พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2912/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถาน: เหตุอันสมควรในการเข้าไปถามเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับมารดา
การที่จำเลยเดินเข้าไปในบ้านผู้เสียหายเพราะต้องการถามผู้เสียหายว่า ด่ามารดาจำเลยด้วยเรื่องอะไร ถือว่าจำเลยมีเหตุอันสมควรเข้าไปในบ้านผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: หน้าที่ของคู่สัญญาในการรังวัดและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และผลของการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งทำต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอม มีใจความว่า ข้อ 1. จำเลยตกลงขายส่วนหนึ่งของที่ดินพิพาทให้โจทก์ โดยจำเลยจะดำเนินการให้มีการรังวัดแบ่งแยกและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2532หากจำเลยไม่ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด ก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย ข้อ 2. โจทก์ยินยอมซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย และจะชำระราคาที่ดินดังกล่าวให้จำเลยภายในวันที่ 27ธันวาคม 2532 ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการรังวัดแบ่งแยกรวมตลอดจนถึงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โจทก์จะเป็นผู้ออกเองทั้งหมดตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกำหนดเป็นหน้าที่ของจำเลยต้องเป็นผู้ดำเนินการให้มีการรังวัดแบ่งแยกและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2532 ส่วนโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาที่ดินและเสียค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการรังวัดแบ่งแยกรวมตลอดถึงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แบ่งแยกเมื่อโจทก์ชำระราคาให้จำเลยแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้ไปสำนักงานที่ดินเพื่อชำระค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการรังวัดและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในวันที่ 27 ธันวาคม 2532 ก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิ์ซื้อที่ดินพิพาท เพราะตามสัญญาประนีประนอมดังกล่าวมิได้มีข้อตกลงกันไว้เช่นนั้น กรณีนี้เป็นเรื่องของการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลหากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลอย่างไรก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้บังคับโจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารราชการปลอม vs. ใช้เอกสารปลอม: ความแตกต่างและขอบเขตความผิด
เอกสารมรณบัตรปลอมที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้นั้นเป็นภาพถ่ายเอกสาร โจทก์มิได้อ้างส่งเอกสารอันเป็นที่มาของภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว จึงไม่อาจทราบได้ว่าภาพถ่ายเอกสารดังกล่าวถ่ายเอกสารมาจากมรณบัตรที่เจ้าพนักงานทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ หรือสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ ซึ่งมีการปลอมโดยแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นหรือไม่ ต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองว่าภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว มิได้ถ่ายเอกสารมาจากเอกสารที่มีลักษณะดังกล่าว แต่ได้ถ่ายเอกสารมาจากภาพถ่ายเอกสารที่มีการปลอมโดยแก้ไขข้อความในภาพถ่ายเอกสารนั้น ซึ่งมิใช่เอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงไม่เป็นเอกสารราชการปลอม การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุด: การครอบครองปรปักษ์ vs. ทรัพย์มรดก
ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย ศาลพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ช. ผลของคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ โจทก์จะอ้างว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. ไม่มีอำนาจร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ช. ไม่ได้ เพราะจำเลยร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยใช้สิทธิทางศาล และที่ดินพิพาทก็เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยไม่ได้เป็นทรัพย์มรดกของ ช. การกระทำของจำเลยจึงไม่ได้เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของ ช. และคำพิพากษาไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนแต่อย่างใด ดังนั้น คำพิพากษาดังกล่าวยังคงมีผลผูกพันโจทก์อยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อมรอบ – ไม่ต้องจดทะเบียน
ที่ดินของโจทก์และที่ดินของจำเลยอยู่ติดกัน ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของจำเลยและที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ เมื่อปรากฏว่าหากโจทก์จะออกสู่ทางสาธารณะ ทางที่ใกล้ที่สุดจะต้องผ่านที่ดินของจำเลยตามที่พิพาท โจทก์จึงมีสิทธิจะใช้ที่พิพาทเป็นทางจำเป็นผ่านไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 เมื่อที่พิพาทเป็นทางจำเป็น โจทก์ย่อมมีสิทธิใช้ทางดังกล่าวโดยอำนาจของกฎหมายไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระเบียบข้อบังคับนายจ้างจ่ายเงินชดเชยมากกว่ากฎหมาย เป็นคุณแก่ลูกจ้าง
แม้ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างจะกำหนดให้จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างในกรณีลาออกไว้ด้วย ก็เป็นการกำหนดเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ซึ่งเป็นคุณแก่ลูกจ้างมากกว่า เมื่อหลักเกณฑ์การคำนวณเงินชดเชยในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างคล้ายกับหลักเกณฑ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวกำหนดไว้ การจ่ายเงินชดเชยตามระเบียบข้อบังคับเช่นว่านั้น จึงเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับเงินชดเชยและเงินบำเหน็จของลูกจ้างตามกฎหมายและระเบียบของนายจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างเท่านั้น มิได้กำหนดเรื่องการจ่ายเงินบำเหน็จแต่อย่างใด ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจากนายจ้างหรือไม่เพียงใด ย่อมต้องแล้วแต่ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้กำหนดไว้คดีนี้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่ได้กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างแต่ได้กำหนดให้จำเลยจ่ายเพียงเงินชดเชยเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จจากจำเลย แม้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ลูกจ้างได้รับเงินชดเชยในกรณีลาออกไว้ด้วยก็เป็นการกำหนดเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งกำหนดให้จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเฉพาะกรณีเลิกจ้างเท่านั้นก็ตาม แต่การกำหนดหลักเกณฑ์เช่นนี้เป็นคุณแก่ลูกจ้างมากกว่า จึงไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานแต่อย่างใด เมื่อจำเลยจ่ายเงินชดเชยตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยให้แก่โจทก์ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46(3) กำหนดไว้ เงินชดเชยดังกล่าวจึงเป็นค่าชดเชยไม่อาจจะแปลว่าเป็นเงินบำเหน็จ ดังที่โจทก์อ้างได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำสั่งนายจ้าง: หน้าที่ส่งมอบงานและผลกระทบต่อการลงโทษทางวินัย
การที่โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่ธุรการประจำแผนกซ่อมและดูแลได้รับคำสั่งให้ไปช่วยงานในกองบริการชุมชน ต่อมาจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์กลับไปทำงานในแผนกเดิม แต่โจทก์ไม่กลับไปทำงานตามคำสั่งอ้างว่าต้องรอมอบหมายงานตามระเบียบของการเคหะแห่งชาติก่อน ดังนี้เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกำหนดให้มีการมอบงานแล้ว การส่งมอบงานนั้นมิใช่เป็นสิทธิของโจทก์ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องกระทำเมื่อไม่กระทำตามคำสั่งจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง จำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายพิเศษจากสัญญา และการลดเบี้ยปรับ: ศาลใช้ดุลพินิจตามความเสียหายที่แท้จริง
ค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษในกรณีไม่ชำระหนี้นั้นจะต้องเป็นเรื่องที่คู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์ล่วงหน้าก่อนแล้ว ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 222 วรรคสอง บัญญัติไว้ และพฤติการณ์ดังกล่าวคู่กรณีจะต้องรับกันหรือนำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงจะเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่กรณีพิเศษได้ เบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญาในกรณีที่ผิดสัญญานั้นกฎหมายมิได้บังคับเด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายด้วยไม่ใช่แต่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินเท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเต็มตามจำนวนค่าปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความเอกสารประกวดราคา: เจตนาของผู้เสนอราคาและผู้รับซองสำคัญกว่าถ้อยคำ
เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้เป็น 2 นัยนัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้ ให้ถือเอาตามนัยนั้นดีกว่าที่จะถือเอานัยที่ไร้ผล และในการตีความแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร เมื่อตามประกาศของจำเลยที่ 1 เรื่องการประกวดราคาเช่าสะพานท่าเทียบเรือวางเงื่อนไขไว้ว่า ผู้ยื่นซองจะต้องเป็นนิติบุคคลเท่านั้น และโจทก์จำเลยทั้งสามต่างก็ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้เสนอราคามาโดยตลอดดังนั้น ข้อความในใบเสนอการประกวดราคาที่ระบุว่า "ข้าพเจ้าบ. ผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงน้ำแข็งเฉลิมพล... ขอเสนอการประกวดราคาการเช่าสะพานท่าเทียบเรือ..." จึงต้องถือว่าบ. เสนอราคาในนามของโจทก์ ซึ่งเป็นนิติบุคคล มิใช่เสนอราคาในฐานะส่วนตัว เพราะหากถือว่า บ. เสนอราคาในฐานะส่วนตัว ย่อมทำให้การเสนอราคาไร้ผลและขัดเจตนาของคู่กรณี