คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา ธนานันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548-2549/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแข่งขันหลังพ้นสภาพงาน: ข้อตกลงไม่ตัดสิทธิประกอบอาชีพโดยสิ้นเชิง ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองความว่า "9. ลูกจ้างให้สัญญาว่าจะไม่กระทำการต่อไปนี้โดยมิได้รับความยินยอมจากบริษัท...(ข) ภายในกำหนดเวลา 24 เดือน นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง...(2) เข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการพัฒนา ทำ ผลิต หรือจำหน่าย ซึ่งผลิตภัณฑ์อันเป็นการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทซึ่งตนได้เคยมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในระหว่างที่ทำงานกับบริษัท" มิได้เป็นการห้ามจำเลยทั้งสองมิให้กระทำโดยเด็ดขาด จำเลยทั้งสองอาจกระทำได้เมื่อได้รับความยินยอมจากโจทก์ และเฉพาะส่วนของงานที่จำเลยทั้งสองเคยทำกับโจทก์ ทั้งกำหนดเวลาที่ห้ามไว้ก็เพียง 24 เดือนนับแต่จำเลยทั้งสองพ้นจากการเป็นลูกจ้างโจทก์เท่านั้น ลักษณะของข้อสัญญาที่ก่อให้เกิดหนี้ในการงดเว้นการกระทำที่กำหนดโดยเจตนาของคู่กรณีเช่นนี้ ไม่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งสองทั้งหมด เพียงแต่เป็นการห้ามประกอบอาชีพบางอย่างที่เป็นการแข่งขันกับโจทก์ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และกำหนดไว้ไม่นานเกินสมควร เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีที่เป็นไปโดยชอบในเชิงของการประกอบธุรกิจ ไม่เป็นการปิดการทำมาหาได้ของฝ่ายใดโดยเด็ดขาดจนไม่อาจดำรงอยู่ได้ข้อสัญญาดังกล่าวจึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน มีผลใช้บังคับกันได้ไม่เป็นโมฆะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548-2549/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาห้ามแข่งขันหลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง: ข้อจำกัดต้องสมเหตุสมผล ไม่ตัดสิทธิประกอบอาชีพโดยสิ้นเชิง
สัญญาที่บริษัทโจทก์ทำกับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างว่าภายในกำหนดเวลา 24 เดือน นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง ลูกจ้างจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการพัฒนา ทำ ผลิต หรือจำหน่าย (สุดแต่ จะพึงปรับได้ กับกรณีของลูกจ้าง) ซึ่งผลิตภัณฑ์อันเป็นการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทโจทก์ที่ตนได้เคยมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในระหว่างที่ทำงานกับบริษัทโจทก์ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทโจทก์ สัญญาดังกล่าวไม่ได้ห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้กระทำโดยเด็ดขาด คงห้ามจำเลยเฉพาะสิ่งที่เป็นการแข่งขันกับงานของบริษัทโจทก์ และในส่วนของงานที่จำเลยเคยทำกับบริษัทโจทก์ ทั้งเป็นการห้ามเพียงตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น ไม่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดเสียทีเดียว จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในเชิงการประกอบธุรกิจโดยชอบไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548-2549/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาห้ามแข่งขันหลังพ้นสภาพงาน: ข้อจำกัดที่ชอบธรรมและการรักษาสิทธิทางธุรกิจ
สัญญาที่บริษัทโจทก์ทำกับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างว่าภายในกำหนดเวลา 24 เดือน นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง ลูกจ้างจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการพัฒนาทำ ผลิต หรือจำหน่าย (สุดแต่จะพึงปรับได้กับกรณีของลูกจ้าง) ซึ่งผลิตภัณฑ์อันเป็นการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่ตนเคยมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในระหว่างที่ทำงานกับบริษัท โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท สัญญาดังกล่าวไม่ได้ห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้กระทำโดยเด็ดขาด คงห้ามเฉพาะสิ่งที่เป็นการแข่งขันกับงานของโจทก์ และในส่วนของงานที่จำเลยเคยทำกับโจทก์ทั้งเป็นการห้ามเพียงตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้นเท่านั้นไม่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดเสียทีเดียวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในเชิงการประกอบธุรกิจโดยชอบ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างแม้ไม่มีงานมอบหมาย ศาลตัดสินเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ตามสถานที่ที่จำเลยสั่งให้ไปปฏิบัติงาน เดิมโจทก์ปฏิบัติงานอยู่ที่โรงแรมในกรุงเทพมหานคร ต่อมาจำเลยสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่โรงงานสุราจังหวัดนครปฐม แต่โจทก์ไม่ไป ขอทำงานในกรุงเทพมหานคร เพราะภริยาโจทก์ป่วยเป็นคนพิการเดินไม่ได้ แม้หลังจากที่โจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานที่โรงงานสุรา จังหวัดนครปฐม ตามคำสั่งของจำเลยและโจทก์ไม่มีหน้าที่ใดที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่บริษัทจำเลยโจทก์ก็ยังมีหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานที่ต้องทำงานให้แก่จำเลย คือต้องมาที่บริษัทจำเลยเพื่อรับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ให้แก่จำเลย ซึ่งหากไม่มา จำเลยก็ไม่อาจมีคำสั่งให้โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยได้ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่มาที่บริษัทจำเลยเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างและการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างไม่มาปฏิบัติงานตามที่นายจ้างสั่ง
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่ง พนักงานรักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ตาม สถานที่ที่จำเลยสั่งให้ไปปฏิบัติงานเดิม โจทก์ปฏิบัติงานอยู่ที่โรงแรมในกรุงเทพมหานคร ต่อ มาจำเลยสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่โรงงานสุราจังหวัด นครปฐม แต่ โจทก์ไม่ไปขอทำงานใน กรุงเทพมหานคร เพราะภริยาโจทก์ป่วยเป็นคนพิการเดิน ไม่ได้ แม้หลังจากที่โจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานที่โรงงานสุราจังหวัด นครปฐม ตาม คำสั่งของจำเลยและโจทก์ไม่มีหน้าที่ใด ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่บริษัทจำเลยโจทก์ก็ยังมีหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานที่ต้อง ทำงานให้แก่จำเลย คือต้อง มาที่บริษัทจำเลยเพื่อรับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ให้แก่จำเลย ซึ่ง หากไม่มาจำเลยก็ไม่อาจมีคำสั่งให้โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยได้ ดังนั้นการที่โจทก์ไม่มาที่บริษัทจำเลยเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อ กันจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดย ไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างในเงินกองทุนสงเคราะห์ – การแก้ไขข้อบังคับกระทบสิทธิเดิม – สิทธิเดิมยังคงใช้บังคับ
วัตถุประสงค์ของจำเลยตามที่ปรากฏเห็นได้ในตัวว่าเป็นการแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ เป็นการแปล กฎหมาย ไม่ใช่ข้อเท็จจริงศาลแรงงานกลางไม่ต้องฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่ข้อบังคับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 31 ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ พ.ศ. 2519 ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวโจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินจากกองทุนสงเคราะห์และค่าชดเชย ต่อมาจำเลยได้ปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ใหม่เป็นฉบับที่ 24 พ.ศ. 2525 ซึ่งกำหนดว่าพนักงานที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับนี้ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามข้อบังคับเดิมลดลงไป เมื่อจำเลยแก้ไขข้อบังคับโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงไม่ผูกพันโจทก์ สิทธิของโจทก์ในเรื่องเงินกองทุนสงเคราะห์จึงต้องบังคับตามฉบับที่ 31(ข้อบังคับทั้งสองฉบับมิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัตถุประสงค์การนิคมอุตสาหกรรมเป็นการแสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ ไม่ต้องใช้ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ
ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยฯมีข้อความกำหนดวัตถุประสงค์การจัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งเห็นได้อยู่ในตัวว่าเป็นการแสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ ดังนี้ ศาลย่อมวินิจฉัยว่าจำเลยมีวัตถุประสงค์แสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ โดยมิต้องให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในทางเศรษฐศาสตร์ มาให้ความเห็นก่อนเพราะเป็นเรื่องการแปล กฎหมาย มิใช่ข้อเท็จจริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบังคับบริษัทที่ลดสิทธิลูกจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง สิทธิยึดตามข้อบังคับเดิม
วัตถุประสงค์ของจำเลยตามที่ปรากฏเห็นได้ในตัวว่าเป็นการแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ เป็นการแปล กฎหมาย ไม่ใช่ข้อเท็จจริงศาลแรงงานกลางไม่ต้องฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่ข้อบังคับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 31 ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ พ.ศ. 2519 ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวโจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินจากกองทุนสงเคราะห์และค่าชดเชย ต่อมาจำเลยได้ปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ใหม่เป็นฉบับที่ 24 พ.ศ. 2525 ซึ่งกำหนดว่าพนักงานที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับนี้ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามข้อบังคับเดิมลดลงไป เมื่อจำเลยแก้ไขข้อบังคับโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงไม่ผูกพันโจทก์ สิทธิของโจทก์ในเรื่องเงินกองทุนสงเคราะห์จึงต้องบังคับตามฉบับที่ 31(ข้อบังคับทั้งสองฉบับมิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นต่างกัน คำพิพากษาไม่ขัดแย้ง: คดีเดิมเรื่องปฏิบัติหน้าที่ คดีหลังเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คดีเดิมประเด็นมีว่า โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายระเบียบแบบแผนหรือคำสั่งของจำเลยโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยเสียหายหรือไม่ ส่วนคดีหลังประเด็นมีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้าง เงินโบนัส สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามฟ้องหรือไม่ ประเด็นทั้งสองคดีจึงแตกต่างกัน ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ข้อแรกว่า คดีเดิมกับคดีหลังไม่ใช่มีประเด็นอย่างเดียวกัน คำพิพากษาทั้งสองคดีจึงไม่ขัดกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าประเด็นคดีเดิมและคดีหลังแตกต่างกัน ไม่ขัดแย้งกัน
คดีเดิม ประเด็นมีว่า โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตาม กฎหมายระเบียบแบบแผนหรือคำสั่งของจำเลยโดย จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยเสียหายหรือไม่ ส่วนคดีหลังประเด็นมีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดย ไม่เป็นธรรมหรือไม่ โจทก์มีสิทธิได้ รับค่าจ้าง เงินโบนัสสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตาม ฟ้องหรือไม่ประเด็นทั้งสองคดีจึงแตกต่าง กัน ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ข้อแรกว่า คดีเดิม กับคดีหลังไม่ใช่มีประเด็นอย่างเดียวกันคำพิพากษาทั้งสองคดีจึงไม่ขัดกัน.
of 37