คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา ธนานันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญา ต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ วันที่ยื่นอุทธรณ์ หากไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย อุทธรณ์ต้องห้าม
การพิจารณาว่าจำเลยจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์ จำเลยยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2532 ซึ่งเป็นวันที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ อันเป็นวันภายหลังที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2532 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2532 ใช้บังคับแล้วจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ ปรากฏว่าขณะจำเลยยื่นอุทธรณ์พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 มาตรา 3 บัญญัติว่า"ในคดีอาญาห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแขวงในปัญหาข้อเท็จจริงเว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ฯลฯ(4) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท" ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยเพียงหกร้อยบาท อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: ผู้จัดการมรดกครอบครองแทนทายาท ไม่สามารถอ้างอายุความได้ แม้จัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะเป็นผู้จัดการมรดก เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย เมื่อการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้นแม้จำเลยจะครอบครองนานเพียงใด จำเลยก็จะยกอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง และสิทธิวันหยุดพักผ่อนของลูกจ้างรถไฟ: การตีความสัญญาจ้างและข้อกำหนดกฎหมายแรงงาน
โจทก์ทำงานเป็นพนักงานต้อนรับบนขบวนรถไฟดีเซลราง เริ่มเข้าทำงานก่อนที่ขบวนรถจะออก 1 ชั่วโมง และทำงานอยู่บนขบวนรถตลอดทางจนถึงสถานีปลายทาง ส่วนในเที่ยวกลับก็เข้าทำงานในลักษณะเดียวกัน การทำงานของโจทก์ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการเดินทางของขบวนรถไฟดีเซลรางแต่ละครั้ง จึงเป็นการทำงานตามปกติของโจทก์ เบี้ยเลี้ยงที่จำเลยจ่ายให้โจทก์แต่ละเที่ยวของการเดินทางจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติด้วย เพราะนอกจากงานต้อนรับบนขบวนรถแล้วโจทก์ไม่มีหน้าที่อื่นอีก แม้เวลาทำงานบนขบวนรถจะเกินกำหนดเวลาตามที่กำหนดในข้อ 3แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ก็ตาม โจทก์ก็ได้ทำงานกับจำเลยโดยได้รับเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงรวมกันตลอดมา แสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างกันในลักษณะดังกล่าว เบี้ยเลี้ยงจึงเป็นค่าจ้าง เมื่อนำเบี้ยเลี้ยงไปคิดรวมกับเงินเดือนแล้ว ถือได้ว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เกินกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
งานที่จำเลยให้โจทก์ทำเป็นงานขนส่ง แม้จำเลยจะให้โจทก์ทำงานเกินเวลาที่กำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงานอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดในการกระทำของตนเป็นอีกกรณีหนึ่ง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 36
การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เกินกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเกือบหนึ่งเท่า เมื่อพิจารณาตามลักษณะงานกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกือบ 4 ปี และโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการจ่ายค่าจ้างในลักษณะดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้ส่วนที่เกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนั้นเป็นค่าทำงานเกินเวลา ทั้งกรณีไม่ใช่การใช้แรงงานไม่เหมาะสม จึงใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยจ่ายเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินส่วนนี้อีก
ลักษณะงานของโจทก์จะต้องทำต่อเนื่องคาบเกี่ยวกันในวันที่ติดต่อกัน ไม่อาจหยุดเต็มวันในวันเดียวกันได้ จำเลยมีเวลาให้โจทก์หยุดทำงานติดต่อกันเกิน 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ครั้งกรณีถือได้ว่าในแต่ละสัปดาห์จำเลยได้ให้โจทก์หยุดทำงานเกินกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวง-มหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 7 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานสำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์
จำเลยไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปี ไม่มีข้อตกลงล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปหยุดปีอื่น ทั้งจำเลยไม่ได้ให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปี แม้ขณะฟ้องโจทก์ยังเป็นลูกจ้างของจำเลยอยู่ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือให้จำเลยกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีในทางใดทางหนึ่งได้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยก็มีหน้าที่ต้องจ่ายให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้าง: ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน, ค่าทำงานล่วงเวลา, และวันหยุดประจำสัปดาห์
โจทก์ทำงานเป็นพนักงานต้อน รับบนขบวนรถไฟดีเซลราง เริ่มเข้าทำงานก่อนที่ขบวนรถจะออก 1 ชั่วโมง และทำงานอยู่บนขบวนรถตลอดทางจนถึงสถานีปลายทาง ส่วนในเที่ยวกลับก็เข้าทำงานในลักษณะเดียวกันการทำงานของโจทก์ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการเดินทางของขบวนรถดีเซลรางแต่ละครั้ง จึงเป็นการทำงานตามปกติของโจทก์ เบี้ยเลี้ยงที่จำเลยจ่ายให้โจทก์แต่ละเที่ยวของการเดินทางจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติด้วย เพราะนอกจากงานต้อน รับขบวนรถแล้วโจทก์ไม่มีหน้าที่อื่นอีก แม้เวลาทำงานบนขบวนรถจะเกิดกำหนดเวลาตามที่กำหนดในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ก็ตาม โจทก์ก็ได้ทำงานกับจำเลยโดยได้รับเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงรวมกันตลอดมา แสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างกันในลักษณะดังกล่าว เบี้ยเลี้ยงจึงเป็นค่าจ้าง เมื่อนำเบี้ยเลี้ยงไปคิดรวมกับเงินเดือนแล้ว ถือได้ว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เกินกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ งานที่จำเลยให้โจทก์ทำเป็นงานขนส่ง แม้จำเลยจะให้โจทก์ทำงานเกินเวลาที่กำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงานอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดในการกระทำของตนเป็นอีกกรณีหนึ่งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 36 การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เกินกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเกือบหนึ่งเท่า เมื่อพิจารณาตามลักษณะงานกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกือบ 4 ปี และโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการจ่ายค่าจ้างในลักษณะดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้ส่วนที่เกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนั้นเป็นค่าทำงานเกินเวลา ทั้งกรณีไม่ใช่การใช้แรงงานไม่เหมาะสม จึงใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยจ่ายเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินส่วนนี้อีก ลักษณะงานของโจทก์จะต้องทำต่อเนื่องคาบเกี่ยวกันในวันที่ติดต่อกัน ไม่อาจหยุดเต็มวันในวันเดียวกันได้ จำเลยมีเวลาให้โจทก์หยุดทำงานติดต่อกันเกิน 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ครั้งกรณีถือได้ว่าในแต่ละสัปดาห์จำเลยได้ให้โจทก์หยุดทำงานเกินกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 7 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานสำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์ จำเลยไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีไม่มีข้อตกลงล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปหยุดปีอื่น ทั้งจำเลยไม่ได้ให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปี แม้ขณะฟ้องโจทก์ยังเป็นลูกจ้างของจำเลยอยู่ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือให้จำเลยกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีในทางใดทางหนึ่งได้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยก็มีหน้าที่ต้องจ่ายให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5968/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในความผิดต่างกรรมกัน และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการสั่งริบของกลาง แม้โจทก์ไม่เคยอุทธรณ์
การที่จำเลยมีอาวุธปืนติดตัวและการที่จำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวจี้ขู่เข็ญ ป. จนทำให้ตก ใจกลัว เป็นการกระทำที่มีเจตนาแยกจากกันได้ เป็นความผิดต่างกรรม ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) คำพิพากษาต้องมีคำวินิจฉัยเรื่องของกลางด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จับจำเลยได้พร้อมอาวุธปืนของกลางที่ใช้กระทำผิด และท้ายฟ้องมีคำขอให้ศาลริบอาวุธปืนของกลางด้วย ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นไม่วินิจฉัยเรื่องอาวุธปืนของกลางและไม่สั่งริบอาวุธปืนอันเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ไม่มีคู่ความอุทธรณ์ปัญหานี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ เสียให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5968/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดหลายกรรมต่างกันจากอาวุธปืน และอำนาจศาลในการสั่งริบของกลาง
การที่จำเลยมีอาวุธปืนติดตัวและการที่จำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวจี้ขู่เข็ญ ป. จนทำให้ตก ใจกลัว เป็นการกระทำที่มีเจตนาแยกจากกันได้ เป็นความผิดต่างกรรม ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) คำพิพากษาต้องมีคำวินิจฉัยเรื่องของกลางด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จับจำเลยได้พร้อมอาวุธปืนของกลางที่ใช้กระทำผิด และท้ายฟ้องมีคำขอให้ศาลริบอาวุธปืนของกลางด้วย ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นไม่วินิจฉัยเรื่องอาวุธปืนของกลางและไม่สั่งริบอาวุธปืนอันเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ไม่มีคู่ความอุทธรณ์ปัญหานี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ เสียให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5724/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการพิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด - การพิจารณาเจตนาการขาดนัดและผลกระทบต่อสิทธิในการให้การ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 บัญญัติให้สิทธิจำเลยที่ขาดนัดพิจารณาสาบานตนเข้าเบิกความเป็นพยาน และถามค้านพยานโจทก์ได้ หากการขาดนัดพิจารณาของจำเลยเป็นไปโดยไม่จงใจ และศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และแม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจก็ตาม ในการไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ศาลจึงต้องวินิจฉัยด้วยว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือไม่ เพื่อสิทธิตามกฎหมายของจำเลย
การที่จำเลยไปศาลแต่ไม่ยอมเข้าไปในห้องพิจารณาเองโดยไม่มีใครห้าม ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5577/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ไม่ติดอากรแสตมป์เป็นพยานหลักฐานได้ สิทธิครอบครองที่ดินอยู่ที่ผู้รับโอน
ประมวลรัษฎากรไม่ได้บังคับว่าสัญญาซื้อขายจะต้องปิดอากรแสตมป์ดังนั้น แม้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจะไม่ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5577/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินไม่ปิดอากรแสตมป์ ไม่กระทบการรับฟังเป็นพยานหลักฐาน สิทธิครอบครองย้ายตามการโอน
ประมวลรัษฎากรไม่ได้บังคับว่าสัญญาซื้อขายจะต้องปิดอากรแสตมป์ ดังนั้น แม้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจะไม่ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟัง เป็นพยานหลักฐานได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๑๑๘.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5577/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินไม่ปิดอากรแสตมป์ ไม่เป็นเหตุให้สัญญาเป็นโมฆะ การโอนการครอบครองที่ดินมีผลทางกฎหมาย
ประมวลรัษฎากรไม่ได้บังคับว่าสัญญาซื้อขายจะต้องปิดอากรแสตมป์ดังนั้น แม้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจะไม่ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
of 37