พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารเกินแบบที่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยเป็นเจ้าของอาคารที่ได้ปลูกสร้างมาก่อนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ออกใช้บังคับโดยมีแนวอาคารและระยะขัดกับข้อบัญญัติดังกล่าว ต่อมาจำเลยได้ขออนุญาตต่อโจทก์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2530 เพื่อทำการซ่อมแซมอาคารดังกล่าวโจทก์อนุญาต หลังจากนั้นจำเลยได้ทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารนอกเหนือไปจากแบบแปลนที่ได้ขออนุญาตไว้ โดยต่อเติมด้านหลังอาคารซึ่งเดิมเป็นชั้นเดียวให้เป็นสองชั้น และมีชั้นดาดฟ้าด้วยการสร้างฐานราก เสาตอหม้อ คานคอดิน คานชั้นสอง คานรับดาดฟ้า หลังคาขยายพื้นชั้นสองขนาดประมาณ 24.86 ตารางเมตร ต่อเติมพื้นชั้นดาดฟ้าขนาดประมาณ 18.48 ตารางเมตร เพิ่มหลังคามุมห้องบันได สร้างผนังอิฐกั้นห้องชั้นสอง ซึ่งการดัดแปลงต่อเติมดังกล่าวได้สร้างปิดทางเดินด้านหลังอาคาร สภาพและลักษณะของการต่อเติมและขยายอาคารของจำเลยดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมหรือดัดแปลงเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม แต่เป็นการดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 22 เดิม,31 เดิม และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 30,76,83 และเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเกี่ยวกับสถานที่ฟ้องคดีมรดก
คำฟ้องของโจทก์เพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยไปถอนคำคัดค้านการขอโอนมรดกที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอเมืองปราจีนบุรีเท่านั้น มิได้บ่งถึงการที่จะบังคับแก่ตัวทรัพย์คือที่ดิน จึงไม่ใช่คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์จะฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ในเขต ตามประมวล-กฎหมายวีธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (1) เดิม หาได้ไม่ ต้องฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาแต่เนื่องจากขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งใช้บังคับแล้วแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 4 (1) บัญญัติว่าคำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ เช่นนี้จึงทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดปราจีนบุรีซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดได้ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรให้ศาลจังหวัด-ปราจีนบุรีรับคดีของโจทก์ไว้พิจารณาได้
อนึ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 151 วรรคแรก กำหนดให้ศาลสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งดดีดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับจึงเป็นการไม่ถูกต้อง แต่เมื่อศาลฎีกาสั่งให้รับคำฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว จึงไม่ต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้โจทก์อีก
อนึ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 151 วรรคแรก กำหนดให้ศาลสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งดดีดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับจึงเป็นการไม่ถูกต้อง แต่เมื่อศาลฎีกาสั่งให้รับคำฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว จึงไม่ต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การฟ้องคดีที่เกี่ยวกับคำคัดค้านการโอนมรดกและการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำฟ้องของโจทก์เพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยไปถอนคำคัดค้านการขอโอนมรดกที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอเมืองปราจีนบุรีเท่านั้น มิได้บ่งถึงการที่จะบังคับแก่ตัวทรัพย์คือที่ดิน จึงไม่ใช่คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์จะฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ในเขต ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) เดิม หาได้ไม่ ต้องฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนา แต่เนื่องจากขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งใช้บังคับแล้วแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 4(1)บัญญัติว่าคำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ เช่นนี้จึงทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดปราจีนบุรีซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดได้ด้วยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรให้ศาลจังหวัดปราจีนบุรีรับคดีของโจทก์ไว้พิจารณาได้ อนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 วรรคแรกกำหนดให้ศาลสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดี ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับจึงเป็นการไม่ถูกต้องแต่เมื่อศาลฎีกาสั่งให้รับคำฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว จึงไม่ต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การโอนขายที่ดินที่ได้มาจากการประมูลระหว่างสมรส และผลของการโอนต่อ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์นำเงินที่ทำมาหาได้ในระหว่างสมรสซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของศาล และใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว แต่จำเลยที่ 1 เกรงว่าจะมีปัญหาในการแบ่งที่ดินพิพาทเนื่องจากโจทก์มีบุตรที่เกิดจากภริยาคนก่อนจึงขอลงชื่อในโฉนดโจทก์ยินยอมจึงได้ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำมาหาได้ร่วมกันมาจึงเป็นสินสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ซื้อมาในระหว่างสมรส และการโอนให้คู่สมรสเป็นสินสมรส
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์นำเงินที่ทำมาหาได้ในระหว่างสมรสซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของศาล และใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว แต่จำเลยที่ 1เกรงว่าจะมีปัญหาในการแบ่งที่ดินพิพาทเนื่องจากโจทก์มีบุตรที่เกิดจากภริยาคนก่อนจึงขอลงชื่อในโฉนด โจทก์ยินยอมจึงได้ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพาทแก่จำเลยที่ 1ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำมาหาได้ร่วมกันมาจึงเป็นสินสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้ดูแลสายไฟฟ้าใต้ดิน การตรวจสอบดูแลรักษา และเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถอ้างได้
จำเลยเป็นผู้ครอบครองดูแลสายไฟฟ้าใต้ดิน และอุปกรณ์ไฟฟ้าบริเวณทางเท้า ตรงทางเท้าที่เกิดเหตุมีรอยแตกแยกชำรุดและเมื่อขุดลงไปปรากฏว่าสายไฟฟ้าที่เกิดเหตุฝังลึกเพียง20 เซนติเมตร ซึ่งตามปกติจะฝังลึกจากพื้นดินประมาณ 60 เซนติเมตรและมีรอยชำรุดโดยไม่มีฉนวนหุ้มเมื่อขุดและยกสายไฟฟ้าขึ้นสายไฟฟ้าใต้ดินได้หลุดออกจากกันหากสายไฟฟ้าไม่ชำรุดถึงแม้น้ำจะท่วมสูงขนาดไหนไฟฟ้าก็จะไม่ลัดวงจร ทั้งจำเลยมีเครื่องเมกเกอร์สำหรับตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วหลังเกิดเหตุแล้วได้ใช้เครื่องดังกล่าวเพียงครั้งเดียว ก่อนหน้านั้นไม่เคยใช้ตรวจเลย หากจำเลยใช้เครื่องดังกล่าวตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วที่สายเคเบิ้ลใต้ดินบ่อย ๆ จำเลยอาจป้องกันแก้ไขกระแสไฟฟ้ารั่วได้ และหลังเกิดเหตุแล้วการไฟฟ้านครหลวงได้มีหนังสือถึงจำเลยแนะนำให้เดินสายไฟฟ้าในบริเวณที่เกิดเหตุใหม่ โดยให้เดินในท่อเหล็กขนาดหนา ดังนี้การที่บุตรโจทก์เดินไปบริเวณทางเท้าที่มีน้ำท่วมขังและถูกกระแสไฟฟ้าดูดจนถึงแก่ความตายจึงเป็นเหตุที่อาจป้องกันได้ หากจำเลยจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันพึงคาดหมายได้ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองดูแลสายไฟฟ้าที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายได้โดยสภาพแต่จำเลยก็หาได้กระทำไม่ ทั้งที่มีเครื่องมือสามารถตรวจสอบได้เหตุที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จำเลยจะอ้างเพื่อบอกปัดความรับผิดได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีประกาศดูหมิ่นนายจ้าง – การกระทำที่เป็นเหตุให้เลิกจ้างได้ตามระเบียบข้อบังคับ
การที่ผู้คัดค้านได้ร่วมกันเขียนประกาศที่มีข้อความดูหมิ่นเสียดสีและเหยียดหยามผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างและผู้บังคับบัญชาไปปิดไว้ที่บอร์ดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ร้อง ย่อมทำให้พนักงานของผู้ร้องขาดความยำเกรง เป็นการส่งเสริมและยังยุให้พนักงานกระด้างกระเดื่องต่อผู้ร้องทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างผู้ร้องกับพนักงาน อันจะส่งผลเสียหายต่อผู้ร้องและพนักงาน เมื่อผู้ร้องสั่งให้เอาออก ผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งโดยชอบของผู้บังคับบัญชากระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ร้อง เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง และไม่เกรงกลัวความผิดที่ตนได้กระทำจงใจให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ถือว่ามีเหตุสมควรให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีติดประกาศดูหมิ่นนายจ้าง ศาลอนุญาตเลิกจ้างได้
กฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องในหมวดว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยกำหนดไว้ว่า ความผิดเกี่ยวกับ การจัดการประชุม หรือชุมนุม เขียน แจกจ่าย ติดประกาศ หรือ พิมพ์โฆษณา ถ้อยคำหรือบทความภายในบริเวณที่ทำงานหรือโรงงาน หรือบริษัท โดยไม่รับอนุญาต จะได้รับการพิจารณาโทษปลดออก ดังนี้ การที่ผู้คัดค้านทั้งสี่เป็นลูกจ้างของผู้ร้องหากผู้คัดค้านทั้งสี่หรือลูกจ้างอื่นของผู้ร้องไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ร้อง ผู้คัดค้านทั้งสี่ในฐานะกรรมการลูกจ้างก็มีสิทธิดำเนินการใด ๆ ภายในขอบเขตของกฎหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นธรรมได้ แต่การที่ผู้คัดค้านทั้งสี่ได้ร่วมกันเขียนประกาศพิพาทที่มีข้อความ ดูหมิ่น เสียดสีและเหยียดหยามผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างและผู้บังคับบัญชาดังกล่าวไปปิดไว้ที่บอร์ด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ร้องย่อมทำให้พนักงานของผู้ร้องขาดความเคารพยำเกรงเป็นการส่งเสริมและยั่วยุให้พนักงานกระด้างกระเดื่องต่อผู้ร้อง ทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างผู้ร้องกับพนักงานอันจะส่งผลเสียหายต่อผู้ร้องและพนักงานในที่สุด เมื่อผู้ร้องสั่งให้เอาออก ผู้คัดค้านทั้งสี่ก็มิได้ปฏิบัติตาม เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งโดยชอบของผู้บังคับบัญชา กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ร้อง เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง และไม่เกรงกลัวความผิดที่ตนได้กระทำ จงใจให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย จึงมีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้าง ผู้คัดค้านทั้งสี่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5407/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่ใหม่ไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีเดิมที่ศาลวินิจฉัยแล้วว่าไม่ใช่บริวาร
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยออกจากที่ดิน ในฐานะเป็นบริการของ ส. เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยไม่ใช่บริวารของ ส. โจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ในฐานละเมิดสิทธิในที่ดินของโจทก์ประเด็นแห่งคดีต่างกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงคืนเงินหลังหมั้นล้มเหลว ไม่ถือเป็นสินสอด
การที่มีข้อตกลงระหว่างฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยว่าเงิน100,000 บาท ฝ่ายจำเลยจัดหามาเพื่อแสดงในพิธีหมั้นแล้วฝ่ายโจทก์จะคืนให้ฝ่ายจำเลย เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่สินสอด