พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4443/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลพิเศษ/สุดวิสัย และการปลอมเอกสารธรรมดา ไม่ใช่เอกสารสิทธิ
การขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลมีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงต้องมีเหตุสุดวิสัย จำเลยอ้างเหตุว่าจำเลยเจ็บป่วยกะทันหันและถูกกักตัวเป็นเวลา 14 วัน ข้ออ้างตามคำร้องของจำเลยไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้ คำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จึงไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยฟัง ปัญหานี้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ดังนั้น การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ ซึ่งล่วงเลยกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อสิทธิให้แก่จำเลยที่จะฎีกา
อนึ่ง เอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ แต่ใบโปรโมชั่นที่จำเลยปลอมเป็นเพียงเอกสารที่ให้ห้างโฮมโปรใช้เพื่อคำนวณเงินส่วนลดหรือส่วนชดเชยแต่ละช่วงเวลาที่ห้างโฮมโปรขายสินค้าของโจทก์ให้แก่ลูกค้าแล้วนำไปหักทอนกับเงินค่าสินค้าที่โจทก์จำหน่ายให้แก่ห้างโฮมโปร หาเป็นเอกสารซึ่งเป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิไม่ การที่จำเลยปลอมและใช้เอกสารดังกล่าวจึงเป็นการปลอมและใช้เอกสารธรรมดา มิใช่เป็นการปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ โดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 264 วรรคหนึ่ง และให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน แต่กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 21 มีนาคม 2560
อนึ่ง เอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ แต่ใบโปรโมชั่นที่จำเลยปลอมเป็นเพียงเอกสารที่ให้ห้างโฮมโปรใช้เพื่อคำนวณเงินส่วนลดหรือส่วนชดเชยแต่ละช่วงเวลาที่ห้างโฮมโปรขายสินค้าของโจทก์ให้แก่ลูกค้าแล้วนำไปหักทอนกับเงินค่าสินค้าที่โจทก์จำหน่ายให้แก่ห้างโฮมโปร หาเป็นเอกสารซึ่งเป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิไม่ การที่จำเลยปลอมและใช้เอกสารดังกล่าวจึงเป็นการปลอมและใช้เอกสารธรรมดา มิใช่เป็นการปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ โดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 264 วรรคหนึ่ง และให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน แต่กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 21 มีนาคม 2560
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4398/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท การพนัน-ฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน-เสี่ยงแพร่เชื้อ ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำเลย
ความผิดฐานร่วมกันเล่นการพนัน ฐานร่วมกันฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และฐานร่วมกันกระทำการอันเป็นการเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ จำเลยทั้งยี่สิบสามมีเจตนาเล่นการพนันฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และกระทำการอันเป็นการเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อในเวลาเดียวกัน อันเป็นเจตนาเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งยี่สิบสามจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทมิใช่หลายกรรมต่างกัน กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และกรณีเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 23 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4395/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท-ฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน-เล่นการพนัน ศาลฎีกาแก้ไขโทษและวินิจฉัยประเด็นกฎหมาย
ความผิดฐานร่วมกันเล่นการพนันและฐานร่วมกันฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน จำเลยทั้งยี่สิบสองมีเจตนาร่วมเล่นการพนันและฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเวลาเดียวกัน อันเป็นเจตนาเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งยี่สิบสองจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทมิใช่หลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งยี่สิบสองเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน จึงเป็นการไม่ชอบ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง และมาตรา ๒๒๕ ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๔ และกรณีเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๒๒ ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๑๓ และมาตรา ๒๒๕ ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๔
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4393/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานจัดให้มีการเล่นการพนันและฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินถือเป็นกรรมเดียว ศาลแก้โทษเป็นกักขัง
เหตุคดีนี้เกิดขึ้นที่จังหวัดระยอง โดยขณะเกิดเหตุได้มีข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ข้อ 3 กำหนดห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ทั้งนี้ ภายในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงประกาศกำหนด ประกาศคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 1/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 3 มกราคม 2564 ได้กำหนดให้จังหวัดระยองเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 7 มกราคม 2564 ข้อ 2 ห้ามมิให้มีการมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค หรือการกระทำอันเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน หรือการกลั่นแกล้งเพื่อแพร่โรค ณ ที่ใด ๆ ทั่วราชอาณาจักร และข้อ 3 ห้ามมิให้มีการชุมนุม หรือการทำกิจกรรมที่มีการรวมคนที่มีความแออัดในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้โดยง่าย ซึ่งมีประกาศหรือคำสั่งให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด เว้นแต่การทำกิจกรรมโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรคโดยมีมาตรการทางสาธารณสุขรองรับ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำความผิด แม้ต่อมาระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจะมีข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2564 และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 19/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวังสูง ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2564 ออกใช้บังคับในภายหลัง แต่ก็ไม่ปรากฏว่าข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 37) ได้มีการกำหนดให้ยกเลิกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 15) ที่ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยแต่อย่างใด เพียงแต่ปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดจำแนกตามระดับพื้นที่สถานการณ์ รวมทั้งปรับเกณฑ์การพิจารณาให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับแผนการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยว โดยในข้อ 2 ยังคงกำหนดห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ห้ามจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มกันของบุคคลเพื่อลดความเสี่ยงในการติดต่อสัมผัสกันที่สามารถแพร่โรคได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ที่จะพิจารณาเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่จัดกิจกรรมและสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ โดยกำหนดปรับปรุงเฉพาะเรื่องจำนวนบุคคลที่เข้ารวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมจำแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์ ซึ่งพื้นที่ควบคุมสูงสุด ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่าสองร้อยคนเท่านั้น แต่ยังกำหนดไว้ในข้อ 2 วรรคสอง ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ในสถานที่แออัด หรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยภายในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงประกาศกำหนดอยู่เช่นเดิม ทั้งตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 19/2564 ก็ยังคงกำหนดให้จังหวัดระยองที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดเช่นเดียวกัน ดังนั้นข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 37) ที่ออกใช้บังคับภายหลังจึงหาได้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงมีความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ความผิดฐานร่วมกันจัดให้มีการเล่นการพนันและฐานร่วมกันฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จำเลยทั้งเก้ามีเจตนาจัดให้มีการเล่นการพนัน โดยประกาศโฆษณาชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นพนันและฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเวลาเดียวกัน อันเป็นเจตนาเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งเก้าจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทมิใช่หลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งเก้าเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน จึงเป็นการไม่ชอบ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และกรณีเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
ความผิดฐานร่วมกันจัดให้มีการเล่นการพนันและฐานร่วมกันฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จำเลยทั้งเก้ามีเจตนาจัดให้มีการเล่นการพนัน โดยประกาศโฆษณาชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นพนันและฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเวลาเดียวกัน อันเป็นเจตนาเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งเก้าจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทมิใช่หลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งเก้าเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน จึงเป็นการไม่ชอบ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และกรณีเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4390/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานพนันออนไลน์และฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน: การลงโทษกรรมเดียว vs. หลายกรรม และการแก้ไขโทษโดยศาลฎีกา
ความผิดฐานร่วมกันเล่นการพนันและฐานร่วมกันฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน จำเลยทั้งสิบห้ามีเจตนาร่วมเล่นการพนันและฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเวลาเดียวกันอันเป็นเจตนาเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสิบห้าจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่หลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันจึงเป็นการไม่ชอบ แต่การที่จำเลยทั้งสิบห้าร่วมกันชุมนุมและมั่วสุมเล่นการพนันออนไลน์ในแต่ละประเภทตามฟ้อง ข้อ 1.1 ถึงข้อ 1.6 แม้จะเป็นวันเดียวกันก็มีเจตนาในการฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามชุมนุมและมั่วสุมในการเล่นการพนันออนไลน์ในแต่ละประเภทแยกออกจากกันด้วย จึงเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หลายกรรมต่างกันตามประเภทของการเล่นการพนันดังกล่าว จึงต้องลงโทษฐานร่วมกันเล่นการพนันสลากกินรวบโดยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ซึ่งเป็นบทหนักในฟ้องข้อ 1.3 กระทงหนึ่ง และฐานร่วมกันฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามชุมนุมและมั่วสุมซึ่งเป็นบทหนักในฟ้องข้อ 1.1 ข้อ 1.2 และข้อ 1.4 ถึงข้อ 1.6 อีก 5 กระทง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4245/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย เช็คไม่เป็นเหตุให้บังคับได้ จำเลยไม่ต้องรับโทษ
เช็คพิพาททั้งสามฉบับมีดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี รวมกับต้นเงินไว้ด้วย ซึ่งกฎหมายให้เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 มาตรา 4 (1) จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายตกเป็นโมฆะฟ้องบังคับไม่ได้ เช็คพิพาททั้งสามฉบับจึงไม่ใช่การชำระหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่คำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่ตรงตามความเป็นจริงที่ปรากฎจากทางนำสืบของโจทก์ในการไต่สวนมูลฟ้อง จึงไม่อาจรับฟังคำรับสารภาพของจำเลยประกอบกับคำฟ้องของโจทก์ลงโทษจำเลย อีกทั้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ให้อำนาจศาลในการพิจารณาคดีว่า ถ้าศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ให้ศาลยกฟ้องปล่อยจำเลยไป ซึ่งการพิพากษาคดีดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แม้จะมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3649/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกเกิน 3 เดือนไม่อาจเปลี่ยนเป็นกักขังได้, การจ่ายสินบนนำจับต้องควบคู่กับการลงโทษปรับ, ศาลมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
ตาม ป.อ. มาตรา 23 ศาลจะพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจำคุกได้ก็ต่อเมื่อคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน เมื่อคดีนี้ศาลลงโทษจำคุกจำเลยเกินกว่าสามเดือน จึงไม่อาจเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนได้
ศาลจะพิพากษาจ่ายสินบนนำจับแก่ผู้นำจับได้ก็ต่อเมื่อมีการลงโทษปรับจำเลยด้วย เพราะจำนวนเงินค่าปรับจะต้องนำมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณว่าจะต้องจ่ายเงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อคดีนี้ศาลพิพากษาจำคุกจำเลยโดยไม่มีการลงโทษปรับด้วย จะให้จำเลยจ่ายเงินสินบนนำจับตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 74 จัตวา ไม่ได้ และการที่จำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น เป็นการวางเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่าไม่มีกรณีต้องพิพากษาตามคำขอให้ชดใช้ค่าเสียหายของโจทก์แล้วพิพากษายกคำขอในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ศาลจะพิพากษาจ่ายสินบนนำจับแก่ผู้นำจับได้ก็ต่อเมื่อมีการลงโทษปรับจำเลยด้วย เพราะจำนวนเงินค่าปรับจะต้องนำมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณว่าจะต้องจ่ายเงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อคดีนี้ศาลพิพากษาจำคุกจำเลยโดยไม่มีการลงโทษปรับด้วย จะให้จำเลยจ่ายเงินสินบนนำจับตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 74 จัตวา ไม่ได้ และการที่จำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น เป็นการวางเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่าไม่มีกรณีต้องพิพากษาตามคำขอให้ชดใช้ค่าเสียหายของโจทก์แล้วพิพากษายกคำขอในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3397/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา, การพิจารณาความเสียหาย และการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เกี่ยวข้องกับความผิดทางอาญา
สำหรับความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 390 ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้มีคำพิพากษาให้แก้ไขนั้น มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) คดีนี้จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2559 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2561 เป็นเวลาเกิน 1 ปี แล้ว จึงขาดอายุความ ซึ่งการจะลงโทษจำเลยตามที่ได้ความจากการพิจารณาก็จะต้องพิจารณาว่า คดีขาดอายุความหรือไม่ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายยาเสพติดใหม่ และการลงโทษผู้ขับขี่เสพยา การแก้ไขโทษจำคุกเป็นกักขัง
พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 7 กำหนดให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่อ้างถึงบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นอ้างบทบัญญัติแห่ง ป.ยาเสพติดในมาตราที่มีนัยเช่นเดียวกัน เมื่อ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง และ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 127 ทวิ วรรคสอง อ้างถึง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 91 จึงถือว่าอ้างถึง ป.ยาเสพติด มาตรา 162 ด้วยอันเป็นบทกำหนดความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในการเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ซึ่งต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอีกหนึ่งในสาม ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3178/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีที่เกี่ยวพันกัน & การใช้กฎหมายขณะกระทำผิด แม้แยกฟ้อง & มีการแก้ไขกฎหมาย
ป.อ. มาตรา 91 ให้อำนาจศาลพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปและกรณีที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี รวมโทษจำคุกทั้งสิ้นแล้วต้องไม่เกินยี่สิบปีนั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกในกรณีกระทำความผิดหลายกรรมที่เกี่ยวพันกันและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง หรือกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดีและคดีแต่ละคดีเป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน และรวมถึงคดีที่เกี่ยวพันกันแต่โจทก์กลับแยกฟ้องจำเลยเป็นหลายคดีและไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน จึงจะอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 91 (2) สำหรับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1066/2562 นั้น ข้อเท็จจริงได้ความตามสำเนาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเอกสารท้ายคำแถลงข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณาฉบับลงวันที่ 6 ธันวาคม 2562 ของโจทก์ว่า คดีดังกล่าวเป็นคดีที่โจทก์ที่ 2 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินกระทำผิดหน้าที่และฐานร่วมกันเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น แม้ข้อหาความผิดที่ฟ้องจะเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้ แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีเป็นคนละรายกันกับคดีนี้และพยานหลักฐานในคดีเป็นคนละชุดกัน จึงไม่เป็นคดีที่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันกับคดีนี้ได้ เมื่อศาลมีคำพิพากษาแต่ละคดีและให้นับโทษต่อกันตาม ป.อ. มาตรา 22 แม้มีกำหนดระยะเวลาจำคุกเกินยี่สิบปี ก็พิพากษาให้บังคับเช่นนั้นได้ กรณีไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ที่ศาลอุทธรณ์ไม่นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1066/2562 ของศาลชั้นต้นนั้น เป็นการไม่ชอบ ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1242/2562 นั้น ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำเนาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเอกสารท้ายคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ว่า คดีดังกล่าวและคดีนี้มีโจทก์และจำเลยเป็นคู่ความเดียวกัน แม้วันเวลากระทำความผิดจะแตกต่างกัน แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองซึ่งได้รับมอบหมายจากโจทก์ที่ 1 ให้เป็นผู้จัดทำบัญชีและนําเงินไปเสียภาษีแทน กระทำการทุจริตเบียดบังเอาเงินที่มอบให้นําไปเสียภาษีไป และจำเลยทั้งสองไม่คืนเอกสารสำคัญเกี่ยวกับการทำบัญชีและเสียภาษีแก่โจทก์ที่ 1 เช่นเดียวกับคดีนี้ ดังนั้น เมื่อคดีมีคู่ความเดียวกัน ลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวเกี่ยวพันกัน โจทก์ที่ 1 อาจฟ้องจำเลยทั้งสองสำหรับความผิดคดีนี้และคดีที่ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อเป็นคดีเดียวกันได้ แต่โจทก์ที่ 1 แยกฟ้องคดีนี้เป็นอีกคดีหนึ่ง แยกต่างหากจากคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1242/2562 ดังกล่าวโดยศาลมิได้สั่งรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 20 ปี เต็มตามกำหนดไว้ใน ป.อ. มาตรา 91 (2) แล้ว ย่อมไม่อาจนําโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไปนับโทษต่อจากโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1242/2562 ของศาลชั้นต้นได้เพราะจะทำให้จำเลยที่ 1 ต้องได้รับโทษจำคุกเกินกำหนดที่ ป.อ. มาตรา 91 (2) บัญญัติไว้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1242/2562 ของศาลชั้นต้นมานั้น ชอบแล้ว