พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ภาษีอากร, การบังคับคดี, และการส่งใช้ค่าหุ้นที่ไม่ครบถ้วน
ส. เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยร่วม ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ให้จำเลยร่วมชำระโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถึง ส. ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยร่วม ถือได้ว่าจำเลยร่วมได้รับหนังสือ ให้ชำระภาษีอากรดังกล่าว ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคแรก แล้ว หากจำเลยร่วมเห็นว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงาน ประเมินไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไรก็ชอบจะใช้สิทธิอุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 แต่จำเลยร่วมมิได้อุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าว หนี้ภาษีอากรค้างดังกล่าวย่อมเด็ดขาด โจทก์ได้แนบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญ ครั้งที่ตั้งบริษัทมาท้ายฟ้อง แต่จำเลยที่ 3 หาได้โต้แย้ง คัดค้านความไม่ถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ไม่ยิ่งกว่านั้นสำเนาเอกสารดังกล่าว นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้รับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสาร ดังกล่าว ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบพยานถึงความถูกต้องของ สำเนาเอกสารดังกล่าวก็รับฟังเอกสารดังกล่าวได้ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ชำระค่าหุ้นที่จำเลยทั้งสามยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่จำเลยแต่ละคนถืออยู่เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยร่วมจึงเป็นการใช้สิทธิ เรียกร้องเพื่อมาชำระภาษีอากร ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167(เดิม) อันเป็นกฎหมาย ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ ต.1/1037/2/04986 และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ ต.1/1037/1/02013ให้จำเลยร่วมชำระเงิน 283,490 บาท และ 40,025.62 บาทตามลำดับ ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าวตามเอกสารหมาย จ.28 และ จ.29 จำเลยร่วมได้รับหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2529 นอกจากนี้เจ้าพนักงานประเมินยังมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ ต.1/1037/2/05150 และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ ต.1/1037/1/225596 ให้จำเลยร่วมชำระเงิน122,976 บาท และ 1,486.43 บาท ตามลำดับ ภายใน 30 วันนับแต่วันรับหนังสือดังกล่าว ตามเอกสารหมาย จ.60 และ จ.61 จำเลยร่วมได้รับหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2529 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน ภาษีอากร ตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคล และหนังสือ แจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ให้จำเลยร่วมทราบจึงถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามกฎหมายเพื่อให้ลูกหนี้ ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลการสั่งบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอันใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันเพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 167(เดิม) ซึ่งมีผลทำให้อายุความสิทธิเรียกร้องหนี้ ค่าภาษีอากรตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือ แจ้งภาษีเงินได้บุคคลหัก ณ ที่จ่ายเอกสารหมาย จ.28 จ.29 สะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2529 และสิทธิเรียกร้องหนี้ภาษีอากรตามหนังสือภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือ แจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายเอกสารหมาย จ.60และ จ.61 สะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2529แล้วเริ่มนับอายุความใหม่เมื่อพ้นระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ 9 มกราคม 2529 และวันที่ 8 กรกฎาคม 2529 ตามลำดับสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคล และหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามเอกสารหมาย จ.28 และ จ.29 จึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2529 ส่วนสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้ นิติบุคคลและหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามเอกสารหมาย จ.60 และ จ.61 เริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2529 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9ธันวาคม 2534 จึงยังไม่ล่วงพ้นกำหนดอายุความ 10 ปีคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ภาษี การแจ้งภาษีและการสั่งบังคับหนี้เป็นเหตุสะดุดอายุความ
ส.เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยร่วม ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายให้จำเลยร่วมชำระโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถึง ส.ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยร่วม ถือได้ว่าจำเลยร่วมได้รับหนังสือให้ชำระภาษีอากรดังกล่าว ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคแรก แล้ว หากจำเลยร่วมเห็นว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไรก็ชอบจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรมาตรา 30 แต่จำเลยร่วมมิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว หนี้ภาษีอากรค้างดังกล่าวย่อมเด็ดขาด
โจทก์ได้แนบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญครั้งที่ตั้งบริษัทมาท้ายฟ้อง แต่จำเลยที่ 3 หาได้โต้แย้งคัดค้านความไม่ถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 ไม่ ยิ่งกว่านั้นสำเนาเอกสารดังกล่าว นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้รับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าว ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบพยานถึงความถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าวก็รับฟังเอกสารดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ชำระค่าหุ้นที่จำเลยทั้งสามยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่จำเลยแต่ละคนถืออยู่เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยร่วมจึงเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อมาชำระภาษีอากร ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 167 (เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ ต.1/1037/2/04986 และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ ต.1/1037/1/02013 ให้จำเลยร่วมชำระเงิน283,490 บาท และ 40,025.62 บาท ตามลำดับ ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าว ตามเอกสารหมาย จ.28 และ จ.29 จำเลยร่วมได้รับหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2529 นอกจากนี้เจ้าพนักงานประเมินยังมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ ต.1/1037/2/05150 และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ ต.1/1037/1/225596 ให้จำเลยร่วมชำระเงิน 122,976 บาท และ 1,486.43 บาท ตามลำดับ ภายใน 30 วันนับแต่วันรับหนังสือดังกล่าว ตามเอกสารหมาย จ.60 และ จ.61 จำเลยร่วมได้รับหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2529 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีอากร ตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคล และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ให้จำเลยร่วมทราบจึงถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามกฎหมายเพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอันใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันเพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง ดังที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ.มาตรา 167 (เดิม) ซึ่งมีผลทำให้อายุความสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลหัก ณ ที่จ่ายเอกสารหมาย จ.28 จ.29 สะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 9 มกราคม2529 และสิทธิเรียกร้องหนี้ภาษีอากรตามหนังสือภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายเอกสารหมาย จ.60 และ จ.61สะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2529 แล้วเริ่มนับอายุความใหม่เมื่อพ้นระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ 9 มกราคม 2529 และวันที่ 8 กรกฎาคม 2529ตามลำดับ สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามเอกสารหมาย จ.28 และ จ.29 จึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2529 ส่วนสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามเอกสารหมายจ.60 และ จ.61 เริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2529 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 จึงยังไม่ล่วงพ้นกำหนดอายุความ 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ได้แนบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญครั้งที่ตั้งบริษัทมาท้ายฟ้อง แต่จำเลยที่ 3 หาได้โต้แย้งคัดค้านความไม่ถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 ไม่ ยิ่งกว่านั้นสำเนาเอกสารดังกล่าว นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้รับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าว ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบพยานถึงความถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าวก็รับฟังเอกสารดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ชำระค่าหุ้นที่จำเลยทั้งสามยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่จำเลยแต่ละคนถืออยู่เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยร่วมจึงเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อมาชำระภาษีอากร ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 167 (เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ ต.1/1037/2/04986 และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ ต.1/1037/1/02013 ให้จำเลยร่วมชำระเงิน283,490 บาท และ 40,025.62 บาท ตามลำดับ ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าว ตามเอกสารหมาย จ.28 และ จ.29 จำเลยร่วมได้รับหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2529 นอกจากนี้เจ้าพนักงานประเมินยังมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ ต.1/1037/2/05150 และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ ต.1/1037/1/225596 ให้จำเลยร่วมชำระเงิน 122,976 บาท และ 1,486.43 บาท ตามลำดับ ภายใน 30 วันนับแต่วันรับหนังสือดังกล่าว ตามเอกสารหมาย จ.60 และ จ.61 จำเลยร่วมได้รับหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2529 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีอากร ตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคล และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ให้จำเลยร่วมทราบจึงถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามกฎหมายเพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอันใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันเพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง ดังที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ.มาตรา 167 (เดิม) ซึ่งมีผลทำให้อายุความสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลหัก ณ ที่จ่ายเอกสารหมาย จ.28 จ.29 สะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 9 มกราคม2529 และสิทธิเรียกร้องหนี้ภาษีอากรตามหนังสือภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายเอกสารหมาย จ.60 และ จ.61สะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2529 แล้วเริ่มนับอายุความใหม่เมื่อพ้นระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ 9 มกราคม 2529 และวันที่ 8 กรกฎาคม 2529ตามลำดับ สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามเอกสารหมาย จ.28 และ จ.29 จึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2529 ส่วนสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามเอกสารหมายจ.60 และ จ.61 เริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2529 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 จึงยังไม่ล่วงพ้นกำหนดอายุความ 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานได้ หากจำเลยไม่คัดค้านความถูกต้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
แม้โจทก์อ้างสำเนาใบบันทึกรายการเป็นพยานโจทก์โดยไม่ได้ส่งต้นฉบับเอกสาร และในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างหรือแสดงให้เห็นว่าต้นฉบับเอกสารดังกล่าวหาไม่ได้เพราะสูญหายหรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัยหรือไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้เพราะเหตุประการใดก็ตามแต่ปรากฏว่า ก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ 1 เดือนเศษ โจทก์ได้แถลงขอส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลและให้ฝ่ายจำเลยศาลชั้นต้นอนุญาตและมีการรับสำเนาไปแล้ว ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์นำสืบพยานบุคคล 1 ปาก และอ้างส่งเอกสาร 37 ฉบับ รวมทั้งเอกสารซึ่งเป็นสำเนาเอกสารด้วยแล้วโจทก์แถลงหมดพยาน แสดงว่าโจทก์สืบพยานเอกสารดังกล่าว เสร็จแล้ว แต่จำเลยซึ่งโจทก์อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน ยันตนก็หาได้คัดค้านการที่โจทก์นำสำเนาเอกสารดังกล่าวมา สืบว่าสำเนาเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องกับต้นฉบับเสียก่อนที่ โจทก์จะสืบพยานเอกสารดังกล่าวเสร็จตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 แม้ภายหลัง ต่อมาจำเลยจะยื่นคำร้องคัดค้านการที่โจทก์อ้างสำเนาเอกสาร จำเลยก็กล่าวอ้างแต่เพียงว่าศาลควรจะรับฟังเฉพาะต้นฉบับเอกสาร เอกสารที่โจทก์อ้างเป็นเพียงสำเนารับฟังไม่ได้เท่านั้น มิได้คัดค้านโดยตรงว่าสำเนาเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้อง ตรงกับต้นฉบับ ทั้งไม่ได้ระบุถึงสาเหตุที่จำเลยไม่อาจคัดค้านได้ ก่อนที่โจทก์จะสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 วรรคสองถือว่าจำเลยมิได้คัดค้านการอ้างสำเนาเอกสารโดยชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จึงห้ามมิให้จำเลยคัดค้านความถูกต้องของสำเนาเอกสารนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 วรรคสาม ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าว เป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1493/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, การมอบอำนาจ, และการพิสูจน์หนี้เงินกู้: การรับฟังพยานหลักฐานและการค้ำประกัน
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1144,1158 และ 1164 เป็นการมอบอำนาจของกรรมการบริษัทที่มอบอำนาจของกรรมการเองให้แก่ผู้อื่น ซึ่งผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเช่นนั้นต้องเป็นผู้จัดการหรืออนุกรรมการซึ่งตั้งจากผู้เป็นกรรมการบริษัทด้วยกัน แต่การมอบอำนาจให้กระทำการแทนบริษัทเช่นการมอบอำนาจ ให้ฟ้องคดีแทนบริษัทในคดีนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภท บริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีด้วยตนเองหรือโดยมอบอำนาจ ให้บุคคลอื่นมาฟ้องคดีแทน และในกรณีที่โจทก์มอบอำนาจให้ บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน การมอบอำนาจนั้นย่อมต้องกระทำโดยกรรมการ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งจะมอบอำนาจเช่นนั้นให้ แก่บุคคลใดก็ได้ เว้นแต่โจทก์มีข้อบังคับกำหนดเกี่ยวกับการ มอบอำนาจเช่นนั้นไว้เป็นพิเศษว่าต้องมอบให้แก่บุคคลประเภทใด โดยเฉพาะ จึงจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับนั้นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสี่ถูกโจทก์อ้างเอกสารหมาย จ.9 มาเป็น พยานหลักฐานยันจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็มิได้คัดค้านว่าเอกสารนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยาน และไม่ได้ขออนุญาต คัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้ คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 เอกสารหมาย จ.9 จึงรับฟังพยานหลักฐานได้ ในการกู้เงินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินไว้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 1ได้ใช้เงินกู้ดังกล่าวให้โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ได้ไถ่ถอนการจำนองที่ดินที่จำนองไว้เป็นประกันเงินกู้ดังกล่าวแล้วนั้นมิใช่เป็นหลักฐานการชำระเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืม หรือนำสืบว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ที่ 4 จึงไม่มีพยานหลักฐานให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1493/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, การมอบอำนาจ, หลักฐานการกู้ยืม, การชำระหนี้, ความถูกต้องของเอกสาร
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1144, 1158และ 1164 เป็นการมอบอำนาจของกรรมการบริษัทที่มอบอำนาจของกรรมการเองให้แก่ผู้อื่น ซึ่งผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเช่นนั้นต้องเป็นผู้จัดการหรืออนุกรรมการซึ่งตั้งจากผู้เป็นกรรมการบริษัทด้วยกัน
แต่การมอบอำนาจให้กระทำการแทนบริษัทเช่นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนบริษัทในคดีนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีด้วยตนเองหรือโดยมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน และในกรณีที่โจทก์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน การมอบอำนาจนั้นย่อมต้องกระทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งจะมอบอำนาจเช่นนั้นให้แก่บุคคลใดก็ได้ เว้นแต่โจทก์มีข้อบังคับกำหนดเกี่ยวกับการมอบอำนาจเช่นนั้นไว้เป็นพิเศษว่าต้องมอบให้แก่บุคคลประเภทใดโดยเฉพาะ จึงจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับนั้นด้วย
เมื่อจำเลยทั้งสี่ถูกโจทก์อ้างเอกสารหมาย จ.9 มาเป็นพยานหลักฐานยันจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็มิได้คัดค้านว่าเอกสารนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยาน และไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 เอกสารหมาย จ.9 จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ในการกู้เงินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินไว้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้เงินกู้ดังกล่าวให้โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ไถ่ถอนการจำนองที่ดินที่จำนองไว้เป็นประกันเงินกู้ดังกล่าวแล้วนั้นมิใช่เป็นการนำสืบหลักฐานการชำระเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืม หรือนำสืบว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ที่ 4 จึงไม่มีพยานหลักฐานให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์
แต่การมอบอำนาจให้กระทำการแทนบริษัทเช่นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนบริษัทในคดีนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีด้วยตนเองหรือโดยมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน และในกรณีที่โจทก์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน การมอบอำนาจนั้นย่อมต้องกระทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งจะมอบอำนาจเช่นนั้นให้แก่บุคคลใดก็ได้ เว้นแต่โจทก์มีข้อบังคับกำหนดเกี่ยวกับการมอบอำนาจเช่นนั้นไว้เป็นพิเศษว่าต้องมอบให้แก่บุคคลประเภทใดโดยเฉพาะ จึงจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับนั้นด้วย
เมื่อจำเลยทั้งสี่ถูกโจทก์อ้างเอกสารหมาย จ.9 มาเป็นพยานหลักฐานยันจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็มิได้คัดค้านว่าเอกสารนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยาน และไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 เอกสารหมาย จ.9 จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ในการกู้เงินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินไว้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้เงินกู้ดังกล่าวให้โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ไถ่ถอนการจำนองที่ดินที่จำนองไว้เป็นประกันเงินกู้ดังกล่าวแล้วนั้นมิใช่เป็นการนำสืบหลักฐานการชำระเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืม หรือนำสืบว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ที่ 4 จึงไม่มีพยานหลักฐานให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งวันนัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยชอบตามกฎหมาย แม้เอกสารมีปัญหาการส่งคืน
เมื่อปรากฏว่าได้มีการส่งหนังสือนัดประชุมใหญ่ให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทตามภูมิลำเนาของผู้ร้องในวันที่21มกราคม2537ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า7วันแล้วย่อมถือได้ว่าได้มีการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1175แล้วแม้ต่อมาเมื่อวันที่24มกราคม2537ทางไปรษณีย์จะส่งหนังสือคืนมาและบริษัทได้ส่งซ้ำกลับคืนให้ผู้ร้องในวันนั้นซึ่งผู้ร้องได้รับในวันที่27มกราคม2537ก่อนวันนัดประชุมสองวันก็ไม่มีผลทำให้การส่งครั้งแรกที่ถูกต้องกลายเป็นไม่ชอบอีกทั้งยังปรากฏว่าในวันที่14มกราคม2537ซึ่งเป็นวันที่มีการประชุมกรรมการของบริษัทและมีมติให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่29มกราคม2537นั้นผู้ร้องได้ร่วมประชุมอยู่ด้วยและทราบวันนัดประชุมแล้วจึงถือได้ว่าได้มีการแจ้งวันนัดประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ผู้ร้องทราบโดยชอบแล้ว แม้เอกสารพิพาทจะเป็นพยานเอกสารที่ผู้คัดค้านที่2หมายเรียกมาจากบุคคลภายนอกและในวันนัดสืบพยานทนายผู้คัดค้านที่2แถลงไม่ติดใจสืบพยานและผู้คัดค้านที่1มิได้อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าทนายผู้ร้องซึ่งเบิกความเป็นพยานผู้ร้องเบิกความตอบคำถามค้านของทนายผู้คัดค้านที่1ว่าไม่คัดค้านเอกสารดังกล่าวเท่ากับเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงในเอกสารดังกล่าวจึงชอบที่ศาลจะรับฟังเอกสารพิพาทดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการประชุมผู้ถือหุ้นโดยชอบ แม้มีการส่งหนังสือคืน และการรับฟังเอกสารพยานที่ทนายยอมรับ
เมื่อปรากฏว่าได้มีการส่งหนังสือนัดประชุมใหญ่ให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทตามภูมิลำเนาของผู้ร้องในวันที่ 21 มกราคม 2537ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันแล้ว ย่อมถือได้ว่าได้มีการปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1175 แล้ว แม้ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2537 ทางไปรษณีย์จะส่งหนังสือคืนมา และบริษัทได้ส่งซ้ำกลับคืนให้ผู้ร้องในวันนั้น ซึ่งผู้ร้องได้รับในวันที่27 มกราคม 2537 ก่อนวันนัดประชุมสองวัน ก็ไม่มีผลทำให้การส่งครั้งแรกที่ถูกต้องกลายเป็นไม่ชอบ อีกทั้งยังปรากฏว่าในวันที่ 14 มกราคม 2537 ซึ่งเป็นวันที่มีการประชุมกรรมการของบริษัทและมีมติให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 29 มกราคม 2537 นั้น ผู้ร้องได้ร่วมประชุมอยู่ด้วยและทราบวันนัดประชุมแล้ว จึงถือได้ว่าได้มีการแจ้งวันนัดประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ผู้ร้องทราบโดยชอบแล้ว
แม้เอกสารพิพาทจะเป็นพยานเอกสารที่ผู้คัดค้านที่ 2หมายเรียกมาจากบุคคลภายนอก และในวันนัดสืบพยาน ทนายผู้คัดค้านที่ 2แถลงไม่ติดใจสืบพยาน และผู้คัดค้านที่ 1 มิได้อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าทนายผู้ร้องซึ่งเบิกความเป็นพยานผู้ร้องเบิกความตอบคำถามค้านของทนายผู้คัดค้านที่ 1 ว่า ไม่คัดค้านเอกสารดังกล่าวเท่ากับเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงในเอกสารดังกล่าว จึงชอบที่ศาลจะรับฟังเอกสารพิพาทดังกล่าวได้
แม้เอกสารพิพาทจะเป็นพยานเอกสารที่ผู้คัดค้านที่ 2หมายเรียกมาจากบุคคลภายนอก และในวันนัดสืบพยาน ทนายผู้คัดค้านที่ 2แถลงไม่ติดใจสืบพยาน และผู้คัดค้านที่ 1 มิได้อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าทนายผู้ร้องซึ่งเบิกความเป็นพยานผู้ร้องเบิกความตอบคำถามค้านของทนายผู้คัดค้านที่ 1 ว่า ไม่คัดค้านเอกสารดังกล่าวเท่ากับเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงในเอกสารดังกล่าว จึงชอบที่ศาลจะรับฟังเอกสารพิพาทดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งวันนัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยชอบ แม้หนังสือถูกตีคืนและมีการส่งซ้ำก็ถือว่าชอบแล้ว
เมื่อปรากฏว่าได้มีการส่งหนังสือนัดประชุมใหญ่ให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทตามภูมิลำเนาของผู้ร้องในวันที่21 มกราคม 2537 ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันแล้ว ย่อมถือได้ว่าได้มีการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175แล้ว แม้ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2537 ทางไปรษณีย์จะส่งหนังสือคืนมา และบริษัทได้ส่งซ้ำกลับคืนให้ผู้ร้องในวันนั้นซึ่งผู้ร้องได้รับในวันที่ 27 มกราคม 2537 ก่อนวันนัดประชุมสองวัน ก็ไม่มีผลทำให้การส่งครั้งแรกที่ถูกต้องกลายเป็นไม่ชอบอีกทั้งยังปรากฏว่าในวันที่ 14 มกราคม 2537 ซึ่งเป็นวันที่มีการประชุมกรรมการของบริษัทและมีมติให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 29 มกราคม 2537 นั้น ผู้ร้องได้ร่วมประชุมอยู่ด้วยและทราบวันนัดประชุมแล้ว จึงถือได้ว่าได้มีการแจ้งวันนัดประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ผู้ร้องทราบโดยชอบแล้ว แม้ เอกสารพิพาทจะเป็นพยานเอกสารที่ผู้คัดค้านที่ 2หมายเรียกมาจากบุคคลภายนอก และในวันนัดสืบพยาน ทนายผู้คัดค้านที่ 2 แถลงไม่ติดใจสืบพยาน และผู้คัดค้านที่ 1 มิได้อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าทนายผู้ร้องซึ่งเบิกความเป็นพยานผู้ร้องเบิกความตอบคำถามค้านของทนายผู้คัดค้านที่ 1 ว่า ไม่คัดค้านเอกสารดังกล่าวเท่ากับเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงในเอกสารดังกล่าว จึงชอบที่ศาลจะรับฟังเอกสารพิพาทดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9312/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากเอกสารสำเนา และการชำระหนี้ที่ยังไม่ครบถ้วน
แม้เอกสารหมาย จ.19 เป็นเพียงสำเนาเอกสาร แต่เมื่อโจทก์ทั้งห้าซึ่งถูกจำเลยอ้างเอกสารดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานยัน มิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยาน และไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา โจทก์ทั้งห้าจึงต้องห้ามไม่ให้คัดค้านการมีอยู่หรือความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 เอกสารหมาย จ.19 จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารแทนต้นฉบับเมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งการปลอมแปลงหรือความไม่ถูกต้อง
จำเลยเพียงแต่โต้แย้งไว้ในคำให้การว่า เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5(เอกสารหมาย จ.6) เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียว จำเลยไม่ขอรับรอง จำเลยหาได้โต้แย้งคัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับอย่างหนึ่งอย่างใด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 เดิม จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้คัดค้านเอกสารหมาย จ.6 ไว้แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารหมาย จ.6 แทนต้นฉบับได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93