พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5291/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายสินสมรส: ผลผูกพันสัญญา, อำนาจฟ้อง, และการชำระหนี้
ฉ. ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสให้แก่โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เป็นสามี ซึ่งจำเลยอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480 เดิม แต่ตราบใดที่สัญญายังมิได้ถูกศาลเพิกถอนสัญญาย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย การที่จำเลยเพียงแต่มีหนังสือบอกล้างสัญญาไปยังโจทก์โดยมิได้ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญา สัญญาจึงยังสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ฟ้องโดยแนบสำเนาภาพถ่ายหนังสือสัญญาการซื้อขายระหว่างโจทก์ กับ ฉ. มาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่า ฉ. มิได้ทำสัญญาตามสำเนาภาพถ่ายดังกล่าวต้องถือว่าจำเลยยอมรับถึงการมีอยู่ของต้นฉบับและความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 ศาลรับฟังสำเนาเอกสารนั้นแทนต้นฉบับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1) โจทก์กับ ฉ. ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยอาศัยหลักฐานเป็นหนังสือ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) ที่ห้ามมิให้คู่ความนำสืบ พยานบุคคลว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาอยู่อีก เมื่อตามสัญญาเอกสารดังกล่าวไม่มีข้อตกลงว่าให้ ฉ. เก็บเงินจากโจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าได้ตกลงกันดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง โจทก์ต้องชำระเงิน ณ ภูมิลำเนาของ ฉ. ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 324 ตามสัญญากำหนดให้โจทก์ส่งเงินเป็นรายเดือนของทุกเดือนภายในกำหนด 2 ปี โดยไม่ได้กำหนดว่าจะต้องส่งเดือนละเท่าใดพฤติการณ์แสดงว่าคู่สัญญาถือเอาเงื่อนเวลาที่กำหนดให้โจทก์ชำระให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา 2 ปี เป็นข้อสำคัญ โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากเงื่อนเวลาดังกล่าว จะถือเอาว่าจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนเท่ากับราคาที่ซื้อขายหารด้วยระยะเวลา2 ปี หาได้ไม่ บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 เพียงแต่ให้สิทธิแก่ผู้ชำระหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จให้เท่านั้น มิได้หมายความว่าต้องมีใบเสร็จจึงจะรับฟังเป็นหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐาน – หนังสือมอบอำนาจ – ประเด็นข้อพิพาท – การวินิจฉัยคดี
การที่โจทก์นำสืบถึงหนังสือมอบอำนาจเป็นการนำสืบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในประเด็นที่พิพาท เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์เป็นประเด็นไว้แล้ว แม้จะไม่ให้การปฏิเสธหนังสือมอบอำนาจซึ่งโจทก์ได้กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง ก็จะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงในเอกสารดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยย่อมนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ เพราะเป็นการนำสืบโต้เถียงในประเด็นเดียวกัน หาใช่เป็นการนำสืบนอกเหนือคำให้การไม่ และกรณีก็มิใช่เรื่องการคัดค้านการนำเอกสารมาสืบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125
เมื่อโจทก์แพ้คดีในประเด็นข้อสำคัญแล้ว ประเด็นอื่นที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีโจทก์ก็ไม่จำต้องได้รับการวินิจฉัยจากศาลอีก ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยคดีทุกประเด็น
เมื่อโจทก์แพ้คดีในประเด็นข้อสำคัญแล้ว ประเด็นอื่นที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีโจทก์ก็ไม่จำต้องได้รับการวินิจฉัยจากศาลอีก ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยคดีทุกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานโต้แย้งเอกสารในคดีแพ่ง และหลักการไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นที่ไม่เป็นประโยชน์
การที่โจทก์นำสืบถึงหนังสือมอบอำนาจเป็นการนำสืบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในประเด็นที่พิพาท เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์เป็นประเด็นไว้แล้ว แม้จะไม่ให้การปฏิเสธหนังสือมอบอำนาจซึ่งโจทก์ได้กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง ก็จะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงในเอกสารดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยย่อมนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ เพราะเป็นการนำสืบโต้เถียงในประเด็นเดียวกัน หาใช่เป็นการนำสืบนอกเหนือคำให้การไม่ และกรณีก็มิใช่เรื่องการคัดค้านการนำเอกสารมาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 เมื่อโจทก์แพ้คดีในประเด็นข้อสำคัญแล้ว ประเด็นอื่นที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีโจทก์ก็ไม่จำต้องได้รับการวินิจฉัยจากศาลอีกศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยคดีทุกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย: อำนาจฟ้อง, การก่อสร้างผิดแบบ, และอายุความที่ไม่ใช่ละเมิด
โจทก์กล่าวไว้ในฟ้องว่าโจทก์มอบอำนาจของโจทก์ไว้ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 จำเลยได้รับสำเนาเอกสารดังกล่าวไปพร้อมฟ้องแล้วไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการนำเอกสารมาสืบก่อนวันสืบพยานว่าไม่มีต้นฉบับหรือว่าต้นฉบับปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน สำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับและไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลัง ถือได้ว่าจำเลยยอมรับถึงการมีอยู่ของต้นฉบับและความถูกต้องแท้จริงของต้นฉบับเอกสารนั้นรวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นตรงกับต้นฉบับ ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อ 72 วรรคสาม บัญญัติให้แนวอาคารที่ปลูกสร้างริมทางสาธารณะที่มีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไปให้ร่นแนวอาคารห่างจากแนวถนนอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของแนวถนนนั้น คำว่า "แนวถนน" หมายความว่ารวมความกว้างของถนนและทางเท้าเข้าด้วยกัน ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายมิใช่ความผิดละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์จึงฟ้องขอให้รื้อถอนได้เสมอตราบที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: เงื่อนไขลดเงินเพิ่มที่ไม่ชอบ และการประเมินซ้ำ
เมื่อโจทก์อ้างว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบและขอให้ศาลเพิกถอน โจทก์ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นการไม่ชอบตามที่กล่าวอ้าง สำเนาเอกสารที่จำเลยอ้างเป็นเพียงพยานหลักฐานประกอบกับพยานอื่น ทั้งเมื่อจำเลยอ้างส่งสำเนาเอกสารดังกล่าว โจทก์มิได้คัดค้านว่าต้นฉบับไม่มี หรือเอกสารปลอม หรือสำเนาไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93 การกำหนดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 เจ้าพนักงานประเมินต้องกำหนดเสียตั้งแต่เบื้องต้นที่ทำการประเมินภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินครั้งแรกโดยกำหนดเงื่อนไขว่าสำหรับเงินเพิ่มพิจารณาลดให้คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มตามกฎหมาย หากอุทธรณ์การประเมินจะไม่ลดเงินเพิ่มให้และจะประเมินเพิ่มเติมต่อไป เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เจ้าพนักงานประเมินจึงทำการประเมินในครั้งที่สองเพิ่ม โดยเรียกเงินเพิ่มเติมในส่วนที่ลดให้นั้นเป็นการอาศัยเงื่อนไขในอนาคตมากำหนดเงินเพิ่มเติมเพิ่มเติม ทั้งเป็นเงื่อนไขที่มิให้โจทก์ปฏิบัติตามสิทธิที่กฎหมายกำหนดไว้ การประเมินในกรณีที่สองนี้ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเพิ่มเติมที่ไม่ชอบเนื่องจากเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรม
เมื่อโจทก์อ้างว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบ และขอให้ศาลเพิกถอน โจทก์ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นการไม่ชอบตามที่กล่าวอ้าง
สำเนาเอกสารที่จำเลยอ้างเป็นเพียงพยานหลักฐานประกอบกับพยานอื่น ทั้งเมื่อจำเลยอ้างส่งสำเนาเอกสารดังกล่าว โจทก์ก็มิได้คัดค้านว่าต้นฉบับไม่มี หรือเอกสารปลอม หรือสำเนาไม่ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93
การกำหนดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 เจ้าพนักงานประเมินต้องกำหนดเสียตั้งแต่เบื้องต้นที่ทำการประเมินภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินครั้งแรกโดยกำหนดเงื่อนไขว่า สำหรับเงินเพิ่มพิจารณาลดให้คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มตามกฎหมาย หากอุทธรณ์การประเมินจะไม่ลดเงินเพิ่มให้และจะประเมินเพิ่มเติมต่อไป เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เจ้าพนักงานประเมินจึงทำการประเมินในครั้งที่สองเพิ่ม โดยเรียกเงินเพิ่มเพิ่มเติมในส่วนที่ลดให้นั้นเป็นการอาศัยเงื่อนไขในอนาคตมากำหนดเงินเพิ่มเพิ่มเติม ทั้งเป็นเงื่อนไขที่มิให้โจทก์ปฏิบัติตามสิทธิที่กฎหมายกำหนดไว้ การประเมินในกรณีที่สองนี้ไม่ชอบ
สำเนาเอกสารที่จำเลยอ้างเป็นเพียงพยานหลักฐานประกอบกับพยานอื่น ทั้งเมื่อจำเลยอ้างส่งสำเนาเอกสารดังกล่าว โจทก์ก็มิได้คัดค้านว่าต้นฉบับไม่มี หรือเอกสารปลอม หรือสำเนาไม่ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93
การกำหนดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 เจ้าพนักงานประเมินต้องกำหนดเสียตั้งแต่เบื้องต้นที่ทำการประเมินภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินครั้งแรกโดยกำหนดเงื่อนไขว่า สำหรับเงินเพิ่มพิจารณาลดให้คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มตามกฎหมาย หากอุทธรณ์การประเมินจะไม่ลดเงินเพิ่มให้และจะประเมินเพิ่มเติมต่อไป เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เจ้าพนักงานประเมินจึงทำการประเมินในครั้งที่สองเพิ่ม โดยเรียกเงินเพิ่มเพิ่มเติมในส่วนที่ลดให้นั้นเป็นการอาศัยเงื่อนไขในอนาคตมากำหนดเงินเพิ่มเพิ่มเติม ทั้งเป็นเงื่อนไขที่มิให้โจทก์ปฏิบัติตามสิทธิที่กฎหมายกำหนดไว้ การประเมินในกรณีที่สองนี้ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3463/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าเพิ่มเติม: ศาลรับฟังพยานหลักฐานแม้ไม่ได้แสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการอุทธรณ์ได้
การที่โจทก์ถูกประเมินภาษีการค้าแล้ว มิได้นำพยานหลักฐานไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมิน หรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังสามารถนำมาแสดงในชั้นศาลได้ภายใต้ ป.วิ.พ. และกฎหมายอื่นที่ว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานเนื่องจากไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติตัดสิทธิได้ แม้เอกสารที่โจทก์อ้างส่งต่อศาลเป็นเพียงสำเนาที่ไม่มีพยานเบิกความรับรองก็ตาม แต่ต้นฉบับเอกสารดังกล่าวก็อยู่ในความครอบครองของจำเลยและจำเลยไม่ได้คัดค้านว่าเอกสารนั้นไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องจึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารหรือความถูกต้องของสำเนาเอกสาร ศาลรับฟังเป็นพยานได้ เมื่อตามพยานหลักฐานฟังได้ว่า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่จำเลยประเมินเพิ่มเติมนั้นเป็นการประเมินในดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว ย่อมเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ เนื่องจากโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าในรายรับดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: อำนาจฟ้อง, การยอมรับเอกสาร, และสถานะหนี้สินล้นพ้นตัว
ถ. ฟ้องคดีอ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยจำเลยได้รับสำเนาหนังสือมอบอำนาจพร้อมกับฟ้องแล้ว ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการนำเอกสารมาสืบก่อนวันสืบพยานว่าไม่มีต้นฉบับหรือว่าต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน สำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ และไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลัง ถือได้ว่าจำเลยยอมรับถึงการมีอยู่ของต้นฉบับและความถูกต้องแท้จริงของต้นฉบับเอกสารนั้น รวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นตรงกับต้นฉบับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ชั้นพิจารณาศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจแทนต้นฉบับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1) จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นเวลาเกือบ 4 ปี ไม่เคยชำระหนี้ให้โจทก์ แสดงว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้ นอกจากนี้โจทก์ยังได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดได้เงินชำระหนี้บางส่วน ยังค้างชำระหนี้ถึงวันฟ้องเป็นเงิน8,538,400.98 บาท ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1494/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลมีอำนาจพิจารณาความน่าเชื่อถือของเอกสาร แม้ไม่ได้คัดค้านเอกสารตามมาตรา 125 ว.พ.พ.
จำเลยมิได้คัดค้านการอ้างเอกสารเป็นพยานของโจทก์เสียก่อนวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125มีผลเพียงห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นคัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารเมื่อพ้นกำหนดเวลาเท่านั้น มิใช่เป็นบทบังคับให้ศาลต้องยอมรับว่าความจริงเป็นดังเอกสารนั้น ความจริงเป็นอย่างไรเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องฟังจากพยานหลักฐานอีกชั้นหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1494/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลมีอำนาจวินิจฉัยพยานหลักฐานและดุลพินิจในการรับฟังเอกสาร แม้ไม่คัดค้านเอกสารในเวลาที่กำหนด
แม้จำเลยมิได้คัดค้านการอ้างเอกสารเป็นพยานของโจทก์เสียก่อนวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ก็เป็นเพียงการห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นคัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารเมื่อพ้นกำหนดเวลาเท่านั้น หาใช่เป็นบทบังคับให้ศาลต้องยอมรับว่าความจริงเป็นดังเอกสารนั้นไม่ เพราะความจริงเป็นอย่างไรเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องฟังจากพยานหลักฐานอีกชั้นหนึ่งต่างหากซึ่งตามมาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น