พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีร้ายแรง ต้องพิจารณาพฤติการณ์การกระทำเป็นรายกรณี แม้มีข้อห้ามในระเบียบ
แม้ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะระบุว่าการมีโพยสลากกินรวบไว้ในครอบครองภายในอาณาเขตโรงงานของจำเลยถือ เป็นความผิดกรณีร้ายแรง แต่ การกระทำใด ๆที่ถือ ว่าเป็นความผิดกรณีร้ายแรงตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ซึ่ง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนั้น จะต้อง เป็นไปตาม ลักษณะแห่งการกระทำเป็นเรื่อง ๆ ไป โจทก์เพียงแต่ มีโพยสลากกินรวบไว้ในครอบครองภายในอาณาเขตโรงงานของจำเลย โดย ไม่ได้เล่นการพนันสลากกินรวบภายในอาณาเขตโรงงานดังกล่าวด้วย จึงถือ ไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีร้ายแรงต้องพิจารณาพฤติการณ์เป็นรายกรณี แม้มีระเบียบห้ามครอบครองโพยสลาก
แม้ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะระบุว่าการมีโพยสลากกินรวบไว้ในครอบครองภายในอาณาเขตโรงงานของจำเลย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง แต่การกระทำใด ๆ ที่ถือว่าเป็นความผิดกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ซึ่งนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนั้น จะต้องเป็นไปตามลักษณะแห่งการกระทำเป็นเรื่อง ๆ ไป โจทก์เพียงแต่มีโพยสลากกินรวบไว้ในครอบครองภายในอาณาเขตโรงงานของจำเลย โดยไม่ได้เล่นการพนันสลากกินรวบภายในอาณาเขตโรงงานดังกล่าวด้วย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงาน: การพักผ่อนบนขบวนรถไฟถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่
ส. เป็นลูกจ้างของโจทก์มีตำแหน่งเป็นคนการ มีหน้าที่ทำความสะอาดพื้นรถ ห้องน้ำและห้องส้วมบนขบวนรถไฟสายหนองคาย-กรุงเทพ ตั้งแต่รถไฟออกจากสถานีหนองคาย ในเวลา19 นาฬิกา ถึงเวลา 23 นาฬิกา หลังจากนั้นจนถึงเวลา 4.30 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นเป็นเวลาพักผ่อน ส. จะนอนที่รถทำการพนักงานรักษารถ และเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ 4.30 นาฬิกา จนถึงเวลาที่รถไฟถึงสถานีปลายทาง การที่ ส. ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจึงต้องเดินทางไปกับขบวนรถไฟ การพักผ่อนบนขบวนรถไฟก็เพื่อให้ส.ได้ปฏิบัติงานต่อหลังจากพักผ่อนแล้วจึงเป็นหน้าที่ของส.ที่จะต้องอยู่พักผ่อนในขบวนรถไฟ ฉะนั้น การที่ ส. พลัดตกจากขบวนรถไฟจนถึงแก่ความตายในช่วงเวลาที่พักผ่อนบนรถไฟ จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ตามความหมายของคำว่า "ประสบอันตราย" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงานในขบวนรถไฟ: การคุ้มครองแรงงาน
ผู้ตายมีหน้าที่ทำความสะอาดพื้นรถ ห้องน้ำและห้องส้วมในขบวนรถไฟ โดยผู้ตายจะต้องเดิน ทางไปกับขบวนรถไฟด้วย การที่ให้ผู้ตายพักผ่อนหลังจากทำงานตั้งแต่เวลา 23 นาฬิกา จนถึงเวลา 4.30 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นก็เพื่อให้ผู้ตายได้มีเวลาพักผ่อนหลับนอนแล้วจะได้เริ่มปฏิบัติงานต่อจนถึงเวลาที่รถไฟถึงสถานีปลายทาง ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ตายที่จะต้องอยู่พักผ่อนในขบวนรถไฟนั้นเพื่อเริ่มปฏิบัติงานต่อไป ดังนั้น การที่ผู้ตายปิดประตูรถแล้วพลัดตกจากขบวนรถไฟจนถึงแก่ความตายในช่วงเวลาที่ผู้ตายพักผ่อนหลังจากที่ได้ ทำงานมาแล้ว จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อันตรายจากการทำงาน: ลูกจ้างประสบอันตรายขณะพักผ่อนบนขบวนรถไฟถือเป็นอันตรายจากการทำงาน
ผู้ตายมีหน้าที่ทำความสะอาดพื้นรถ ห้องน้ำและห้องส้วมในขบวนรถไฟ โดย ผู้ตายจะต้องเดิน ทางไปกับขบวนรถไฟด้วย การที่ให้ผู้ตายพักผ่อนหลังจากทำงานตั้งแต่ เวลา 23 นาฬิกา จนถึง เวลา4.30 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นก็เพื่อให้ผู้ตายได้ มีเวลาพักผ่อนหลับนอนแล้วจะได้ เริ่มปฏิบัติงานต่อ จนถึง เวลาที่รถไฟถึงสถานีปลายทาง ซึ่ง เป็นหน้าที่ของผู้ตายที่จะต้อง อยู่พักผ่อนในขบวนรถไฟนั้นเพื่อเริ่มปฏิบัติงานต่อ ไป ดัง นั้น การที่ผู้ตายปิดประตูรถแล้วพลัดตก จากขบวนรถไฟจนถึง แก่ความตายในช่วงเวลาที่ผู้ตายพักผ่อนหลังจากที่ได้ ทำงานมาแล้ว จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นลูกจ้างงานบ้าน: งานบ้านที่รวมกับการประกอบธุรกิจของนายจ้าง ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
ข้อความที่ว่า "ไม่รวมถึง ลูกจ้างซึ่ง ทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน"ตาม บทนิยามคำว่า "ลูกจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานและประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ นั้น เป็นข้อยกเว้น ต้องตี ความโดย เคร่งครัดดังนั้น ข้อความดังกล่าวจึงหมายถึง ลูกจ้างที่ทำงานเฉพาะ ที่เป็นงานบ้านอย่างเดียวเท่านั้น โดย งานบ้านนั้นจะต้อง มิได้มีลักษณะการประกอบธุรกิจอื่นใด รวมอยู่ด้วย จำเลยเป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการรับทำกรอบรูปส่งขายต่าง ประเทศ มีลูกจ้างประมาณ 100 คน และ ล. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลย จำเลยได้จ้าง โจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่ง แม่บ้านมีหน้าที่ซักรีด ทำอาหาร และทำความสะอาดในบ้านพักของ ล. ดังนี้แม้สภาพงานที่โจทก์ทำจะเป็นงานบ้านก็ตาม แต่ งานบ้านดังกล่าวจำเลยได้ จัดเป็นสวัสดิการให้แก่ ล. ซึ่ง เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลยเอง งานบ้านที่โจทก์ทำจึงมีลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยรวมอยู่ด้วย ถือ ไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่ง ทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โจทก์จึงได้ รับความคุ้มครองตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ค่าจ้างส่วนที่จำเลยจ่ายต่ำ กว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรวมทั้งดอกเบี้ย และเงินเพิ่ม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นลูกจ้างทำงานบ้าน: งานบ้านเป็นสวัสดิการส่วนหนึ่งของธุรกิจ ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
ข้อความที่ว่า "ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน" ตามบทนิยามคำว่า "ลูกจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ นั้น เป็นข้อยกเว้น ต้องตีความโดยเคร่งครัด ดังนั้น ข้อความดังกล่าวจึงหมายถึงลูกจ้างที่ทำงานเฉพาะที่เป็นงานบ้านอย่างเดียวเท่านั้น โดยงานบ้านนั้นจะต้องมิได้มีลักษณะการประกอบธุรกิจอื่นใดรวมอยู่ด้วย
จำเลยเป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการรับทำกรอบรูปส่งขายต่างประเทศมีลูกจ้างประมาณ 100 คน และ ล. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลย จำเลยได้จ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่งแม่บ้าน มีหน้าที่ซักรีด ทำอาหาร และทำความสะอาดในบ้านพักของ ล. ดังนี้แม้สภาพงานที่โจทก์ทำจะเป็นงานบ้านก็ตาม แต่งานบ้านดังกล่าวจำเลยได้จัดเป็นสวัสดิการให้แก่ ล. ซึ่ง เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลยเอง งานบ้านที่โจทก์ทำจึงมีลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยรวมอยู่ด้วย ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ค่าจ้างส่วนที่จำเลยจ่ายต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรวมทั้งดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม
จำเลยเป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการรับทำกรอบรูปส่งขายต่างประเทศมีลูกจ้างประมาณ 100 คน และ ล. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลย จำเลยได้จ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่งแม่บ้าน มีหน้าที่ซักรีด ทำอาหาร และทำความสะอาดในบ้านพักของ ล. ดังนี้แม้สภาพงานที่โจทก์ทำจะเป็นงานบ้านก็ตาม แต่งานบ้านดังกล่าวจำเลยได้จัดเป็นสวัสดิการให้แก่ ล. ซึ่ง เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลยเอง งานบ้านที่โจทก์ทำจึงมีลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยรวมอยู่ด้วย ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ค่าจ้างส่วนที่จำเลยจ่ายต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรวมทั้งดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นลูกจ้างทำงานบ้าน: งานบ้านที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของนายจ้างได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
ข้อความในบทนิยามคำว่า "ลูกจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำที่ว่า "ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน" เป็นข้อยกเว้นต้องตีความโดยเคร่งครัดหมายถึงลูกจ้างที่ทำงานเฉพาะที่เป็นงานบ้านอย่างเดียวเท่านั้น โดยจะต้องมิได้มีลักษณะการประกอบธุรกิจอื่นใดรวมอยู่ด้วย เมื่อจำเลยเป็นบริษัทจำกัดประกอบกิจการรับทำกรอบรูปส่งขายต่างประเทศ มีลูกจ้างประมาณ 100คน โดยมี ล. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลย จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างตำแหน่งแม่บ้านมีหน้าที่ซักรีด และทำความสะอาดในบ้านพักของ ล. ซึ่งสภาพงานที่ทำแม้จะเป็นงานบ้านก็ตาม แต่จำเลยได้จัดเป็นสวัสดิการให้แก่ ล. งานบ้านที่โจทก์ทำดังกล่าวจึงมีลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยรวมอยู่ด้วย กรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้างต้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยค่าจ้างที่ขาดหายไป รวมทั้งดอกเบี้ยและเงินเพิ่มได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาหยุดที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบและการเลิกจ้าง: การขาดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควรเกิน 7 วัน
โจทก์ขาดงานโดยลาหยุดพักผ่อนไม่ถูกต้องตามระเบียบเพราะไม่ยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจให้ลา และการลาไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจ แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสถานที่ที่โจทก์ทำงานจะไม่เคร่งครัดในการลา และโจทก์พูดขอลาทางโทรศัพท์ต่อ ป. พนักงานของจำเลย แล้วข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อที่จะนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์ลาโดยฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยหรือไม่เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ยื่นใบลาโดยฝ่าฝืนระเบียบ และไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชามีผลเป็นการขาดงานแล้ว การที่โจทก์ได้พูดโทรศัพท์ขอลาต่อ ป. ก็มิใช่เหตุที่ทำให้โจทก์ขาดงานโดยมีเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาหยุดพักผ่อนที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การขาดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร
โจทก์ขาดงานโดย ลาหยุดพักผ่อนไม่ถูกต้องตาม ระเบียบเพราะไม่ยื่นใบลาต่อ ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจให้ลา และการลาไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจ แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสถานที่ที่โจทก์ทำงานจะไม่เคร่งครัดในการลา และโจทก์พูดขอลาทาง โทรศัพท์ต่อ ป. พนักงานของจำเลย แล้วข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อที่จะนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์ลาโดย ฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยหรือไม่เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ยื่นใบลาโดย ฝ่าฝืนระเบียบ และไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชามีผลเป็นการขาดงานแล้ว การที่โจทก์ได้ พูดโทรศัพท์ขอลาต่อ ป. ก็มิใช่เหตุที่ทำให้โจทก์ขาดงานโดย มีเหตุอันสมควร.