พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลิกจ้างนายจ้าง ต้องเป็นธรรมหรือมีเหตุสมควร ศาลวินิจฉัยได้หากพิจารณาจากพฤติการณ์เพื่อความเป็นธรรม
สิทธิเลิกจ้างโดยทั่วไปย่อมเป็นสิทธิของนายจ้างและอยู่ในบังคับของมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ คือต้องเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือมีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างเหตุว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นความผิดร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47หากโจทก์กระทำผิดดังกล่าวจริง จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า โจทก์ทุจริตต่อหน้าทีจึงต้องพิจารณาต่อไปว่า มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่ ที่ศาลแรงงานพิพากษาให้เลิกจ้างโจทก์ เพราะการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์มีพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยไม่ไว้วางใจ จึงเป็นการวินิจฉัยคดีโดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อความเป็นธรรมแก่ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างตามมาตรา 48 ซึ่งมีอำนาจวินิจฉัยได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผ่านที่ดินของผู้อยู่ในที่ล้อมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 แม้มีการตกลงยกเลิกสิทธิทางวาจาก็ไม่ผูกพัน
ที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่แบ่งซื้อมาจากจำเลยทั้งสองไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ถ้าโจทก์จะออกสู่ทางสาธารณะจะต้องอาศัยทางในที่ดินของบุคคลอื่นและไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิใช้ทางดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินของโจทก์ทั้งสองอยู่ในที่ล้อมจึงมีสิทธิผ่านที่ดินแปลงเดิมของจำเลยทั้งสองที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนออกไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 และเมื่อเป็นทางจำเป็นโดยผลของกฎหมายดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงไม่จำต้องไปจดทะเบียน โจทก์ทั้งสองมีสิทธิผ่านที่ดินแปลงเดิมของจำเลยทั้งสองที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนออกไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 การที่โจทก์ทั้งสองตกลงด้วยวาจากับจำเลยทั้งสองยกเลิกสัญญาที่จำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์ทั้งสองใช้ทางผ่าน เป็นการตกลงยกเลิกข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1338 วรรคสอง จึงไม่มีผลผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง สิทธิของโจทก์ทั้งสองที่จะใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายคือมีสิทธิเดินผ่านในที่ดินของจำเลยทั้งสองได้ตลอดเวลา เมื่อใดจำเลยทั้งสองปิดทางเดินจนโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสองย่อมจะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองเปิดทางได้ ไม่มีอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของผู้อื่น แม้มีสัญญายกเลิกทาง แต่ไม่จดทะเบียนเป็นหนังสือ สัญญาไม่มีผลผูกพัน
เดิมที่ดินของโจทก์ เป็นที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ซึ่งมีจำเลยเป็นเจ้าของ อยู่ติดถนนสาธารณะ ต่อมาโจทก์ได้ซื้อที่ดินดังกล่าวบางส่วนเนื้อที่ 3 งาน ซึ่งอยู่ด้านหลังก่อนแบ่งแยกหรือแบ่งโอนจำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะเปิดทางเดินกว้าง 2.5 เมตร ให้โจทก์ทั้งสองเดินออกสู่ทางสาธารณะได้แต่ต่อมาจำเลยได้ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ปิดกั้นด้านหน้าทำให้โจทก์ไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ หากจะออกสู่ทางสาธารณะด้านหลังจะต้องอาศัยทางในที่ดินของผู้อื่น และโจทก์ไม่มีสิทธิใช้ทางดังกล่าวได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินของโจทก์อยู่ในที่ล้อมจึงมีสิทธิผ่านที่ดินของจำเลยที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนไปสู่ทางสาธารณะได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 การยกเลิกสัญญาที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางผ่านดังกล่าวเป็นข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำนิติกรรมเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1338 วรรคสอง เพียงแต่ตกลงยกเลิกข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วยปากเปล่าจึงไม่มีผลผูกพัน และเมื่อเป็นทางจำเป็นโดยผลของกฎหมายจึงไม่จำต้องไปจดทะเบียน โจทก์มีสิทธิเดินผ่านที่ดินของจำเลยได้เมื่อจำเลยปิดทางเดินทำให้โจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้เปิดทางได้โดยไม่มีอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของผู้อื่น แม้มีข้อตกลงยกเลิก แต่ต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนจึงมีผลผูกพัน สิทธิเดินผ่านไม่มีอายุความ
เดิมที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 402 เป็นของจำเลย ต่อมาโจทก์ ได้ซื้อที่ดินดังกล่าวบางส่วนเนื้อที่ 3 งาน ซึ่งอยู่ด้านหลังก่อนแย่งแยกหรือแบ่งโอน จำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะ เปิดทางเดินกว้าง 2.5 เมตร ให้โจทก์เดินออกสู่ทางสาธารณะแต่ต่อมาจำเลยล้อมรั้วปิดกั้นในที่ดินของจำเลยทำให้โจทก์ไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินของโจทก์ที่แบ่งแยกจากที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 402 อยู่ในที่ล้อม จึงมีสิทธิผ่าน ที่ดินของจำเลยที่แบ่งแยกที่แบ่งหรือแบ่งโอนไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 การยกเลิกสัญญาที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางผ่านกว้าง 2.5 เมตร เป็นข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องทำนิติกรรมเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1338 วรรคสองเพียงแต่ตกลงยกเลิกกันด้วยปากเปล่า ไม่มีผลผูกพัน ทางจำเลยโดยผลของกฎหมายไม่จำต้องไปจดทะเบียน สิทธิของโจทก์ที่จะเดินผ่านในที่ดินของจำเลยเกิดขึ้นโดย ผลของกฎหมาย โจทก์ย่อมจะฟ้องให้จำเลยเปิดทางได้โดยไม่มีอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินไม่มีทางออกสู่สาธารณะ การยกเลิกสิทธิทางผ่านต้องทำเป็นหนังสือ
เดิมที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 402 เป็นของจำเลย ต่อมาโจทก์ได้ซื้อที่ดินดังกล่าวบางส่วนเนื้อที่ 3 งาน ซึ่งอยู่ด้านหลัง ก่อนแบ่งแยกหรือแบ่งโอน จำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะเปิดทางเดินกว้าง 2.5 เมตร ให้โจทก์เดินออกสู่ทางสาธารณะ แต่ต่อมาจำเลยล้อมรั้วปิดกั้นในที่ดินของจำเลยทำให้โจทก์ไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินของโจทก์ที่แบ่งแยกจากที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 402 อยู่ในที่ล้อม จึงมีสิทธิผ่านที่ดินของจำเลยที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนไปสู่ทางสาธารณะได้ตามป.พ.พ. มาตรา 1350
การยกเลิกสัญญาที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางผ่านกว้าง2.5 เมตร เป็นข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำนิติกรรมเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1338 วรรคสอง เพียงแต่ตกลงยกเลิกกันด้วยปากเปล่า ไม่มีผลผูกพัน
ทางจำเป็นโดยผลของกฎหมายไม่จำต้องไปจดทะเบียน
สิทธิของโจทก์ที่จะเดินผ่านในที่ดินของจำเลยเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย โจทก์ย่อมจะฟ้องให้จำเลยเปิดทางได้โดยไม่มีอายุความ
การยกเลิกสัญญาที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางผ่านกว้าง2.5 เมตร เป็นข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำนิติกรรมเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1338 วรรคสอง เพียงแต่ตกลงยกเลิกกันด้วยปากเปล่า ไม่มีผลผูกพัน
ทางจำเป็นโดยผลของกฎหมายไม่จำต้องไปจดทะเบียน
สิทธิของโจทก์ที่จะเดินผ่านในที่ดินของจำเลยเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย โจทก์ย่อมจะฟ้องให้จำเลยเปิดทางได้โดยไม่มีอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4174/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันหนี้ที่จำกัดวงเงินและความรับผิดตามสัญญาอุปกรณ์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เคยตกลงผูกพันตามสัญญาโอนขายลดเช็คฉบับเดิม ในการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาขายลดเช็คที่ได้กระทำขึ้นใหม่ภายหลัง เมื่อสัญญาค้ำประกันระบุให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในหนี้สินที่มีอยู่แล้ว และที่จะเกิดขึ้นในภายหลังผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คที่คู่สัญญาได้กระทำขึ้นต่อมาอีกภายหลัง แต่ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนเงินที่ต้องรับผิดตามสัญญาโอนขายลดเช็คที่สัญญาค้ำประกันได้ทำขึ้นเป็นสัญญาอุปกรณ์อยู่เดิม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4137/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่สิ้นสุดลงเมื่อไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชี
ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม2519 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้าย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้เบิกเงินออกจากบัญชีเลย และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก คงมีแต่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นลงไว้ในบัญชีเท่านั้น จึงไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชี พฤติการณ์ของคู่กรณีที่ปฏิบัติต่อกันแสดงให้เห็นเจตนาได้ว่า ทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม2519 ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้นับแต่วันถัดจากวันดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2529เกินกำหนด 10 ปี ฟ้องโจทก์สำหรับต้นเงินซึ่งคำนวณถึงวันที่1 สิงหาคม 2519 จึงขาดอายุความ ส่วนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวหลังจากวันที่ 1 สิงหาคม 2519 ซึ่งเป็นหนี้ส่วนที่เป็นอุปกรณ์อันต้องอาศัยต้นเงินส่วนที่เป็นประธานซึ่งขาดอายุความ ย่อมขาดอายุความตามกันไปด้วยทั้งหมดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 190 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4137/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด – อายุความ – หนี้อุปกรณ์
ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2519ซึ่งเป็นวันครบกำหนดการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้าย จำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่ได้เบิกเงินออกจากบัญชีเลย และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ให้จำเลยที่ 1และที่ 2 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก คงมีแต่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นลงไว้ในบัญชีเท่านั้น จึงไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชี พฤติการณ์ของคู่กรณีที่ปฏิบัติต่อกันแสดงให้เห็นเจตนาได้ว่า ทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2519 ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้นับแต่วันถัดจากวันดังกล่าวเป็นต้นไป
โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2529 เกินกำหนด10 ปี ฟ้องโจทก์สำหรับต้นเงินซึ่งคำนวณถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2519 จึงขาดอายุความ ส่วนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวหลังจากวันที่ 1 สิงหาคม 2519 ซึ่งเป็นหนี้ส่วนที่เป็นอุปกรณ์อันต้องอาศัยต้นเงินส่วนที่เป็นประธานซึ่งขาดอายุความ ย่อมขาดอายุความตามกันไปด้วยทั้งหมดตาม ป.พ.พ.มาตรา 190 เดิม
โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2529 เกินกำหนด10 ปี ฟ้องโจทก์สำหรับต้นเงินซึ่งคำนวณถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2519 จึงขาดอายุความ ส่วนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวหลังจากวันที่ 1 สิงหาคม 2519 ซึ่งเป็นหนี้ส่วนที่เป็นอุปกรณ์อันต้องอาศัยต้นเงินส่วนที่เป็นประธานซึ่งขาดอายุความ ย่อมขาดอายุความตามกันไปด้วยทั้งหมดตาม ป.พ.พ.มาตรา 190 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: การคัดค้านการขายทอดตลาดต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนอุทธรณ์ฎีกา
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กำหนดเงื่อนไขในการขายทอดตลาดไว้ว่าจะต้องขออนุญาตศาลก่อนเคาะไม้หรือตกลงขายก็ตาม แต่แท้จริงผู้ทำการขายทอดตลาดแสดงการตกลงขายก็คือเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 282 หาใช่ศาลไม่ ดังนั้น หากจำเลยเห็นว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบจะอุทธรณ์คำสั่งทันทีไม่ได้ แต่จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลงแต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบการฝ่าฝืนนั้น ตามมาตรา 27และมาตรา 296 วรรคสอง เมื่อจำเลยมิได้ดำเนินการดังกล่าว จึงไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3904/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้อง, ประเด็นพิพาท, การสละข้อหา, อำนาจไกล่เกลี่ย, และการไม่จำเป็นต้องแก้ไขคำให้การ
โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องภายหลังยื่นคำฟ้อง ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาต ในวันนัดพิจารณา ศาลแรงงานมีอำนาจไกล่เกลี่ยคู่ความให้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกัน และโจทก์แถลงสละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมดังกล่าวในวันนี้ได้การที่ศาลแรงงานกำหนดประเด็นพิพาทแห่งคดีและมีคำสั่งให้โจทก์นำพยานเข้าสืบในวันเดียวกัน จึงชอบด้วยวิธีพิจารณาความแล้ว
เมื่อโจทก์ได้สละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมไปแล้ว จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในประเด็นดังกล่าวเข้ามาอีก เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี
เมื่อโจทก์ได้สละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมไปแล้ว จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในประเด็นดังกล่าวเข้ามาอีก เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี