พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผู้รับประกันภัยค้ำจุน: 2 ปีนับจากวันเกิดวินาศภัย ไม่ใช่อายุความละเมิด
การฟ้องให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคแรก หาใช่นำอายุความในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มาใช้ไม่ การยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้รับประกันภัยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมถือได้ว่าเป็นการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยใช้ค่าทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 และป.วิ.พ. มาตรา 57(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาที่ศาลอุทธรณ์ผิดขั้นตอน โดยวินิจฉัยข้อหาที่ยุติแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
การที่จำเลยช่วยจำหน่ายหรือช่วยพาเอาไปเสียซึ่งโคของผู้เสียหายอันเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ กรณีจะเป็นความผิดก็เข้าลักษณะฐานรับของโจร แม้จำเลยร่วมกับผู้อื่นยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ก็ไม่แสดงว่าจำเลยเป็นคนร้ายลักโคของผู้เสียหายไป โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานลักทรัพย์ ถือว่ายกฟ้องข้อหาฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาฐานรับของโจรย่อมยุติ จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องฐานลักทรัพย์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์แต่มีความผิดฐานรับของโจร และพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานรับของโจรจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จำเลยทั้งสองมีสิทธิฎีกาขอให้ยกฟ้องฐานรับของโจรได้ และศาลฎีกาไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ เพราะศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาลักทรัพย์แล้ว ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในข้อหาฐานรับของโจร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจร ศาลฎีกายกฟ้องข้อหาที่ยุติแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานลักทรัพย์ จึงถือได้ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ข้อหาฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ต้องถือว่าข้อหาความผิดฐานรับของโจรได้ยุติไปแล้วจำเลยอุทธรณ์ขอให้พิพากษายกฟ้องข้อหาฐานลักทรัพย์ ประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะวินิจฉัยก็คือ จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์จึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานรับของโจร และพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานรับของโจรซึ่งยุติไปแล้วนั้น จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จำเลยทั้งสองมีสิทธิฎีกาขอให้ยกฟ้องในข้อหาฐานรับของโจรได้ และศาลฎีกาไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาใหม่ เพราะศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ยกฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาฐานลักทรัพย์แล้ว ศาลฎีกาจึงพิพากษายกฟ้องในข้อหาฐานรับของโจรเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายกฟ้องฐานรับของโจร แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ เนื่องจากข้อหาดังกล่าวสิ้นสุดแล้วหลังศาลชั้นต้นพิพากษาเฉพาะความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ข้อหาฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ต้องถือว่าข้อหาความผิดฐานรับของโจรได้ยุติไปแล้ว จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องข้อหาฐานลักทรัพย์ ประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะวินิจฉัยคือ จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์จึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีความผิดฐานรับของโจร และลงโทษจำเลยฐานรับของโจรซึ่งยุติไปแล้วนั้นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จำเลยมีสิทธิฎีกา ขอให้ยกฟ้องข้อหาฐานรับของโจรได้ และศาลฎีกาไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาใหม่ เพราะศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ยกฟ้องจำเลยในข้อหาฐานลักทรัพย์แล้ว ศาลฎีกาจึงพิพากษายกฟ้องในข้อหาฐานรับของโจรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาจากสาเหตุของนายจ้างและลูกจ้าง คำฟ้องต้องชัดเจน
โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องถึงสาเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ประการแรกว่า โดย โจทก์ทั้งสี่ไม่มีความผิด และสาเหตุประการที่สองว่าเป็นนโยบายของจำเลย และไม่แจ้งเหตุผลให้โจทก์ทั้งสี่ทราบและโจทก์ทั้งสี่ยังได้บรรยายฟ้องต่อไปอีกว่า การเลิกจ้างดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหาย เป็นฟ้องที่บรรยายโดย แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เคลือบคลุม การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจักต้องพิเคราะห์ว่า มีสาเหตุเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่เป็นประการสำคัญ ซึ่งพิจารณาได้จาก2 ฝ่าย คือ สาเหตุจากลูกจ้างฝ่ายหนึ่ง และสาเหตุจากนายจ้างอีกฝ่ายหนึ่ง การที่ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยไว้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่โดย มิใช่สาเหตุเพราะโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกจ้างมีความผิด และมิใช่สาเหตุเนื่องจากเกิดวิกฤติ ในทางการค้าของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างนั้น เป็นคำวินิจฉัยที่ได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้ชัดแจ้งชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ชำระราคาทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามสัญญา แม้มีการอุทธรณ์
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 515 ผู้ซื้อทรัพย์ในการขายทอดตลาดมีหน้าที่ที่จะต้องใช้ราคาเมื่อมีการตกลงซื้อขาย หรือตามเวลาที่กำหนดไว้ในคำโฆษณาการบอกขายหรือตามสัญญาที่ตกลงกันไว้เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กำหนดเงื่อนไขในการขายไว้ด้านหลังประกาศขายทอดตลาดว่า เมื่อตกลงรับซื้อแล้วให้ผู้ซื้อวางเงินไว้ก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาซื้อและทำสัญญาใช้เงินที่ค้างชำระภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน และตามหนังสือสัญญาซึ่งผู้ซื้อทรัพย์ได้ทำไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลังที่ซื้อทรัพย์ได้แล้วก็ระบุว่า เงินส่วนที่เหลือจะนำมาชำระต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ทำหนังสือสัญญานี้เป็นต้นไป ผู้ซื้อทรัพย์จึงต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว แม้จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คัดค้านขอให้ทำการทอดตลาดใหม่ก็ตาม ผู้ซื้อทรัพย์ก็ต้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระตามกำหนด จะนำมาชำระภายหลังจากที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การที่ไม่ชัดเจนและอำนาจฟ้องคดี: หนังสือมอบอำนาจไม่จำต้องระบุชื่อจำเลย
คำให้การจำเลยระบุเพียงว่า ไม่ทราบและไม่รับรอง ไม่ได้ความแจ้งชัดว่าปฏิเสธฟ้องโจทก์จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งและไม่ทำให้เกิดประเด็น การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่จำต้องระบุชื่อผู้ถูกฟ้องในหนังสือมอบอำนาจเพราะไม่มีกฎหมายบังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การไม่ชัดเจน ศาลถือว่ารับข้อเท็จจริงตามฟ้อง และหนังสือมอบอำนาจครอบคลุมการฟ้องคดีกับผู้โต้แย้งสิทธิ
คำให้การของจำเลยที่มีข้อความเพียงว่า จ. ได้มอบอำนาจให้อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยหรือไม่ จำเลยไม่ทราบและไม่รับรองเนื่องจากหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องทำไว้นานแล้ว ในช่องผู้ลงชื่อมอบอำนาจจะใช่ลายมือชื่อ จ. ที่แท้จริงหรือไม่ และปัจจุบัน จ. ยังคงเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทโจทก์หรือไม่จำเลยไม่ทราบ และไม่ขอรับรอง เนื่องจากหนังสือรับรองเอกสารท้ายฟ้องเจ้าหน้าที่รับรองไว้นานแล้ว เป็นคำให้การที่ไม่ได้ความแจ้งชัดว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ทำให้เกิดประเด็น ถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงในข้อนั้นตามฟ้องแล้ว หนังสือมอบอำนาจของโจทก์มีข้อความระบุว่า เรียกร้องทวงถามให้ชำระหนี้ แจ้งการบังคับจำนองหรือจำนำ ดำเนินคดีฟ้องร้องแก้ต่างทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา เป็นการมอบอำนาจที่ผู้รับมอบอำนาจสามารถดำเนินการฟ้องร้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ได้ เมื่อจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องจำเลยแทนโจทก์ได้ตามที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจโดย ไม่จำต้องระบุชื่อผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2054/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: การยื่นคำขอให้ศาลยกกระบวนการบังคับคดีเป็นวิธีที่ถูกต้อง แทนการอุทธรณ์คำสั่งศาล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดแก่ผู้ที่ประมูลราคาสูงสุด จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งหาได้ไม่ หากจำเลยเห็นว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยชอบที่จะยื่นคำขอให้ศาลยกกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงหรือวิธีการบังคับใด ๆ โดยเฉพาะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2054/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: จำเลยต้องยื่นคำคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนอุทธรณ์ หากเห็นว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แก่ผู้ซื้อเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2530 ก่อนการเคาะไม้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานต่อศาลชั้นต้นเพื่อมีคำสั่งว่าจะอนุญาตให้ขายหรือไม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขายได้เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเคาะไม้ขายไป ต่อมาวันที่ 18 พฤศจิกายน2530 จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขายทรัพย์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งงดการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวและประกาศขายทอดตลาดใหม่ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานต่อศาลขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ขายทอดตลาดนั้นเป็นวิธีการขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าการขายทรัพย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ต้องยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลงแต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้น ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงหรือวิธีการบังคับใด ๆโดยเฉพาะเพื่อให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเสียก่อนตามมาตรา296 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่จำเลยที่ 1มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว กลับยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้วไม่ได้.