พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2871/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดจากการเดินรถโดยสาร: จำเป็นต้องมีสิทธิโดยตรงตามกฎหมายหรือสัญญาหรือไม่
พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 6 วรรคสอง บัญญัติให้นายทะเบียนกลางเป็นนายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานคร เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่าโจทก์ได้ทำสัญญานำรถโดยสารขนาดเล็กเข้าร่วมเดินรถโดยสารประจำทางกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยโจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับสัมปทานกับรัฐโดยตรงหรือมีอำนาจใด ๆ ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก หรือได้รับมอบอำนาจจากนายทะเบียนกลางให้ฟ้องหรือดำเนินคดีแก่ผู้ที่กระทำการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางบกที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งโจทก์อ้างว่าได้กระทำการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก
โจทก์เป็นเพียงผู้หนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้นำรถโดยสารขนาดเล็กเข้าร่วมเดินรถโดยสารกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเท่านั้น สิทธิในการเดินรถโดยสารในเส้นทางพิพาทยังคงเป็นขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แม้การที่จำเลยนำรถยนต์ที่สี่ล้อเล็กออกแล่นรับผู้โดยสารทับเส้นทางที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจะเป็นการกระทำละเมิดก็เป็นการละเมิดต่อสิทธิขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่โจทก์ ส่วนสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามสัญญากับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพอย่างไรก็เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์เป็นเพียงผู้หนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้นำรถโดยสารขนาดเล็กเข้าร่วมเดินรถโดยสารกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเท่านั้น สิทธิในการเดินรถโดยสารในเส้นทางพิพาทยังคงเป็นขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แม้การที่จำเลยนำรถยนต์ที่สี่ล้อเล็กออกแล่นรับผู้โดยสารทับเส้นทางที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจะเป็นการกระทำละเมิดก็เป็นการละเมิดต่อสิทธิขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่โจทก์ ส่วนสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามสัญญากับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพอย่างไรก็เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย