คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 191

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2535/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการขัดขวางเจ้าพนักงาน: อำนาจจับกุมต้องชอบด้วยกฎหมาย และการกระทำหลังจับกุมต้องไม่เกินเลยขอบเขต
บ. พบกองไม้กระยาเลยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขายอันเป็นไม้ผิดกฎหมายวางกองอยู่ข้างบ้าน ว. และ ว. รับว่ามีไม้หวงห้ามยังไม่ได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจริง การกระทำของ ว. ไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าเพราะไม่ใช่ความผิดที่เห็นกำลังกระทำหรือพบในอาการใด ซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ ไม่เข้าข้อยกเว้นความผิดที่ระบุไว้ในบัญชีท้าย ป.วิ.อ. หรือเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 80 วรรคสอง (1) (2) ดังนั้น บ. ไม่มีอำนาจที่จะจับ ว. โดยไม่มีหมายจับได้ การที่ ว. ตาม บ. มาที่หน่วยคุ้มครองป่าจึงไม่ใช่เป็นการถูกจับตัวมา แม้ในเวลาต่อมาจำเลยจะขับรถยนต์มาที่หน่วยคุ้มครองป่าและรับ ว. ขึ้นรถยนต์ของจำเลยขับออกจากหน่วยคุ้มครองป่าไป บ. ติดตามจำเลยไปจนทันและเกิดเหตุกระทบกระทั่งกันขึ้นระหว่างจำเลยและ บ. ยังไม่เป็นการที่จำเลยต่อสู้หรือขัดขวาง บ. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 138 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 แต่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 189 ฐานช่วยเหลือผู้อื่นให้ไม่ต้องรับโทษ ซึ่งเป็นเรื่องนอกฟ้องและโจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษจึงลงโทษตามมาตรา 189 ไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 189 และ 191 เนื่องจากโจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยหลังจับกุมก็เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 ได้ อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทนั้น จึงไม่ใช่เรื่องที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3243/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดขวางการจับกุมและช่วยเหลือผู้ถูกคุมขัง: การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ขณะที่ร้อยตำรวจตรี พ. ควบคุมตัว ส. ผู้ต้องหา ใน ข้อหาไม่ยืนทำความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งเป็นความผิดมีโทษตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 จะนำขึ้นรถยนต์ไปสถานีตำรวจเพื่อดำเนินคดีจำเลยได้เข้าโอบกอดจับตัว ร้อยตำรวจตรี พ. ไว้ และพวกของจำเลยอีกสองคนได้ช่วยกันยื้อแย่งเอาตัว ส. ขึ้นรถยนต์หลบหนีไปถือว่า ส. ถูกคุมขังอยู่ตามอำนาจของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (12), 191 แล้วการกระทำของ จำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 138, 140, 191

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3243/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและช่วยเหลือผู้ถูกคุมขังหลบหนี ถือเป็นความผิดอาญา
ขณะที่ร้อยตำรวจตรี พ.ควบคุมตัวส. ผู้ต้องหา ในข้อหาไม่ยืนทำความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งเป็นความผิดมีโทษตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 จะนำขึ้นรถยนต์ไปสถานีตำรวจเพื่อดำเนินคดีจำเลยได้เข้าโอบกอดจับตัวร้อยตำรวจตรีพ.ไว้ และพวกของจำเลยอีกสองคนได้ช่วยกันยื้อแย่งเอาตัว ส. ขึ้นรถยนต์หลบหนีไปถือว่า ส.ถูกคุมขังอยู่ตามอำนาจของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(12),191 แล้วการกระทำของ จำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 138,140,191

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกเงินจากผู้ต้องหาเพื่อไม่จับกุม ไม่ถือเป็นการคุมขังและเรียกทรัพย์สินโดยมิชอบ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เป็นเจ้าหน้าทีตำรวจ มีหน้าที่สืบสวนและจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมาย ได้ร่วมกันตรวจค้นพบกัญชาและกล้องสูบกัญชาซึ่งเป็นของผิดกฎหมายในบ้านพักขง จ. แล้วไม่จับกุมนำส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายตามตำแหน่งหน้าที่ของตน แต่กลับร่วมกับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพลเรือนเรียกร้องเอาเงินจาก ว.เพื่อไม่กระทำการจับกุมตามหน้าที่แล้วให้ ว. ไปเอาเงินมาให้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 148 เพราะจำเลยไม่ได้ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบโดยแล้งขู่ว่าจะจับ ว. โดยไม่ได้กระทำความผิดและเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เป็นความผิดตามมาตรา 149 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วแม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามมาตรา 157 มาด้วย ก็ไม่จำต้องปรับบทด้วยมาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีกบทหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพลเรือน มีฐานะเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149,86 เท่านั้น
ในกรณีดังกล่าวข้างต้น การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เรียกเงินจาก ว.แล้วให้ ว.ไปเอาเงินก็เพื่อจะไม่จับกุม ว. ไม่ใช่ว่าจับกุมแล้วเรียกเงินเพื่อจะปล่อยแม้ขณะที่ ว. จะไปเอาเงิน จำเลยจะให้พวกจำเลยคนหนึ่งไปด้วยเป็นทำนองว่าเพื่อควบคุมตัว ว. โดยปริยาย แต่เมื่อมีผู้ทักท้วงขึ้น จำเลยก็มิได้ไปด้วย เพียงแต่ให้ ว. ลงชื่อในบันทึกการจับกุมไว้เท่านั้น โดยกล่าวว่าถ้าไม่ยอมลงชื่อจะจับไปสถานีตำรวจ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้จับควบคุมตัว ว.อันจะเข้าเกณฑ์ว่ามีการคุมขังแล้วดังที่บัญญํติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 191 ตามที่แก้ไข และมาตรา 204 จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 191, 204
การที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยมานั้นยังคลาดเคลื่อนอยู่ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกเงินจากผู้ต้องหาเพื่อไม่จับกุม ไม่เป็นความผิดตาม ม.148 แต่เป็นความผิดตาม ม.149
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีหน้าที่สืบสวนและจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมาย ได้ร่วมกันตรวจค้นพบกัญชาและกล้องสูบกัญชาซึ่งเป็นของผิดกฎหมายในบ้านพักของ ว. แล้วไม่จับกุมนำส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายตามตำแหน่งหน้าที่ของตน แต่กลับร่วมกับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพลเรือนเรียกร้องเอาเงินจาก ว.เพื่อไม่กระทำการจับกุมตามหน้าที่แล้วให้ ว. ไปเอาเงินมาให้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 148 เพราะจำเลยไม่ได้ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบโดยแกล้งขู่ว่าจะจับ ว. โดยไม่ได้กระทำความผิด และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เป็นความผิดตามมาตรา 149 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วแม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามมาตรา 157 มาด้วย ก็ไม่จำต้องปรับบทด้วยมาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีกบทหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพลเรือน มีฐานะเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149, 86 เท่านั้น
ในกรณีดังกล่าวข้างต้น การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เรียกเงินจาก ว.แล้วให้ว.ไปเอาเงินก็เพื่อจะไม่จับกุมว. ไม่ใช่ว่าจับกุมแล้วเรียกเงินเพื่อจะปล่อย แม้ขณะที่ ว. จะไปเอาเงิน จำเลยจะให้พวกจำเลยคนหนึ่งไปด้วยเป็นทำนองว่าเพื่อควบคุมตัว ว. โดยปริยายแต่เมื่อมีผู้ทักท้วงขึ้น จำเลยก็มิได้ไปด้วย เพียงแต่ให้ ว. ลงชื่อในบันทึกการจับกุมไว้เท่านั้น โดยกล่าวว่าถ้าไม่ยอมลงชื่อจะจับไปสถานีตำรวจ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้จับควบคุมตัว ว. อันจะเข้าเกณฑ์ว่ามีการคุมขังแล้วดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 191 ตามที่แก้ไข และมาตรา 204จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 191,204
การที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยมานั้นยังคลาดเคลื่อนอยู่ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการหลบหนีของผู้ต้องขัง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดฐานสนับสนุน ไม่ใช่ทำให้หลุดพ้นจากการคุมขัง
จำเลยส่งใบเลื่อยให้แก่ ห. ซึ่งถูกคุมขังตามอำนาจของพนักงานสอบสวน ห. ใช้ใบเลื่อยที่จำเลยส่งให้นั้นเลื่อยลูกกรงห้องขังแล้วหลบหนีไป การกระทำของจำเลยมิได้เป็นการทำให้ ห. หลุดพ้นจากการคุมขังอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 191 แต่จำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุนให้ ห. ผู้ถูกคุมขังหลบหนีจากการคุมขังซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 190 ประกอบด้วยมาตรา 86
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 191 แต่บรรยายฟ้องมาเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 190 ประกอบด้วยมาตรา 86 จึงเป็นการอ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการหลบหนีจากการคุมขัง: การอ้างบทมาตราผิด ศาลใช้บทสนับสนุนแทน
จำเลยส่งใบเลื่อยให้แก่ ห. ซึ่งถูกคุมขังตามอำนาจของพนักงานสอบสวน ห. ใช้ใบเลื่อยที่จำเลยส่งให้นั้นเลื่อยลูกกรงห้องขังแล้วหลบหนีไป การกระทำของจำเลยมิได้เป็นการทำให้ ห. หลุดพ้นจากการคุมขังอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 191แต่จำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุนให้ ห. ผู้ถูกคุมขังหลบหนีจากการคุมขังซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 190 ประกอบด้วยมาตรา 86
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา191แต่บรรยายฟ้องมาเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 190 ประกอบด้วยมาตรา 86 จึงเป็นการอ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฆ่าโดยป้องกันเกินกว่ากรณี และการปรับบทความผิดโดยประมาท
จำเลยใช้ปืนยิงเด็กซึ่งส่องไฟหากบที่ริมรั้วบ้านจำเลยถึงแก่ความตาย โดยจำเลยสำคัญผิดว่าเป็นคนร้ายจะมาฆ่าพี่จำเลย เป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 69
ความสำคัญผิดว่ามีภยันตรายอันต้องป้องกันนั้น เป็นความสำคัญผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 62 ไม่ใช่มาตรา 61
ความสำคัญผิดตามมาตรา 61 เป็นเรื่องสำคัญผิดในตัวบุคคล ซึ่งแม้จะกระทำต่อบุคคลใดก็เป็นผิดทั้งนั้น ส่วนความสำคัญผิดตามมาตรา 62 นั้น เป็นความสำคัญผิดซึ่งทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด หรือทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับโทษน้อยลงได้
จำเลยยิงคนตายโดยสำคัญผิดว่าเป็นคนร้าย เป็นการกระทำโดยเจตนาแต่เป็นการป้องกันซึ่งเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน จึงเป็นผิดตามมาตรา 288, 69 และความสำคัญผิดนั้นก็เกิดโดยความประมาทของจำเลย เช่นนี้ จำเลยย่อมผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท โดยผลของมาตรา 62 วรรค 2 ด้วย กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษในเรื่องฆ่าโดยป้องกันเกินกว่ากรณี อันเป็นบทหนักตามมาตรา 90 แต่ถ้าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ซึ่งไม่เป็นความผิด ก็คงเหลือเพียงความผิดในส่วนที่สำคัญผิดโดยประมาทตามมาตรา 62 วรรค 2 คือความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทตามมาตรา 291 ฐานเดียว
ผู้ที่กระทำการป้องกันด้วยกันหาได้ร่วมกันกระทำผิดไม่ เมื่อผลของการกระทำของผู้นั้นไม่เป็นอันตรายแก่ผู้ใด ผู้นั้นก็ย่อมไม่มีความผิด แม้ว่าผู้ร่วมป้องกันคนอื่นจะได้รับโทษฐานป้องกันเกินกว่ากรณีจากผลแห่งการกระทำส่วนของคนอื่นนั้นก็ตาม (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในตัวบุคคลและการป้องกันเกินกว่ากรณี: ความผิดฐานฆ่าโดยเจตนาและประมาท
จำเลยใช้ปืนยิงเด็กซึ่งส่องไฟหากบที่ริมรั้วบ้านจำเลยถึงแก่ความตายโดยจำเลยสำคัญผิดว่าเป็นคนร้ายจะมาฆ่าพี่จำเลย เป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288,69
ความสำคัญผิดว่ามีภยันตรายอันต้องป้องกันนั้น เป็นความสำคัญผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 62 ไม่ใช่มาตรา 61
ความสำคัญผิดตามมาตรา 61 เป็นเรื่องสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งแม้จะกระทำต่อบุคคลใดก็เป็นผิดทั้งนั้น ส่วนความสำคัญผิดตามมาตรา 62 นั้น เป็นความสำคัญผิดซึ่งทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด หรือทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษหรือได้รับโทษน้อยลงได้
จำเลยยิงคนตายโดยสำคัญผิดว่าเป็นคนร้าย เป็นการกระทำโดยเจตนาแต่เป็นการป้องกันซึ่งเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน จึงเป็นผิดตามมาตรา 288,69 และความสำคัญผิดนั้นก็เกิดโดยความประมาทของจำเลย เช่นนี้จำเลยย่อมผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท โดยผลของมาตรา 62วรรคสอง ด้วย กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษในเรื่องฆ่าโดยป้องกันเกินกว่ากรณี อันเป็นบทหนักตามมาตรา 90 แต่ถ้าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ซึ่งไม่เป็นความผิดก็คงเหลือเพียงความผิดในส่วนที่สำคัญผิดโดยประมาทตามมาตรา 62วรรคสอง คือความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทตามมาตรา 291 ฐานเดียว
ผู้ที่กระทำการป้องกันด้วยกันหาได้ร่วมกันกระทำผิดไม่ เมื่อผลของการกระทำของผู้นั้นไม่เป็นอันตรายแก่ผู้ใด ผู้นั้นก็ย่อมไม่มีความผิด แม้ว่าผู้ร่วมป้องกันคนอื่นจะได้รับโทษฐานป้องกันเกินกว่ากรณีจากผลแห่งการกระทำส่วนของคนอื่นนั้นก็ตาม (ประชุมใหญ่ ครั้งที่10/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปลอมแปลงเอกสารและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องโทษหลบหนี
การบรรยายฟ้องเรื่องปลอมเอกสารที่ถือว่าไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 เป็นพัสดีเรือนจำ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมชั้น 2 จำเลยที่ 2 คุมนักโทษไปทำงานนอกเรือนจำแล้วนักโทษเกิดหลบหนีไป จำเลยที่ 2 รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ให้ปกปิดไว้ก่อนเพื่อติดตามตัว เมื่อติดตามไม่ได้ จำเลยทั้งสองมิได้จัดการอย่างไร คงปกปิดไว้มิได้รายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำตามระเบียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงถือว่าเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13
ครั้นเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันลงชื่อนักโทษที่หลบหนีนั้นในบัญชีรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาลดโทษ คณะกรรมการฯ หลงเชื่อว่านักโทษผู้นั้นยังมีตัวอยู่ในเรือนจำ จึงลงมติลดโทษให้ 1 ใน 5 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1)
เมื่อถึงเวลาครบกำหนดที่นักโทษผู้นั้นจะพ้นโทษตามหมายจำคุกของศาล จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำดังนี้ (1) สลักหลังหมายจำคุกของนักโทษผู้นั้น รับรองว่าได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว เสนอปล่อยตัวในวันที่ 1 เมษายน 2507 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนลงนาม (2) ร่วมกันปลอมเอกสารใบสุทธิของนักโทษผู้นั้น โดยจำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนเองแทนนักโทษและจำเลยที่ 1 ลงนามตรวจรับรอง (3) จำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนแทนนักโทษในช่องเมื่อพ้นโทษ ในทะเบียนรายตัวผู้ต้องคุมขังของนักโทษผู้นั้น (4) จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำหนังสือของผู้บัญชาการเรือนจำถึงนายอำเภอสามเงาว่านักโทษผู้นั้นพ้นโทษ จะกลับไปอยู่อำเภอสามเงาภูมิลำเนาเดิม แล้วเสนอหนังสือนั้นให้ผู้บัญชาการลงนามโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนตรวจรับรอง การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 264, 265 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นกระทงหนักที่สุดกระทงเดียว โดยจำคุกคนละ 2 ปี
of 2