พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3405/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานเอกสารและผลของการคำนวณหนี้ที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ได้อ้างต้นฉบับเอกสารซึ่งเป็นหลักฐานแห่งหนี้ที่จำเลยได้เดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เป็นพยานต่อศาลทั้งโจทก์นำพนักงานโจทก์มาสืบเป็นพยานเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวไว้ชัดแจ้งแล้ว พยานเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93 ส่วนความไม่ถูกต้องในการคำนวณอัตราดอกเบี้ยมิใช่เป็นกรณีเป็นหนี้ที่ไม่มีหลักฐาน เพียงแต่หลักฐาน ที่นำมาคำนวณโต้แย้งสิทธิของจำเลย ไม่ถูกต้อง ซึ่งหากศาลพิพากษาไปอาจเป็นโทษ แก่จำเลยได้และภาระในการคำนวณยอดหนี้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง และให้โอกาสโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่นั้นจึงเป็นคุณแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวม - เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายที่ดิน - การยินยอม - อายุความ
คดีก่อนมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่ แต่ในคดีนี้มีประเด็นว่า โจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยทั้งสองหรือไม่ นอกจากนี้แล้วโจทก์ก็เพียงแต่ยื่นคำร้องสอดเพื่อขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีก่อน แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ฉะนั้นโจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีฐานะเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ทั้งมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 ด้วย
การยินยอมให้ผู้เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้าของรวมคนอื่นไว้นั้น เป็นความตกลงที่บุคคลสามารถกระทำได้ด้วยไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อของตน แม้จะเป็นด้วยเหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม การกระทำเช่นว่านั้นก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นโมฆะ ดังนั้น หากโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง และจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งนำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปทำสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยที่ 2โดยโจทก์มิได้ยินยอม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้
โจทก์ได้อ้างส่งบันทึกเกี่ยวกับการแบ่งส่วนที่ดินต่อศาล แม้เป็นสำเนาเอกสาร แต่เจ้าพนักงานศาลก็ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว และในเวลาต่อมาโจทก์ก็ได้ส่งต้นฉบับต่อศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ส่วนการพิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือปลอมนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการนำสืบแสดงของคู่ความ
การพิสูจน์ว่าผู้ซึ่งไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารแสดง จึงหาอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ไม่ โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลได้
จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาททั้งแปลงรวมทั้งส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสองอีกทั้งคดีนี้ก็เป็นกรณีโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมมาแต่แรก แต่ลงชื่อจำเลยที่ 1ถือกรรมสิทธิแทนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยการมาตกลงให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในภายหลังอันจะต้องตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งที่จะต้องมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนและการที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นเพียงแต่ตกลงยินยอมให้ลงชื่อจำเลยที่ 1ผู้เดียวในโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิได้มีพฤติการณ์อื่นใดอีกนั้น ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็มิได้ร่วมอยู่ด้วย ฉะนั้น โจทก์จึงมิใช่ตัวการที่จะต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้
การยินยอมให้ผู้เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้าของรวมคนอื่นไว้นั้น เป็นความตกลงที่บุคคลสามารถกระทำได้ด้วยไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อของตน แม้จะเป็นด้วยเหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม การกระทำเช่นว่านั้นก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นโมฆะ ดังนั้น หากโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง และจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งนำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปทำสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยที่ 2โดยโจทก์มิได้ยินยอม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้
โจทก์ได้อ้างส่งบันทึกเกี่ยวกับการแบ่งส่วนที่ดินต่อศาล แม้เป็นสำเนาเอกสาร แต่เจ้าพนักงานศาลก็ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว และในเวลาต่อมาโจทก์ก็ได้ส่งต้นฉบับต่อศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ส่วนการพิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือปลอมนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการนำสืบแสดงของคู่ความ
การพิสูจน์ว่าผู้ซึ่งไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารแสดง จึงหาอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ไม่ โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลได้
จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาททั้งแปลงรวมทั้งส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสองอีกทั้งคดีนี้ก็เป็นกรณีโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมมาแต่แรก แต่ลงชื่อจำเลยที่ 1ถือกรรมสิทธิแทนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยการมาตกลงให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในภายหลังอันจะต้องตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งที่จะต้องมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนและการที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นเพียงแต่ตกลงยินยอมให้ลงชื่อจำเลยที่ 1ผู้เดียวในโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิได้มีพฤติการณ์อื่นใดอีกนั้น ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็มิได้ร่วมอยู่ด้วย ฉะนั้น โจทก์จึงมิใช่ตัวการที่จะต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของเจ้าของรวมที่ไม่ได้รับความยินยอม สิทธิของเจ้าของรวม
คดีก่อนมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่ แต่ในคดีนี้มีประเด็นว่า โจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยทั้งสองหรือไม่ นอกจากนี้แล้วโจทก์ก็เพียงแต่ยื่นคำร้องสอดเพื่อขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีก่อน แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ฉะนั้นโจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีฐานะเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 ทั้งมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 ด้วย
การยินยอมให้ผู้เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้าของรวมคนอื่นไว้นั้น เป็นความตกลงที่บุคคลสามารถกระทำได้ด้วยไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อของตน แม้จะเป็นด้วยเหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม การกระทำเช่นว่านั้นก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นโมฆะ ดังนั้น หากโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งนำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปทำสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้
โจทก์ได้อ้างส่งบันทึกเกี่ยวกับการแบ่งส่วนที่ดินต่อศาล แม้เป็นสำเนาเอกสาร แต่เจ้าพนักงานศาลก็ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว และในเวลาต่อมาโจทก์ก็ได้ส่งต้นฉบับต่อศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 93 ส่วนการพิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือปลอมนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการนำสืบแสดงของคู่ความ
การพิสูจน์ว่าผู้ซึ่งไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง จึงหาอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ.มาตรา94 ไม่ โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลได้
จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาททั้งแปลงรวมทั้งส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1361 วรรคสอง อีกทั้งคดีนี้ก็เป็นกรณีโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมมาแต่แรก แต่ลงชื่อจำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์แทนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยการมาตกลงให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในภายหลังอันจะต้องตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ที่จะต้องมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน และการที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นเพียงแต่ตกลงยินยอมให้ลงชื่อจำเลยที่ 1 ผู้เดียวในโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิได้มีพฤติการณ์อื่นใดอีกนั้น ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็มิได้ร่วมอยู่ด้วย ฉะนั้น โจทก์จึงมิใช่ตัวการที่จะต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้
การยินยอมให้ผู้เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้าของรวมคนอื่นไว้นั้น เป็นความตกลงที่บุคคลสามารถกระทำได้ด้วยไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อของตน แม้จะเป็นด้วยเหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม การกระทำเช่นว่านั้นก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นโมฆะ ดังนั้น หากโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งนำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปทำสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้
โจทก์ได้อ้างส่งบันทึกเกี่ยวกับการแบ่งส่วนที่ดินต่อศาล แม้เป็นสำเนาเอกสาร แต่เจ้าพนักงานศาลก็ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว และในเวลาต่อมาโจทก์ก็ได้ส่งต้นฉบับต่อศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 93 ส่วนการพิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือปลอมนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการนำสืบแสดงของคู่ความ
การพิสูจน์ว่าผู้ซึ่งไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง จึงหาอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ.มาตรา94 ไม่ โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลได้
จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาททั้งแปลงรวมทั้งส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1361 วรรคสอง อีกทั้งคดีนี้ก็เป็นกรณีโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมมาแต่แรก แต่ลงชื่อจำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์แทนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยการมาตกลงให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในภายหลังอันจะต้องตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ที่จะต้องมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน และการที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นเพียงแต่ตกลงยินยอมให้ลงชื่อจำเลยที่ 1 ผู้เดียวในโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิได้มีพฤติการณ์อื่นใดอีกนั้น ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็มิได้ร่วมอยู่ด้วย ฉะนั้น โจทก์จึงมิใช่ตัวการที่จะต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ต้องพิสูจน์มูลหนี้ในคดีล้มละลายด้วยเอกสารต้นฉบับ หรือแสดงเหตุผลที่ไม่อาจหาเอกสารต้นฉบับได้
ผู้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่น หรือเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ในคดีล้มละลายนั้นเอง และในชั้น จ.พ.ท. นัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 104 แม้จะไม่มีผู้คัดค้านคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ก็ตาม เจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้น มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า มูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริงและลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าว การที่เจ้าหนี้ส่งสำเนาคำแถลงที่เจ้าหนี้ขอคัดสำเนาคำพิพากษาและสำเนาบัญชีค่าฤชาธรรมเนียม กับขอต้นฉบับคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน การ์ดบัญชีกระแสรายวันและหนังสือทวงถามคืนจากศาลจังหวัดจันทบุรี กับแนบสำเนาคำพิพากษาคดีแพ่งที่รับรองสำเนาถูกต้องมาท้ายอุทธรณ์นั้นเป็นเวลาภายหลังจาก จ.พ.ท. ทำความเห็นเสนอต่อศาลชั้นต้นให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้แล้ว จึงพ้นกำหนดเวลาสอบสวนของ จ.พ.ท. และพ้นกำหนดเวลาพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ จ.พ.ท. หรือศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้เจ้าหนี้นำสำเนาเอกสารเหล่านั้นมาอ้างได้ สำหรับสำเนาคำพิพากษาคดีแพ่งที่มีการรับรองสำเนาถูกต้องที่เจ้าหนี้แนบมาท้ายอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะส่งอ้างเอกสารเป็นพยานได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อน จ.พ.ท. จะทำความเห็นเสนอต่อศาลชั้นต้น เจ้าหนี้ก็แถลงหมดพยาน และขอใช้สำเนาเอกสารที่ส่งอ้างไว้แล้วเป็นพยานเท่านั้น เท่ากับเจ้าหนี้ไม่ติดใจที่จะส่งอ้างต้นฉบับเอกสารดังกล่าวแล้ว จึงไม่ชอบที่เจ้าหนี้จะยกเอาเรื่องการที่ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารและไม่สามารถคัดสำเนาคำพิพากษาคดีแพ่งกับสำเนาบัญชีค่าฤชาธรรมเนียมที่รับรองสำเนาถูกต้องมาแสดงต่อ จ.พ.ท.ขึ้นมาอ้างอีก ชอบที่ศาลจะพิจารณาพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏอยู่ในสำเนาการสอบสวนของ จ.พ.ท. เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์มูลหนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องแสดงหลักฐานให้ทันตามกำหนด
ผู้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่น หรือเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ในคดีล้มละลายนั้นเอง และในชั้น จ.พ.ท.นัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 104 แม้จะไม่มีผู้คัดค้านคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ก็ตาม เจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้น มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า มูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริงและลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าว
การที่เจ้าหนี้ส่งสำเนาคำแถลงที่เจ้าหนี้ขอคัดสำเนาคำพิพากษาและสำเนาบัญชีค่าฤชาธรรมเนียม กับขอต้นฉบับคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันการ์ดบัญชีกระแสรายวันและหนังสือทวงถามคืนจากศาลจังหวัดจันทุบรี กับแนบสำเนาคำพิพากษาคดีแพ่งที่รับรองสำเนาถูกต้องมาท้ายอุทธรณ์นั้น เป็นเวลาภายหลังจากจ.พ.ท.ทำความเห็นเสนอต่อศาลชั้นต้นให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้แล้ว จึงพ้นกำหนดเวลาสอบสวนของ จ.พ.ท.และพ้นกำหนดเวลาพิจารณาของศาลชั้นต้น ที่ จ.พ.ท.หรือศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้เจ้าหนี้นำสำเนาเอกสารเหล่านั้นมาอ้างได้ สำหรับสำเนาคำพิพากษาคดีแพ่งที่มีการรับรองสำเนาถูกต้องที่เจ้าหนี้แนบมาท้ายอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะส่งอ้างเอกสารเป็นพยานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อน จ.พ.ท.จะทำความเห็นเสนอต่อศาลชั้นต้นเจ้าหนี้ก็แถลงหมดพยาน และขอใช้สำเนาเอกสารที่ส่งอ้างไว้แล้วเป็นพยานเท่านั้นเท่ากับเจ้าหนี้ไม่ติดใจที่จะส่งอ้างต้นฉบับเอกสารดังกล่าวแล้ว จึงไม่ชอบที่เจ้าหนี้จะยกเอาเรื่องการที่ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารและไม่สามารถคัดสำเนาคำพิพากษาคดีแพ่งกับสำเนาบัญชีค่าฤชาธรรมเนียมที่รับรองสำเนาถูกต้องมาแสดงต่อ จ.พ.ท.ขึ้นมาอ้างอีก ชอบที่ศาลจะพิจารณาพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏอยู่ในสำนวนการสอบสวนของ จ.พ.ท.เท่านั้น
การที่เจ้าหนี้ส่งสำเนาคำแถลงที่เจ้าหนี้ขอคัดสำเนาคำพิพากษาและสำเนาบัญชีค่าฤชาธรรมเนียม กับขอต้นฉบับคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันการ์ดบัญชีกระแสรายวันและหนังสือทวงถามคืนจากศาลจังหวัดจันทุบรี กับแนบสำเนาคำพิพากษาคดีแพ่งที่รับรองสำเนาถูกต้องมาท้ายอุทธรณ์นั้น เป็นเวลาภายหลังจากจ.พ.ท.ทำความเห็นเสนอต่อศาลชั้นต้นให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้แล้ว จึงพ้นกำหนดเวลาสอบสวนของ จ.พ.ท.และพ้นกำหนดเวลาพิจารณาของศาลชั้นต้น ที่ จ.พ.ท.หรือศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้เจ้าหนี้นำสำเนาเอกสารเหล่านั้นมาอ้างได้ สำหรับสำเนาคำพิพากษาคดีแพ่งที่มีการรับรองสำเนาถูกต้องที่เจ้าหนี้แนบมาท้ายอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะส่งอ้างเอกสารเป็นพยานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อน จ.พ.ท.จะทำความเห็นเสนอต่อศาลชั้นต้นเจ้าหนี้ก็แถลงหมดพยาน และขอใช้สำเนาเอกสารที่ส่งอ้างไว้แล้วเป็นพยานเท่านั้นเท่ากับเจ้าหนี้ไม่ติดใจที่จะส่งอ้างต้นฉบับเอกสารดังกล่าวแล้ว จึงไม่ชอบที่เจ้าหนี้จะยกเอาเรื่องการที่ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารและไม่สามารถคัดสำเนาคำพิพากษาคดีแพ่งกับสำเนาบัญชีค่าฤชาธรรมเนียมที่รับรองสำเนาถูกต้องมาแสดงต่อ จ.พ.ท.ขึ้นมาอ้างอีก ชอบที่ศาลจะพิจารณาพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏอยู่ในสำนวนการสอบสวนของ จ.พ.ท.เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังภาพถ่ายเอกสารเป็นหลักฐาน และการชดใช้ค่าเสียหายกรณีเช่าซื้อรถยนต์
หนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลและผู้เป็นกรรมการโจทก์นายทะเบียนจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และถือว่าบรรดาเอกสารและข้อความซึ่งลงทะเบียนในย่อเอกสารนั้นเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามที่ได้บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1021 และ 1022ดังนั้น แม้โจทก์จะส่งแต่ภาพถ่ายเอกสารก็ไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์เสียไปหนังสือฉบับนี้เป็นภาพถ่ายหนังสือรับรองออกโดยสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ต้นฉบับอยู่ในอารักขาของราชการ ซึ่งหนังสือรับรองที่ถ่ายภาพมามีนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนลงลายมือชื่อและประทับตราไว้ ย่อมเพียงพอที่จะรับฟังภาพถ่ายฉบับนี้แทนต้นฉบับเอกสารได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารภาพถ่ายแทนต้นฉบับ: หนังสือรับรองนิติบุคคล
หนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลและผู้เป็นกรรมการโจทก์นายทะเบียนจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียน ส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และถือว่าบรรดาเอกสารและข้อความซึ่งลงทะเบียนในย่อเอกสารนั้นเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามที่ได้บัญญัติใน ป.พ.พ.มาตรา 1021 และ 1022ดังนั้น แม้โจทก์จะส่งแต่ภาพถ่ายเอกสารก็ไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์เสียไปหนังสือฉบับนี้เป็นภาพถ่ายหนังสือรับรองออกโดยสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ต้นฉบับอยู่ในอารักขาของราชการ ซึ่งหนังสือรับรองที่ถ่ายภาพมามีนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนลงลายมือชื่อและประทับตราไว้ ย่อมเพียงพอที่จะรับฟังภาพถ่ายฉบับนี้แทนต้นฉบับเอกสารได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8222/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์, การรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์, สิทธิในการจัดการมรดกของทายาทโดยธรรม
พินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเอง ทั้งฉบับ แต่ไม่ระบุวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมอันเป็นการทำพินัยกรรมที่ไม่ถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมจึงเป็นทรัพย์มรดกที่ไม่มีพินัยกรรม และเมื่อการจัดการมรดกมีเหตุขัดข้อง ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713 แม้เอกสารฉบับพิพาทพร้อมคำแปลจะมีข้อความว่า ป.เจ้ามรดกเป็นผู้ทำ และมีลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ โดยผู้ทำลงวัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตนในเอกสารอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเท่านั้น ไม่ใช่ต้นฉบับเอกสาร จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93กรณีไม่อาจฟังว่า ป. เจ้ามรดกทำพินัยกรรมนั้นไว้จริง เมื่อเอกสารที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเอกสารการรับเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันระหว่าง ป. เจ้ามรดกกับผู้คัดค้านเป็นเพียงสัญญารับบุตรบุญธรรมเพราะ ป.เจ้ามรดกไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอรับบุตรบุญธรรม ทั้งไม่ปรากฎว่า ป. เจ้ามรดกได้รับอนุมัติจากศาลปกครองในการรับบุตรบุญธรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ดังนั้น เมื่อการรับบุตรบุญธรรมของ ป. ไม่สมบูรณ์ และ ไม่มีผลตามกฎหมาย และเมื่อ ป.เจ้ามรดก ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายของประเทศไทย ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทของ ป.ทั้งเมื่อไม่ปรากฎว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ป. ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ป. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8222/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์, การรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์, สิทธิในทรัพย์มรดก
พินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ แต่ไม่ระบุวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม อันเป็นการทำพินัยกรรมที่ไม่ถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1657 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมจึงเป็นทรัพย์มรดกที่ไม่มีพินัยกรรม และเมื่อการจัดการมรดกมีเหตุขัดข้อง ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713
แม้เอกสารฉบับพิพาทพร้อมคำแปลจะมีข้อความว่า ป.เจ้ามรดกเป็นผู้ทำ และมีลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ โดยผู้ทำลงวัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตนในเอกสารอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเท่านั้น ไม่ใช่ต้นฉบับเอกสาร จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 กรณีไม่อาจฟังว่า ป.เจ้ามรดกทำพินัยกรรมนั้นไว้จริง
เมื่อเอกสารที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเอกสารการรับเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันระหว่าง ป.เจ้ามรดกกับผู้คัดค้านเป็นเพียงสัญญารับบุตรบุญธรรมเพราะ ป.เจ้ามรดกไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอรับบุตรบุญธรรม ทั้งไม่ปรากฏว่า ป.เจ้ามรดกได้รับอนุมัติจากศาลปกครองในการรับบุตรบุญธรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ดังนั้น เมื่อการรับบุตรบุญธรรมของ ป.ไม่สมบูรณ์ และไม่มีผลตามกฎหมาย และเมื่อ ป.เจ้ามรดก ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายของประเทศไทย ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทของ ป. ทั้งเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ป. ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ป.ได้
แม้เอกสารฉบับพิพาทพร้อมคำแปลจะมีข้อความว่า ป.เจ้ามรดกเป็นผู้ทำ และมีลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ โดยผู้ทำลงวัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตนในเอกสารอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเท่านั้น ไม่ใช่ต้นฉบับเอกสาร จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 กรณีไม่อาจฟังว่า ป.เจ้ามรดกทำพินัยกรรมนั้นไว้จริง
เมื่อเอกสารที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเอกสารการรับเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันระหว่าง ป.เจ้ามรดกกับผู้คัดค้านเป็นเพียงสัญญารับบุตรบุญธรรมเพราะ ป.เจ้ามรดกไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอรับบุตรบุญธรรม ทั้งไม่ปรากฏว่า ป.เจ้ามรดกได้รับอนุมัติจากศาลปกครองในการรับบุตรบุญธรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ดังนั้น เมื่อการรับบุตรบุญธรรมของ ป.ไม่สมบูรณ์ และไม่มีผลตามกฎหมาย และเมื่อ ป.เจ้ามรดก ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายของประเทศไทย ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทของ ป. ทั้งเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ป. ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ป.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6343/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องหนี้จากการรับช่วงงานและเบิกจ่ายล่วงหน้า การคิดดอกเบี้ย และการรับฟังพยานหลักฐาน
คดีก่อนโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกรถพิพาทคืนจากจำเลยหรือไม่ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว ส่วนคดีก่อนอีกคดีหนึ่งจำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลย (โจทก์คดีนี้) ต้องรับผิดใช้เงินที่โจทก์ (จำเลยคดีนี้) ชำระหนี้แทนจำเลย (โจทก์คดีนี้) ต่อธนาคารโดยมาฟ้องไล่เบี้ยได้หรือไม่ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยคดีนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยฟ้องให้โจทก์ชำระเงินที่จำเลยทดรองจ่ายไปก่อน หลังจากหักกลบลบหนี้แล้ว ซึ่งปรากฏว่าโจทก์ยังติดค้างหนี้จำเลยอยู่ ดังนั้น คดีทั้งสองกับคดีนี้ มีประเด็นข้อพิพาทแตกต่างกัน หาใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และ 148 ไม่
แม้เอกสารพิพาทจำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียวโดยโจทก์มิได้รับรอง ทั้งยังเป็นสำเนาเอกสารก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าในขณะที่จำเลยอ้างเอกสารดังกล่าวต่อศาล โจทก์มิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือสำเนาเอกสารนั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ทั้งได้ความว่าต้นฉบับเอกสารดังกล่าวคู่ความได้อ้างส่งไว้ในสำนวนคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งของศาลชั้นต้น ศาลจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวนั้นได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93
การที่โจทก์ยอมให้จำเลยหักเงินจำนวนที่โจทก์เบิกล่วงหน้าจากเงินค่างานที่กรมทางหลวงจะจ่ายให้แก่จำเลยตามผลงานที่โจทก์ทำได้และส่งมอบให้กรมทางหลวงและโจทก์ยอมให้จำเลยคิดดอกเบี้ยในหนี้เงินที่เบิกล่วงหน้าแต่ละคราวในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี บ้าง ร้อยละ 17 ต่อปี บ้าง และร้อยละ 15 ต่อปี บ้าง เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารคิดจากจำเลยผู้กู้นั้นมีลักษณะเป็นบัญชีเดินสะพัด อัตราดอกเบี้ยของจำนวนเงินที่เบิกล่วงหน้าแต่ละยอดที่โจทก์ได้ตกลงยินยอมเสียให้แก่จำเลยย่อมหมดไปเมื่อมีการตัดทอนบัญชีแต่ละคราว มิใช่เป็นข้อสัญญาหรือนิติกรรมที่โจทก์ต้องผูกพันยอมให้จำเลยคิดดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้ตลอดไป เมื่อปรากฎจากบันทึกข้อตกลงในสัญญารับช่วงงานว่ามีการกำหนดดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ซึ่งเกินกว่ากฎหมายกำหนด ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้โจทก์รับผิดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันตัดทอนบัญชีในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 นั้น จึงชอบแล้ว
แม้เอกสารพิพาทจำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียวโดยโจทก์มิได้รับรอง ทั้งยังเป็นสำเนาเอกสารก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าในขณะที่จำเลยอ้างเอกสารดังกล่าวต่อศาล โจทก์มิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือสำเนาเอกสารนั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ทั้งได้ความว่าต้นฉบับเอกสารดังกล่าวคู่ความได้อ้างส่งไว้ในสำนวนคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งของศาลชั้นต้น ศาลจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวนั้นได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93
การที่โจทก์ยอมให้จำเลยหักเงินจำนวนที่โจทก์เบิกล่วงหน้าจากเงินค่างานที่กรมทางหลวงจะจ่ายให้แก่จำเลยตามผลงานที่โจทก์ทำได้และส่งมอบให้กรมทางหลวงและโจทก์ยอมให้จำเลยคิดดอกเบี้ยในหนี้เงินที่เบิกล่วงหน้าแต่ละคราวในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี บ้าง ร้อยละ 17 ต่อปี บ้าง และร้อยละ 15 ต่อปี บ้าง เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารคิดจากจำเลยผู้กู้นั้นมีลักษณะเป็นบัญชีเดินสะพัด อัตราดอกเบี้ยของจำนวนเงินที่เบิกล่วงหน้าแต่ละยอดที่โจทก์ได้ตกลงยินยอมเสียให้แก่จำเลยย่อมหมดไปเมื่อมีการตัดทอนบัญชีแต่ละคราว มิใช่เป็นข้อสัญญาหรือนิติกรรมที่โจทก์ต้องผูกพันยอมให้จำเลยคิดดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้ตลอดไป เมื่อปรากฎจากบันทึกข้อตกลงในสัญญารับช่วงงานว่ามีการกำหนดดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ซึ่งเกินกว่ากฎหมายกำหนด ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้โจทก์รับผิดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันตัดทอนบัญชีในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 นั้น จึงชอบแล้ว