คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 37

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2849/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ศาลลงโทษฐานขับรถเมาสุรา แม้เปรียบเทียบปรับข้อหาขับรถประมาทแล้ว
จำเลยขับรถในขณะเมาสุราและโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดฐานขับรถโดยประมาทตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43(4),157 ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษเบากว่าความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราเพื่อให้ความผิดทั้งหมดเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37ได้ แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วก็ไม่ชอบ คดีไม่เลิกกันศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(2),160 วรรคสาม ตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการเปรียบเทียบปรับในคดีอาญาต่อการพิจารณาคดีแพ่ง: การยอมรับความผิดต่อพนักงานสอบสวนไม่ใช่คำพิพากษา
การที่จำเลยที่1ยอมรับต่อพนักงานสอบสวนในคดีอาญาว่าตนขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์คันที่ ว. ขับและยอมให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับมีผลเพียงทำให้คดีอาญาเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา37แต่การเปรียบเทียบปรับดังกล่าวไม่ใช่คำพิพากษาคดีส่วนอาญาไม่ต้องด้วยมาตรา46ที่คดีในส่วนแพ่งจะต้องถือข้อเท็จจริงตามการที่ศาลถือเอาข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวมาชี้ขาดตัดสินคดีแพ่งจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้ถือเช็คมีสิทธิฟ้อง แม้ได้รับชำระหนี้แล้ว คดีไม่ระงับ
จำเลยออกเช็คพิพาทมอบให้ ย.เพื่อชำระหนี้ เช็คดังกล่าวเป็นเช็คให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ย.ย่อมโอนให้แก่ผู้เสียหายด้วยการส่งมอบให้กันตามป.พ.พ. มาตรา 918 ประกอบมาตรา 989 ผู้เสียหายจึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบเมื่อผู้เสียหายนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้วธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยย่อมมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
ขณะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท ผู้เสียหายเป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย จึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) แม้ต่อมาภายหลังผู้เสียหายจะได้รับชำระหนี้ตามเช็คดังกล่าวจาก ย. ก็ไม่ทำให้ฐานะการเป็นผู้เสียหายของผู้เสียหายในคดีอาญาหมดไป ทั้งการชำระหนี้ของ ย.แก่ผู้เสียหายก็เป็นการชำระหนี้ตามกฎหมายที่ ย.จะต้องรับผิดต่อผู้เสียหาย มิใช่เป็นการชำระหนี้แทนจำเลย จึงไม่ทำให้คดีระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 แต่อย่างใด โจทก์ยังคงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การโอนเช็ค, ผู้ทรงเช็คโดยชอบ, ความเสียหายจากการปฏิเสธการจ่ายเงิน, อำนาจฟ้องคดีเช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทมอบให้ ย. เพื่อชำระหนี้ เช็คดังกล่าวเป็นเช็คให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ย. ย่อมโอนให้แก่ผู้เสียหายด้วยการส่งมอบให้กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918 ประกอบมาตรา 989 ผู้เสียหายจึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ เมื่อผู้เสียหายนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้วธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ขณะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท ผู้เสียหายเป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยจึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(4) แม้ต่อมาภายหลังผู้เสียหายจะได้รับชำระหนี้ตามเช็คดังกล่าวจาก ย. ก็ไม่ทำให้ฐานะการเป็นผู้เสียหายของผู้เสียหายในคดีอาญาหมดไป ทั้งการชำระหนี้ของ ย. แก่ผู้เสียหายก็เป็นการชำระหนี้ตามกฎหมายที่ ย. จะต้องรับผิดต่อผู้เสียหาย มิใช่เป็นการชำระหนี้แทนจำเลย จึงไม่ทำให้คดีระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 แต่อย่างใด โจทก์ยังคงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4707/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้ใช้เงินได้ ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้อง แม้จะมีการชำระหนี้แล้ว ความผิดต่างกรรมต่างวาระ
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายย่อมมีอำนาจที่จะนำเช็คพิพาทมาฟ้องดำเนินคดีแก่จำเลยผู้ออกเช็คพิพาทได้ หลังจากโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีแล้ว ส.ได้ชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์นั้นเป็นกรณีที่ความรับผิดในส่วนแพ่งเกี่ยวกับเช็คพิพาทที่มีต่อโจทก์ระงับไปเท่านั้นคดีอาญาหายกเลิกไปไม่ โจทก์ยังคงเป็นผู้เสียหายในส่วนอาญาอยู่ จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทโดยประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 2ที่ 3 ออกเช็คพิพาทในฐานะส่วนตัวต่างหากจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2ที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาท เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงมีความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 2 ที่ 3 อาจมีเจตนาใช้เงินตามเช็คแต่ละฉบับหรือไม่แตกต่างแยกกันได้ ความผิดสำหรับเช็คแต่ละฉบับจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5704/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังเช็คปฏิเสธ ทำให้คดีอาญาจากเช็คระงับตามกฎหมาย
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ควันที่ 1 มิถุนายน 2530ต่อมาวันที่ 12 มิถุนายน 2530 จำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ เป็นการชำระเงินตามเช็คใน 15 วันนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงิน คดีเป็นอันเลิกกันตามความหมายแพ่ง ป.วิ.อ.ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 5สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจอดรถกีดขวางการจราจรประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ศาลฎีกาวินิจฉัยความผิดและบทลงโทษ
คดีที่พนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้มีการสอบสวนแล้วย่อมสันนิษฐานได้ว่า มีการสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน โดยเสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ ถือว่าไม่มีข้อโต้เถียงกัน หากตามสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบ จำเลยเพิ่งมาคัดค้านขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ย่อมไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้กรณีถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องแล้ว แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไปได้เอง โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดก่อน
แม้ อ. จะเคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยมาก่อน แต่ศาลได้สั่งแยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ อ. ถูกฟ้องร่วมกับจำเลย โจทก์จึงอ้าง อ. เป็นพยานได้ โดยขณะที่ อ. เบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ อ. มิได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลย
การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท คือ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56, 61 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ใช้กฎหมายบทที่หนักที่สุดลงโทษ พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า เพื่อให้ความผิดทุกกรรมรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ซึ่งเป็นความผิดบทเบาที่สุด การเปรียบเทียบนั้นก็ไม่ชอบ คดีไม่เลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ซึ่งเป็นบทที่หนักที่สุดให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย, การต่อสู้คดี, และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
คดีที่พนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้ มีการสอบสวนแล้วย่อมสันนิษฐานได้ ว่า มีการสอบสวนชอบด้วย กฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน โดย เสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ ถือว่าไม่มีข้อโต้เถียงกัน หากตาม สำนวนไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบ จำเลยเพิ่งมาคัดค้านขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ย่อมไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้กรณีถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องแล้ว แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไปได้เองโดย ไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดก่อน แม้ อ. จะเคยถูก ฟ้องร่วมกับจำเลยมาก่อน แต่ ศาลได้ สั่งแยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ อ. ถูกฟ้องร่วมกับจำเลย โจทก์จึงอ้าง อ. เป็นพยานได้โดยขณะที่ อ. เบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ อ. มิได้อยู่ในฐานะ เป็นจำเลย การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อ กฎหมายหลายบท คือ เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 5661 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ใช้ กฎหมายบทที่หนักที่สุดลงโทษพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า เพื่อให้ความผิดทุกกรรมรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 61 ซึ่ง เป็นความผิดบทเบาที่สุด การเปรียบเทียบนั้นก็ไม่ชอบ คดีไม่เลิกกันตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 37 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ซึ่ง เป็นบทที่หนักที่สุดให้ถูกต้อง ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการจอดรถกีดขวางการจราจรในเวลากลางคืน และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้อง
คดีที่พนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้มีการสอบสวนแล้วย่อมสันนิษฐานได้ว่ามีการสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้านโดยเสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ ถือว่าไม่มีข้อโต้เถียงกัน หากตามสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบการที่จำเลยเพิ่งมาคัดค้านขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ย่อมไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้ กรณีถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไปได้เอง โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดก่อน อ. เคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยมาก่อน แต่ศาลได้สั่งแยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ อ. ถูกฟ้องร่วมกับจำเลยและขณะที่ อ.เบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้อ.มิได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลย โจทก์จึงอ้าง อ.เป็นพยานได้ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 56,61 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทหนักที่สุดลงโทษตามมาตรา 90 พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า เพื่อให้ความผิดทุกกรรมรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ซึ่งเป็นความผิดบทเบาที่สุดการเปรียบเทียบนั้นก็ไม่ชอบ คดีจึงยังไม่เลิกกันศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390ซึ่งเป็น บทหนักที่สุดให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท - การเปรียบเทียบปรับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย - สิทธิฟ้องคดีอาญา
จำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท เป็นทั้งความผิดลหุโทษและที่มิใช่ลหุโทษ แต่ชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนตั้งข้อหาในความผิดลหุโทษแต่บทเดียว แล้วเปรียบเทียบปรับไป ถือว่าเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ทำให้คดีเลิกกันอันเป็นเหตุให้สิทธินำคดีมาฟ้องระงับไป พนักงานอัยการมีสิทธิฟ้องจำเลยในความผิดที่มิใช่ลหุโทษอีกได้
คืนเกิดเหตุมีการชุมนุมกันกระทำพิธีสวดมนต์ทำบุญฉลองกระดูกผู้ตายตามพุทธศาสนาบนหอสวดมนต์ จำเลยขึ้นมาส่งเสียงเอะอะอื้อฉาวซ้ำยังกล่าวว่า พระนี่ยุ่งจริง พระไม่มีความหมายแล้วจำเลยนั่งลงใช้มือตบกระดาน 7-8 ครั้งและชักปืนพกออกจากเอวมาถือไว้ หันปากกระบอกปืนมาทางพระ แล้วปืนตกลงยังพื้นหอสวดมนต์ การกระทำของจำเลยดังกล่าว ถึงแม้ผู้ที่ไปชุมนุมกันจะไม่มีปฏิกิริยาวุ่นวายขึ้นก็ตาม ก็ยังถือได้ว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 207
of 4