พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7915/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวต่างกรรม: การพิจารณาความผิดฐานครอบครองไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลกระทบต่อการนับโทษ
จำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดคดีนี้ตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อคดีนี้ไม่จำต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยมีไม้กันเกราแปรรูป 397 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตร 8.95 ลูกบาศก์เมตร และมีไม้นนทรีแปรรูป 568 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตร 19.79 ลูกบาศก์เมตร รวม 965 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตรรวม 28.74 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ในชั้นอุทธรณ์จำเลยเพียงอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ โดยไม่ได้โต้แย้งว่าไม้ของกลางคดีนี้กับไม้ของกลางในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 76/2559, 78/2559 และ 79/2559 ของศาลชั้นต้นที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อเป็นไม้ที่จำเลยมีเจตนาครอบครองในคราวเดียวกันอันจะทำให้เป็นความผิดกรรมเดียว ซึ่งเมื่อไม้ของกลางในคดีนี้เป็นไม้กันเกราแปรรูปและไม้นนทรีแปรรูป รวม 965 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตรรวม 28.74 ลูกบาศก์เมตร ส่วนไม้ของกลางในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 76/2559 ของศาลชั้นต้นเป็นไม้กันเกราแปรรูป ไม้นนทรีแปรรูป ไม้ประดู่แปรรูป และไม้มะค่าโมงแปรรูป รวม 1,706 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตรรวม 59.44 ลูกบาศก์เมตร ไม้ของกลางทั้ง 2 คดี เป็นไม้คนละจำนวนกัน จำเลยมีเจตนาครอบครองไม้ในแต่ละจำนวนคนละคราวต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดต่างกรรม เมื่อศาลมีคำพิพากษาในความผิดกรรมหนึ่ง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับกรรมอื่นหาได้ระงับลงไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ไม้ของกลางในคดีนี้และในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 76/2559, 78/2559 และ 79/2559 ของศาลชั้นต้นเป็นไม้แปรรูปที่จำเลยมีเจตนาครอบครองในคราวเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยในทั้ง 4 คดี จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว เมื่อคดีอาญาหมายเลขดำที่ 76/2559 ของศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และพิพากษายกฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว เห็นสมควรวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยข้ออื่นโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7826/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีเยาวชนเกี่ยวกับอาวุธปืนและพืชกระท่อม: หลักฐานไม่เพียงพอและเงื่อนไขการคุมประพฤติ
บ. ได้รับแจ้งจากพลเมืองดีว่าที่ขนำที่เกิดเหตุมักจะมีวัยรุ่นมั่วสุมต้มและเสพน้ำต้มพืชกระท่อมเป็นประจำ บ. กับพวกรวม 6 คน จึงนำกำลังไปยังที่เกิดเหตุ พบจำเลยนั่งอยู่ปลายเตียงกำลังต้มใบพืชกระท่อมจึงได้ทำการตรวจค้น พบกระเป๋าสะพาย 1 ใบ วางอยู่บนชั้นวางของในขนำข้างประตูภายในมีอาวุธปืนพกลูกซองเดี่ยวขนาด 12 ไม่มีหมายเลขทะเบียน และกระสุนปืนลูกซองขนาด 12 จำนวน 3 นัด การที่พบจำเลยอยู่ในขนำที่เกิดเหตุเพียงคนเดียวและตรวจพบอาวุธปืนของกลางดังกล่าวอาจจะแสดงให้เห็นว่าจำเลยอาจจะมีส่วนร่วมหรือเป็นข้อพิรุธสงสัยที่แสดงว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดแต่ก็ไม่อาจรับฟังยืนยันเชิงตรรกะว่าจำเลยได้กระทำผิดนั้นจริง ในคดีอาญาโจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความชัดตามข้อกล่าวอ้าง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 174 แต่พยานโจทก์ยังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยมีอาวุธปืนและลูกกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
สำหรับความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (พืชกระท่อม) มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท แม้ศาลไม่จำต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพ แต่เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ พฤติการณ์ของจำเลยที่เพียงต้มใบพืชกระท่อมแล้วกรองเอาน้ำที่ได้จากการต้ม 1 ถุง ปริมาตร 700 มิลลิลิตร ถือว่าเป็นเพียงวิธีการหนึ่งในการเสพและมีปริมาณเพียงเล็กน้อย การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (พืชกระท่อม) ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้มาด้วยนั้น ไม่ชอบ และแม้จำเลยจะไม่อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาดังกล่าว แต่ถือเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
สำหรับความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (พืชกระท่อม) มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท แม้ศาลไม่จำต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพ แต่เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ พฤติการณ์ของจำเลยที่เพียงต้มใบพืชกระท่อมแล้วกรองเอาน้ำที่ได้จากการต้ม 1 ถุง ปริมาตร 700 มิลลิลิตร ถือว่าเป็นเพียงวิธีการหนึ่งในการเสพและมีปริมาณเพียงเล็กน้อย การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (พืชกระท่อม) ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้มาด้วยนั้น ไม่ชอบ และแม้จำเลยจะไม่อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาดังกล่าว แต่ถือเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7571/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้กันโดยสมัครใจและบันดาลโทสะในคดีอาญา การปรับบทกฎหมาย และค่าทนายความ
ป.วิ.อ. มาตรา 258 บัญญัติว่า ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยค่าฤชาธรรมเนียมมาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียม มิใช่เป็นค่าธรรมเนียม และตามมาตรา 167 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือในคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความแล้วแต่กรณี คดีนี้ ผู้ร้องแต่งตั้งทนายความเป็นทนายผู้ร้องและได้ทำหน้าที่ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีส่วนแพ่งที่ผู้ร้องขอให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจกำหนดค่าทนายความให้จำเลยที่ 1 ใช้แทนแก่ผู้ร้องได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7180/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยอ้างเหตุบันดาลโทสะและไม่มีเจตนา แต่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้ออ้างใหม่ และแก้ไขโทษฐานมีอาวุธปืน
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ร่วมที่ 2 เป็นคนรักของจำเลยที่ 1 และไปคบหากับเพื่อนชายคนใหม่ จำเลยที่ 1 เข้าไปในหอพักเห็นโจทก์ร่วมที่ 1 นอนดูหนังอยู่กับโจทก์ร่วมที่ 2 จึงเกิดความโมโหและเข้าทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมทั้งสองทันที เป็นทำนองว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดด้วยเหตุบันดาลโทสะ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่รู้ว่าจำเลยที่ 1 จะไปกระทำความผิดและไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 พาอาวุธไปด้วย จำเลยที่ 2 เข้าใจว่าจำเลยที่ 1 ถูกทำร้ายจึงเข้าไปช่วยและห้าม เป็นทำนองว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีเจตนาร่วมกระทำความผิดนั้น จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังตามฟ้อง จำเลยทั้งสองเพิ่งยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีอาวุธปืนไม่ทราบชนิดและขนาด ไม่ปรากฏว่ามีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้หรือไม่ 1 กระบอก มิได้ยืนยันว่าเป็นอาวุธปืนที่ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับ เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองว่า เป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษตามมาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีอาวุธปืนไม่ทราบชนิดและขนาด ไม่ปรากฏว่ามีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้หรือไม่ 1 กระบอก มิได้ยืนยันว่าเป็นอาวุธปืนที่ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับ เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองว่า เป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษตามมาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6647/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย องค์ประกอบความผิดไม่ครบถ้วน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้แม้ไม่ได้ยกขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 353 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของโจทก์ มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลบริหารจัดการด้านการบริหาร การเงิน วางแผนการดำเนินการรวมถึงงบประมาณของโจทก์ และรับผิดชอบงานอื่นตามที่โจทก์มอบหมายแล้วจำเลยที่ 1 กระทำผิดหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยรับจัดงาน จัดกิจกรรมของการกีฬาแห่งประเทศไทยอันเป็นงานที่มีลักษณะเดียวกับกิจการของโจทก์ โดยกระทำในนามของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน ซึ่งความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353 เป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองทรัพย์ของผู้ที่มอบหมาย การที่จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานต่าง ๆ ของโจทก์ตามฟ้องจึงมิใช่การได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353 เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 และที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 41 เห็นว่า การกระทำความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นการกระทำความผิดต่อนิติบุคคลที่บุคคลนั้นต้องรับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นของนิติบุคคล การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยรับจัดงาน จัดกิจกรรมของการกีฬาแห่งประเทศไทยอันเป็นงานที่มีลักษณะเดียวกันกับกิจการของโจทก์ โดยกระทำในนามของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนั้น เป็นการกระทำที่แสวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่นคือ การกีฬาแห่งประเทศไทย มิใช่การกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์จากโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบ แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 จะทำให้โจทก์ขาดประโยชน์หรือขาดรายได้ ก็มิได้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายมากไปกว่าเดิมในลักษณะที่ต้องสูญเสียทรัพย์สิน หรือสูญเสียประโยชน์ที่เคยเป็นของโจทก์มาก่อน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 41 ฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 ปัญหาดังกล่าวแม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเมื่อฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่โจทก์ฟ้องว่ากระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6424/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ฯ นำเข้าจากต่างประเทศ ศาลฎีกาพิพากษาตามกฎหมายใหม่ที่แก้ไขโทษจำคุก
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560 มาตรา 6 ยกเลิกความใน มาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่ง มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาทเป็นคุณมากกว่า มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เดิม ที่ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขใหม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างพิจารณาคดี: ศาลต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลย แม้เป็นโทษปรับเท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 มาตรา 20 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 62 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ต่อมาระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 หลังจากนั้นมี พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 แต่ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 27 และ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 60 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดย พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 87 ให้ระวางโทษจำคุกหกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าแสนบาท ส่วน พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 141 ให้ระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการประมงแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า โทษตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดที่มีโทษจำคุกด้วย กรณีไม่อาจกำหนดโทษจำคุกแก่จำเลยได้ และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์อีกต่อไปเพราะศาลลงโทษจำเลยได้เพียงโทษปรับเท่านั้น อย่างไรก็ตามในส่วนของโทษปรับที่ศาลนำมาลงโทษจำเลยนั้น พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 87 มีระวางโทษขั้นต่ำให้ปรับตั้งแต่ห้าพันบาทเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าจะในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นกฎหมายเดียวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4524/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อมูลยาเสพติดที่ไม่ชัดเจนและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลต่อการลดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
ตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 ผู้ที่ให้ข้อมูลในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษจะต้องเป็นผู้กระทำความผิดและให้ข้อมูลต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่จับกุมผู้กระทำความผิด หรือพนักงานสอบสวนในคดีที่ผู้กระทำความผิดถูกดำเนินคดี และข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
การที่จำเลยบอกข้อมูลว่าเคยซื้อยาเสพติดให้โทษมาจาก ต. อายุประมาณ 45 ปี รูปร่างอ้วน ให้แก่ ว. ภริยาจำเลย พร้อมทั้งให้หมายเลขโทรศัพท์ของ ต. โดยแจ้งให้ ว. นำข้อมูลไปแจ้งแก่เจ้าพนักงานตำรวจ แต่กลับได้ความจาก ว. ว่ารับข้อมูลจากจำเลยว่าเคยซื้อยาเสพติดให้โทษจากผู้หญิงชื่อ ต. มีภูมิลำเนาอยู่แถวพระราม 2 จะส่งยาเสพติดให้โทษที่ตลาดรังสิต จึงนำข้อมูลไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจคนละชุดกับเจ้าพนักงานตำรวจที่จับกุมจำเลย พันตำรวจตรี ป. ได้รับข้อมูลเบื้องต้นของ ต. แล้วจึงสืบสวนหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนวางแผนจับกุม ต. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 1,600 เม็ด จำเลยให้ข้อมูลของ ต. โดยไม่มีรายละเอียดหรือลักษณะรูปพรรณของ ต.ว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะจำเลยอ้างว่าบอกข้อมูลให้ ว. ขณะจำเลยต้องขังในเรือนจำ แต่กลับปรากฏในคำร้องอุทธรณ์คำสั่งขอปล่อยชั่วคราวของจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธและไม่ได้อ้างเหตุดังกล่าว เมื่อการจับกุม ต. ได้โดยไม่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงจากข้อมูลของจำเลยซึ่งให้ข้อมูลที่อ้างอย่างคร่าว ๆ จึงไม่เชื่อว่าจำเลยให้ข้อมูลแก่ ว. ไปแจ้งต่อพันตำรวจตรี ป. ให้ไปจับกุม ต. จริง ทั้งพันตำรวจตรี ป. มิได้เป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่จับกุมจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดในคดีนี้แต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์ตาม มาตรา 100/2 การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยแจ้งข้อมูลผ่าน ว. ให้ไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจเกี่ยวกับข้อมูลของ ต. ผู้เคยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จำเลยจนจับกุม ต. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 1,600 เม็ด จึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
การที่จำเลยบอกข้อมูลว่าเคยซื้อยาเสพติดให้โทษมาจาก ต. อายุประมาณ 45 ปี รูปร่างอ้วน ให้แก่ ว. ภริยาจำเลย พร้อมทั้งให้หมายเลขโทรศัพท์ของ ต. โดยแจ้งให้ ว. นำข้อมูลไปแจ้งแก่เจ้าพนักงานตำรวจ แต่กลับได้ความจาก ว. ว่ารับข้อมูลจากจำเลยว่าเคยซื้อยาเสพติดให้โทษจากผู้หญิงชื่อ ต. มีภูมิลำเนาอยู่แถวพระราม 2 จะส่งยาเสพติดให้โทษที่ตลาดรังสิต จึงนำข้อมูลไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจคนละชุดกับเจ้าพนักงานตำรวจที่จับกุมจำเลย พันตำรวจตรี ป. ได้รับข้อมูลเบื้องต้นของ ต. แล้วจึงสืบสวนหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนวางแผนจับกุม ต. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 1,600 เม็ด จำเลยให้ข้อมูลของ ต. โดยไม่มีรายละเอียดหรือลักษณะรูปพรรณของ ต.ว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะจำเลยอ้างว่าบอกข้อมูลให้ ว. ขณะจำเลยต้องขังในเรือนจำ แต่กลับปรากฏในคำร้องอุทธรณ์คำสั่งขอปล่อยชั่วคราวของจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธและไม่ได้อ้างเหตุดังกล่าว เมื่อการจับกุม ต. ได้โดยไม่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงจากข้อมูลของจำเลยซึ่งให้ข้อมูลที่อ้างอย่างคร่าว ๆ จึงไม่เชื่อว่าจำเลยให้ข้อมูลแก่ ว. ไปแจ้งต่อพันตำรวจตรี ป. ให้ไปจับกุม ต. จริง ทั้งพันตำรวจตรี ป. มิได้เป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่จับกุมจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดในคดีนี้แต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์ตาม มาตรา 100/2 การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยแจ้งข้อมูลผ่าน ว. ให้ไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจเกี่ยวกับข้อมูลของ ต. ผู้เคยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จำเลยจนจับกุม ต. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 1,600 เม็ด จึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4515/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างพิจารณาคดี ศาลต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย แม้จะเป็นกฎหมายใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 มาตรา 20 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 62 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 หลังจากนั้นระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 แต่ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 60 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดย พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 87 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าแสนบาท ส่วน พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 141 ระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า โทษตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมากกว่า พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 ที่มีโทษจำคุกด้วย กรณีจึงไม่อาจลงโทษจำคุกแก่จำเลยทั้งสองได้ และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองอีกต่อไป เพราะศาลคงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เพียงโทษปรับเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโทษปรับที่ศาลจะนำมาพิจารณาลงโทษจำเลยทั้งสองนั้น โทษปรับตามมาตรา 87 แห่ง พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดมีระวางโทษขั้นต่ำให้ปรับตั้งแต่ห้าพันบาท เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยทั้งสองไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4514/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างพิจารณาคดี และการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยในคดีประมง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 มาตรา 20 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 62 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 หลังจากนั้นระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 แต่ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 60 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดย พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 87 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าแสนบาท ส่วน พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 141 ระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมงแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า โทษตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 ที่มีโทษจำคุกด้วย กรณีจึงไม่อาจลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้ และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยอีกต่อไป เพราะศาลคงลงโทษจำเลยได้เพียงโทษปรับเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโทษปรับที่ศาลจะนำมาพิจารณาลงโทษจำเลยนั้น โทษปรับตามมาตรา 87 แห่ง พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดมีระวางโทษขั้นต่ำให้ปรับตั้งแต่ห้าพันบาทเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225