คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 93

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8039/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคลต่างประเทศ และการรับฟังเอกสารสำเนา/ภาพถ่ายในคดีแพ่ง
แม้ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัทโจทก์และหนังสือรับรองว่าค.เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ พนักงานโนตารีปับลิกแห่งประเทศสิงคโปร์จะได้รับรองความถูกต้องและสถานฑูตไทยประจำประเทศสิงคโปร์ได้รับรองลายมือชื่อและตราประทับของพนักงานโนตารีปับลิกแห่งประเทศสิงคโปร์หลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ก็ตาม แต่ใบสำคัญจดทะเบียนบริษัทโจทก์ระบุว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์ และระบุว่า ค.เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ อีกทั้ง ค. ก็ได้ลงชื่อในใบมอบอำนาจให้ น.ฟ้องคดีนี้ด้วย จำเลยที่ 1 มิได้นำสืบให้ฟังได้เป็นอย่างอื่น ย่อมฟังได้ว่าในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์และ ค.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และได้มอบอำนาจให้ น.ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47 นั้น เป็นเรื่องอำนาจของศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับใบมอบอำนาจหรือใบสำคัญและเอกสารอื่น ๆในกรณีที่ศาลมีความสงสัยเท่านั้น หาใช่ว่าหากเอกสารไม่มีการรับรองจากโนตารีปับลิกจะถือว่าเป็นเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
โทรสารใบสั่งซื้อสินค้าที่จำเลยที่ 1 ส่งถึงโจทก์ ต้นฉบับเอกสารจะอยู่ที่จำเลยที่ 1 โจทก์ได้รับโทรสารที่เป็นสำเนาเอกสาร ส่วนใบกำกับสินค้าซึ่งต้นฉบับเอกสารโจทก์ได้ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์คงมีแต่ภาพถ่ายใบกำกับสินค้าดังนี้ เอกสารเฉพาะที่เป็นโทรสารซึ่งจำเลยที่ 1 ส่งถึงโจทก์และบริษัทในเครือของโจทก์นั้น ต้นฉบับเอกสารจึงอยู่ที่จำเลยที่ 1 ส่วนใบกำกับสินค้านั้นโจทก์มอบต้นฉบับให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้า โจทก์คงมีแต่สำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้ จึงรับฟังสำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ส่วนภาพถ่ายเอกสารที่เหลือซึ่งเป็นโทรสารที่โจทก์ส่งไปถึงจำเลยที่ 1 นั้น ก็เป็นเพียงการตอบโทรสารที่จำเลยที่ 1มีไปถึงโจทก์ ซึ่งแม้หากจะไม่รับฟังเอกสารนี้ ข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1ได้สั่งซื้อสินค้าและรับสินค้าไปจากโจทก์จริง ดังนี้ ปัญหาว่าเอกสารดังกล่าวจะรับฟังได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 หรือไม่จึงไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6144/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับจ้างต่อเรือชำรุด และการรับฟังพยานหลักฐาน (สำเนาเอกสาร)
เอกสารหมาย ล.3 ที่จำเลยอ้างเป็นเพียงสำเนาภาพถ่ายเอกสารซึ่งไม่ปรากฏว่าผู้มีอำนาจรับรองได้รับรองถูกต้องแล้ว หรือโจทก์ตกลงว่าสำเนาเอกสารดังกล่าวถูกต้องแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้เพราะสูญหายหรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น จึงไม่อาจรับฟังสำเนาภาพถ่ายเอกสารดังกล่าวได้
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยต่อเรือตรวจการและรับเรือแล้วแต่เรือชำรุดเสียหาย โจทก์ได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกซ่อมแซมเป็นเงิน 1,159,330บาท และเรือพิพาทชำรุดเสียหายใช้การไม่ได้จนถึงวันซ่อมเสร็จประมาณ 4 ปีเสียหายเป็นเงิน 300,000 บาท ดังนี้ เมื่อเรือพิพาทชำรุดบกพร่องเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่โจทก์มุ่งจะใช้ตามปกติ จำเลยซึ่งเป็นผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 595 ประกอบด้วยมาตรา 472

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6144/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องรับผิดซ่อมเรือชำรุดตามสัญญา และชดใช้ค่าเสียหายจากการใช้งานไม่ได้
เอกสารหมายล.3ที่จำเลยอ้างเป็นเพียงสำเนาภาพถ่ายเอกสารซึ่งไม่ปรากฏว่าผู้มีอำนาจรับรองได้รับรองถูกต้องแล้วหรือโจทก์ตกลงว่าสำเนาเอกสารดังกล่าวถูกต้องแล้วทั้งไม่ปรากฏว่าต้นฉบับเอกสารไม่ได้เพราะสูญหายหรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัยหรือไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นจึงไม่อาจรับฟังสำเนาภาพถ่ายเอกสารดังกล่าวได้ โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยต่อเรือตรวจการและรับเรือแล้วแต่เรือชำรุดเสียหายโจทก์ได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกซ่อมแซมเป็นเงิน1,159,330บาทและเรือพิพาทชำรุดเสียหายใช้การไม่ได้จนถึงวันซ่อมเสร็จประมาณ4ปีเสียหายเป็นเงิน300,000บาทดังนี้เมื่อเรือพิพาทชำรุดบกพร่องเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่โจทก์มุ่งจะใช้ตามปกติจำเลยซึ่งเป็นผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา595ประกอบด้วยมาตรา472

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5932/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขสัญญากู้ยืมเงิน การรับรองลายมือชื่อ และผลต่อการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารท้ายฟ้องจำนวน 20,200 บาท จำเลยให้การต่อสู้เรื่องสัญญากู้เป็นเอกสารปลอมเป็นประเด็นสำคัญ โดยอ้างเหตุว่าที่เป็นเอกสารปลอมเนื่องจากโจทก์ได้แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ฝ่ายเดียว แม้จำเลยจะอ้างในคำให้การด้วยว่าจำเลยไม่เคยกู้เงินจากโจทก์ตามฟ้องก็ตาม แต่จำเลยก็หาได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลยไม่ทั้งที่เป็นข้อสาระสำคัญที่จำเลยอาจยกขึ้นปฏิเสธในคำให้การได้ จึงเท่ากับจำเลยอ้างเหตุตั้งประเด็นไว้เฉพาะสัญญากู้ตามฟ้องเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้นบางส่วนเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย จึงต้องถือว่าจำเลยรับว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้เป็นลายมือชื่อของจำเลย จำเลยย่อมไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อผู้กู้เป็นลายมือชื่อปลอม และที่จำเลยนำสืบว่าได้ชำระเงินกู้ตามสัญญาโดยมีการเวนคืนเอกสารแล้วนั้น จำเลยก็ให้การว่า วันดังกล่าวจำเลยไม่เคยกู้และรับเงินจากโจทก์ หาได้ให้การเป็นประเด็นว่า มีการกู้เงินและชำระเงินกู้คืนแล้วไม่ จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบเช่นเดียวกัน
การที่โจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้โดยการขีดฆ่าตัวเลขและตัวอักษรจากจำนวน 25,700 บาท เป็นจำนวน 20,200 บาท และลงชื่อกำกับไว้เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริง ไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่จำเลย และคดีนี้โจทก์แก้ไขจำนวนเงินที่กู้ให้ลดลงจากเดิม กลับจะเป็นประโยชน์แก่จำเลย สัญญากู้จึงไม่เป็นเอกสารปลอมและเป็นเอกสารที่สมบูรณ์รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5932/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ยืมหลังทำสัญญาไม่ทำให้สัญญาเป็นเอกสารปลอม หากไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารท้ายฟ้องจำนวน 20,200 บาท จำเลยให้การต่อสู้เรื่องสัญญากู้เป็นเอกสารปลอมเป็นประเด็นสำคัญ โดยอ้างเหตุว่าที่เป็นเอกสารปลอมเนื่องจากโจทก์ได้แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ฝ่ายเดียว แม้จำเลยจะอ้างในคำให้การ ด้วยว่าจำเลยไม่เคยกู้เงินจากโจทก์ตามฟ้องก็ตาม แต่จำเลยก็หาได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าลายมือชื่อ ในช่องผู้กู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลยไม่ทั้งที่เป็นข้อสาระสำคัญ ที่จำเลยอาจยกขึ้นปฏิเสธในคำให้การได้ จึงเท่ากับจำเลยอ้างเหตุตั้งประเด็นไว้เฉพาะสัญญากู้ตามฟ้องเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้น บางส่วนเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลยจึงต้องถือว่าจำเลยรับว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้เป็นลายมือชื่อของจำเลย จำเลยย่อมไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อผู้กู้เป็นลายมือชื่อปลอม และที่จำเลยนำสืบว่าได้ชำระเงินกู้ตามสัญญาโดยมีการเวนคืนเอกสารแล้วนั้น จำเลยก็ให้การว่า วันดังกล่าวจำเลยไม่เคยกู้และรับเงินจากโจทก์ หาได้ให้การเป็นประเด็นว่ามีการกู้เงินและชำระเงินกู้คืนแล้วไม่ จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบเช่นเดียวกัน การที่โจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้โดยการขีดฆ่าตัวเลขและตัวอักษรจากจำนวน 25,700 บาท เป็นจำนวน20,200 บาท และลงชื่อกำกับไว้เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริงไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่จำเลย และคดีนี้โจทก์แก้ไขจำนวนเงินที่กู้ให้ลดลงจากเดิม กลับจะเป็นประโยชน์แก่จำเลย สัญญากู้จึงไม่เป็นเอกสารปลอม และเป็นเอกสารที่สมบูรณ์รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่โจทก์อ้างเป็นสำเนา ต้นฉบับไม่อยู่ในครอบครองจำเลย ศาลไม่รับฟังสัญญา
จำเลยคัดค้านว่าสำเนาสัญญาซื้อขายที่โจทก์อ้างส่งโดยอ้างว่าต้นฉบับอยู่ที่จำเลยนั้นไม่อยู่ในความครอบครองของจำเลยและนำสืบว่าไม่มีต้นฉบับเอกสารนี้เมื่อชั้นพิจารณาโจทก์ไม่มีต้นฉบับเอกสารมาแสดงโดยไม่ปรากฏว่าหาไม่ได้เพราะสูญหายหรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัยจึงรับฟังข้อความตามสำเนาเอกสารไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5503/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: หลักฐานใบขนสินค้าขาออกของศุลกากรฮ่องกงมีน้ำหนักเพียงพอ แม้เป็นสำเนา
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 หาใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรไม่ แต่เป็นระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นนั้นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์ภายในกำหนด 5 ปี พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนหรือนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้เท่านั้นแต่สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีและเงินเพิ่มมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เดิม การที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ออกหมายเรียกจำเลยมาไต่สวนหรือหมายเรียกพยานหรือให้จำเลยหรือพยานนำบัญชีพยานหลักฐานมาแสดง ภายในกำหนด 5 ปี ก็หาทำให้การประเมินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ชอบไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เอกสารสำเนาใบขนสินค้าขาออกที่ผู้ส่งออกยื่นต่อศุลกากรเมืองฮ่องกงเป็นสำเนาเอกสารที่ถ่ายจากต้นฉบับ เป็นเอกสารของทางราชการเมืองฮ่องกงซึ่งผู้ส่งสินค้าออกยื่นเอกสารดังกล่าวแจ้งการส่งออกต่อทางราชการเมืองฮ่องกง ว. รองกงสุลใหญ่ฝ่ายศุลกากรประจำเมืองฮ่องกงเป็นผู้ติดต่อขอรับเอกสารมาจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรเมืองฮ่องกง ส่งมาให้กองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร ซึ่งต้นฉบับอยู่ที่ศุลกากรเมืองฮ่องกงแม้จะเป็นเอกสารลับของทางราชการเมืองฮ่องกงก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟัง ทั้งเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นและเท่ากับศาลภาษีอากรกลางได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) แม้จะเป็นภาพถ่ายสำเนาเอกสารที่ไม่มีผู้ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องก็ตามก็รับฟังเอกสารดังกล่าวประกอบพยานบุคคลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5427/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย และอายุความในการเรียกร้องค่าภาษี
โจทก์ฟ้องโดยบรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาสรุปได้ว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทนาฬิกาเข้ามาในราชอาณาจักร และจำเลยได้ยื่นใบขนสินค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 โดยจำเลยสำแดงราคาสินค้าที่นำเข้า อากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลไว้ในเอกสารดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องโดยได้ระบุถึงประเภทของสินค้าที่นำเข้าและจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระด้วยแล้ว ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ตรวจพบว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าต่ำกว่าราคาแท้จริงของสินค้าที่จำเลยซื้อมาและต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาด เป็นเหตุให้การชำระภาษีอากรไม่ครบถ้วนจึงประเมินราคาสินค้าใหม่และให้จำเลยเสียภาษีอากรเพิ่มเติมแต่จำเลยไม่ชำระ จึงฟ้องคดีขอให้บังคับจำเลยชำระภาษีอากรดังกล่าวฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วจึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ส่วนโจทก์ที่ 1 ทราบราคาสินค้าที่แท้จริงที่จำเลยซื้อมาได้อย่างไร และในท้องตลาดที่ใด ราคาเท่าใดเปรียบเทียบราคาดังกล่าวจากเอกสารอะไรนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หาจำต้องบรรยายมาในคำฟ้องไม่ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ต้นฉบับเอกสารอยู่ที่ศุลกากรเมืองฮ่องกง เป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น และเท่ากับศาลภาษีอากรกลางได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) แม้จะเป็นภาพถ่ายสำเนาเอกสารที่ไม่มีผู้ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องก็ตามก็รับฟังเอกสารดังกล่าวได้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ได้ภายในกำหนด 5 ปี พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้เท่านั้น หาใช่เป็นบทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรไม่ สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เดิม(มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3673/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบหลักฐานหนังสือยินยอม การสืบพยานบุคคลแทนหนังสือยินยอมขัดต่อกฎหมาย
โจทก์มิได้นำสืบหนังสือยินยอมของสามีจำเลยที่ให้จำเลยขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ แต่กลับสืบพยานบุคคลแทนหนังสือให้ความยินยอม และการที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยมีหนังสือยินยอมของสามีมาด้วย ก็ถือได้ว่าเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงว่าสามีจำเลยได้ให้ความยินยอมนั่นเอง จึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้รับความยินยอมจากสามีให้ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3673/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินสมรสต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่สมรส หากไม่มีหลักฐานแสดงความยินยอม ศาลไม่อาจรับฟังพยานบุคคลแทนได้
โจทก์มิได้นำสืบหนังสือยินยอมของสามีจำเลยที่ให้จำเลยขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ แต่กลับสืบพยานบุคคลแทนหนังสือให้ความยินยอม และการที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยมีหนังสือยินยอมของสามีมาด้วย ก็ถือได้ว่าเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงว่าสามีจำเลยได้ให้ความยินยอมนั่นเอง จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้รับความยินยอมจากสามีให้ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์
of 27