คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา ธนานันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3912-3913/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งราคาซื้อขายหลักทรัพย์เท็จ แม้กฎหมายแก้ไข แต่ความผิดยังคงมีอยู่ หากองค์ประกอบความผิดครบถ้วน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทุกคนร่วมกันซื้อหุ้นจำนวน 4,500 หุ้น ให้โจทก์ในราคาเพียงหุ้นละ 265 บาท แต่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าซื้อในราคาหุ้นละ 423 บาท คิดเงินจากโจทก์เกินไปถึง 711,000 บาท กับดอกเบี้ยอีกส่วนหนึ่ง โดยจำเลยมีเจตนาทุจริต อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517 มาตรา 21 และมีโทษตามมาตรา 42 แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2527 ยกเลิกความในมาตรา 21 และ 42 เดิมก็ตาม แต่ในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่แก้ไขใหม่นี้ก็ยังคงบัญญัติลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์และหรือการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราคาซื้อหรือขายของหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาตซึ่งฟ้องของโจทก์ดังกล่าวก็ได้บรรยายมาด้วยว่า จำเลยทุกคนร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับราคาซื้อหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาต อันเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 42 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ว พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2527 จึงมิได้ยกเลิกความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีทุจริตโครงการสร้างงานฯ เหตุไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง และไม่มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 24 กันยายน 2514 ข้อ 10 ทวิ กำหนดให้โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง หาได้กำหนดให้โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวกับโครงการสร้างงานในชนบทไม่ และตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยโครงการสร้างงานในชนบท พ.ศ.2425 ข้อ 6 วรรคสอง ซึ่งกำหนดว่า "ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ กสช." ก็หมายถึงให้โจทก์ทำหน้าที่ในด้านธุรการเกี่ยวกับโครงการสร้างงานในชนบทเท่านั้น หาได้กำหนดให้โจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบหรือควบคุมการดำเนินการตามโครงการสร้างงานในชนบทไม่ และตามระเบียบฯ ดังกล่าวข้อ 40 ยังได้กำหนดว่า หากมีข้อร้องเรียนหรือพฤติการณ์ที่แสดงว่ามีการทุจริตหรือมีการปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการสอบสวนเพื่อทราบข้อเท็จจริง แล้วรายงานประธาน กสช. ทราบโดยเร็ว ไม่ได้กำหนดให้รายงานให้โจทก์ทราบแต่อย่างใด ทั้งเงินที่ถูกทุจริตละเมิดเอาไปไม่ใช่เงินที่อยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้องของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ขาดนัดยื่อคำให้การและขาดนัดพิจารณาได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3720/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล, การปรับบทกฎหมาย, และข้อจำกัดในการฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริงและดุลพินิจ
พนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยในข้อหาว่าร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ซึ่งเป็นคดีเกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา พนักงานสอบสวนจึงไม่จำต้องผัดฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัดจึงชอบแล้ว แม้ต่อมาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 อันเป็นบทเบากว่าและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงก็ตาม เพราะเป็นกรณีที่ศาลลงโทษโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง ซึ่งศาลมีอำนาจกระทำได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า การกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นเหตุให้ได้รับอัตรายแก่กายตามมาตรา 295 ก็เป็นการกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายนั่นเอง ซึ่งเป็นบทเบากว่า ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลย่อมมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 295 ได้ หาเกินคำขอไม่
ข้อเท็จจริงที่ว่าการสอบสวนล่าช้าไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้างจึงไม่เกิดขึ้น ฎีกาจำเลยในข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
ฎีกาจำเลยที่ขอให้ลงโทษในสถานเบาและรอการลงโทษ เป็นฎีกาเกี่ยวกับเรื่องดุลพินิจในการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3642/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายและสิทธิเรียกร้องให้โอนกรรมสิทธิ์เมื่อชำระราคาครบถ้วน แม้ฟ้องเรื่องครอบครอง ศาลไม่ถือว่าเป็นการพิพากษานอกฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์นอกจากจะบรรยายว่า โจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยการครอบครองแล้ว ยังบรรยายฟ้องด้วยว่า ตามสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ บ. มีข้อตกลงว่า เมื่อโจทก์ชำระราคาที่ดินครบถ้วนแล้ว บ. จะไปจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้แก่โจทก์และมีคำขอท้ายฟ้องว่า ให้จำเลยทั้งหกในฐานะทายาทของ บ. ร่วมกันไปจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนั้นให้แก่โจทก์อีกด้วย ดังนี้ แม้คดีจะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า โจทก์ชำระราคาที่ดินตามสัญญาให้ บ. ครบถ้วนแล้ว ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจวินิจฉัยว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับ บ. เป็นสัญญาจะซื้อจะขาย และพิพากษาให้จำเลยทั้งหกซึ่งเป็นทายาทของ บ. โอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังกล่าวได้ ไม่เป็นการพิพากษานอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3515/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคำร้องขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย: การพิจารณาประเภทคำสั่งและระยะเวลาที่ถูกต้อง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีชั้นร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยเพราะจำเลยทิ้งคำร้องมิใช่เป็นการสั่งในเนื้อหาของคำร้องและมิใช่เป็นคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาซึ่งจะต้องอุทธรณ์ภายใน 7 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคท้าย แต่มีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งจำหน่ายคำร้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบมาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแรงงานไม่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงได้เอง
คดีแรงงานโจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือให้รับกลับเข้าทำงาน ตามกฎหมายแรงงาน กับเรียกร้องเงินทุนเลี้ยงชีพตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือทรัพย์สินหรือราคาที่สูญหายไปเนื่องจากการกระทำผิดอาญาไม่ แม้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาในความผิดฐานทุจริตยักยอกทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นข้อหาเดียวกันกับที่จำเลยอ้างเป็นเหตุในการเลิกจ้างโจทก์ ก็ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลแรงงานกลางมีอำนาจรับฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทุจริตยักยอกเงินของจำเลยอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงและทุจริตต่อหน้าที่ โดยไม่จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแรงงานไม่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงได้เอง
คดีแรงงานโจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม หรือให้รับกลับเข้าทำงาน ตามกฎหมายแรงงาน กับเรียกร้องเงินทุนเลี้ยงชีพตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือทรัพย์สินหรือราคาที่สูญหายไปเนื่องจากการกระทำผิดอาญาไม่ แม้โจทก์ถูกดำเนิน คดีอาญาในความผิดฐาน ทุจริตยักยอกทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นข้อหาเดียวกันกับที่จำเลยอ้างเป็นเหตุในการเลิกจ้างโจทก์ ก็ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลแรงงานกลาง มีอำนาจรับฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทุจริตยักยอกเงินของจำเลยอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงและทุจริตต่อหน้าที่ โดยไม่จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแรงงานไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้มีการฟ้องอาญาฐานยักยอกทรัพย์
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือขอให้รับกลับเข้าทำงานตามกฎหมายแรงงาน กับเรียกร้องเงินทุนเลี้ยงชีพตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย หรือทรัพย์สินหรือราคาที่สูญหายไปเนื่องจากการกระทำผิดอาญาไม่ แม้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาในความผิดฐานทุจริตยักยอกทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นข้อหาเดียวกันกับที่จำเลยอ้างเป็นเหตุในการเลิกจ้างโจทก์ก็ไม่ทำให้คดีนี้ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินต่าง ๆ ตามกฎหมายแรงงานและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไปได้ ศาลจึงมีอำนาจรับฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทุจริตยักยอกเงินของจำเลย อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงและทุจริตต่อหน้าที่ไม่จำต้องถือตามข้อเท็จจริงในคดีอาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ แต่มีผลผูกพันจำเลยจากการยอมรับและจ่ายเงินเดือน ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้วินิจฉัยประเด็นค่าเสียหาย
แม้สัญญาจ้างแรงงานที่ทำกับโจทก์จะมีจำเลยที่ 2 กรรมการของจำเลยที่ 1 ลงชื่อเพียงคนเดียวและประทับตราของบริษัทไว้ ซึ่งไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ที่ต้องมีกรรมการอย่างน้อยสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวเป็นการกระทำที่อยู่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ทำสัญญากับโจทก์ไปตามหน้าที่ในฐานะกรรมการ แม้การตั้งตัวแทนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ถือว่าจำเลยที่ 2 ทำในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ทั้ง จำเลยที่ 1 ได้ยอมรับการเข้าทำงานของโจทก์ตามสัญญาและจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันตามสัญญา ที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้เงินค่าน้ำมันรถประจำเดือน โบนัสประจำปี เงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายกรณีผิดสัญญาจ้างตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างและค่าชดเชย เนื่องจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด ฉะนั้นปัญหาว่าจำเลยต้องรับผิดจ่ายเงินตามฟ้องหรือไม่ ต้องพิจารณาจากสัญญาจ้างว่ามีการกระทำผิดสัญญาหรือไม่อย่างไร แต่ศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยปัญหานี้ใหม่
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่สามารถทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่จำเลยที่ 1 ตั้งเป้าหมายไว้ มีเหตุให้จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานของจำเลยไม่ควรรับฟังดังกล่าว เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีการลงนามไม่ถูกต้องตามข้อบังคับบริษัท แต่เป็นการกระทำภายในอำนาจตัวแทน จำเลยต้องผูกพันตามสัญญา
แม้สัญญาจ้างแรงงานที่ทำกับโจทก์จะมีจำเลยที่ 2 กรรมการของจำเลยที่ 1 ลงชื่อเพียงคนเดียวและประทับตราของบริษัทไว้ ซึ่งไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ที่ต้องมีกรรมการอย่างน้อย สองคนลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าว เป็นการกระทำที่อยู่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2ทำสัญญากับโจทก์ไปตามหน้าที่ในฐานะกรรมการ แม้การตั้งตัวแทนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ถือว่าจำเลยที่ 2 ทำในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ทั้งจำเลยที่ 1 ได้ยอมรับการเข้าทำงานของโจทก์ตามสัญญา และจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันตามสัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้เงินค่าน้ำมันรถประจำเดือน โบนัสประจำปี เงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายกรณีผิดสัญญาจ้างตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างและค่าชดเชย เนื่องจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด ฉะนั้นปัญหาว่าจำเลยต้องรับผิดจ่ายเงินตามฟ้องหรือไม่ ต้องพิจารณาจากสัญญาจ้างว่ามีการกระทำผิดสัญญาหรือไม่อย่างไร แต่ศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยปัญหานี้ใหม่ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่สามารถทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่จำเลยที่ 1 ตั้งเป้าหมายไว้ มีเหตุให้จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานของจำเลยไม่ควรรับฟังดังกล่าว เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 37