แต่จำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น หนังสือมอบอำนาจนั้นก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ และแม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะได้ทำขึ้นก่อนโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคดีนี้แต่ข้อความในใบมอบอำนาจมีว่าโจทก์มอบอำนาจให้ อ. มีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับการป้องกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และดำเนินการจนถึงที่สุดในศาลไทยได้ อ. จึงมีอำนาจฟ้องคดีผู้โต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ ข้อที่จำเลยฎีกาว่าใบมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้นั้น แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในเมืองต่างประเทศ มีโนตารีปัปลิก และกงสุลไทย ณ เมืองนั้น รับรองอีกขึ้นหนึ่งว่าลายมือชื่อและตราที่ประทับเป็นลายมือชื่อและตราที่ประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริง เป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศดังกล่าวแล้วไม่อยู่ในบังคับที่จะต้อง ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ห้ามศาลมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีเรื่องเดิมนั้นในศาลเดียวกันต่อไปอีกทั้งคดีหรือเฉพาะประเด็นบางเรื่องซึ่งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งครั้งหนึ่งและศาลนั้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นอีก จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเดิมในศาลเดียวกัน ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีของศาลแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 143673 ที่โจทก์ยื่นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ดีกว่าจำเลยที่ 2 ห้ามการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ตามคำขอเลขที่ 139116ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2527 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2530 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอเลขที่ 134038 จึงทราบว่าจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปขอจดทะเบียนอีก 2 คำขอ คือคำขอเลขที่ 142555 ซึ่งได้รับการจดทะเบียนแล้วสำหรับสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวก และคำขอเลขที่ 163600 ซึ่งยังไม่ได้รับการจดทะเบียน ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเลขที่ 16360 ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทในคดีเดิมจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 143373 ดีกว่าจำเลยตามคำขอเลขที่ 139116 หรือไม่ส่วนคดีนี้ประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 164038 ดีกว่าจำเลยตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 142555 และ 163600 หรือไม่ และโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอเลขที่ 163600 หรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีเดิมกับคดีนี้จึงอาศัยข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่แตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม เพราะมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตราม้าทองคำพิพาทซึ่งได้จดทะเบียนที่ประเทศมาเลเซีย สำหรับสินค้าลูกมะกอก(ลูกหนำเลี้ยบ) ในน้ำเกลือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 โดยได้รับโอนจากฉ.และท.เมื่อพ.ศ.2522ได้สั่งสินค้าลูกมะกอก(ลูกหนำเลียบ)ในน้ำเกลือของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ก่อนจำเลยและบริษัท ล. ของบิดาจำเลยจะผลิตสินค้าอย่างเดียวกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทออกจำหน่ายใน พ.ศ. 2520 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเป็นคดีนี้ได้ แม้คำขอที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ก่อนฟ้องคดีนี้จะระบุชื่อสินค้าเฉพาะอย่างในจำพวก 42 คือ ลูกมะกอก(ลูกหนำเลี๊ยบ) ในน้ำเกลือ ส่วนคำขอของจำเลยระบุว่าจำพวก 42 ทั้งจำพวกก็ตาม เพราะเป็นการพิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าใครจะมีสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนดีกว่ากันตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ศาลชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอของจำเลยได้ เครื่องหมายการค้ารูปม้า 2 ตัว ของจำเลยคงมีม้าตัวใหญ่กับชื่อภาษาอังกฤษว่า GOLDENHORSEBRAND อยู่ข้างบน กับชื่ออักษรจีนอีก 3 ตัว อยู่ข้างล่างเหมือนเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ทุกประการคงมีต่างกันเฉพาะรูปม้าตัวเล็ก ๆ เพิ่มเติมที่มุมล่างด้านซ้ายในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเท่านั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด เพราะผู้ซื้อรูปม้าตัวใหญ่แล้วก็อาจเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ คงไม่ได้สังเกตรูปม้าตัวเล็กอีก จำเลยอาจเพิ่มเติมรูปม้าในเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นม้า 2 ตัว ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความให้แตกต่างกับเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ได้อีกหลายแบบเพื่อแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยหาได้ทำไม่ การแก้ไขเพิ่มเติมรูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวส่อให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่เจตนาจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีของศาลแพ่ง เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเสียด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การซื้อขายสินค้าเคมีภัณฑ์, และฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข
ข.ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติ-บุคคลจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศอังกฤษ โจทก์มอบอำนาจให้ ส.ฟ้องคดีนี้ได้ในประเทศไทย กับให้อำนาจ ส.มอบอำนาจช่วงได้ และ ส.มอบอำนาจให้ทนายฟ้องคดีนี้แทน โดยโจทก์มีเอกสารที่มีข้อความตรงตามที่ ช.พยานเบิกความทุกประการ ซึ่งเอกสารฉบับนี้มีโนตารีปับลิกและเลขานุการสถานเอกอัครราชทูตไทย-ประจำกรุงลอนดอนลงลายมือชื่อรับรอง จำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่จำเป็นต้องนำเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูต-ไทยประจำกรุงลอนดอนหรือผู้ทำเอกสารดังกล่าวมาสืบประกอบ
โจทก์และจำเลยซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์เหลวชนิดเดียวกัน เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนหรือปริมาณและราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายกันแน่นอน โดยไม่ต้องหมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก เพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนอีก ทั้งสินค้าดังกล่าวได้บรรทุกมาในเรือลำเดียวกัน เที่ยวเดียวกัน และบรรจุในแท็งก์เดียวกันด้วย ถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วตามป.พ.พ. มาตรา 458 เมื่อจำเลยรับสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นของโจทก์เกินไปจำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์
ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงเรื่องที่จำเลยฎีกาเลย การที่จำเลยฎีกาเรื่องดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่า ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องที่จำเลยฎีกาดังกล่าวไม่ชอบเพราะเหตุใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยเอาไปจากโจทก์โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้ คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 440
ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าภาษีและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยก็ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์แล้ว การที่จำเลยจะต้องคืนสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ยังไม่เป็นที่แน่นอนโดยจะต้องรอจนศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์ตามฟ้องเดิมเสียก่อน จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และ 189วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินค้า กรรมสิทธิ์โอนเมื่อทำสัญญา, การคืนสินค้าที่รับเกิน, และดอกเบี้ยจากราคาสินค้า
ข.ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศอังกฤษ โจทก์มอบอำนาจให้ส.ฟ้องคดีนี้ได้ในประเทศไทยกับให้อำนาจส. มอบอำนาจช่วงได้ และ ส. มอบอำนาจให้ทนายฟ้องคดีนี้แทน โดยโจทก์มีเอกสารที่มีข้อความตรงตามที่ ช. พยานเบิกความทุกประการซึ่งเอกสารฉบับนี้มีโนตารีปับลิกและเลขานุการสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนลงลายมือชื่อรับรอง จำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่จำเป็นต้องนำเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนหรือผู้ทำเอกสารดังกล่าวมาสืบประกอบ โจทก์และจำเลยซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์เหลวชนิดเดียวกัน เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนหรือปริมาณและราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายกันแน่นอน โดยไม่ต้องหมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือกเพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนอีก ทั้งสินค้าดังกล่าวได้บรรทุกมาในเรือลำเดียวกัน เที่ยวเดียวกัน และบรรจุในแท็งก์เดียวกันด้วย ถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 458 เมื่อจำเลยรับสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นของโจทก์เกินไปจำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงเรื่องที่จำเลยฎีกาเลย การที่จำเลยฎีกาเรื่องดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่า ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องที่จำเลยฎีกาดังกล่าวไม่ชอบเพราะเหตุใดฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยเอาไปจากโจทก์โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้ คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 440 ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าภาษีและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยก็ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์แล้ว การที่จำเลยจะต้องคืนสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ยังไม่เป็นที่แน่นอนโดยจะต้องรอจนศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์ตามฟ้องเดิมเสียก่อนจึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และ179 วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา & การตรวจสอบใบมอบอำนาจ: เงื่อนไข & ขอบเขต
ป.วิ.พ. มาตารา 47 วรรคสาม อยู่ภายใต้เงื่อนไข ป.วิ.พ.มาตรา 47 วรรคสอง คือต้องเป็นกรณีที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง จึงให้ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความยื่นใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47 วรรคสาม มิได้หมายความว่า ถ้าเป็นใบมอบอำนาจทุกฉบับจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม
แม้โจทก์จะลงชื่อในใบมอบอำนาจในต่างประเทศ แต่ตัวโจทก์ก็ได้มาเบิกความยืนยันว่า โจทก์มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนและได้ลงชื่อในใบมอบอำนาจจริง จึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลจะสงสัยว่าไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริงจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 47 วรรคสาม
ป.วิ.อ. มาตรา 5 เป็นกรณีที่ให้อำนาจบุคคลที่ระบุไว้ในมาตรานี้ มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจกัน กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่ากรณีใดมีกฎหมายห้ามหรือเป็นกรณีตามสภาพต้องทำเองหรือไม่ การฟ้องคดีอาญาไม่มีกฎหมายใดบังคับว่า ผู้เสียหายจะต้องทำด้วยตนเองทั้งตามสภาพของการฟ้องคดีอาญา ก็มิใช่เป็นเรื่องที่จะต้องกระทำด้วยตนเองเฉพาะตัว โจทก์จึงมีอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีอาญา และการรับรองใบมอบอำนาจที่ทำในต่างประเทศ ศาลพิจารณาจากความเป็นจริงและหลักทั่วไป
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสาม อยู่ภายใต้เงื่อนไข ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสองคือต้องเป็นกรณีที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง จึงให้ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความยื่นใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสามมิได้หมายความว่า ถ้าเป็นใบมอบอำนาจทุกฉบับจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสาม แม้โจทก์จะลงชื่อในใบมอบอำนาจในต่างประเทศ แต่ตัวโจทก์ก็ได้มาเบิกความยืนยันว่า โจทก์มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนและได้ลงชื่อในใบมอบอำนาจจริง จึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลจะสงสัยว่าไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริงจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 47 วรรคสาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 เป็นกรณีที่ให้อำนาจบุคคลที่ระบุไว้ในมาตรานี้ มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจกัน กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่ากรณีใดมีกฎหมายห้ามหรือเป็นกรณีตามสภาพต้องทำเองหรือไม่ การฟ้องคดีอาญาไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าผู้เสียหายจะต้องทำด้วยตนเองทั้งตามสภาพของการฟ้องคดีอาญาก็มิใช่เป็นเรื่องที่จะต้องกระทำด้วยตนเองเฉพาะตัว โจทก์จึงมีอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี, ใบมอบอำนาจ, เครื่องหมายการค้า, ความแตกต่างของเครื่องหมาย, การอุทธรณ์นอกประเด็น
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ทำที่เมืองฮ่องกง มีหนังสือของโนตารีปับลิกแห่งเมืองฮ่องกงรับรองว่าผู้มีอำนาจลงชื่อแทนโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจ โดยมีกงสุลไทยเมืองฮ่องกงรับรองลายมือชื่อของโนตารีปับลิกอีกชั้นหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้าง จึงฟังได้ว่าใบมอบอำนาจฉบับนี้ลงชื่อโดยผู้มีอำนาจของโจทก์จริง ไม่จำเป็นต้องให้โนตารีปับลิกรับรองด้วยว่าผู้ที่ลงชื่อมอบอำนาจได้กระทำต่อหน้าตนและรับรองว่ามีตราคุนประทับในใบมอบอำนาจ ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีดังกล่าวย่อมมีผลใช้ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามกฎหมายฮ่องกง และแนบหนังสือรับรองของโนตารีปับลิกซึ่งรับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายฮ่องกงมาท้ายฟ้อง ย่อมเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์แจ้งชัดแล้ว ไม่จำต้องแนบหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลมาท้ายฟ้องด้วยฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่ผู้เดียว ไม่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นของบุคคลอื่นใด ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่ากัน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของผู้อื่นไม่ใช่ของโจทก์จึงเป็นการอุทธรณ์นอกคำให้การ และนอกประเด็น
เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 1 เป็นอักษรโรมันคำว่าLEE KUM KEE รูปที่ 2 เป็นอักษรจีนอ่านว่า สี คุม กี หรือ ลี คุม คี หรือลี คัม กี หรือ ลี กัม กี รูปที่ 6 เป็นกรอบรูปประดิษฐ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลางเป็นรูปวงกลม มีหญิงจีนยืนชิดโต๊ะอาหารหันหน้าเข้าโต๊ะ มือซ้ายวางคว่ำบนโต๊ะหลังมือชิดจานอาหาร รูปที่ 7 เป็นรูปแถบชายธงโค้งด้านเว้าหงายขึ้น ตรงกลางมีรูปวงกลม หญิงจีน โต๊ะอาหารและจานอาหารเช่นเดียวกับในรูปที่ 6 ตรงชายแถบด้านขวามีอักษรโรมันคำว่า LEE KUM KEE อ่านว่า ลี กัม กี รูปที่ 8 เป็นรูปพัดจีน-ประดิษฐ์ มีอักษรโรมัน L.K.K. อ่านว่า แอล เค เค อยู่เหนืออักษรจีนที่อ่านว่าลี คัม กี รูปที่ 9 เป็นรูปพัดจีนประดิษฐ์เหมือนรูปที่ 8 แต่เพิ่มตัวอักษรจีนอ่านว่าลี คุม กี อยู่เหนือพัดจีน และ อักษรโรมันคำว่า LEE KUM KEE อ่านว่า ลี คัม กีอยู่ใต้พัดจีน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยประกอบด้วยรูปภาพ และตัวอักษรมีทั้งหมดสองส่วน 3 รูป ส่วนบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่ภายในมีกรอบรูปประดิษฐล้อมรอบ ตรงกลางเป็นรูปเรือสำเภาจีนเหนือขึ้นไปเป็นอักษรโรมันคำว่าLEE MIAN KEE อ่านว่า ลี เมียน กี ด้านซ้ายและขวามีอักษรจีนอ่านว่าลี เมียน กี อยู่ในกรอบรูปประดิษฐ์เล็ก ๆ ส่วนล่างประกอบด้วยรูป 2 รูปเรียงกันรูปแรกด้านซ้ายเป็นรูปประดิษฐ์คล้ายเข็มขัดมีหัวอยู่ตรงกลาง มีรูปหญิงจีนถือจาน-อาหารอยู่ตรงหัวเข็มขัด ส่วนสายเข็มขัดดานขวามีอักษรโรมันอ่านว่าLEE MIAN KEE อ่านว่า ลี เมียน กี กับอักษรจีนอ่านว่า ลี เมียน กี รูปที่ 2ด้านขวาเป็นรูปคล้ายพัดจีนประดิษฐ์ตั้งตรงด้านมือจับชี้ลงมีอักษรโรมัน L.M.K.อ่านว่า แอล เอ็ม เค และอักษรจีนอ่านว่า ลี เมียน กี อยู่ภายในกรอบรูปพัดจีนโดยอักษรโรมันอยู่เหนืออักษรจีน เครื่องหมายการคำของโจทก์ทั้ง 7 รูป ดังกล่าวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยึงแตกต่างกันมาก ทั้งนี้เพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 1 และ 2 มีเพียงตัวอักษรเท่านั้นไม่มีรูปภาพ การอ่านออกเสียงก็ต่างกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย และเครื่องหมายการค้าของจำเลยจุดเด่นอยู่ที่รูปภาพ ส่วนของโจทก์อยู่ที่ตัวอักษร เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 6 เป็นรูปภาพเดี่ยว ของจำเลยมีรูปภาพถึง 3 รูป แม้จะมีรูปหญิงจีนเหมือนกันแต่ท่าทางก็ต่างกัน ของโจทก์รูปหญิงจีนเป็นรูปเด่น ของจำเลยเป็นเพียงรูปเล็ก ๆ ของรูปหนึ่งใน 3 รูป เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 7 แม้จะมีอักษรโรมันและอักษรจีนเช่นเดียวกับของจำเลย แต่ก็ออกเสียงคนละอย่างและอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 8 และรูปที่ 9 เป็นรูปเดี่ยว ของจำเลยเป็นรูปภาพ 3 รูป มีรูปพัดจีนเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ และเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีด้ามส่วนของโจทก์นั้นขอบรูปพัดเป็นรูปเถาไม้เลื้อยคดเคี้ยวคล้ายลายกนก ไม่มีด้ามแม้รูปที่ 9 ของโจทก์จะมีตัวอักษรภาษาจีนและอักษรโรมันก็อ่านออกเสียงคนละอย่างกับของจำเลย ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลย จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปหนึ่งรูปใดใน 7 รูปดังกล่าวเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยอุทธรณ์นอกประเด็น และการพิจารณาความเหมือน/คล้ายของเครื่องหมายการค้า
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ทำที่เมืองฮ่องกงมีหนังสือของโนตารีปับลิกแห่งเมืองฮ่องกงรับรองว่าผู้มีอำนาจลงชื่อแทนโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจ โดยมีกงสุลไทยเมืองฮ่องกงรับรองลายมือชื่อของโนตารีปับลิกอีกชั้นหนึ่งเมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้าง จึงฟังได้ว่าใบมอบอำนาจฉบับนี้ลงชื่อโดยผู้มีอำนาจของโจทก์จริง ไม่จำเป็นต้องให้โนตารีปับลิกรับรองด้วยว่าผู้ที่ลงชื่อมอบอำนาจได้กระทำต่อหน้าตนและรับรองว่ามีตราดุนประทับในใบมอบอำนาจ ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีดังกล่าวย่อมมีผลใช้ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามกฎหมายฮ่องกง และแนบหนังสือรับรองของโนตารีปับลิกซึ่งรับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายฮ่องกงมาท้ายฟ้อง ย่อมเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์แจ้งชัดแล้ว ไม่จำต้องแนบหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลมาท้ายฟ้องด้วย ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของโจทก์จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่ผู้เดียว ไม่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นของบุคคลอื่นใด ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่ากัน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของผู้อื่นไม่ใช่ของโจทก์จึงเป็นการอุทธรณ์นอกคำให้การ และนอกประเด็น เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 6 เป็นอักษรโรมันคำว่าLEEKUMKEE รูปที่ 2 เป็นอักษรจีนอ่านว่า ลีคุมกี หรือลีคุมคีหรือลีคัมกีหรือลีกัมกี รูปที่ 6 เป็นกรอบรูปประดิษฐ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลาง เป็นรูปวงกลมมีหญิงจีนยืนชิดโต๊ะอาหารหันหน้าเข้าโต๊ะ มือซ้ายวางคว่ำบนโต๊ะหลังมือชิดจานอาหาร รูปที่ 7 เป็นรูปแถบชายธงโค้งด้านเว้าหงายขึ้น ตรงกลางมีรูปวงกลม หญิงจีน โต๊ะอาหารและจานอาหารเช่นเดียวกับในรูปที่ 6 ตรงชายแถบด้านซ้ายมีอักษรจีนอ่านว่า ลีกัมกี และชายแถบด้านขวามีอักษรโรมันคำว่า LEEKUMKEE อ่านว่า ลีกัมลี รูปที่ 8 เป็นรูปพัดจีนประดิษฐ์ มีอักษรโรมัน L.K.K. อ่านว่า แอลเคเคอยู่เหนืออักษรจีนที่อ่านว่า ลีคัมกี รูปที่ 9 เป็นรูปพัดจีนประดิษฐ์เหมือนรูปที่ 8 แต่เพิ่มตัวอักษรจีนอ่านว่าลีคุมกี อยู่เหนือพัดจีน และ อักษรโรมันคำว่า LEEKUMKEEอ่านว่า ลีคัมกี อยู่ใต้พัดจีน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยประกอบด้วยรูปภาพและตัวอักษรมีทั้งหมดสองส่วน 3 รูปส่วนบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่ภายในมีกรอบรูปประดิษฐ์ล้อมรอบ ตรงกลางเป็นรูปเรือสำเภาจีน เหนือขึ้นไปเป็นอักษรโรมันคำว่า LEEMIANKEE อ่านว่า ลีเมียนกี ด้านซ้ายและขวามีอักษรจีนอ่านว่า ลีเมียนกี อยู่ในกรอบรูปประดิษฐ์เล็ก ๆ ส่วนล่างประกอบด้วยรู)2 รูปเรียงกัน รูปแรกด้านซ้ายเป็นรูปประดิษฐ์คล้ายเข็มขัดมีหัวอยู่ตรงกลาง มีรูปหญิงจีนถือจานอาหารอยู่ตรงหัวเข็มขัด ส่วนสายเข็มขัดด้านขวามีอักษรโรมันอ่านว่า LEEMAINKEE อ่านว่า ลีเมียนกีกับอักษรจีนอ่านว่า ลีเมียนกี รูปที่ 2 ด้านขวาเป็นรูปคล้ายพัดจีนประดิษฐ์ตั้งตรงด้านมือจับชี้ลง มีอักษรโรมัน L.M.K.อ่านว่า แอลเอ็มเคและอักษรจีนอ่านว่าลีเมียนกีอยู่ภายในกรอบรูปพัดจีนโดยอักษรโรมันอยู่เหนืออักษรจีนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้ง 7 รูป ดังกล่าวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงแตกต่างกันมาก ทั้งนี้เพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 1 และ 2 มีเพียงตัวอักษรเท่านั้นไม่มีรูปภาพ การอ่านออกเสียงก็ต่างกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย และเครื่องหมายการค้าของจำเลยจุดเด่นอยู่ที่รูปภาพส่วนของโจทก์อยู่ที่ตัวอักษร เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 6 เป็นรูปภาพเดี่ยว ของจำเลยมีรูปภาพถึง 3 รูปแม้จะมีรูปหญิงจีนเหมือนกันแต่ท่าทางก็ต่างกัน ของโจทก์รูปหญิงจีนเป็นรูปเด่น ของจำเลยเป็นเพียงรูปเล็ก ๆ ของรูปหนึ่งใน 3 รูป เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 7 แม้จะมีอักษรโรมันและอักษรจีนเช่นเดียวกับของจำเลย แต่ก็ออกเสียงคนละอย่างและอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 8 และรูปที่ 9 เป็นรูปเดี่ยว ของจำเลยเป็นรูปภาพ 3 รูป มีรูปพัดจีนเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ และเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีด้ามส่วนของโจทก์นั้นขอบรูปพัดเป็นรูปเถาไม้เลื้อย คดเคี้ยวคล้ายลายกนก ไม่มีด้ามแม้รูปที่ 9ของโจทก์จะมีตัวอักษรภาษาจีนและอักษรโรมันก็อ่านออกเสียงคนละอย่างกับของจำเลย ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปหนึ่งรูปใดใน 7 รูปดังกล่าวเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันทำให้สาธารณชนสับสน และการมีอำนาจฟ้องคดี
แม้โจทก์ไม่มีตัวผู้มอบอำนาจมาเบิกความก็ตาม แต่มี ธ.ผู้รับมอบอำนาจเบิกความประกอบหนังสือมอบอำนาจและคำแปลภาษาไทยซึ่งโนตารีปับลิกแห่งมลรัฐเท็กซัสรับรองว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแห่งมลรัฐเท็กซัสจ.เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์และลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อ จ. ประกอบกับมีหนังสือรับรองของรัฐมนตรีแห่งมลรัฐเท็กซัสรับรองโนตารีปับลิกและมีหนังสือรับรองของกงสุลไทย ณ นครลอสแองเจลีสรับรองดวงตราและลายมือชื่อรัฐมนตรี จำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่นทั้งไม่มีเหตุควรสงสัยว่าไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามข้อความที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีเลข 7 อารบิคเป็นส่วนสำคัญเพราะเลข 7 มีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรมากสามารถเห็นได้เด่นชัด แม้เลข 7 ของจำเลยมีลายเส้นซ้อนกัน 4 ตัว ต่างกับของโจทก์ซึ่งมีลักษณะทึบเพียงตัวเดียวก็เป็นเพียงรายละเอียดไม่น่าจะเป็นที่สนใจของผู้พบเห็น ส่วนอักษรELEVEn ของโจทก์ และBIGSEVEn ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เหมือนกันโดยเฉพาะอักษร 4ตัวท้ายเขียนเหมือนกันและอักษรตัว n ท้ายสุดเป็นตัวพิมพ์เล็กเช่นเดียวกัน ลักษณะการวางรูปแบบเครื่องหมายการค้าเหมือนกันคืออักษรพาดกลางตัวเลข เมื่อคำนึงว่าสาธารณชนจำนวนมากมิได้มีความรู้ภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรโรมันดีพอที่จะแยกได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างกัน และโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อนจำเลยจนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยการที่จำเลยประกอบกิจการค้าเช่นเดียวกับโจทก์และใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของโจทก์เห็นได้ว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่ากิจการค้าของจำเลยเป็นกิจการค้าของโจทก์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตอันเป็นการลวงสาธารณชนและเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนที่ลาออก: การกระทำของกรรมการที่พ้นสภาพแล้วย่อมไม่มีผลผูกพันบริษัท
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส.ช.และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช. ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827,386หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการลาออก, ตัวแทน, ผลการเปลี่ยนแปลงกรรมการต่อบุคคลภายนอก
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส. ช. และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช.ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826, 827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
of 21