พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทเลินเล่อจากการส่งปืนให้ผู้อื่นทำให้ถึงแก่ความตาย แม้ฟ้องว่าเจตนาฆ่า ศาลลงโทษฐานประมาทได้
จำเลยส่งอาวุธเป็นซึ่งบรรจุกระสุนปืนพร้อมจะยิงได้ให้ ผู้ตายโดยหันปากกระบอกปืนไปทางผู้ตายและไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้ปืนลั่นขึ้นทำให้กระสุนปืนถูกผู้ตายที่กกหูถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง จึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเจตนาฆ่าผู้ตาย ปรากฏในการพิจารณาว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายแต่บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม ได้บัญญัติไว้ว่า ข้อแตกต่างกันระหว่างการกระทำผิดโดยเจตนากับประมาทเป็นข้อแตกต่างกันเพียงรายละเอียด ดังนั้นศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้ ทั้งจำเลยก็ยอมรับว่าได้ส่งอาวุธปืนให้ผู้ตาย แล้วปืนเกิดลั่นขึ้นทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยจึงไม่ได้หลงต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 233/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องร้องค่าเสียหายตามสัญญา การบังคับตามสัญญาเฉพาะข้อ และการไม่ขอบังคับตามสัญญาข้ออื่น
ตามคำฟ้องและคำขอของโจทก์ประสงค์ขอค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 9 เพียงกรณีเดียวเท่านั้น ซึ่งค่าปรับนี้ได้ยุติลงแต่ศาลชั้นต้นแล้วว่าโจทก์จะบังคับตามสัญญาข้อ 9 ไม่ได้ และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ ส่วนค่าเสียหายอย่างอื่นโจทก์มิได้ฟ้องและขอมาด้วยแต่อย่างใด ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ให้จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายอย่างอื่นแก่โจทก์มานั้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเพื่อออกโฉนดที่ดินกระทบสิทธิมรดก และการอุทธรณ์คำสั่งศาลระหว่างพิจารณา
เมื่อ ท.ถึงแก่กรรมสิทธิครอบครองที่ดินส.ค.1ของท.ย่อมตกเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาทในทันที การที่จำเลยแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่า ส.ค.1 ดังกล่าวสูญหายไป แล้วไปคัดสำเนา ส.ค.1จากอำเภอและไปดำเนินการขอให้ออกโฉนดในที่ดินดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าทนายโจทก์ไม่ป่วยจริงตามคำร้องขอเลื่อนคดีจึงสั่งให้ยกคำร้องและโจทก์ไม่มีพยานมาสืบตามนัด จึงถือว่าไม่มีพยานมาสืบ ให้งดสืบพยานโจทก์และนัดสืบพยานจำเลยต่อไปนั้นมิใช่กรณีศาลมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166,181 คำสั่งระหว่างพิจารณาในคดีอาญา ผู้อุทธรณ์ไม่จำต้องโต้แย้งคัดค้านไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา, การงดสืบพยาน, คำสั่งระหว่างพิจารณา, การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ต้องโต้แย้ง
จำเลยแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่า ส.ค.1 ของ ท.ซึ่งจำเลยเก็บรักษาไว้หายไป แล้วนำสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปขอสำเนา ส.ค.1 ที่หายไป และนำไปยื่นเรื่องขอรังวัดที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อออกโฉนดเป็นที่ดินของจำเลยโดยอ้างว่า ท.มอบที่ดินให้จำเลยครอบครอง การกระทำของจำเลยอาจทำให้โจทก์เสียหาย เพราะเมื่อ ท. ถึงแก่กรรม ที่ดินตาม ส.ค.1 ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ทันที การกระทำของจำเลยย่อมกระทบกระเทือนต่อสิทธิครอบครองของโจทก์อาจทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ได้ 2 นัด และสืบพยานโจทก์ได้ 3 ปากแล้วในนัดต่อมาทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าป่วยจำเลยคัดค้านว่ามิได้ป่วยจริง ศาลชั้นต้นให้จ่าศาลไปตรวจสอบอาการของทนายโจทก์แต่ไม่พบ จึงมีคำสั่งยกคำร้องขอเลื่อนคดีและถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ให้งดสืบพยานโจทก์แล้วนัดสืบพยานจำเลยมิใช่กรณีศาลมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166,181 เพราะเป็นเรื่องโจทก์ขอเลื่อนคดีแล้วศาลไม่ให้เลื่อนหาใช่โจทก์ไม่มาตามนัดศาลจึงยกฟ้องไม่ ส่วนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลยกฟ้องโจทก์เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาในคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 196 ซึ่งมิได้บัญญัติให้คู่ความต้องโต้แย้งคำสั่งไว้แต่ประการใดไม่ จำเลยจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นโดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเลิกจ้างย้อนหลังไม่ชอบ การจ่ายค่าจ้างช่วงพักงานยังคงมีผลบังคับใช้
จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลที่โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาเมื่อผลคดีอาญาศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยกลับมาอ้างว่าพฤติการณ์ของโจทก์ส่อไปในทางทุจริตแล้วบอกเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ในระหว่างช่วงเวลาที่จำเลยสั่งให้โจทก์พักงานนั้น โจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ สภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างยังคงมีอยู่ต่อไป การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยก็เนื่องจากคำสั่งของจำเลยเอง และไม่มีระเบียบว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เงินเดือนของโจทก์เป็นค่าจ้างที่คนงานเรียกเอาจากนายจ้าง จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักงานและเลิกจ้างโดยไม่ชอบ คดีอาญาหมดข้อกล่าวหา นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง
จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลที่โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาเมื่อผลคดีอาญาศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยกลับมาอ้างว่าพฤติการณ์ของโจทก์ส่อไปในทางทุจริตแล้วบอกเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ในระหว่างช่วงเวลาที่จำเลยสั่งให้โจทก์พักงานนั้น โจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ สภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างยังคงมีอยู่ต่อไปการที่โจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยก็เนื่องจากคำสั่งของจำเลยเอง และไม่มีระเบียบว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินค่าจ้าง จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์
เงินเดือนของโจทก์เป็นค่าจ้างที่คนงานเรียกเอาจากนายจ้างจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (9)
เงินเดือนของโจทก์เป็นค่าจ้างที่คนงานเรียกเอาจากนายจ้างจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเลิกจ้างย้อนหลังไม่ชอบ และสิทธิค่าจ้างช่วงพักงานยังคงมีอยู่
จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลที่โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาเมื่อผลคดีอาญาศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยกลับมาอ้างเหตุว่าพฤติการณ์ของโจทก์ส่อไปในทางทุจริตแล้วบอกเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลย้อนหลังไปจนถึงวันที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์เช่นนี้ เป็นการขัดกับคำสั่งพักงานเดิม และขัดกับคำพิพากษาในคดีอาญา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ในระหว่างช่วงเวลาที่จำเลยสั่งให้โจทก์พักงานนั้นโจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ สภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างยังคงมีอยู่ต่อไป การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยก็เนื่องมาจากคำสั่งของจำเลยเอง และไม่มีระเบียบว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เงินเดือนของโจทก์เป็นค่าจ้างที่คนงานเรียกเอาจากนายจ้างจึงมีอายุความ 2 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(9).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทยจากหลักฐานภาพถ่าย พยานบุคคล และเอกสารประกอบ
พยานบุคคลของผู้ร้องต่างเบิกความสอดคล้องต้องกันและตรงตามเอกสารโดยเฉพาะภาพถ่ายของผู้ร้องและมารดาถ่ายในขณะผู้ร้องยังเป็นเด็กและตามภาพถ่ายปรากฏชื่อร้านที่ถ่ายเป็นภาษาไทย ณที่ผู้ร้องอยู่จึงทำให้น้ำหนักคำพยานผู้ร้องมีเหตุผลน่าเชื่อถือ แม้ใบรับแจ้งการเกิดและสูติบัตรไม่ระบุชื่อและนามสกุลผู้เกิด แต่ก็ได้ระบุที่เกิด ชื่อบิดากับมารดาผู้เกิดตรงกับพยานหลักฐานอื่น ๆของผู้ร้อง จึงน่าเชื่อว่าผู้ที่เกิดตามใบรับแจ้งการเกิดและสูติบัตรคือตัวผู้ร้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเลิกกันได้เมื่อผู้ซื้อไม่ชำระหนี้ตามกำหนด และจำเลยส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามหนี้ชอบแล้ว
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ในราคา 1,350,000 บาท ชำระเงินมัดจำ 50,000 บาทส่วนที่เหลือแบ่งชำระโดยจะชำระ 800,000 บาทเมื่อโจทก์ได้นำทรัพย์พิพาทเข้าสถาบันการเงินได้และจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ในวันนั้น เงินอีก500,000 บาท ผ่อนชำระเป็นรายเดือน เดือนละ 30,000 บาทนับถัดจากเดือนที่นำทรัพย์พิพาทเข้าสถาบันการเงินได้จนกว่าจะครบ การชำระหนี้ของโจทก์ไม่ได้กำหนดเวลากันไว้ แต่ตามข้อตกลงที่ว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์เข้าปรับปรุงซ่อมแซมตกแต่งทรัพย์พิพาทได้ทันทีหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายย่อมแสดงว่าโจทก์ก็มีหน้าที่ชำระหนี้ในส่วนที่ค้างในทันทีเช่นกันแต่การที่โจทก์ชำระหนี้ดังกล่าวได้นั้น ตามสัญญากำหนดให้โจทก์เป็นผู้ติดต่อขอกู้เงินจากสถาบันการเงินซึ่งจะต้องมีการติดต่อกับบุคคลหลายคนหลายฝ่าย และยังจะต้องใช้เอกสารเป็นหลักฐานมิใช่น้อย จึงควรให้เวลาพอสมควร แต่โจทก์เพิ่งจะไปติดต่อขอกู้เงินจากธนาคาร เมื่อเวลาผ่านพ้นไปถึง 4 เดือนเศษหากโจทก์ขวนขวายเพื่อจะชำระหนี้ให้จำเลยอย่างจริงจังโจทก์ก็ น่าจะดำเนินการเสียแต่โดยเร็ว หรืออย่างช้าก็ในช่วงที่โจทก์เข้าไปปรับปรุงซ่อมแซมตกแต่งทรัพย์พิพาทเพื่อให้จำเลยเห็นว่าโจทก์อยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ให้จำเลยได้ แต่โจทก์ก็หาได้กระทำไม่ กลับได้ความว่ามีเจ้าหนี้ของโจทก์ที่ซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อไปซ่อมแซมตกแต่งบ้านพิพาทไปทวงหนี้ให้จำเลยชำระหลายราย ดังนั้นเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์พิพาทมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ในส่วนที่ค้างอยู่ และกรณีมีเหตุอันสมควรที่จะทำให้จำเลยเชื่อว่าโจทก์อยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ไม่ได้จำเลยจึงมีสิทธิบอกกล่าวให้ชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ทนายจำเลยได้มีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้โดยส่งหนังสือดังกล่าวไปทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และในวันรุ่งขึ้นได้ส่งถึงผู้รับแล้ว ซึ่งผู้รับไปรษณีย์ภัณฑ์ลงทะเบียนหาได้จำกัดเฉพาะผู้มีชื่อผู้รับจะต้องเป็นผู้รับด้วยตนเองเสมอไปไม่ แม้บุคคลอื่นซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดียวกันและมีอายุเกินกว่า 7 ปี ก็รับแทนกันได้ ดังนั้นเมื่อมีบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดียวกัน และมีอายุกว่า 7 ปีเป็นผู้รับแทนไว้ ก็ต้องถือว่าจำเลยได้ส่งคำบอกกล่าวทวงถามและเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว จำเลยได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว โจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าซื้อที่ชำระให้จำเลยไปบางส่วนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลิกจ้าง นายจ้างต้องใช้ดุลพินิจ เหตุผลต้องสมเหตุสมผล แม้ข้อกล่าวหาไม่เป็นจริง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยกล่าวอ้างว่า โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่นำใบเสร็จไปเรียกเก็บเงินแล้วเบียดบังเอาเงินนั้นเป็นประโยชน์ส่วนตัว มิได้อ้างเหตุความไม่ไว้วางใจเป็นเหตุเลิกจ้าง แม้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์กระทำผิดตามที่จำเลยกล่าวอ้าง แต่สิทธิเลิกจ้างโดยทั่วไปย่อมเป็นสิทธิของนายจ้างหรือสิทธิในทางจัดการ โดยต้องเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมและมีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าโจทก์ทำตัวไม่น่าไว้วางใจ การที่ศาล-แรงงานกลางอ้างเหตุดังกล่าวมาวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำตัวไม่น่าไว้วางใจ และมีเหตุสมควรที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ เป็นการวินิจฉัยเพื่อความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น