พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน: การพิจารณาอำนาจประหัตประหารของอาวุธ และการปรับตามมาตรา 80 แทนมาตรา 81
ตามปกติถือว่าปืนเป็นอาวุธร้ายแรง อาจทำให้ถึงตายได้ ปืนที่จำเลยใช้ยิงผู้เสียหายเป็นอาวุธปืนสั้น จะทำขึ้นเองหรือทำมาจากที่ใดไม่ปรากฏ แต่ได้ความว่าเมื่อยิงนัดหนึ่งแล้วต้องใช้มือจับลูกโม่ให้หมุนก่อนที่จะใช้ยิงนัดต่อไป กระสุนปืนที่ถูกผู้เสียหายไม่ได้เข้าตรง ๆ โดยเฉียดสีข้างเป็นบาดแผลกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร ผู้เสียหายพลัดตกลงไปในคูและลุกขึ้นไม่ได้ แสดงว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงมีอำนาจประหัตประหาร ให้ผู้ถูกยิงถึงแก่ความตายได้ ถ้ากระสุนปืนถูกอวัยวะอื่นที่เป็นส่วนสำคัญของร่างกาย กรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 โดยถือว่าจำเลยลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลจำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(2) ประกอบด้วยมาตรา 80 หาใช่มาตรา 81 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน: การประเมินอำนาจประหัตประหารของอาวุธและมาตรา 80/81
ตามปกติถือว่าปืนเป็นอาวุธร้ายแรง อาจทำให้ถึงตายได้ ปืนที่จำเลยใช้ยิงผู้เสียหายเป็นอาวุธปืนสั้น จะทำขึ้นเองหรือทำมาจากที่ใดไม่ปรากฏ แต่ได้ความว่าเมื่อยิงนัดหนึ่งแล้วต้องใช้มือจับลูกโม่ให้หมุนก่อนที่จะใช้ยิงนัดต่อไป กระสุนปืนที่ถูกผู้เสียหายไม่ได้เข้าตรง ๆ โดยเฉียดสีข้างเป็นบาดแผลกว้าว 1 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร ผู้เสียหายพลัดตกลงไปในคูและลุกขึ้นไม่ได้ แสดงว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงมีอำนาจประหัตประหารให้ผู้ถูกยิงถึงแก่ความตายได้ ถ้ากระสุนปืนถูกอวัยวะอื่นที่เป็นส่วนสำคัญของร่างกาย กรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 โดยถือว่าจำเลยลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (2) ประกอบด้วยมาตรา 80 หาใช่มาตรา 81 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สาธารณสถาน-ที่รโหฐาน: สถานที่ค้าประเวณีเป็นสาธารณสถาน เจ้าพนักงานมีอำนาจค้นจับ
สถานที่ใดจะเป็นสาธารณสถานหรือไม่ ไม่ต้องคำนึงว่าสถานที่นั้นจะเป็นสถานที่ผิดกฎหมาย เช่นสถานการค้าประเวณีหรือไม่เพียงแต่พิจารณาว่าสถานที่นั้นประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้หรือไม่และต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป ถ้าประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ สถานที่นั้นก็เป็นสาธารณสถานไม่ใช่ที่รโหฐาน
ได้ความว่าเจ้าของสถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีมิได้หวงห้ามผู้หนึ่งผู้ใดที่จะไปหาความสุขกับหญิงโสเภณี หรือไปธุระอื่นที่จะเข้าไปในห้องโถงซึ่งใช้เป็นที่รับแขกในสถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีนั้นห้องโถงจึงเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้เป็นสาธารณสถานไม่ใช่ที่รโหฐาน พนักงานตำรวจมีอำนาจค้นและจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93,78(3) จำเลยมีและใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ขัดขวางมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140, 289(2),80,52(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2519)
ได้ความว่าเจ้าของสถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีมิได้หวงห้ามผู้หนึ่งผู้ใดที่จะไปหาความสุขกับหญิงโสเภณี หรือไปธุระอื่นที่จะเข้าไปในห้องโถงซึ่งใช้เป็นที่รับแขกในสถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีนั้นห้องโถงจึงเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้เป็นสาธารณสถานไม่ใช่ที่รโหฐาน พนักงานตำรวจมีอำนาจค้นและจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93,78(3) จำเลยมีและใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ขัดขวางมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140, 289(2),80,52(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน & ต่อสู้ขัดขวางการจับกุม: เจตนาสำคัญแม้ผลไม่บรรลุ
จำเลยชักปืนออกมาจ้องไปทางร้อยตำรวจตรีเสรีและมีเสียงดัง "เชี๊ยะ" แสดงว่าจำเลยได้ยิงร้อยตำรวจตรีเสรีแล้ว แต่กระสุนปืนด้านกระสุนปืนจึงไม่ลั่นไปถูกร้อยตำรวจตรีเสรีสมเจตนาของจำเลย หากกระสุนปืนลั่นถูกร้อยตำรวจตรีเสรี ร้อยตำรวจตรีเสรีก็อาจจะถึงแก่ความตายได้ จำเลยจึงมีเจตนาฆ่าร้อยตำรวจตรีเสรี โดยจำเลยกระทำผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผล จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ และการที่ร้อยตำรวจตรีเสรีได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบว่าจำเลยต้องหาฐานลักทรัพย์และแสดงหมายจับ จึงเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่พฤติการณ์ของร้อยตำรวจตรีเสรีที่แสดงต่อจำเลยดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยรู้ว่าร้อยตำรวจตรีเสรีเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมาจับจำเลยในข้อหาลักทรัพย์ จำเลยวิ่งหนีแล้วใช้อาวุธปืนยิงร้อยตำรวจตรีเสรีเพื่อต่อสู้ขัดขวางมิให้จับกุม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน และต่อสู้ขัดขวางการจับกุมโดยใช้กำลัง
จำเลยชักปืนออกมาจ้องไปทางร้อยตำรวจตรีเสรีและมีเสียงดัง "เชี๊ยะ" แสดงว่าจำเลยได้ยิงร้อยตำรวจตรีเสรีแล้วแต่กระสุนปืนด้าน กระสุนปืนจึงไม่ลั่นไปถูกร้อยตำรวจตรีเสรีสมเจตนาของจำเลย หากกระสุนปืนลั่นถูกร้อยตำรวจตรีเสรี ร้อยตำรวจเสรีก็อาจจะถึงแก่ความตายได้ จำเลยจึงมีเจตนาฆ่าร้อยตำรวจตรีเสรี โดยจำเลยกระทำผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผลจำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ และการที่ร้อยตำรวจตรีเสรีได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบว่าจำเลยต้องหาฐานลักทรัพย์และแสดงหมายจับ จึงเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่พฤติการณ์ของร้อยตำรวจตรีเสรีที่แสดงต่อจำเลยดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยรู้ว่าร้อย ตำรวจตรีเสรีเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมาจับจำเลยในข้อหาลักทรัพย์ จำเลยวิ่งหนีแล้วใช้อาวุธปืนยิงร้อยตำรวจตรีเสรีเพื่อต่อสู้ขัดขวางมิให้จับกุม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดทางอาญา แม้ผู้อื่นไม่ลงมือทำ ผู้ใช้ก็มีความผิดตามกฎหมาย
ขณะที่ตำรวจเข้าจับกุมและแย่งปืนกับจำเลยที่ 1 อยู่นั้น จำเลยที่ 2 เข้าช่วยแย่งปืนจากตำรวจ เมื่อตำรวจจับจำเลยที่ 2 ได้จำเลยที่ 2 ได้ร้องบอกให้จำเลยที่ 1 ขว้างระเบิดมือใส่ตำรวจ ดังนี้ จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานกระทงหนึ่ง และใช้ให้ฆ่าเจ้าพนักงานอีกกระทงหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 บอกให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดมือขว้างเจ้าพนักงาน ก็เท่ากับโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดขว้างเจ้าพนักงานเพื่อจะฆ่าให้ตาย (แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา 84 มาในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม) ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้ใช้แล้ว
จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ฆ่าเจ้าพนักงาน แต่จำเลยที่ 1 ไม่กระทำตามจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 84 วรรค 2 ซึ่งต้องระวางโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิต กฎหมายไม่ได้บัญญัติโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิตไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 52 (1) มาใช้เป็นหลักฐานในการกำหนดโทษ กล่าวคือ ให้ลดโทษประหารชีวิตเสีย 1 ใน 3 ก่อน คงเหลือโทษเพียง 2 ใน 3 โดยให้จำคุกขั้นต่ำ 16 ปี แล้วคำนวณเอาเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราโทษ 2 ใน 3 ผลลัพธ์ก็คือ ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 8 ปี
โจทก์ไม่ได้ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยให้หนักขึ้นหาได้ไม่
ศาลล่างปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 30/2509)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 บอกให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดมือขว้างเจ้าพนักงาน ก็เท่ากับโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดขว้างเจ้าพนักงานเพื่อจะฆ่าให้ตาย (แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา 84 มาในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม) ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้ใช้แล้ว
จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ฆ่าเจ้าพนักงาน แต่จำเลยที่ 1 ไม่กระทำตามจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 84 วรรค 2 ซึ่งต้องระวางโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิต กฎหมายไม่ได้บัญญัติโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิตไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 52 (1) มาใช้เป็นหลักฐานในการกำหนดโทษ กล่าวคือ ให้ลดโทษประหารชีวิตเสีย 1 ใน 3 ก่อน คงเหลือโทษเพียง 2 ใน 3 โดยให้จำคุกขั้นต่ำ 16 ปี แล้วคำนวณเอาเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราโทษ 2 ใน 3 ผลลัพธ์ก็คือ ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 8 ปี
โจทก์ไม่ได้ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยให้หนักขึ้นหาได้ไม่
ศาลล่างปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 30/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดและขัดขวางเจ้าพนักงาน ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทและกำหนดโทษตามความเหมาะสม
ขณะที่ตำรวจเข้าจับกุมและแย่งปืนกับจำเลยที่ 1 อยู่นั้น จำเลยที่ 2 เข้าช่วยแย่งปืนจากตำรวจ เมื่อตำรวจจับจำเลยที่ 2 ได้จำเลยที่ 2 ได้ร้องบอกให้จำเลยที่ 1 ขว้างระเบิดมือใส่ตำรวจดังนี้ จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานกระทงหนึ่ง และใช้ให้ฆ่าเจ้าพนักงานอีกกระทงหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 บอกให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดมือขว้างเจ้าพนักงาน ก็เท่ากับโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดมือขว้างเจ้าพนักงานเพื่อจะฆ่าให้ตาย (แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา 84 มาในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม)ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้ใช้แล้ว
จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ฆ่าเจ้าพนักงาน แต่จำเลยที่ 1 ไม่กระทำตามจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 84 วรรค 2 ซึ่งต้องระวางโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิตกฎหมายไม่ได้บัญญัติโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิตไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 52(1) มาใช้เป็นหลักในการกำหนดโทษ กล่าวคือ ให้ลดโทษประหารชีวิตเสีย 1 ใน 3 ก่อน คงเหลือโทษเพียง 2 ใน 3 โดยให้จำคุกขั้นต่ำ 16 ปี แล้วคำนวณเอาเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราโทษ 2 ใน 3 ผลลัพธ์ก็คือ ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 8 ปี
โจทก์ไม่ได้ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยให้หนักขึ้นหาได้ไม่
ศาลล่างปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตามศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 30/2509)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 บอกให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดมือขว้างเจ้าพนักงาน ก็เท่ากับโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดมือขว้างเจ้าพนักงานเพื่อจะฆ่าให้ตาย (แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา 84 มาในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม)ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้ใช้แล้ว
จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ฆ่าเจ้าพนักงาน แต่จำเลยที่ 1 ไม่กระทำตามจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 84 วรรค 2 ซึ่งต้องระวางโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิตกฎหมายไม่ได้บัญญัติโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิตไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 52(1) มาใช้เป็นหลักในการกำหนดโทษ กล่าวคือ ให้ลดโทษประหารชีวิตเสีย 1 ใน 3 ก่อน คงเหลือโทษเพียง 2 ใน 3 โดยให้จำคุกขั้นต่ำ 16 ปี แล้วคำนวณเอาเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราโทษ 2 ใน 3 ผลลัพธ์ก็คือ ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 8 ปี
โจทก์ไม่ได้ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยให้หนักขึ้นหาได้ไม่
ศาลล่างปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตามศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 30/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621-622/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กำลังเกินสมควรในการจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจ
พลตำรวจตรวจการณ์ไปพบเรือบรรทุกสุราเถื่อนเรียกให้หยุดก็ไม่หยุด เมื่อเทียบเรือเข้าไปคนในเรือใช้มีดฟันถูกตำรวจ เมื่อเรือห่างกันออกมา 2 ศอก ตำรวจจึงใข้ปืนยิงตายดังนี้เป็นการฆ่าคนตายในการจับกุมเกินกว่าเหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมโดยไม่มีอำนาจและการใช้กำลังเกินเหตุ แม้มีเจตนาจับผู้ต้องหาก็ไม่เป็นเหตุให้พ้นผิด
ผู้ไหย่บ้านไปตามจับผู้ต้องหาถานลักทรัพย์ ผู้ต้องหาไม่ได้ต่อสู้ ผู้ไหย่บ้านไม่มีอำนาดก็จับผู้ต้องหานั้น.
ผู้ไหย่บ้านมีอาวุธปืนไม่ได้รับอนุญาต แม้จะตั้งไจเอาปืนนั้นไปไช้ไนการจับผู้ต้องหาก็ไม่เปนเหตุไห้พ้นความผิดเพราะไม่ได้กะทำโดยจำเปน.
อ้างดีกาที่ 267/2461
ผู้ไหย่บ้านมีอาวุธปืนไม่ได้รับอนุญาต แม้จะตั้งไจเอาปืนนั้นไปไช้ไนการจับผู้ต้องหาก็ไม่เปนเหตุไห้พ้นความผิดเพราะไม่ได้กะทำโดยจำเปน.
อ้างดีกาที่ 267/2461
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวโดยเข้าใจผิด: การกระทำเพื่อปกป้องตนเองจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสถานการณ์จึงเป็นการสมควรแก่เหตุ
เจ้าพนักงานเข้าตรวจจับสุราและฝิ่นที่บ้านจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้แสดงหมายตั้งและแต่งกายอย่างราษฎรธรรมดา จำเลยที่ 1 หนีออกไปและร้องโวยวายขึ้นจำเลยที่ 3 อยู่คนละบ้านกันได้มาช่วยทำร้ายเจ้าพนักงานโดยเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ร้าย แล้วไปแจ้งเหตุต่อผู้ใหญ่บ้านไว้ เมื่อจำเลยเข้าใจผิดโดยจริงใจว่าเจ้าพนักงานเป็นผู้ร้ายเช่นนี้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ไม่เป็นผิดฐานทำร้ายเจ้าพนักงาน