คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 93

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังสำเนาพินัยกรรม: โจทก์ไม่คัดค้านก่อนสืบพยาน ทำให้จำเลยไม่ต้องนำต้นฉบับมา
เมื่อโจทก์ได้รับสำเนาพินัยกรรมที่ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายพร้อมกับสำเนาคำให้การของจำเลยแล้ว โจทก์ก็มิได้คัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าว และบอกกล่าวไปยังจำเลยเสียก่อนวันสืบพยาน ดังนั้น โจทก์จึงต้องห้ามมิให้คัดค้านถึงการมีอยู่และความแท้จริง หรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคสาม และจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายอ้างเอกสารนั้นก็ไม่ต้องเอาต้นฉบับมาสืบ ศาลจึงมีอำนาจที่จะรับฟังสำเนาพินัยกรรมดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6048/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานบุคคลแทนเอกสารสูญหาย ศาลรับฟังได้หากมีพยานรู้เห็นการสูญหายและจำเลยไม่อุทธรณ์
การที่ศาลจะอนุญาตให้นำพยานบุคคลมาสืบแทนต้นฉบับ เอกสารที่สูญหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2) นั้น หาได้มีบทบัญญัติบังคับไว้ว่าต้องนำพยานบุคคลผู้รักษาต้นฉบับเอกสารมาสืบไม่ พยานบุคคลใด ๆ ที่รู้เห็น หรือทราบความสูญหายแห่งต้นฉบับเอกสารนั้นสามารถนำมาสืบได้ ดังนั้นการที่โจทก์นำผู้รับมอบอำนาจโจทก์ผู้ทราบความสูญหาย แห่งต้นฉบับเอกสารมาเบิกความยืนยันว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ได้สูญหายไปเพราะโจทก์เก็บเอกสารไม่เป็นระเบียบและเกิด น้ำท่วมภูมิลำเนาที่อยู่อาศัยของโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ไม่ สามารถนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นย่อมเป็นการเพียงพอให้ รับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินได้สูญหาย ไปจริงและโจทก์ชอบที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ โดยไม่จำต้อง มีหนังสือสัญญากู้ยืมเงินมาแสดงต่อศาลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5540/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ: การรับฟังพยานหลักฐานและการยอมรับความถูกต้องของเอกสาร
โจทก์มี จ. ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความยืนยันว่าโจทก์โดย ศ.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจ โดยทนายโจทก์ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาล ประกอบการถามพยานโจทก์ตัวผู้รับมอบอำนาจ และขอส่งสำเนาแทนต้นฉบับ จำเลยก็มิได้คัดค้านว่าสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับดังกล่าว มีข้อความไม่ตรงกันกับต้นฉบับถือว่าจำเลยยอมรับความถูกต้อง ของเอกสารนี้แล้ว ศาลย่อมรับฟังประกอบถ้อยคำของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5540/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับความถูกต้องของเอกสารมอบอำนาจและการรับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์มี จ. ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความยืนยันว่า โจทก์โดยศ. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจ โดยทนายโจทก์ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาลประกอบการถามพยานโจทก์ตัวผู้รับมอบอำนาจ และขอส่งสำเนาแทนต้นฉบับ จำเลยก็มิได้คัดค้านว่าสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับดังกล่าวมีข้อความไม่ตรงกันกับต้นฉบับถือว่าจำเลยยอมรับความถูกต้องของเอกสารนี้แล้ว ศาลย่อมรับฟังประกอบถ้อยคำของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5495/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลรับฟังเอกสารท้ายคำให้การเป็นพยานหลักฐานเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในคดีแพ่ง
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยไปแล้ว จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยไปแล้วเพียงใดหรือไม่เมื่อปรากฏว่าจำเลยให้การต่อสู้ไว้แล้วว่า จำเลยได้จ่ายเงิน ให้โจทก์เป็นค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 10,000 บาทปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ และได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์ไปแล้ว 10,000 บาท ตามสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยโดยผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นผู้ไปรับเอง ตามเอกสารท้ายฟ้องเอกสารท้ายคำให้การดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่เข้าสู่สำนวนโดยชอบแล้ว แม้จะเป็นสำเนาเอกสารและจำเลยมิได้สืบประกอบ ก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความ ยุติธรรมก็ย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5495/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังเอกสารประกอบคำให้การ แม้เป็นสำเนาและมิได้สืบประกอบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยไปแล้ว จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ได้รับค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยไปแล้วเพียงใดหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยให้การต่อสู้ไว้แล้วว่า จำเลยได้จ่ายเงินให้โจทก์เป็นค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 10,000 บาท ปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ และได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์ไปแล้ว 10,000 บาท ตามสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัย โดยผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นผู้ไปรับเอง ตามเอกสารท้ายฟ้องเอกสารท้ายคำให้การดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่เข้าสู่สำนวนโดยชอบแล้ว แม้จะเป็นสำเนาเอกสารและจำเลยมิได้สืบประกอบก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 87

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังเอกสารสำเนาบัตรข้าราชการและลายมือชื่อเพื่อเปรียบเทียบ
เมื่อเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการที่โจทก์อ้างส่งต่อศาล จำเลยไม่คัดค้าน อีกทั้งจำเลยยังได้เบิกความยอมรับถึงความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าว ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารดังกล่าวเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของผู้ค้ำประกันที่พิพาทได้ ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 93 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการและการยอมรับของจำเลยเพื่อเปรียบเทียบลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกัน
เมื่อเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการที่โจทก์อ้างส่งต่อศาล จำเลยไม่คัดค้าน อีกทั้งจำเลยยังได้เบิกความยอมรับถึงความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าว ดังนี้ศาลย่อมรับฟังลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารดังกล่าวเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของผู้ค้ำประกันที่พิพาทได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารทำสัญญาโดยใช้กระดาษคาร์บอน ถือเป็นต้นฉบับได้หากมีเจตนาให้ใช้เป็นสัญญา
โจทก์นำสืบพยานโดยอ้างส่งหนังสือวางเงินมัดจำ หนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ และบันทึกข้อตกลงที่จำเลยยอมผ่อนชำระเงินมัดจำคืนแก่โจทก์เป็นหลักฐาน จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวมิใช่ต้นฉบับ และอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า เอกสารดังกล่าวมิใช่ต้นฉบับ แต่เป็นสำเนาโดยรองเขียนด้วยกระดาษคาร์บอนสีน้ำเงิน ส่วนต้นฉบับจำเลยครอบครองอยู่ ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ซึ่งมีความหมายว่าขอให้ไม่รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานและพิพากษายกฟ้องโจทก์ ดังนี้ การที่โจทก์จำเลยทำเอกสารดังกล่าวได้ใช้กระดาษคาร์บอนคั่นกลาง เมื่อเขียนและลงชื่อแล้วจึงมอบฉบับล่างให้โจทก์โดยคู่กรณีถือว่าฉบับล่างเป็นหนังสือสัญญาเช่นเดียวกับฉบับบน สำหรับฉบับบนจำเลยเก็บไว้ การทำเอกสารในลักษณะเช่นนี้เห็นเจตนาของคู่สัญญาได้ว่าประสงค์ให้ถือเอาเอกสารฉบับล่างเป็นคู่ฉบับของเอกสารฉบับบนโดยไม่ถือว่าเอกสารฉบับล่างเป็นสำเนา เพราะมิใช่ข้อความที่คัดลอกหรือถ่ายเอกสารมาจากต้นฉบับ แต่ได้ทำขึ้นพร้อมกับฉบับบนหรือต้นฉบับเพื่อใช้เป็นหนังสือสัญญา 2 ฉบับ มีผลเท่ากับเป็นต้นฉบับด้วย จึงไม่ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังเอกสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารทำสัญญาด้วยกระดาษคาร์บอน ถือเป็นต้นฉบับได้หากมีเจตนาทำเป็นคู่ฉบับ
โจทก์นำสืบพยานโดยอ้างส่งหนังสือวางเงินมัดจำหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ และบันทึกข้อตกลงที่จำเลยยอมผ่อนชำระเงินมัดจำคืนแก่โจทก์เป็นหลักฐานจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวมิใช่ต้นฉบับและอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า เอกสารดังกล่าวมิใช่ต้นฉบับแต่เป็นสำเนาโดยรองเขียนด้วยกระดาษคาร์บอนสีน้ำเงินส่วนต้นฉบับจำเลยครอบครองอยู่ ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ซึ่งมีความหมายว่าขอให้ ไม่รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานและพิพากษายกฟ้องโจทก์ดังนี้ การที่โจทก์จำเลยทำเอกสารดังกล่าวได้ใช้กระดาษคาร์บอนคั่นกลาง เมื่อเขียนและลงชื่อ แล้วจึงมอบฉบับล่างให้โจทก์โดยคู่กรณีถือว่าฉบับล่างเป็นหนังสือสัญญาเช่นเดียวกับฉบับบน สำหรับฉบับบนจำเลยเก็บไว้ การทำเอกสารในลักษณะเช่นนี้เห็นเจตนาของคู่สัญญาได้ว่า ประสงค์ให้ถือเอาเอกสารฉบับล่างเป็นคู่ฉบับของเอกสารบน โดยไม่ถือว่าเอกสารฉบับล่างเป็นสำเนา เพราะมิใช่ข้อความ ที่คัดลอกหรือถ่ายเอกสารมาจากต้นฉบับ แต่ได้ทำขึ้นพร้อมกับ ฉบับบนหรือต้นฉบับเพื่อใช้เป็นหนังสือสัญญา 2 ฉบับ มีผลเท่ากับเป็นต้นฉบับด้วย จึงไม่ต้องห้ามมิให้ศาล รับฟังเอกสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานดังกล่าว
of 27