พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการจ้างและอายุงานต่อเนื่องเมื่อมีการโอนลูกจ้างจากธนาคารอาคารสงเคราะห์มายังการเคหะแห่งชาติ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 5 กำหนดให้โอนทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และความรับผิดชอบของธนาคารอาคารสงเคราะห์เฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจตามมาตรา 27(1) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 ให้แก่การเคหะแห่งชาติจำเลยและในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน สิทธิ อาคาร และหนี้นั้น ให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์และจำเลยทำความตกลงกัน ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้คณะรัฐมนตรีชี้ขาดและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 577 วรรคแรกนายจ้างจะโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้เมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย การโอนสิทธิการจ้างเช่นนี้ฐานะความเป็นลูกจ้างของลูกจ้างย่อมไม่สิ้นสุดลง เมื่อโจทก์มาทำงานกับจำเลยก็เพราะผลของการโอนตามประกาศของคณะปฏิวัติมิใช่โจทก์มาสมัครเข้าทำงานกับจำเลยใหม่ ฐานะความเป็นลูกจ้างของโจทก์ย่อมไม่สิ้นสุดลง และตามข้อ 5 ของประกาศคณะปฏิวัติระบุชัดว่า ให้โอนความรับผิดชอบของธนาคารอาคารสงเคราะห์มายังจำเลยด้วย ดังนั้น เมื่อมิได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น การนับอายุการทำงานของโจทก์จึงต้องนับต่อเนื่องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดระเบียบบริษัท แม้ไม่มีข้อบังคับห้ามชัดแจ้ง ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายและศีลธรรม
โจทก์ด่าว่า ส.ซึ่งเป็นยามขณะที่ส. ปฏิบัติการตามหน้าที่ย่อมถือว่าโจทก์ได้กระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิลงโทษโจทก์โดยตักเตือนเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์ได้ด่าว่า ส. อีก จึงถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดซ้ำคำเตือนจำเลยยังมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและกระทำผิดซ้ำ
โจทก์ด่าว่า ส.ซึ่งเป็นยามขณะที่ ส.ปฏิบัติการตามหน้าที่ย่อมถือว่าโจทก์ได้กระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิลงโทษโจทก์โดยตักเตือนเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์ได้ด่าว่า ส.อีก จึงถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยยึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ลูกจ้าง, การด่าว่าผู้อื่นขณะปฏิบัติงาน, การเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรมอันดีในขณะปฏิบัติหน้าที่แม้นายจ้างไม่มีคำสั่ง ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานห้ามไว้ ถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีดังกล่าว ต้องถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ฉะนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยด่าว่า ส.ซึ่งเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยโรงงานของจำเลยขณะที่ ส.ปฏิบัติหน้าที่ย่อมถือว่าโจทก์ได้กระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว จำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์โดยตักเตือนเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์ได้ด่าว่า ส. อีก จึงถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายและศีลธรรม แม้นายจ้างไม่ได้สั่ง การด่าทอถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบและเป็นเหตุเลิกจ้างได้
ลูกจ้างมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีในขณะปฏิบัติหน้าที่ แม้นายจ้างไม่มีคำสั่งข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานห้ามไว้ ถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ก็ต้องถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานแล้ว โจทก์ด่าว่าส.ซึ่งเป็นยามขณะที่ส. ปฏิบัติการตามหน้าที่เป็นการกระทำผิดอาญาฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าย่อม ถือว่าโจทก์ได้กระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการ ทำงานแล้ว แม้จะไม่มีคำสั่ง ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานห้ามไว้ จำเลยจึงมีสิทธิลงโทษโจทก์โดยตักเตือนเป็น หนังสือ เมื่อโจทก์ได้ด่าว่าส. อีกจึงถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้อง จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครอง แรงงานข้อ 47(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: ศาลไม่จำเป็นต้องกำหนดราคาขั้นต่ำและไม่เลื่อนไต่สวนเพราะจำเลยร่วมถูกพิทักษ์ทรัพย์
ทรัพย์ที่ถูกยึดได้รับความเสียหายเพราะการกระทำของโจทก์จำเลยจะขอให้รอการขายทอดตลาด เพื่อให้ศาลไต่สวนความเสียหายนั้นก่อนไม่ได้ เพราะไม่ใช่เหตุตามกฎหมายที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะงดการบังคับคดีไว้ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องดำเนินการขายทอดตลาดให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308,309ศาลจึงไม่จำต้องกำหนดราคาขายขั้นต่ำของทรัพย์ที่ขายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: ความเสียหายทรัพย์สินไม่ใช่เหตุงดบังคับคดี, ศาลไม่จำเป็นต้องกำหนดราคาขายขั้นต่ำ
การที่ทรัพย์ที่ถูกยึดเสียหายและอยู่ระหว่างไต่สวนความเสียหายนั้น ไม่ใช่เหตุตามกฎหมายที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะงดการบังคับคดีโดยงดการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวได้ ทั้งไม่ใช่เหตุสมควรที่ศาลจะสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องดำเนินการไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308,309 อยู่แล้วไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องไปกำหนดราคาขายขั้นต่ำไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: ความเสียหายทรัพย์สินไม่ใช่เหตุงดขายทอดตลาด ศาลไม่จำเป็นต้องกำหนดราคาขั้นต่ำ
การที่ทรัพย์ที่ถูกยึดเสียหายและอยู่ระหว่างไต่สวนความเสียหายนั้นไม่ใช่เหตุตามกฎหมายที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะงดการบังคับคดี โดยงดการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวได้ ทั้งไม่ใช่เหตุสมควรที่ศาลจะสั่งให้งดการบังคับคดีไว้
ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เจ้า•พนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องดำเนินการไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 308, 309 อยู่แล้วไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องไปกำหนดราคาขายขั้นต่ำไว้
ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เจ้า•พนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องดำเนินการไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 308, 309 อยู่แล้วไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องไปกำหนดราคาขายขั้นต่ำไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ต่างประเทศ: การแจ้งเป็นหนังสือตามอนุสัญญากรุงเบอร์ลิน และผลต่อการคุ้มครองลิขสิทธิ์ฮ่องกงในไทย
ประเทศภาคีแห่งอนุสัญญากรรมสารกรุงเบอร์ลิน ค.ศ. 1908และภาคีโปรโตคลเพิ่มเติม กรุงเบอร์น ค.ศ. 1914 ต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อรัฐบาลแห่งสมาพันธรัฐสวิส และให้รัฐบาลแห่งสมาพันธรัฐสวิสแจ้งให้ประเทศที่เป็นสมาชิกแห่งสันนิบาตประเทศอื่น ๆ ทราบ เกี่ยวดินแดนของประเทศที่จะให้ได้รับความคุ้มครองตามข้อตกลง การที่ประเทศสหราชอาณาจักรประกาศให้ฮ่องกงเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว โดยไม่ปรากฏว่าได้แจ้งเป็นหนังสือไปให้รัฐบาลสมาพันธรัฐสวิสทราบและสมาพันธรัฐสวิสได้แจ้งการประกาศของประเทศสหราชอาณาจักรให้ดินแดนฮ่องกงเข้าเป็นภาคีแห่งกรรมสารกรุงเบอร์ลิน ค.ศ. 1908 ไปให้ประเทศในภาคีรวมทั้งประเทศไทยทราบ การประกาศของประเทศสหราชอาณาจักรดังกล่าวไม่อาจฟังได้ว่าฮ่องกงมีฐานะเป็นภาคีตามบทบัญญัติของกรรมสารกรุงเบอร์ลิน ค.ศ. 1908 มาตรา 26 วรรคท้าย ประเทศไทยก็ไม่ต้องให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ของฮ่องกงตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยเป็นเจ้าของอาคารที่ได้ปลูกสร้างมาก่อนข้อบัญญัติกรุงเทพ-มหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ออกใช้บังคับโดยมีแนวอาคารและระยะขัดกับข้อบัญญัติดังกล่าว ต่อมาจำเลยได้ขออนุญาตต่อโจทก์เมื่อวันที่ 18มีนาคม 2530 เพื่อทำการซ่อมแซมอาคารดังกล่าวโจทก์อนุญาต หลังจากนั้นจำเลยได้ทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารนอกเหนือไปจากแบบแปลนที่ได้ขออนุญาตไว้ โดยต่อเติมด้านหลังอาคารซึ่งเดิมเป็นชั้นเดียวให้เป็นสองชั้น และมีชั้นดาดฟ้าด้วยการสร้างฐานราก เสาตอหม้อ คานคอดิน คานชั้นสอง คานรับดาดฟ้า หลังคา ขยายพื้นชั้นสองขนาดประมาณ 24.86 ตารางเมตร ต่อเติมพื้นชั้นดาดฟ้าขนาดประมาณ 18.48ตารางเมตร เพิ่มหลังคามุมห้องบันได สร้างผนังอิฐกั้นห้องชั้นสอง ซึ่งการดัดแปลงต่อเติมดังกล่าวได้สร้างปิดทางเดินด้านหลังอาคาร สภาพและลักษณะของการต่อเติมและขยายอาคารของจำเลยดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมหรือดัดแปลงเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม แต่เป็นการดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 22 เดิม,31 เดิม และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522ข้อ 30, 76, 83 และเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อ-บัญญัติได้