พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13289/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อผู้รับมอบอำนาจเดิมในหนังสือมอบอำนาจ แม้จะเปลี่ยนชื่อแล้ว ก็ไม่ทำให้การมอบอำนาจเสียไป
แม้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะเปลี่ยนชื่อก่อนรับมอบอำนาจจากโจทก์ในคดีนี้แต่ก็เป็นบุคคลคนเดียวกัน การที่โจทก์มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้แทน โดยระบุชื่อเดิมของผู้รับอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจ จึงไม่ทำให้การมอบอำนาจนั้นเสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9212/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายระหว่างประเทศ, การไม่ปฏิบัติตามสัญญา, การส่งคืนสินค้า, ค่าเสียหายจากการไม่รับมอบสินค้า
เมื่อไม่มีเหตุอันสมควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง กรณีจึงไม่ต้องกระทำตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม
นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาซื้อขายแบบ ซีไอเอฟ โจทก์มีหน้าที่จ่ายค่าขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือปลายทางที่กรุงเทพมหานคร และเบี้ยประกันภัย ความเสี่ยงภัยจะตกอยู่แก่จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อสินค้าเมื่อสินค้าบรรทุกในเรือของผู้ขนส่งแล้ว ส่วนกรรมสิทธิ์ในรถตักคันพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกันเป็นอย่างอื่น กรรมสิทธิ์ในรถตักคันพิพาทจึงโอนแก่จำเลยที่ 1 ตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้ว ดังนั้นก่อนมีการเลิกสัญญา จำเลยที่ 1 จึงมีกรรมสิทธิ์ในรถตักคันพิพาท และมีสิทธิเรียกให้ผู้ขนส่งส่งมอบรถตักคันพิพาทแก่ตนได้ แต่เมื่อมีการเลิกสัญญาโดยความสมัครใจของโจทก์และจำเลยที่ 1 คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 กล่าวคือ ต้องให้รถตักคันพิพาทกลับไปเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อโจทก์ส่งมอบรถตักคันพิพาทให้แก่ผู้ขนส่ง ถือว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายแบบซีไอเอฟครบถ้วนแล้ว และเมื่อพิจารณาใบตราส่งแล้ว จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นผู้รับตราส่ง เมื่อรถตักคันพิพาทมาถึงประเทศไทย แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่ยกเลิกไปแล้ว แต่ก็ต้องดำเนินการเพื่อให้รถตักคันพิพาทกลับไปอยู่ในความครอบครองของโจทก์ดังที่เป็นอยู่เดิม เช่น ส่งรถตักคันพิพาทคืนแก่โจทก์ หรือส่งมอบให้ตัวแทนโจทก์ในประเทศไทย การที่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินการใด ๆ ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะตามเอกสารยังปรากฏชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับตราส่งอยู่ โดยเฉพาะการที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธที่จะโอนสิทธิในการรับรถตักคันพิพาทให้บุคคลที่สามตามที่โจทก์เสนอ ถือเป็นการละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายให้แก่โจทก์ ส่วนที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าการที่จำเลยที่ 1 ยอมรับสินค้าที่ไม่ตรงตามที่ระบุในใบกำกับสินค้าหากจำเลยที่ 2 จะเป็นความผิดเกี่ยวกับอัตราพิกัดภาษี และการสำแดงเท็จ หรือการลงลายมือชื่อในหนังสือโอนสิทธิผู้รับจะเป็นการขัดกับรายละเอียดในใบกำกับสินค้านั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่มีน้ำหนักและไม่ใช่เหตุผลอันสมควรที่จะปฏิเสธหน้าที่ภายหลังเลิกสัญญา เนื่องจากปรากฏจากคำเบิกความของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการศุลกากรพยานโจทก์ว่า การขอแก้ไขบัญชีสินค้าสำหรับเรือซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนผู้รับตราส่งนั้น ผู้ที่ยื่นคำร้องคือตัวแทนเรือไม่ใช่เจ้าของสินค้า นอกจากคำร้องขอแก้ไขจากตัวแทนเรือแล้ว ยังต้องยื่นหนังสือโอนสิทธิ และหนังสือรับโอนสิทธิจากผู้รับตราส่งรายใหม่ประกอบด้วย และเมื่อมีการโอนสิทธิแล้ว ผู้มีหน้าที่เสียภาษีศุลกากรคือ ผู้รับตราส่งที่ได้รับโอนสิทธิ ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ผู้ยื่นเรื่องต่อกรมศุลกากรในการเปลี่ยนตัวผู้รับตราส่ง และเมื่อมีการโอนสิทธิแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยื่นขอเสียภาษีศุลกากร จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้รับผลกระทบไม่ว่าอัตราภาษีศุลกากรจะเป็นอัตราใด ดังนั้นจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถตักคันพิพาทคืนแก่โจทก์ หากไม่สามารถส่งคืนได้ต้องใช้ราคาพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่รถตักพิพาทถูกส่งมาถึงประเทศไทยจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
ส่วนที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายกรณีที่จำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการรับสินค้าซึ่งบรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ ณ ท่าเรือปลายทางเพื่อส่งมอบคืนโจทก์ ทำให้โจทก์ต้องรับผิดต่อบริษัท อ. เป็นค่าเช่าตู้คอนเทนเนอร์เกินกำหนดนั้น แม้ไม่มีผู้มารับมอบสินค้าที่ท่าเรือปลายทาง ผู้ขนส่งยังมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังและปฏิบัติการให้เหมาะสมในการเก็บรักษา การดูแล ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2539 มาตรา 10 แต่เนื่องจากผู้ขนส่งเป็นบุคคลภายนอกไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขาย ไม่อาจทราบเรื่องเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้า ผู้ขนส่งต้องย่อมยึดถือชื่อของผู้รับตราส่งตามใบตราส่งเป็นสำคัญ ดังนั้นกรณีที่ไม่มีผู้รับสินค้าที่ท่าเรือปลายทางเป็นเหตุให้ผู้ขนส่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าเสียเวลาของเรือ (demurrage) ค่าเก็บตู้คอนเทนเนอร์ในท่าเรือ (port storage) เป็นต้น ผู้ขนส่งสามารถเรียกร้องจากผู้รับตราส่งได้ ไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 โดยตรง นอกจากนี้หากมีการเปลี่ยนตัวผู้รับตราส่ง ผู้รับตราส่งรายใหม่ที่ไปขอรับสินค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ขนส่ง ซึ่งไม่ใช่โจทก์อีกเช่นกัน
นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาซื้อขายแบบ ซีไอเอฟ โจทก์มีหน้าที่จ่ายค่าขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือปลายทางที่กรุงเทพมหานคร และเบี้ยประกันภัย ความเสี่ยงภัยจะตกอยู่แก่จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อสินค้าเมื่อสินค้าบรรทุกในเรือของผู้ขนส่งแล้ว ส่วนกรรมสิทธิ์ในรถตักคันพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกันเป็นอย่างอื่น กรรมสิทธิ์ในรถตักคันพิพาทจึงโอนแก่จำเลยที่ 1 ตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้ว ดังนั้นก่อนมีการเลิกสัญญา จำเลยที่ 1 จึงมีกรรมสิทธิ์ในรถตักคันพิพาท และมีสิทธิเรียกให้ผู้ขนส่งส่งมอบรถตักคันพิพาทแก่ตนได้ แต่เมื่อมีการเลิกสัญญาโดยความสมัครใจของโจทก์และจำเลยที่ 1 คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 กล่าวคือ ต้องให้รถตักคันพิพาทกลับไปเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อโจทก์ส่งมอบรถตักคันพิพาทให้แก่ผู้ขนส่ง ถือว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายแบบซีไอเอฟครบถ้วนแล้ว และเมื่อพิจารณาใบตราส่งแล้ว จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นผู้รับตราส่ง เมื่อรถตักคันพิพาทมาถึงประเทศไทย แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่ยกเลิกไปแล้ว แต่ก็ต้องดำเนินการเพื่อให้รถตักคันพิพาทกลับไปอยู่ในความครอบครองของโจทก์ดังที่เป็นอยู่เดิม เช่น ส่งรถตักคันพิพาทคืนแก่โจทก์ หรือส่งมอบให้ตัวแทนโจทก์ในประเทศไทย การที่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินการใด ๆ ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะตามเอกสารยังปรากฏชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับตราส่งอยู่ โดยเฉพาะการที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธที่จะโอนสิทธิในการรับรถตักคันพิพาทให้บุคคลที่สามตามที่โจทก์เสนอ ถือเป็นการละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายให้แก่โจทก์ ส่วนที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าการที่จำเลยที่ 1 ยอมรับสินค้าที่ไม่ตรงตามที่ระบุในใบกำกับสินค้าหากจำเลยที่ 2 จะเป็นความผิดเกี่ยวกับอัตราพิกัดภาษี และการสำแดงเท็จ หรือการลงลายมือชื่อในหนังสือโอนสิทธิผู้รับจะเป็นการขัดกับรายละเอียดในใบกำกับสินค้านั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่มีน้ำหนักและไม่ใช่เหตุผลอันสมควรที่จะปฏิเสธหน้าที่ภายหลังเลิกสัญญา เนื่องจากปรากฏจากคำเบิกความของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการศุลกากรพยานโจทก์ว่า การขอแก้ไขบัญชีสินค้าสำหรับเรือซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนผู้รับตราส่งนั้น ผู้ที่ยื่นคำร้องคือตัวแทนเรือไม่ใช่เจ้าของสินค้า นอกจากคำร้องขอแก้ไขจากตัวแทนเรือแล้ว ยังต้องยื่นหนังสือโอนสิทธิ และหนังสือรับโอนสิทธิจากผู้รับตราส่งรายใหม่ประกอบด้วย และเมื่อมีการโอนสิทธิแล้ว ผู้มีหน้าที่เสียภาษีศุลกากรคือ ผู้รับตราส่งที่ได้รับโอนสิทธิ ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ผู้ยื่นเรื่องต่อกรมศุลกากรในการเปลี่ยนตัวผู้รับตราส่ง และเมื่อมีการโอนสิทธิแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยื่นขอเสียภาษีศุลกากร จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้รับผลกระทบไม่ว่าอัตราภาษีศุลกากรจะเป็นอัตราใด ดังนั้นจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถตักคันพิพาทคืนแก่โจทก์ หากไม่สามารถส่งคืนได้ต้องใช้ราคาพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่รถตักพิพาทถูกส่งมาถึงประเทศไทยจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
ส่วนที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายกรณีที่จำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการรับสินค้าซึ่งบรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ ณ ท่าเรือปลายทางเพื่อส่งมอบคืนโจทก์ ทำให้โจทก์ต้องรับผิดต่อบริษัท อ. เป็นค่าเช่าตู้คอนเทนเนอร์เกินกำหนดนั้น แม้ไม่มีผู้มารับมอบสินค้าที่ท่าเรือปลายทาง ผู้ขนส่งยังมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังและปฏิบัติการให้เหมาะสมในการเก็บรักษา การดูแล ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2539 มาตรา 10 แต่เนื่องจากผู้ขนส่งเป็นบุคคลภายนอกไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขาย ไม่อาจทราบเรื่องเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้า ผู้ขนส่งต้องย่อมยึดถือชื่อของผู้รับตราส่งตามใบตราส่งเป็นสำคัญ ดังนั้นกรณีที่ไม่มีผู้รับสินค้าที่ท่าเรือปลายทางเป็นเหตุให้ผู้ขนส่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าเสียเวลาของเรือ (demurrage) ค่าเก็บตู้คอนเทนเนอร์ในท่าเรือ (port storage) เป็นต้น ผู้ขนส่งสามารถเรียกร้องจากผู้รับตราส่งได้ ไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 โดยตรง นอกจากนี้หากมีการเปลี่ยนตัวผู้รับตราส่ง ผู้รับตราส่งรายใหม่ที่ไปขอรับสินค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ขนส่ง ซึ่งไม่ใช่โจทก์อีกเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา: ห้ามใช้ชื่อและเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน, ค่าเสียหายจากการใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ร. เป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินการทุกอย่างเพื่อยับยั้งและกำจัดการเลียนแบบการปลอมแปลง การละเมิดและการกระทำใดๆ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวกับการชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ รูปและรอยประดิษฐ์ ตลอดจนสิ่งต่างๆ ทำนองเดียวกันที่เกี่ยวข้องหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการมอบอำนาจทั่วไป ซึ่งผู้รับมอบอำนาจสามารถใช้ในการดำเนินคดีแก่บุคคลใดก็ได้ จึงไม่จำต้องระบุให้มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 โดยเฉพาะเจาะจง
โจทก์ฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 2 รับจดทะเบียนชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลจำเลยที่ 1 โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายและยังมีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 2 เพิกถอนชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ออกจากทะเบียน จึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาถึงกรอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 และเกี่ยวข้องกับอำนาจฟ้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งนี้เพี่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นนี้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 แก้ไขคำให้การ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม และ มาตรา 180 เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว และไม่ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะอนุญาตหรือไม่ หากศาลเห็นสมควรศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องอำนาจวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้อยู่แล้วเนื่องจากเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา 142 (5)
จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนนทบุรีและนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนนทบุรีเป็นผู้รับจดทะเบียน ไม่ใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งตามกฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ.2491) ฉบับที่ 20 (พ.ศ.2527) ฉบับที่ 21 (พ.ศ.2536) ออกตามความใน ป.พ.พ. (ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท) ระบุว่า การจัดตั้งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครและสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดอื่น มีการกำหนดเขตพื้นที่รับผิดชอบแยกกันอย่างชัดเจนจึงเห็นได้ชัดว่าที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ได้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานทะเบียนของจำเลยที่ 1 และไม่ใช่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนนทบุรีที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียน จึงเป็นการฟ้องผิดตัว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2
สัญญาการจัดจำหน่าย ข้อ 13 (2) ระบุว่า ผู้จำหน่ายมีสิทธิและหน้าที่ในการใช้ชื่อ เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายการบริการของโจทก์เฉพาะกับสินค้าและบริการของโจทก์ตามที่ได้รับอนุมัติและจะต้องไม่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทของผู้จำหน่ายโดยไม่ได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรโดยชัดแจ้งล่วงหน้าจากโจทก์ก่อนดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 จะเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโจทก์หรือไม่ จึงมิใช่สาระสำคัญเพราะถึงอย่างไรก็ไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่ 1 ที่จำนำชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการของโจทก์ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยที่ 1
โจทก์ใช้คำว่า เบนซ์ และ BENZ เป็นชื่อทางการค้าและใช้รูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมกับกิจการค้าขายรถยนต์ของโจทก์มาเป็นเวลานานจนเป็ที่เรียกขานเป็นยี่ห้อสินค้าที่มีชื่อเสียงทั่วไป ชื่อและรูปประดิษฐ์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองสิทธิในการที่จะใช้ชื่อทางการค้าและรูปประดิษฐ์ดังกล่าวในการประกอบกิจการค้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 และ ป.อ. มาตรา 272 (1)
กลุ่มผู้บริหารจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการค้าโดยซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ของโจทก์จากตัวแทนจำหน่ายของโจทก์ไปจำหน่ายต่อให้ลูกค้าตั้งแต่ปี 2535 จนกระทั่งปี 2539 เป็นเวลานนาน 4 ปี จึงนำชื่อคำว่า เบนซ์, BENZ และรูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมไปจดทะเบียนและดวงตรานิติบุคคล ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่โจทก์จัดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทยแล้วเกือบ 40 ปี ย่อมทราบดีว่า ชื่อเสียงเกียรติคุณของชื่อทางการค้าและรูปรอยประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมของโจทก์เป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภค เป็นเสมือนหลักประกันคุณภาพของสินค้าและบริการ อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สาธารณชนเลือกที่จะซื้อสินค้าและบริการจากโจทก์หรือตัวแทนจำหน่ายของโจทก์ก่อให้เกิดรายได้และผลประโยชน์ตอบแทนอย่างสูงแก่ผู้ประกอบการพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการประเภทเดียวกับโจทก์ ใช้ชื่อ บริษัท เบนซ์แจ้งวัฒนะ จำกัด และชื่อภาษาอังกฤษว่า BENZ CHANGWAT-TANA CO., LTD. อันเป็นการนำคำว่า เบนซ์ และ BENZ ไปเป็นคำนำหน้าชื่อในส่วนสำคัญ ตลอดจนใช้รูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมเป็นดวงตรานิติบุคคล ย่อมแสดงถึงเจตนาที่คาดหมายว่าสาธารณชนทั่วไปจะเข้าใจว่ากิจการของจำเลยที่ 1 เป็นกิจการในเครือ หรือเป็นตัวแทนจำหน่าย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จึงเป็นการมุ่งแสวงหาประโยชน์จากเชื่อเสียงเกียรติคุณจากชื่อทางการค้าและรูประดิษฐ์ของโจทก์โดยไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 สั่งซื้อรถยนต์ยี้ห้อเบนซ์จากแหล่งอื่นมาจำหน่ายต่อให้ลูกค้าภายใต้ชื่อบริษัทที่มีชื่อทางการค้าของโจทก์ประกอบอยู่ในส่วนสาระสำคัญ โดยไม่ลงทุนในค่าสิทธิและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรฐานของโจทก์เฉกเช่นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโจทก์รายอื่น เข้าลักษณะเป็นการแข่งขันทางการค้ากับบริษัทในเครือหรือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโจทก์ และทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้จากการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิ ไม่สามารถควบคุมระดับคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังไม่อาจควบคุมระดับคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังไม่อาจควบคุมราคาสินค้าและบริการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของชื่อทางการค้าคำว่า เบนซ์,BENZ และรูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมโดยชอบ จำเลยที่ 1 นำไปใช้ในการประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ เป็นการแสวงหาประโยชน์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ระงับความเสียหายและห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อและรูปรอยประดิษฐ์ของโจทก์ได้สิทธิของโจทก์ในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในราชอาณาจักรไว้แล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวเพื่อใช้เครื่องหมายนั้นสำหรับสินค้าจำพวกที่ได้จดทะเบียนไว้เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของผู้อื่นเท่านั้น มิได้รวมถึงการนำเครื่องหมายนั้นมาใช้เป็นชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลด้วย จำเลยที่ 1 นำคำว่า เบนซ์, BENZ และรูปรอยประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลม มาใช้เป็นชื่อบริษัทและดวงตรานิติบุคคลไม่ได้นำมาใช้กับสินค้า การกระทำดังกล่าวจึงมิได้เป็นการใช้คำและรูปรอยประดิษฐ์ของโจทก์ในฐานะที่เป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ จึงไม่ได้ละเมิดสิทธิโจทก์ในเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 44
คำว่า เบนซ์, BENZ และรูปรอยประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ที่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 และ ป.อ. มาตรา 272 (1) เมื่อจำเลยที่ 1 นำชื่อและรูปประดิษฐ์ของโจทก์ไปใช้โดยไม่สุจริตทำให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อและรูปรอยประดิษฐ์นั้นได้ ซึ่งแม้บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจะมิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ในที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนแก้ไขชื่อและดวงตรานิติบุคคลของจำเลยที่ 1 แต่การห้ามมิให้ใช้ดังกล่าวก็ย่อมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ไม่อาจประกอบกิจการค้าจำหน่ายรถยนต์และให้บริการซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ภายใต้ชื่อ "บริษัทเบนซ์แจ้งวัฒนะ จำกัด" และใช้ดวงตรานิติบุคคลที่เป็นรูปรอยประดิษฐ์ของโจทก์ได้อีก อันเป็นการห้ามมิให้กระทำการละเมิดอันก่อความเสียหายแก่โจทก์อยู่ในตัว
จำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้ให้ปรากฏเป็นป้ายชื่อโชว์รูม ตลอดจนใช้ในการโฆษณาตามสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบต่างๆ เพื่อเผยแพร่กิจการค้าของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำคำและรูปรอยประดิษฐ์ตามฟ้องไปใช้กับสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจอ้างความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 ได้ แต่ ป.อ. มาตรา 272 (1) วางโทษทางอาญาสำหรับผู้ใดที่เอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์หรือข้อความใดๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อ แจ้งความรายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นเมื่อจำเลยที่ 1 นำชื่อและรูปรอยประดิษฐ์อันเป็นชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้โดยส่อเจตนาให้ประชาชนสับสนหลงผิดว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนทางการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิข้อบังคับห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ในลักษณะที่เป็นชื่อทางการค้าและรูปรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจการค้าของจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 ยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการ หรือใช้ หรือเข้าเกี่ยวข้องไม่ว่าในทางใดกับชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการของโจทก์ รวมทั้งชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการอื่นใดที่เหมือน หรือคล้ายกับชื่อทางการค้าเครื่องหมายทางการค้า และเครื่องหมายบริการของโจทก์ไม่ว่ากับกิจการค้าสินค้าหรือบริการใดๆ ซึ่งเป็นคำขอในอนาคตที่โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 2 รับจดทะเบียนชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลจำเลยที่ 1 โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายและยังมีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 2 เพิกถอนชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ออกจากทะเบียน จึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาถึงกรอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 และเกี่ยวข้องกับอำนาจฟ้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งนี้เพี่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นนี้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 แก้ไขคำให้การ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม และ มาตรา 180 เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว และไม่ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะอนุญาตหรือไม่ หากศาลเห็นสมควรศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องอำนาจวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้อยู่แล้วเนื่องจากเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา 142 (5)
จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนนทบุรีและนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนนทบุรีเป็นผู้รับจดทะเบียน ไม่ใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งตามกฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ.2491) ฉบับที่ 20 (พ.ศ.2527) ฉบับที่ 21 (พ.ศ.2536) ออกตามความใน ป.พ.พ. (ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท) ระบุว่า การจัดตั้งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครและสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดอื่น มีการกำหนดเขตพื้นที่รับผิดชอบแยกกันอย่างชัดเจนจึงเห็นได้ชัดว่าที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ได้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานทะเบียนของจำเลยที่ 1 และไม่ใช่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนนทบุรีที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียน จึงเป็นการฟ้องผิดตัว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2
สัญญาการจัดจำหน่าย ข้อ 13 (2) ระบุว่า ผู้จำหน่ายมีสิทธิและหน้าที่ในการใช้ชื่อ เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายการบริการของโจทก์เฉพาะกับสินค้าและบริการของโจทก์ตามที่ได้รับอนุมัติและจะต้องไม่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทของผู้จำหน่ายโดยไม่ได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรโดยชัดแจ้งล่วงหน้าจากโจทก์ก่อนดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 จะเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโจทก์หรือไม่ จึงมิใช่สาระสำคัญเพราะถึงอย่างไรก็ไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่ 1 ที่จำนำชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการของโจทก์ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยที่ 1
โจทก์ใช้คำว่า เบนซ์ และ BENZ เป็นชื่อทางการค้าและใช้รูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมกับกิจการค้าขายรถยนต์ของโจทก์มาเป็นเวลานานจนเป็ที่เรียกขานเป็นยี่ห้อสินค้าที่มีชื่อเสียงทั่วไป ชื่อและรูปประดิษฐ์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองสิทธิในการที่จะใช้ชื่อทางการค้าและรูปประดิษฐ์ดังกล่าวในการประกอบกิจการค้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 และ ป.อ. มาตรา 272 (1)
กลุ่มผู้บริหารจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการค้าโดยซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ของโจทก์จากตัวแทนจำหน่ายของโจทก์ไปจำหน่ายต่อให้ลูกค้าตั้งแต่ปี 2535 จนกระทั่งปี 2539 เป็นเวลานนาน 4 ปี จึงนำชื่อคำว่า เบนซ์, BENZ และรูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมไปจดทะเบียนและดวงตรานิติบุคคล ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่โจทก์จัดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทยแล้วเกือบ 40 ปี ย่อมทราบดีว่า ชื่อเสียงเกียรติคุณของชื่อทางการค้าและรูปรอยประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมของโจทก์เป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภค เป็นเสมือนหลักประกันคุณภาพของสินค้าและบริการ อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สาธารณชนเลือกที่จะซื้อสินค้าและบริการจากโจทก์หรือตัวแทนจำหน่ายของโจทก์ก่อให้เกิดรายได้และผลประโยชน์ตอบแทนอย่างสูงแก่ผู้ประกอบการพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการประเภทเดียวกับโจทก์ ใช้ชื่อ บริษัท เบนซ์แจ้งวัฒนะ จำกัด และชื่อภาษาอังกฤษว่า BENZ CHANGWAT-TANA CO., LTD. อันเป็นการนำคำว่า เบนซ์ และ BENZ ไปเป็นคำนำหน้าชื่อในส่วนสำคัญ ตลอดจนใช้รูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมเป็นดวงตรานิติบุคคล ย่อมแสดงถึงเจตนาที่คาดหมายว่าสาธารณชนทั่วไปจะเข้าใจว่ากิจการของจำเลยที่ 1 เป็นกิจการในเครือ หรือเป็นตัวแทนจำหน่าย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จึงเป็นการมุ่งแสวงหาประโยชน์จากเชื่อเสียงเกียรติคุณจากชื่อทางการค้าและรูประดิษฐ์ของโจทก์โดยไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 สั่งซื้อรถยนต์ยี้ห้อเบนซ์จากแหล่งอื่นมาจำหน่ายต่อให้ลูกค้าภายใต้ชื่อบริษัทที่มีชื่อทางการค้าของโจทก์ประกอบอยู่ในส่วนสาระสำคัญ โดยไม่ลงทุนในค่าสิทธิและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรฐานของโจทก์เฉกเช่นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโจทก์รายอื่น เข้าลักษณะเป็นการแข่งขันทางการค้ากับบริษัทในเครือหรือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโจทก์ และทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้จากการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิ ไม่สามารถควบคุมระดับคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังไม่อาจควบคุมระดับคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังไม่อาจควบคุมราคาสินค้าและบริการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของชื่อทางการค้าคำว่า เบนซ์,BENZ และรูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมโดยชอบ จำเลยที่ 1 นำไปใช้ในการประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ เป็นการแสวงหาประโยชน์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ระงับความเสียหายและห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อและรูปรอยประดิษฐ์ของโจทก์ได้สิทธิของโจทก์ในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในราชอาณาจักรไว้แล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวเพื่อใช้เครื่องหมายนั้นสำหรับสินค้าจำพวกที่ได้จดทะเบียนไว้เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของผู้อื่นเท่านั้น มิได้รวมถึงการนำเครื่องหมายนั้นมาใช้เป็นชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลด้วย จำเลยที่ 1 นำคำว่า เบนซ์, BENZ และรูปรอยประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลม มาใช้เป็นชื่อบริษัทและดวงตรานิติบุคคลไม่ได้นำมาใช้กับสินค้า การกระทำดังกล่าวจึงมิได้เป็นการใช้คำและรูปรอยประดิษฐ์ของโจทก์ในฐานะที่เป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ จึงไม่ได้ละเมิดสิทธิโจทก์ในเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 44
คำว่า เบนซ์, BENZ และรูปรอยประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ที่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 และ ป.อ. มาตรา 272 (1) เมื่อจำเลยที่ 1 นำชื่อและรูปประดิษฐ์ของโจทก์ไปใช้โดยไม่สุจริตทำให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อและรูปรอยประดิษฐ์นั้นได้ ซึ่งแม้บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจะมิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ในที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนแก้ไขชื่อและดวงตรานิติบุคคลของจำเลยที่ 1 แต่การห้ามมิให้ใช้ดังกล่าวก็ย่อมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ไม่อาจประกอบกิจการค้าจำหน่ายรถยนต์และให้บริการซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ภายใต้ชื่อ "บริษัทเบนซ์แจ้งวัฒนะ จำกัด" และใช้ดวงตรานิติบุคคลที่เป็นรูปรอยประดิษฐ์ของโจทก์ได้อีก อันเป็นการห้ามมิให้กระทำการละเมิดอันก่อความเสียหายแก่โจทก์อยู่ในตัว
จำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้ให้ปรากฏเป็นป้ายชื่อโชว์รูม ตลอดจนใช้ในการโฆษณาตามสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบต่างๆ เพื่อเผยแพร่กิจการค้าของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำคำและรูปรอยประดิษฐ์ตามฟ้องไปใช้กับสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจอ้างความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 ได้ แต่ ป.อ. มาตรา 272 (1) วางโทษทางอาญาสำหรับผู้ใดที่เอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์หรือข้อความใดๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อ แจ้งความรายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นเมื่อจำเลยที่ 1 นำชื่อและรูปรอยประดิษฐ์อันเป็นชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้โดยส่อเจตนาให้ประชาชนสับสนหลงผิดว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนทางการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิข้อบังคับห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ในลักษณะที่เป็นชื่อทางการค้าและรูปรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจการค้าของจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 ยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการ หรือใช้ หรือเข้าเกี่ยวข้องไม่ว่าในทางใดกับชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการของโจทก์ รวมทั้งชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการอื่นใดที่เหมือน หรือคล้ายกับชื่อทางการค้าเครื่องหมายทางการค้า และเครื่องหมายบริการของโจทก์ไม่ว่ากับกิจการค้าสินค้าหรือบริการใดๆ ซึ่งเป็นคำขอในอนาคตที่โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การแก้ไขคำฟ้อง, และข้อตกลงสละประเด็นข้อต่อสู้ในคดีสัญญากู้ยืม
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขชื่อจำเลยที่ 1 ในคำฟ้องของโจทก์ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจาก "บริษัทโกลเด้นไพล จำกัด" เป็น "บริษัทโกลเด้นไฟล จำกัด" เป็นการขอแก้ไขเพียงตัวพยัญชนะ "พ" ในคำว่า "ไพล" เป็น "ฟ" ในคำว่า "ไฟล" เท่านั้น ถือได้ว่าเป็นการแก้ไขเพียงเล็กน้อย ศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามขอ
จำเลยทั้งสามได้ให้การต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องโดยโต้เถียงความถูกต้องของหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ไว้ แม้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสามได้แถลงขอสละประเด็นข้อต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์แล้ว และจำเลยทั้งสามมิได้สืบพยานอีกด้วย คดีในศาลชั้นต้นจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องอำนาจฟ้องตามคำให้การของจำเลยทั้งสามโดยจำเลยทั้งสามไม่ติดใจโต้เถียงเกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวอีกต่อไป การที่จำเลยทั้งสามยังคงอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ไม่ถูกต้องอีก จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ และต้องฟังว่าโจทก์มอบอำนาจฟ้องถูกต้องตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งสามได้ให้การต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องโดยโต้เถียงความถูกต้องของหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ไว้ แม้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสามได้แถลงขอสละประเด็นข้อต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์แล้ว และจำเลยทั้งสามมิได้สืบพยานอีกด้วย คดีในศาลชั้นต้นจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องอำนาจฟ้องตามคำให้การของจำเลยทั้งสามโดยจำเลยทั้งสามไม่ติดใจโต้เถียงเกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวอีกต่อไป การที่จำเลยทั้งสามยังคงอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ไม่ถูกต้องอีก จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ และต้องฟังว่าโจทก์มอบอำนาจฟ้องถูกต้องตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8888/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด, ความรับผิดของผู้บริหาร, การประมาทเลินเล่อ, และการตรวจสอบการเงินของหน่วยงาน
จำเลยที่ 3 พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 3 จึงไม่มีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบบังคับบัญชาการดำเนินกิจการต่างๆ ของโรงเรียนตั้งแต่วันดังกล่าว ไม่ต้องรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2535 เป็นต้นไป แต่กรมสามัญศึกษาโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปจนถึงวันที่จำเลยที่ 3 พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนมีจำนวนเท่าใด ย่อมไม่อาจกำหนดให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในจำนวนเงินทั้งหมดได้
กรมสามัญศึกษาโจทก์เป็นกรมในรัฐบาลมีอธิบดีกรมสามัญศึกษาเป็นผู้บริหารราชการ อธิบดีกรมสามัญศึกษาจึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์รวมทั้งการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีด้วย ตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ไม่อาจนำบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้แก่นิติบุคคลทั่วไปที่ต้องประทับตราของโจทก์ในการลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีมาใช้แก่โจทก์
ในวันที่กรมสามัญศึกษาโจทก์ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจแม้จะถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดแล้ว ก็ยังไม่อาจถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าวด้วย เมื่อคณะกรรมการสอบสวนสอบสวนเสร็จและรายงานผลการสอบสวนต่ออธิบดีกรมสามัญศึกษาว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วยจึงถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าว ปรากฏว่ารองอธิบดีรักษาราชการแทนอธิบดีกรมสามัญศึกษาได้รับรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนวันที่ 14 กรกฎาคม 2537 โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 13 กรกฎาคม 2538 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังในหน้าที่ของอำเภอและกิ่งอำเภอ พ.ศ.2520 ข้อ 20 และข้อ 37 โดยจำเลยที่ 3 ไม่แต่งตั้งผู้ตรวจสอบการรับจ่ายเงินประจำวันเพื่อตรวจสอบการรับจ่ายเงินในแต่ละวัน เป็นเหตุให้ไม่สามารถตรวจสอบพบการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 ไม่เกี่ยวกับบทบัญญัติของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวบังคับใช้ภายหลังเหตุคดีนี้ จะนำบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมาปรับใช้แก่คดีนี้ไม่ได้
จำเลยที่ 2 ได้รับแต่งตั้งจากจำเลยที่ 3 ให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลตรวจสอบการับจ่ายเงินและเป็นประธานกรรมการเก็บรักษาตรวจนับเงินประจำวัน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้ตรวจสอบการรับจ่ายเงินประจำวันตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังในหน้าที่ของอำเภอและกิ่งอำเภอ พ.ศ.2520 ข้อ 20 และข้อ 37 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในผลแห่งการประมาทเลินเล่อดังกล่าวของตน
กรมสามัญศึกษาโจทก์เป็นกรมในรัฐบาลมีอธิบดีกรมสามัญศึกษาเป็นผู้บริหารราชการ อธิบดีกรมสามัญศึกษาจึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์รวมทั้งการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีด้วย ตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ไม่อาจนำบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้แก่นิติบุคคลทั่วไปที่ต้องประทับตราของโจทก์ในการลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีมาใช้แก่โจทก์
ในวันที่กรมสามัญศึกษาโจทก์ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจแม้จะถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดแล้ว ก็ยังไม่อาจถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าวด้วย เมื่อคณะกรรมการสอบสวนสอบสวนเสร็จและรายงานผลการสอบสวนต่ออธิบดีกรมสามัญศึกษาว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วยจึงถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าว ปรากฏว่ารองอธิบดีรักษาราชการแทนอธิบดีกรมสามัญศึกษาได้รับรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนวันที่ 14 กรกฎาคม 2537 โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 13 กรกฎาคม 2538 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังในหน้าที่ของอำเภอและกิ่งอำเภอ พ.ศ.2520 ข้อ 20 และข้อ 37 โดยจำเลยที่ 3 ไม่แต่งตั้งผู้ตรวจสอบการรับจ่ายเงินประจำวันเพื่อตรวจสอบการรับจ่ายเงินในแต่ละวัน เป็นเหตุให้ไม่สามารถตรวจสอบพบการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 ไม่เกี่ยวกับบทบัญญัติของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวบังคับใช้ภายหลังเหตุคดีนี้ จะนำบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมาปรับใช้แก่คดีนี้ไม่ได้
จำเลยที่ 2 ได้รับแต่งตั้งจากจำเลยที่ 3 ให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลตรวจสอบการับจ่ายเงินและเป็นประธานกรรมการเก็บรักษาตรวจนับเงินประจำวัน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้ตรวจสอบการรับจ่ายเงินประจำวันตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังในหน้าที่ของอำเภอและกิ่งอำเภอ พ.ศ.2520 ข้อ 20 และข้อ 37 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในผลแห่งการประมาทเลินเล่อดังกล่าวของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์หากไม่มีตราบริษัท แม้จะมีพยานรับรอง
ตามหนังสือมอบอำนาจตอนท้ายระบุว่า เพื่อเป็นหลักฐานในเรื่องดังกล่าวกรรมการผู้มีอำนาจได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทต่อหน้าโนตารีปับลิกประจำท้องถิ่น และยังมีข้อความว่า ลายมือชื่อ ตราประทับ และส่งมอบโดย อ. ผู้มีชื่อปรากฏข้างต้นต่อหน้าโนตารีปับลิก ตามคำฟ้องกับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแสดงว่าตามข้อบังคับของโจทก์ กรรมการผู้มีอำนาจจะลงลายมือชื่อผูกพันโจทก์ได้จะต้องประทับตราสำคัญของโจทก์ด้วย ฉะนั้น ในกรณีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินคดีแทนนี้ โจทก์ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าว ในเมื่อตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว อ. ลงลายมือชื่อโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ การมอบอำนาจดังกล่าวของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือมอบอำนาจโจทก์บรรยายฟ้องมาเพียงว่า รายละเอียดตามหนังสือมอบอำนาจนั้น โจทก์จะได้เสนอศาลในชั้นพิจารณาต่อไปโดยโจทก์ไม่ได้แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมาท้ายฟ้อง จำเลยจึงไม่สามารถตรวจดูหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวและไม่สามารถยกเรื่องไม่มีตราสำคัญของโจทก์ประทับในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การได้ นอกจากนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ก็ได้ยกเรื่องหนังสือมอบอำนาจมาวินิจฉัยดังนี้ ถือได้ว่าปัญหาข้อนี้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ จำเลยจึงยกปัญหาข้อนี้ข้ออ้างอิงในการยื่นอุทธรณ์ได้
หนังสือมอบอำนาจโจทก์บรรยายฟ้องมาเพียงว่า รายละเอียดตามหนังสือมอบอำนาจนั้น โจทก์จะได้เสนอศาลในชั้นพิจารณาต่อไปโดยโจทก์ไม่ได้แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมาท้ายฟ้อง จำเลยจึงไม่สามารถตรวจดูหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวและไม่สามารถยกเรื่องไม่มีตราสำคัญของโจทก์ประทับในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การได้ นอกจากนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ก็ได้ยกเรื่องหนังสือมอบอำนาจมาวินิจฉัยดังนี้ ถือได้ว่าปัญหาข้อนี้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ จำเลยจึงยกปัญหาข้อนี้ข้ออ้างอิงในการยื่นอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7457/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทลิขสิทธิ์อุลตร้าแมน: ศาลพิพากษาจำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์และเรียกร้องค่าเสียหายที่ไม่สมเหตุสมผล
เมื่อข้อเท็จจริงตามสำนวนปรากฏว่า ผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์ลงลายมือชื่อเป็นผู้แต่งทนายความ โดยระบุในใบแต่งทนายความให้ ม. เป็นทนายความ และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์รวมถึงการใช้สิทธิในการอุทธรณ์ ซึ่งใบแต่งทนายความของโจทก์ดังกล่าวมีเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกแห่งกรุงโตเกียวรับรองลายมือชื่อผู้แต่งทนายความ และมีหนังสือรับรองเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ ประเทศญี่ปุ่น และหนังสือรับรองของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว รับรองต่อกันมาตามลำดับ อันเป็นการดำเนินการตามพิธีการแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเกี่ยวกับเอกสารที่ทำในต่างประเทศครบถ้วนแล้ว โดยจำเลยทั้งสี่มิได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่าโจทก์แต่งตั้ง ม. ให้มีอำนาจตามที่ระบุในใบแต่งทนายความจริง เมื่อใบแต่งทนายความระบุให้ ม. มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์แทนโจทก์ ม. จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ ผู้เรียงและผู้พิมพ์ได้
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 และมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นฝ่ายชนะคดี และไม่มีส่วนได้เสียในฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีส่วนได้เสียอันจะอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ประกอบกับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 มิได้มีคำขอให้บังคับโจทก์ต้องรับผิดแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 นอกเหนือไปจากที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษา คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 มาตรา 4 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่บริษัทโจทก์สร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมน บัญญัติว่า "ผู้ประพันธ์ ให้กินความถึงผู้แต่งเพลงดนตรี ผู้ทำหรือก่อให้เกิดซึ่งศิลปกรรม เช่น ช่างเขียน ช่างภาพหุ่น สถาปนิก ฯลฯ ด้วย" และมาตรา 10 บัญญัติว่า ผู้ประพันธ์มีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำวรรกรรม วิทยาศาสตรกรรมหรือศิลปกรรมของตนเป็นภาพยนตร์แสดงให้ประชาชนดู ดังนั้นในการสร้างงานศิลปกรรมหรืองานภาพยนตร์ การมีส่วนร่วมทำหรือร่วมก่อให้เกิดงานศิลปกรรมหรืองานภาพยนตร์จึงเป็นสาระสำคัญของการที่จะได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองการแสดงออกซึ่งความคิดในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่มิได้ให้ความคุ้มครองสิ่งที่เป็นเพียงความคิด เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ร่วมสร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมนพิพาท เพียงการที่จำเลยที่ 2 อ้างว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมน โดยเสนอความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมน อันเป็นการให้ความช่วยเหลือเสนอความคิดในฐานะที่เป็นคนรู้จักสนิทสนมกัน โดยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าได้มีการนำแนวความคิดตามที่จำเลยที่ 2 เสนอไปใช้ในการสร้างผลงานอุลตร้าแมนจริงหรือไม่ ยังรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ลงทุนลงแรงหรือมีส่วนร่วมทำหรือร่วมก่อให้เกิดผลงานอุลตร้าแมน และฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับโจทก์สร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมนตั้งแต่เริ่มแรก
การพิจารณาว่าสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในลิขสิทธิ์ผลงานอุลตร้าแมนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2519 เป็นเอกสารปลอมหรือไม่นั้น ต้องนำประเพณีและวิธีการปฏิบัติในการทำธุรกิจเพื่อหาผลประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้าอุลตร้าแมน และผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโดยผู้เชี่ยวชาญ และการหาข้อพิรุธจากข้อความที่ปรากฏในสัญญาดังกล่าว กับพยานแวดล้อมอื่นๆ มาพิจารณาประกอบกัน เช่น การที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ใช้สิทธิตามสัญญาพิพาทแสวงหาประโยชน์จากผลงานอุลตร้าแมนในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธินับจากวันทำสัญญาพิพาทล่วงพ้นไปถึง 20 ปี แต่กลับเพิ่งกล่าวอ้างถึงสัญญาพิพาทต่อโจทก์หลังจากที่ น. ซึ่งจำเลยที่ 2 อ้างว่าลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวถึงแก่ความตายไปแล้วประมาณ 1 ปี ในขณะที่ฝ่ายโจทก์ดำเนินการใช้สิทธิและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาโดยตลอดโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 นำสัญญาพิพาทมากล่าวอ้างโต้แย้ง การที่จำเลยที่ 2 ขออนุญาตใช้สิทธิในผลงานอุลตร้าแมนที่ระบุไว้ในสัญญาพิพาทต่อโจทก์อีกหลังจากทำสัญญาพิพาทแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ไปจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาหลังจากที่ น. ถึงแก่ความตายไม่กี่วัน โดยไม่ได้ระบุถึงลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนตามสัญญาพิพาท การที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญาพิพาทเปรียบเทียบกับเอกสารที่มีลายมือชื่อของ น. แล้วมีความเห็นว่า มิใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน ข้อพิรุธเกี่ยวกับข้อความในสัญญาพิพาท ทั้งชื่อสัญญา ชื่อผลงานอุลตร้าแมนและรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนตอนที่ไม่ถูกต้อง การไม่กำหนดเวลาและค่าตอบแทนในการโอนลิขสิทธิ์หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิซึ่งผิดปกติวิสัยของการทำธุรกิจ และการทำสัญญาโอนลิขสิทธิ์หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิย้อนหลังอันจะมีผลกระทบต่อบุคคลภายนอก และผิดปกติวิสัยของการทำสัญญาโอนลิขสิทธิ์หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในลิขสิทธิ์ เป็นต้น จึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าสัญญาพิพาทเป็นเอกสารที่ถูกทำปลอมขึ้นทั้งฉบับ จำเลยที่ 1 และที่ 2 หาอาจมีสิทธิที่จะแสวงหาประโยชน์ใดๆ จากผลงานอุลตร้าแมนตามสัญญาพิพาทไม่
แม้โจทก์ฟ้องทั้งคดีอาญาและคดีแพ่งมาในคดีเดียวกัน แต่ในคดีส่วนอาญาโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้โดยปราศจากความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยทั้งสี่กระทำความผิดตามฟ้อง เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 พิมพ์เผยแพร่สมุดภาพระบายสีภาพอุลตร้าแมนหลังจากวันที่โจทก์ทำหนังสือเอกสารหมาย ล.12 หรือ จ.25 ได้ไม่นาน ซึ่งเนื้อความในเอกสารดังกล่าวระบุเกี่ยวกับการอนุญาตให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินรวมทั้งอุลตร้าแมนพิพาทด้วย แม้หนังสือดังกล่าวไม่มีผลเป็นการรับรองสิทธิของจำเลยที่ 2 แต่การทำหนังสือดังกล่าวในระหว่างที่ยังพิพาทกันเรื่องลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนและยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลชี้ขาด อาจทำให้จำเลยที่ 2 และจำเลยอื่นเข้าใจได้ว่ามีสิทธิทำซ้ำและดัดแปลงรูปภาพผลงานอุลตร้าแมน ทั้งจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยที่ 4 ใช้สิทธิอย่างเปิดเผยเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยทั้งสี่ เมื่อข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสี่กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 (1) ประกอบมาตรา 69 วรรคสอง และมาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง ตามฟ้อง จึงไม่มีค่าปรับที่จำเลยทั้งสี่ต้องชำระตามคำพิพากษา และกรณีไม่อาจสั่งให้ของกลางตกเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 ได้
เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนโดยเป็นผู้สร้างสรรค์แต่เพียงผู้เดียว จำเลยที่ 2 มิได้เป็นผู้สร้างสรรค์ร่วม และสัญญาพิพาทเป็นเอกสารปลอม จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะแสวงหาประโยชน์ใดๆ จากผลงานอุลตร้าแมนโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องแย้งเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ได้
จำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้จัดพิมพ์สมุดภาพระบายสีหาใช่ผู้โอนขายหรือผู้อนุญาตให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดรายได้หรือผลประโยชน์จากค่าตอบแทนการโอนขายลิขสิทธิ์หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์และทำให้งานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้อยคุณค่าลงจากจำเลยที่ 4 แต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้อนุญาตให้จำเลยที่ 4 ใช้สิทธิในผลงานอุลตร้าแมนโดยการจัดพิมพ์สมุดภาพระบายสี ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์ตามสมควรแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี
จำเลยที่ 4 จัดพิมพ์สมุดภาพระบายสีโดยเข้าใจและเชื่อโดยสุจริตว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมน และไม่ได้ความว่าความเข้าใจว่าตนมีสิทธิจัดพิมพ์สมุดภาพระบายสีของจำเลยที่ 4 เป็นไปโดยประมาทเลินเล่อ กับไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ได้รับผลกำไรจากการนี้หรือไม่ เพียงใด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดในทางแพ่งฐานกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าขาดประโยชน์อันพึงได้รับจากการจัดพิมพ์สมุดภาพระบายสีออกจำหน่ายเพื่อประโยชน์ทางการค้าจากจำเลยที่ 4 ได้อีก
ค่าใช้จ่ายในการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนที่โจทก์เสียไป เป็นผลสืบเนื่องจากการที่จำเลยที่ 2 กล่าวอ้างความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนต่อลูกค้าของโจทก์และบุคคลทั่วไป จึงถือได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการบังคับตามสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ทำละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์ได้ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 64
สำหรับค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้วเรียกเก็บเงินจากผู้ขายหรือจำหน่ายสินค้าที่มีตัวอุลตร้าแมนนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 เป็นเพียงผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ให้ร้องทุกข์ดำเนินคดี จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว และผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าวคือผู้ที่ถูกจำเลยที่ 2 แจ้งความร้องทุกข์และเรียกเก็บเงินหาใช่โจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายนี้
การขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสี่ละเว้นการกระทำต่างๆ เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนพิพาทหลังจากวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นต้นไป เป็นเรื่องการกระทำในอนาคตซึ่งยังมิได้มีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์อยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับเช่นนี้
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 และมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นฝ่ายชนะคดี และไม่มีส่วนได้เสียในฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีส่วนได้เสียอันจะอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ประกอบกับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 มิได้มีคำขอให้บังคับโจทก์ต้องรับผิดแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 นอกเหนือไปจากที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษา คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 มาตรา 4 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่บริษัทโจทก์สร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมน บัญญัติว่า "ผู้ประพันธ์ ให้กินความถึงผู้แต่งเพลงดนตรี ผู้ทำหรือก่อให้เกิดซึ่งศิลปกรรม เช่น ช่างเขียน ช่างภาพหุ่น สถาปนิก ฯลฯ ด้วย" และมาตรา 10 บัญญัติว่า ผู้ประพันธ์มีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำวรรกรรม วิทยาศาสตรกรรมหรือศิลปกรรมของตนเป็นภาพยนตร์แสดงให้ประชาชนดู ดังนั้นในการสร้างงานศิลปกรรมหรืองานภาพยนตร์ การมีส่วนร่วมทำหรือร่วมก่อให้เกิดงานศิลปกรรมหรืองานภาพยนตร์จึงเป็นสาระสำคัญของการที่จะได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองการแสดงออกซึ่งความคิดในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่มิได้ให้ความคุ้มครองสิ่งที่เป็นเพียงความคิด เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ร่วมสร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมนพิพาท เพียงการที่จำเลยที่ 2 อ้างว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมน โดยเสนอความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมน อันเป็นการให้ความช่วยเหลือเสนอความคิดในฐานะที่เป็นคนรู้จักสนิทสนมกัน โดยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าได้มีการนำแนวความคิดตามที่จำเลยที่ 2 เสนอไปใช้ในการสร้างผลงานอุลตร้าแมนจริงหรือไม่ ยังรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ลงทุนลงแรงหรือมีส่วนร่วมทำหรือร่วมก่อให้เกิดผลงานอุลตร้าแมน และฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับโจทก์สร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมนตั้งแต่เริ่มแรก
การพิจารณาว่าสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในลิขสิทธิ์ผลงานอุลตร้าแมนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2519 เป็นเอกสารปลอมหรือไม่นั้น ต้องนำประเพณีและวิธีการปฏิบัติในการทำธุรกิจเพื่อหาผลประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้าอุลตร้าแมน และผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโดยผู้เชี่ยวชาญ และการหาข้อพิรุธจากข้อความที่ปรากฏในสัญญาดังกล่าว กับพยานแวดล้อมอื่นๆ มาพิจารณาประกอบกัน เช่น การที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ใช้สิทธิตามสัญญาพิพาทแสวงหาประโยชน์จากผลงานอุลตร้าแมนในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธินับจากวันทำสัญญาพิพาทล่วงพ้นไปถึง 20 ปี แต่กลับเพิ่งกล่าวอ้างถึงสัญญาพิพาทต่อโจทก์หลังจากที่ น. ซึ่งจำเลยที่ 2 อ้างว่าลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวถึงแก่ความตายไปแล้วประมาณ 1 ปี ในขณะที่ฝ่ายโจทก์ดำเนินการใช้สิทธิและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาโดยตลอดโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 นำสัญญาพิพาทมากล่าวอ้างโต้แย้ง การที่จำเลยที่ 2 ขออนุญาตใช้สิทธิในผลงานอุลตร้าแมนที่ระบุไว้ในสัญญาพิพาทต่อโจทก์อีกหลังจากทำสัญญาพิพาทแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ไปจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาหลังจากที่ น. ถึงแก่ความตายไม่กี่วัน โดยไม่ได้ระบุถึงลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนตามสัญญาพิพาท การที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญาพิพาทเปรียบเทียบกับเอกสารที่มีลายมือชื่อของ น. แล้วมีความเห็นว่า มิใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน ข้อพิรุธเกี่ยวกับข้อความในสัญญาพิพาท ทั้งชื่อสัญญา ชื่อผลงานอุลตร้าแมนและรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนตอนที่ไม่ถูกต้อง การไม่กำหนดเวลาและค่าตอบแทนในการโอนลิขสิทธิ์หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิซึ่งผิดปกติวิสัยของการทำธุรกิจ และการทำสัญญาโอนลิขสิทธิ์หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิย้อนหลังอันจะมีผลกระทบต่อบุคคลภายนอก และผิดปกติวิสัยของการทำสัญญาโอนลิขสิทธิ์หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในลิขสิทธิ์ เป็นต้น จึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าสัญญาพิพาทเป็นเอกสารที่ถูกทำปลอมขึ้นทั้งฉบับ จำเลยที่ 1 และที่ 2 หาอาจมีสิทธิที่จะแสวงหาประโยชน์ใดๆ จากผลงานอุลตร้าแมนตามสัญญาพิพาทไม่
แม้โจทก์ฟ้องทั้งคดีอาญาและคดีแพ่งมาในคดีเดียวกัน แต่ในคดีส่วนอาญาโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้โดยปราศจากความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยทั้งสี่กระทำความผิดตามฟ้อง เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 พิมพ์เผยแพร่สมุดภาพระบายสีภาพอุลตร้าแมนหลังจากวันที่โจทก์ทำหนังสือเอกสารหมาย ล.12 หรือ จ.25 ได้ไม่นาน ซึ่งเนื้อความในเอกสารดังกล่าวระบุเกี่ยวกับการอนุญาตให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินรวมทั้งอุลตร้าแมนพิพาทด้วย แม้หนังสือดังกล่าวไม่มีผลเป็นการรับรองสิทธิของจำเลยที่ 2 แต่การทำหนังสือดังกล่าวในระหว่างที่ยังพิพาทกันเรื่องลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนและยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลชี้ขาด อาจทำให้จำเลยที่ 2 และจำเลยอื่นเข้าใจได้ว่ามีสิทธิทำซ้ำและดัดแปลงรูปภาพผลงานอุลตร้าแมน ทั้งจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยที่ 4 ใช้สิทธิอย่างเปิดเผยเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยทั้งสี่ เมื่อข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสี่กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 (1) ประกอบมาตรา 69 วรรคสอง และมาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง ตามฟ้อง จึงไม่มีค่าปรับที่จำเลยทั้งสี่ต้องชำระตามคำพิพากษา และกรณีไม่อาจสั่งให้ของกลางตกเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 ได้
เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนโดยเป็นผู้สร้างสรรค์แต่เพียงผู้เดียว จำเลยที่ 2 มิได้เป็นผู้สร้างสรรค์ร่วม และสัญญาพิพาทเป็นเอกสารปลอม จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะแสวงหาประโยชน์ใดๆ จากผลงานอุลตร้าแมนโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องแย้งเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ได้
จำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้จัดพิมพ์สมุดภาพระบายสีหาใช่ผู้โอนขายหรือผู้อนุญาตให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดรายได้หรือผลประโยชน์จากค่าตอบแทนการโอนขายลิขสิทธิ์หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์และทำให้งานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้อยคุณค่าลงจากจำเลยที่ 4 แต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้อนุญาตให้จำเลยที่ 4 ใช้สิทธิในผลงานอุลตร้าแมนโดยการจัดพิมพ์สมุดภาพระบายสี ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์ตามสมควรแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี
จำเลยที่ 4 จัดพิมพ์สมุดภาพระบายสีโดยเข้าใจและเชื่อโดยสุจริตว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมน และไม่ได้ความว่าความเข้าใจว่าตนมีสิทธิจัดพิมพ์สมุดภาพระบายสีของจำเลยที่ 4 เป็นไปโดยประมาทเลินเล่อ กับไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ได้รับผลกำไรจากการนี้หรือไม่ เพียงใด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดในทางแพ่งฐานกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าขาดประโยชน์อันพึงได้รับจากการจัดพิมพ์สมุดภาพระบายสีออกจำหน่ายเพื่อประโยชน์ทางการค้าจากจำเลยที่ 4 ได้อีก
ค่าใช้จ่ายในการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนที่โจทก์เสียไป เป็นผลสืบเนื่องจากการที่จำเลยที่ 2 กล่าวอ้างความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนต่อลูกค้าของโจทก์และบุคคลทั่วไป จึงถือได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการบังคับตามสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ทำละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์ได้ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 64
สำหรับค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้วเรียกเก็บเงินจากผู้ขายหรือจำหน่ายสินค้าที่มีตัวอุลตร้าแมนนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 เป็นเพียงผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ให้ร้องทุกข์ดำเนินคดี จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว และผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าวคือผู้ที่ถูกจำเลยที่ 2 แจ้งความร้องทุกข์และเรียกเก็บเงินหาใช่โจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายนี้
การขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสี่ละเว้นการกระทำต่างๆ เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนพิพาทหลังจากวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นต้นไป เป็นเรื่องการกระทำในอนาคตซึ่งยังมิได้มีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์อยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับเช่นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4128/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ ห้ามใช้คำที่บ่งบอกลักษณะสินค้าโดยตรง
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ ซึ่งทำขึ้นก่อนฟ้อง หลังจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งปฏิเสธการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยยืนตาม ได้มอบอำนาจไว้อย่างกว้างขวางและระบุไว้ชัดเจนว่าโจทก์มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีต่อสู้คดีทางอาญาและทางแพ่งอันเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในศาลได้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงเป็นการมอบอำนาจแก่ผู้ดำเนินคดีนี้แทนโจทก์แล้ว
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ายืนตามคำสั่งของนายทะเบียน ไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ หรือในกฎหมายใดบัญญัติให้โจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 90 วัน นับแต่ทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องภายหลังกำหนดดังกล่าวได้
โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นสาระสำคัญสองส่วน คือคำที่เป็นตัวอักษรโรมันสองคำรวมกันในลักษณะประดิษฐ์ คือคำว่า POPCORN อ่านว่า ป๊อบคอร์น แปลว่า ข้าวโพดคั่ว และคำว่า CHICKEN อ่านว่า ชิคเคน แปลว่าไก่ เมื่อรวมคำกันแล้วแปลว่า ไก่ข้าวโพดคั่ว เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 29 รายการสินค้า 18 รายการ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ เน้นที่สัตว์ปีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไก่เป็นส่วนผสม คำว่า POPCORN CHICKEN อาจจัดอยู่ในความหมายของสินค้ารายการที่ 1) เนื้อสัตว์ 2) ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ 4) สัตว์ปีกไม่มีชีวิต 5) ผลิตภัณฑ์ทำจากสัตว์ปีก และ 6) สัตว์ล่าไม่มีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้ารายการที่ 17) อาหารที่มีไก่เป็นส่วนผสม ทั้งเมื่อพิเคราะห์เฉพาะคำว่า POPCORN มีความหมายเดียวกันกับสินค้ารายการที่ 9) ผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธี และที่ 10) ผักที่ผ่านกรรมวิธี ส่วนลำพังคำว่า CHICKEN ก็เป็นคำสามัญในการค้าขายสินค้าตามรายการข้างต้น เครื่องหมายการค้า POPCORN CHICKEN เมื่อจะนำไปใช้กับสินค้าต่าง ๆ ตามความประสงค์ของโจทก์ดังที่แสดงออกไว้ในคำขอจดทะเบียน จึงนับได้ว่ามุ่งประสงค์ที่จะให้เล็งถึงลักษณะของสินค้าโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้ารายการที่ 17) อาหารที่มีไก่เป็นส่วนผสม จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 6 (1) หากยอมรับให้จดทะเบียนคำที่เล็งถึงลักษณะของสินค้าโดยตรงเช่นนี้ได้ย่อมจะทำให้โจทก์ผูกขาดการใช้คำสามัญที่แสดงลักษณะของการนำพืชหรือสัตว์มาทำการแปรรูปเป็นอาหาร อันเป็นการกีดกันสิทธิของบุคคลทั่วไปที่จะใช้คำเหล่านั้นโดยชอบเกี่ยวกับการค้าของตน
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ายืนตามคำสั่งของนายทะเบียน ไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ หรือในกฎหมายใดบัญญัติให้โจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 90 วัน นับแต่ทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องภายหลังกำหนดดังกล่าวได้
โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นสาระสำคัญสองส่วน คือคำที่เป็นตัวอักษรโรมันสองคำรวมกันในลักษณะประดิษฐ์ คือคำว่า POPCORN อ่านว่า ป๊อบคอร์น แปลว่า ข้าวโพดคั่ว และคำว่า CHICKEN อ่านว่า ชิคเคน แปลว่าไก่ เมื่อรวมคำกันแล้วแปลว่า ไก่ข้าวโพดคั่ว เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 29 รายการสินค้า 18 รายการ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ เน้นที่สัตว์ปีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไก่เป็นส่วนผสม คำว่า POPCORN CHICKEN อาจจัดอยู่ในความหมายของสินค้ารายการที่ 1) เนื้อสัตว์ 2) ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ 4) สัตว์ปีกไม่มีชีวิต 5) ผลิตภัณฑ์ทำจากสัตว์ปีก และ 6) สัตว์ล่าไม่มีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้ารายการที่ 17) อาหารที่มีไก่เป็นส่วนผสม ทั้งเมื่อพิเคราะห์เฉพาะคำว่า POPCORN มีความหมายเดียวกันกับสินค้ารายการที่ 9) ผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธี และที่ 10) ผักที่ผ่านกรรมวิธี ส่วนลำพังคำว่า CHICKEN ก็เป็นคำสามัญในการค้าขายสินค้าตามรายการข้างต้น เครื่องหมายการค้า POPCORN CHICKEN เมื่อจะนำไปใช้กับสินค้าต่าง ๆ ตามความประสงค์ของโจทก์ดังที่แสดงออกไว้ในคำขอจดทะเบียน จึงนับได้ว่ามุ่งประสงค์ที่จะให้เล็งถึงลักษณะของสินค้าโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้ารายการที่ 17) อาหารที่มีไก่เป็นส่วนผสม จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 6 (1) หากยอมรับให้จดทะเบียนคำที่เล็งถึงลักษณะของสินค้าโดยตรงเช่นนี้ได้ย่อมจะทำให้โจทก์ผูกขาดการใช้คำสามัญที่แสดงลักษณะของการนำพืชหรือสัตว์มาทำการแปรรูปเป็นอาหาร อันเป็นการกีดกันสิทธิของบุคคลทั่วไปที่จะใช้คำเหล่านั้นโดยชอบเกี่ยวกับการค้าของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีต้องมีตราสำคัญบริษัทกำกับ กรรมการลงลายมือชื่อไม่สมบูรณ์ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทมีแต่กรรมการ 2 คน ลงลายมือชื่อในนามของโจทก์โดยมิได้มีการประทับตราสำคัญของโจทก์กำกับไว้ จึงถือไม่ได้ว่ากรรมการ 2 คนนั้นได้กระทำการโดยชอบในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีผลเท่ากับโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ ด. ฟ้องคดีได้โดยชอบ ด. จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความแต่งตั้งทนายความฟ้องคดีแทนโจทก์ ส่งผลให้ทนายความไม่มีอำนาจลงชื่อในคำฟ้องในฐานะทนายโจทก์แทนโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7571-7572/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุกรุกและระยะเวลาฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี
หนังสือมอบอำนาจโจทก์ที่ให้ ส. ฟ้องคดีแทนมิได้ระบุว่ายื่นฟ้องใครและข้อหาอะไร เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายไว้ชัดเจนแล้วว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแทนและยังแนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องจำเลยทั้งสามด้วยข้อหาอะไร เกี่ยวกับเรื่องอะไร ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีต้องระบุรายละเอียดว่ามอบอำนาจให้ฟ้องใคร ข้อหาอะไร หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปลูกเพิงที่พักลงบนที่ดินพิพาทเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2537 และจำเลยที่ 1 นำหลักฐานเกี่ยวกับที่ดินไปแสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจและต่อสู้คดีแสดงว่า จำเลยที่ 1 มีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการบุกรุกที่ดินพิพาทมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2537 แล้ว เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2537 และวันที่ 28 เมษายน 2538 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปลูกเพิงที่พักลงบนที่ดินพิพาทเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2537 และจำเลยที่ 1 นำหลักฐานเกี่ยวกับที่ดินไปแสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจและต่อสู้คดีแสดงว่า จำเลยที่ 1 มีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการบุกรุกที่ดินพิพาทมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2537 แล้ว เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2537 และวันที่ 28 เมษายน 2538 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง