พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการก่อสร้างรบกวนการอยู่อาศัย แม้ไม่ถึงขั้นอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจ แต่ยังต้องชดใช้
จำเลยตอกเสาเข็มปลูกสร้างอาคารโรงแรม 16 ชั้น ทำให้โจทก์ทนทุกขเวทนาแสนสาหัส นอนไม่หลับเพราะหนวกหู ฝุ่นละอองจากการก่อสร้างทำให้บ้านเรือนสกปรกบ้านสั่นสะเทือน หินและไม้ตกลงบนหลังคาบ้านโจทก์อันอาจจะเกิดอันตรายต่อโจทก์และบริวารได้ไม่ปรากฏว่าความทนทุกข์ทรมานสาหัสดังกล่าวเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจของโจทก์ แต่เป็นเรื่องเสียหายต่ออนามัยและสิทธิจะอยู่อย่างสงบไม่ถูกรบกวนเพราะความทรมานนอนไม่หลับอันเนื่องจากฝุ่นละอองเสียงจากการก่อสร้างอันได้แก่การตอกเสาเข็ม และความหวาดระแวงอันเกิดจากสิ่งของตกหล่น ลงมาบนหลังคาอันอาจเกิดอันตรายแก่อาคารและผู้อยู่อาศัยในบ้าน รวมทั้งการอัดตัวของดินทำให้บ้านเรือนโจทก์เสียหายอันอาจเป็นอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัยเหตุการณ์เช่นนี้เกิดอยู่ตลอดเวลาประมาณ 2 เดือน ทำให้โจทก์เสียหายแก่อนามัยรวมทั้งสิทธิส่วนตัวที่จะมีความเป็นอยู่อย่างสงบสุขทั้งร่างกายและจิตใจ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถเช่าซื้อไม่ต้องรับผิดชอบการกระทำผิดของผู้เช่า หากไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจ
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ไม่ได้ความว่ากรรมการของผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่เกิดเหตุ หรือมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกของกลางของผู้ร้องไป ผู้ร้องย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยจะเอารถยนต์บรรทุกของกลางไปกระทำผิดเมื่อใดแม้จำเลยจะผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อหลายงวด และผู้ร้องไม่บอกเลิกสัญญาก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3286/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการเอาทรัพย์ผู้อื่นไปเพื่อหักหนี้ ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หากราคาทรัพย์ไม่เกินจำนวนหนี้
จำเลยเอาสร้อยคอทองคำและพระเลี่ยมทองคำรวมราคา 30,000 บาทของผู้เสียหายไปเพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้เสียหายได้ร่วมประเวณีกับจำเลย เพราะเหตุที่ผู้เสียหายไม่ยอมชำระเงินจำนวน 5,000 บาทตามที่ได้ตกลงกันไว้ เป็นการเอาไปเพื่อหักใช้หนี้กันและทรัพย์ที่เอาไปนั้น จำเลยก็เข้าใจว่ามีราคาไม่เกินกว่าจำนวนหนี้ที่เป็นหนี้จำเลยอยู่ จำเลยเอาทรัพย์ไปเพราะจำเลยเชื่อว่าเป็นประโยชน์ที่จำเลยควรได้ จึงเป็นการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยไม่มีเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี: อำนาจผู้รับมอบ, ไม่จำกัดชื่อจำเลย/ข้อหา, อายุความละเมิด (ยักยอกทรัพย์)
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ ระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ว.ส., ป., ก. คนใดคนหนึ่งในสี่คนเป็นผู้แทนของโจทก์และให้มีอำนาจกระทำการแจ้งความดำเนินคดี แต่งตั้งทนายความ ฟ้องต่อสู้และดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจการสหกรณ์โจทก์ ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบุคคลใดในข้อหาใดที่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ได้โดยไม่จำเป็นต้องระบุชื่อบุคคลและข้อหาที่จะฟ้องในหนังสือมอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 1ผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ผู้จำนองและผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความละเมิดตามมาตรา 448
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาลงลายมือชื่อเป็นผู้ค้ำประกัน แม้ศาลจำหน่ายคดีลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันยังมีความรับผิด
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 ลงชื่อไว้สองแห่งคือในช่องหน้าคำว่า พยาน และหน้าคำว่าผู้ค้ำประกัน แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาลงชื่อทั้งในฐานะเป็นพยานและในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยแสดงฐานะด้วยคำว่าผู้ค้ำประกันต่อจากลายมือชื่อจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 การที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากการชำระหนี้ที่มีต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้: แม้จำหน่ายคดีลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดหากหนี้ยังไม่ระงับสิ้น
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีจำเลยที่ 1 แล้ว เนื่องจากโจทก์ไม่ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การแต่เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 1 ยังไม่ระงับสิ้นไป กรณีดังกล่าวก็มิได้ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากการชำระหนี้ที่มีต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยมิชอบ และการจ่ายค่าชดเชยที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่า จำเลยออกคำสั่งที่ 6/2525ยกเลิกคำสั่งที่ 63/2517 โดยโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วย จำเลยอุทธรณ์ว่า ตามพฤติกรรมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้ความยินยอมด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวแล้ว เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาลแรงงานกลางเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 จำเลยออกคำสั่งที่ 6/2525 ยกเลิกคำสั่งที่ 63/2517 โดยมิได้ยื่นข้อเรียกร้องและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่แก้ไขใหม่ ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ จึงเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20คำสั่งที่ 6/2525 ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ ต้องบังคับตามคำสั่งที่ 63/2517.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสภาพการจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิ และเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
เมื่อนายจ้างได้ออกคำสั่งอันถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและได้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างแล้ว นายจ้างจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือออกคำสั่งใหม่อันจะมีผลให้ลูกจ้างต้องเสียประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหาได้ไม่ และเมื่อนายจ้างออกคำสั่งทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายนอกเหนือจากที่จะได้รับบำเหน็จตามคำสั่งเดิมโดยมิได้ยื่นข้อเรียกร้องและไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ จึงเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 20
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าธรรมเนียมใบอนุญาต: เจ้าพนักงานมีอำนาจออกใบอนุญาตและเรียกเก็บค่าธรรมเนียมได้โดยไม่ต้องมีการแต่งตั้งเพิ่มเติม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(15) ที่บัญญัติถึงบุคคลที่ทางราชการได้ตั้งแต่งหรืออนุญาตให้จัดกิจการเฉพาะบางอย่างเรียกเอาค่าธรรมเนียมเพียงที่มิใช่เป็นเงินอันอยู่ในประเภทจะต้องส่งเข้าท้องพระคลัง มีอายุความสองปี นั้น หมายถึง จะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้จัดกิจการนั้น ๆ และเป็นกิจการที่จะต้องมีการออกใบอนุญาตจึงจะสามารถกระทำได้ กฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2507) ข้อ 4(1) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 กำหนดให้ โจทก์ซึ่งดำรงตำแหน่งสารวัตรเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ออกใบอนุญาตเล่นการพนันไพ่ผ่องจีน และรับค่าธรรมเนียมที่จะส่งเข้าเป็นรายได้ให้รัฐและเทศบาล แสดงว่าโจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานได้รับแต่งตั้งหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการให้มีอำนาจและหน้าที่ออกใบอนุญาตเล่นการพนันไพ่ผ่องจีนและรับค่าธรรมเนียมได้โดยไม่จำต้องให้ทางราชการแต่งตั้งโจทก์ให้มีหน้าที่จัดเก็บค่าธรรมเนียมอีกชั้นหนึ่งการเรียกเอาค่าธรรมเนียมเพิ่มเพื่อเทศบาลในการออกใบอนุญาตเล่นการพนันจึงมีอายุความสองปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผู้รับประกันภัยค้ำจุน: นับจากวันเกิดวินาศภัย ตาม พ.ร.บ.แพ่งฯ มาตรา 882 ไม่ใช่อายุความละเมิด
จำเลยร่วมที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยที่ 1ที่ให้จำเลยร่วมที่ 1 เช่าซื้อไป และลูกจ้างได้ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปชนรถยนต์ของโจทก์ การฟ้องให้จำเลยร่วมที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 วรรคสอง มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคแรกจึงนำอายุความในมูลละเมิดตามมาตรา 448 มาใช้ไม่ได้เมื่อเกิดเหตุรถยนต์ชนกันวันที่ 28 ตุลาคม 2524 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมแล้ว จำเลยร่วมที่ 1ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2526 ถือได้ว่าเป็นการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องให้จำเลยร่วมที่ 2 ใช้ค่าทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) และอยู่ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัย คดีของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยร่วมที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ