คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 267

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4343/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา: การอุทธรณ์และการสิ้นสุดของสิทธิในการฎีกาตามมาตรา 267 วรรคสอง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำขอของจำเลยที่ให้ยกเลิกคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉินนั้นเป็นคำสั่ง อันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกเลิกคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นแล้วคำสั่งเช่นนี้ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 267 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดไต่สวนพยานและคำสั่งชั่วคราวก่อนพิพากษา: การโต้แย้งสิทธิอุทธรณ์และการสิ้นสุดของคำสั่ง
คำสั่งให้งดการไต่สวนพยานจำเลยที่ 1 ในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลังจะต้องโต้แย้งคำสั่งให้ศาลจดลงไว้ในรายงาน คู่ความฝ่ายที่โต้แย้งจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 แต่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นสั่งงดไต่สวนเมื่อวันที่21 กุมภาพันธ์ 2534 และนัดฟังคำสั่งในวันรุ่งขึ้นเวลา 9 นาฬิกาทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว ดังนั้น ในช่วงเวลาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะอ่านคำสั่ง ย่อมมีเวลาเพียงพอที่โจทก์จะโต้แย้งคัดค้านได้ แต่ก็หาได้มีการโต้แย้งคัดค้านไม่ โจทก์จึงหมดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว อีกทั้งไม่อาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก (เดิม)แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้โดยยื่นคำร้องขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินรวมเข้ามาด้วยกรณีจึงเป็นไปตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 267 ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นำวิธีการชั่วคราวในกรณีมีเหตุฉุกเฉินมาใช้บังคับตามคำขอของโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอโดยพลันให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเสีย ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมตามคำขอของจำเลยที่ 1 คำสั่งดังกล่าว ย่อมเป็นที่สุด ทั้งนี้โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือพิจารณาฝ่ายเดียวหรือสองฝ่ายหรือไม่ เพราะแม้จะได้ความว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1 ในกรณีธรรมดาเพราะไม่มีเหตุฉุกเฉิน หรือพิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1 ชนิดสองฝ่ายก็ตาม คำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมของศาลชั้นต้นก็เป็นการสั่งตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง ที่บัญญัติว่าคำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุดอยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดี และผลของคำสั่งยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
คำสั่งให้งดการไต่สวนพยานจำเลยที่ 1 ในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลัง จะต้องโต้แย้งคำสั่งให้ศาลจดลงไว้ในรายงาน คู่ความฝ่ายที่โต้แย้งจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 แต่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นสั่งงดไต่สวนเมื่อวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2534 และนัดฟังคำสั่งในวันรุ่งขึ้นเวลา 9 นาฬิกาทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว ดังนั้น ในช่วงเวลาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะอ่านคำสั่ง ย่อมมีเวลาเพียงพอที่โจทก์จะโต้แย้งคัดค้านได้ แต่ก็หาได้มีการโต้แย้งคัดค้านไม่ โจทก์จึงหมดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว อีกทั้งไม่อาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก (เดิม) แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้ โดยยื่นคำร้องขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินรวมเข้ามาด้วยกรณีจึงเป็นไปตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 267 ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นำวิธีการชั่วคราวในกรณีมีเหตุฉุกเฉินมาใช้บังคับตามคำขอของโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอโดยพลันให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเสีย ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมตามคำขอของจำเลยที่ 1 คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด ทั้งนี้โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือพิจารณาฝ่ายเดียวหรือสองฝ่ายหรือไม่เพราะแม้จะได้ความว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1 ในกรณีธรรมดาเพราะไม่มีเหตุฉุกเฉิน หรือพิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1ชนิดสองฝ่ายก็ตาม คำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมของศาลชั้นต้นก็เป็นการสั่งตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267วรรคสอง ที่บัญญัติว่า คำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุดอยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแย้งจำกัดเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม และการเรียกร้องค่าเสียหายจากกระบวนการชั่วคราวก่อนพิพากษาต้องฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ฎีกาของโจทก์ที่ว่าฟ้องแย้งเป็นฟ้องซ้ำกับคดีอื่นเป็นฎีกาข้อที่โจทก์มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งจึงไม่มีประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246, และ 247 ฎีกาของโจทก์ที่ว่าฟ้องแย้งไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมแม้โจทก์จะมิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งในข้อดังกล่าวไว้ แต่ข้อฎีกานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง ปัญหาว่าที่พิพาทโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครอง โจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ในขณะจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายที่ขาดกำไรสุทธิจากการทำเหมืองแร่ในที่พิพาท ทั้งสิทธิทำเหมืองแร่ในที่พิพาทของจำเลยก็ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของทางราชการจำเลยยังไม่มีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะเข้าทำเหมืองแร่ในที่พิพาทการที่โจทก์ไปร้องคัดค้านการขอออกประทานบัตรของจำเลย ฟ้องคดีนี้และนำสำเนาคำฟ้องไปยื่นร้องคัดค้านต่อกรมทรัพยากรธรณีจึงยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยซึ่งยังไม่มีอยู่ในขณะฟ้องแย้งฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นฟ้องที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนนี้ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่แก้ไขขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทตามที่จำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรห้ามมิให้โจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้อง ให้โจทก์รื้อถอนเรือนแถวที่พักของคนงาน และทำให้ที่ดินมีสภาพเหมือนเดิมและให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยวันละ 15,000 บาท นับแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน2521 เป็นต้นไป จนกว่าจำเลยทั้งสองจะได้เข้าทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรนั้น แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่ในที่พิพาทตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน2521 จำเลยขอแก้ไขฟ้องแย้งและได้รับอนุญาตจากศาลเมื่อวันที่13 ธันวาคม 2521 ซึ่งเป็นภายหลังจากที่จำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิในที่พิพาทในขณะที่ขอแก้ไขฟ้องแย้งการที่โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องรบกวนสิทธิครอบครองของโจทก์ในที่พิพาทจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยแล้ว ทั้งการที่จำเลยแก้ไขฟ้องแย้งดังกล่าวถือได้ว่าเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนดังกล่าว แต่ที่จำเลยขอให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยวันละ15,000 บาท นั้น ปรากฏว่า มูลหนี้ตามฟ้องแย้งของจำเลยเกิดจากกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่เรียกว่าวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา อันเป็นกรณีที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมาย คือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งต่างหากจากคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากโจทก์จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ชอบที่จะฟ้องโจทก์เป็นคดีต่างหากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6091/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต้องดำเนินการตามวิธีปกติ หากมิใช่กรณีเร่งด่วน
ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาของโจทก์ฉบับลงวันที่ 7 ธันวาคม 2531 ในวันที่ 13 ธันวาคม2531 และสั่งให้โจทก์ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทุกคนทราบ เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนเสร็จในวันที่ 14 ธันวาคม 2531 แล้วได้มีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นให้จำเลยทุกคนร่วมกันจัดการนำส่งสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทต่อศาลเป็นการชั่วคราวก่อนพิพากษาภายใน 15 วันจำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 12 มกราคม 2532 ขอให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งดังกล่าว ดังนี้ มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้อง ของ โจทก์เป็นการด่วนโดยไม่ชักช้า และคำสั่งดังกล่าวก็มิได้บังคับได้ทันทีโดยไม่ต้องส่งให้จำเลยทุกคนทราบดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 267,269 กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาไต่สวนคำร้อง ของ โจทก์อย่างวิธีธรรมดา จะนำป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคสอง มาปรับกับกรณีตามคำร้อง ของ จำเลยไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นคดีต่างหากได้
โจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขาย ขอเงินมัดจำและเงินค่างวดที่โจทก์จ่ายไปแล้วคืนพร้อมดอกเบี้ย พร้อมกับฟ้องโจทก์ได้ยื่นคำร้องในเหตุฉุกเฉินขอให้ศาลชั้นต้นยึดหรืออายัดที่ดินของจำเลยที่ 1 ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาซึ่งศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วสั่งอนุญาตในวันถัดไป จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญากับฟ้องแย้งว่า การที่โจทก์ขอให้ศาลสั่งยึดที่ดินของจำเลยที่ 1 ก็โดยการอ้างเท็จเป็นเหตุให้ศาลหลงเชื่อ ขอเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่เกิดจากการที่ศาลชั้นต้นสั่งยึดที่ดินของจำเลยที่ 1 ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาตามคำขอของโจทก์ ดังนี้ มูลหนี้ตามฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวเกิดจากกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่เรียกว่าวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมาย คือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งต่างหากไปจากคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ชอบที่จำเลยที่ 1 จักฟ้องโจทก์เป็นคดีต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นคดีต่างหากได้
โจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายขอเงินมัดจำและเงินค่างวดที่โจทก์จ่ายไปแล้วคืนพร้อมดอกเบี้ยพร้อมกับฟ้องโจทก์ได้ยื่นคำร้องในเหตุฉุกเฉินขอให้ศาลชั้นต้นยึดหรืออายัดที่ดินของจำเลยที่1ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาซึ่งศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วสั่งอนุญาตในวันถัดไปจำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญากับฟ้องแย้งว่าการที่โจทก์ขอให้ศาลสั่งยึดที่ดินของจำเลยที่1ก็โดยการอ้างเท็จเป็นเหตุให้ศาลหลงเชื่อขอเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่เกิดจากการที่ศาลชั้นต้นสั่งยึดที่ดินของจำเลยที่1ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาตามคำขอของโจทก์ดังนี้มูลหนี้ตามฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวเกิดจากกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่เรียกว่าวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายคือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งต่างหากไปจากคำฟ้องเดิมฟ้องแย้งของจำเลยที่1จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมชอบที่จำเลยที่1จักฟ้องโจทก์เป็นคดีต่างหาก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษา เป็นคดีต่างหากจากฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายขอเงินมัดจำและเงินค่างวดที่โจทก์จ่ายไปแล้วคืนพร้อมดอกเบี้ยพร้อมกับฟ้องโจทก์ได้ยื่นคำร้องในเหตุฉุกเฉินขอให้ศาลชั้นต้นยึดหรืออายัดที่ดินของจำเลยที่1ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาซึ่งศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วสั่งอนุญาตในวันถัดไปจำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญากับฟ้องแย้งว่าการที่โจทก์ขอให้ศาลสั่งยึดที่ดินของจำเลยที่1ก็โดยการอ้างเท็จเป็นเหตุให้ศาลหลงเชื่อขอเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่เกิดจากการที่ศาลชั้นต้นสั่งยึดที่ดินของจำเลยที่1ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาตามคำขอของโจทก์ดังนี้มูลหนี้ตามฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวเกิดจากกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่เรียกว่าวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายคือป.วิ.พ.ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งต่างหากไปจากคำฟ้องเดิมฟ้องแย้งของจำเลยที่1จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมชอบที่จำเลยที่1จักฟ้องโจทก์เป็นคดีต่างหาก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2728/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลยกคำขอฉุกเฉินถือเป็นที่สุด ไม่อุทธรณ์ได้ ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยไม่ชอบ
ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 267 วรรคแรก เมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอในเหตุฉุกเฉินแล้ว คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อโจทก์ฎีกาต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1678/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งห้ามชั่วคราวต้องไม่เกินขอบเขตคำฟ้อง การขอห้ามขุดแร่ในที่พิพาทที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นฟ้องเดิมเป็นเรื่องนอกคำขอ
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง และเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับที่พิพาทที่จำเลย ทั้งสองทำไว้ต่อศาล ให้โอนที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่เกี่ยวกับเหมืองแร่ ในที่พิพาทหรือสิทธิในประทานบัตรของจำเลยที่ 2 โจทก์จะร้องขอให้ ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยทั้งสองและบริวารขุดแร่ในที่พิพาท หาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ตรงกับการกระทำที่จำเลยถูกฟ้อง เป็นเรื่องนอกคำขอท้ายฟ้อง จำเลยย่อมขอให้ยกเลิกคำสั่งห้ามชั่วคราวของศาลได้
of 4