พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัด การคำนวณค่าเสียหายและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ จากโจทก์ในราคา 66,384 บาทผ่อนชำระได้ 22,128 บาท แล้วผิดสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาและติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาได้หลังจากวันทำสัญญาเช่าซื้อแล้วถึง1 ปี 5 เดือนเศษ รถยนต์ คันที่เช่าซื้อ ย่อมทรุดโทรมเสื่อมราคาไปเพราะการใช้ของจำเลยที่ 1 ราคาในขณะที่โจทก์ติดตามยึดคืนมาได้จึงต้องต่ำกว่าขณะทำสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ได้นำออกขายทอดตลาดได้เงิน13,000 บาท เมื่อนำเงินค่าเช่าซื้อที่ชำระแล้วมารวมกับเงินที่โจทก์ได้จากการขายทอดตลาดแล้วยังต่ำกว่าราคาเช่าซื้อ ประกอบกับตามสัญญาเช่าซื้อระบุให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ ตลอดจนค่าเสื่อมราคาเมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อ จึงเห็นได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญา และจำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาประเด็นใหม่ & การคำนวณค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ
ปัญหาที่ว่าโจทก์นำรถคันที่เช่าซื้อ ออกขายทอดตลาดโดย ไม่สุจริต ราคาต่ำ กว่าความเป็นจริงนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้าม ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงินค่าติดตามรถ แก่โจทก์โดย ที่โจทก์มิได้ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยทั้งสองให้ชำระเงินจำนวนนี้ เป็นการพิพากษาเกินคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัด การคำนวณค่าเสียหายจากรถยนต์เสื่อมสภาพ และขอบเขตการบังคับชำระหนี้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ จากโจทก์ในราคา 66,384 บาทผ่อนชำระได้ 22,128 บาท แล้วผิดสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาและติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อ คืนมาได้ หลังจากวันทำสัญญาเช่าซื้อแล้วถึง1 ปี 5 เดือนเศษ รถยนต์ คันที่เช่าซื้อ ย่อมทรุดโทรมเสื่อมราคาไปเพราะการใช้ของจำเลยที่ 1 ราคาในขณะที่โจทก์ติดตาม ยึดคืนมาได้จึงต้องต่ำกว่าขณะทำสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ได้ นำออกขายทอดตลาดได้เงิน13,000 บาท เมื่อนำเงินค่าเช่าซื้อที่ชำระแล้วมารวมกับเงินที่โจทก์ได้จากการขายทอดตลาดแล้วยังต่ำ กว่าราคาเช่าซื้อ ประกอบกับตามสัญญาเช่าซื้อระบุให้จำเลยที่ 1 ต้อง รับผิดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆตลอดจนค่าเสื่อมราคาเมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อ จึงเห็นได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญา และจำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์ต้องมีบันทึกเหตุผลชัดเจนตามกฎหมาย
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นผู้มีอำนาจที่จะอนุญาตให้คดีขึ้นสู่ การพิจารณาของศาลสูง จะต้อง บันทึกข้อความลงไว้ให้ครบหลักเกณฑ์ ทั้งสองประการตาม ที่มีกำหนดไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี โดย ชัดเจนคือ จะต้อง บันทึกความเห็นของตน ให้ได้ความว่า ข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ประการหนึ่งและอีกประการหนึ่งจะต้อง บันทึกยืนยันด้วย ว่าตน อนุญาตให้อุทธรณ์ได้ การที่สั่งว่า"อนุญาตให้อุทธรณ์" เพียงเท่านี้ ยังถือ ไม่ ได้ว่ามีการอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงโดย ชอบด้วย กฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้าง: แม้ฟ้องผิดวัน แต่ฟ้องหลังเกิดเหตุมีอำนาจฟ้องได้
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม2532 และศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2532 ก็ตาม แต่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่2 มกราคม 2533 ซึ่ง เป็นเวลาภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ฉะนั้นขณะฟ้องจึงมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตาม กฎหมายเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้าง: แม้ฟ้องผิดวันที่ แต่ฟ้องหลังเกิดเหตุมีอำนาจฟ้อง
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2532และศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2532 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 2 มกราคม2533 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ดังนั้น ขณะฟ้องจึงมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้าง: แม้ฟ้องผิดวัน แต่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2532ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่16 สิงหาคม 2532 แต่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2533ซึ่ง เป็นเวลาภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ขณะฟ้องจึงมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้าง: แม้ฟ้องผิดวันเลิกจ้าง แต่ฟ้องหลังมีข้อพิพาทแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2532 ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2532 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2533 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ขณะฟ้องจึงมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการชุดใหม่ vs สัญญาประนีประนอมยอมความเดิม: การฉ้อฉลและการค้างชำระค่าจ้าง
ช. เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลย จำนวนร้อยละ 43.46 จึงมีอำนาจเรียกประชุมวิสามัญได้ เมื่อ ช. เรียกประชุมผู้ถือหุ้นทั้งหมดและมีการประชุมตามกำหนดจึงเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญที่มีอำนาจลงมติแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการบริษัทจำเลยได้ ตามป.พ.พ. 1173,1174,1151 และเมื่อการประชุมใหญ่วิสามัญดังกล่าวที่ประชุมได้มีมติเอกฉันท์ให้ถอดถอนกรรมการชุดเดิมทั้งหมดและแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ 5 คน โดย ช.และว. เป็นกรรมการชุดใหม่มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันกระทำการแทนจำเลยได้ตามมติของที่ประชุมใหญ่วิสามัญได้ให้อำนาจไว้ ดังนี้ ช.กับว.จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันแต่งตั้งทนายความแทนบริษัทจำเลยได้ และทนายความดังกล่าวย่อมมีอำนาจอุทธรณ์แทนบริษัทจำเลย ศ. กรรมการของบริษัทจำเลยเป็นผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยกระทำการผูกพันจำเลยได้ การที่ ศ.เป็นโจทก์ร่วมกับลูกจ้างคนอื่นของจำเลยรวม 366 คน ฟ้องบริษัทจำเลยให้จ่ายค่าจ้างค้างชำระและดอกเบี้ยแก่ตนเอง โดยในระหว่างดำเนินคดี ศ. ได้กระทำการในฐานะผู้จัดการบริษัทจำเลยด้วยการแต่งตั้งทนายความเข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ชำระเงินตามฟ้องให้แก่ ศ. และโจทก์อื่นทุกคน และศาลแรงงานกลางได้พิพากษาคดีตามยอม ดังนี้ ประโยชน์ทางได้ทางเสียระหว่างจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลกับ ศ. โจทก์ที่ 364 ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยเป็นปฏิปักษ์แก่กัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 80 ดังนั้นทนายความซึ่งแต่งตั้งโดย ศ. จึงไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระเงินให้แก่ ศ. โจทก์ที่ 364 ได้ และ ป.พ.พ. มาตรา 80 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำพิพากษาตามยอมของศาลแรงงานกลางระหว่าง ศ. กับจำเลยจึงขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 138(2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมของศาลแรงงานกลางระหว่างโจทก์อื่นกับบริษัทจำเลยไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 80จึงมีผลผูกพันจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากทนายจำเลยลงชื่อรับทราบวันนัดฟังคำสั่งศาล และเพิกเฉยต่อการนำส่งสำเนาฎีกา
ฎีกาของจำเลยหน้าแรกมีข้อความซึ่งประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 24 ตุลาคม 2532 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีทนายจำเลยลงชื่อไว้ ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยผู้ยื่นฎีกาจัดการนำส่งสำเนาฎีกาให้อีกฝ่ายหนึ่งภายใน15 วัน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยยื่นฎีกา(วันที่ 20 ตุลาคม 2532) ก็ตาม แต่การที่ทนายจำเลยลงชื่อทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งศาลดังกล่าว เป็นการแสดงเจตนายอมรับผูกพันตนเองว่าจะมาฟังคำสั่งในวันดังกล่าว ถ้าไม่มาก็ให้ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้นแม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่ง ก็ถือว่าคำสั่งศาลนั้นได้ส่งให้จำเลยโดยชอบ และจำเลยทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2532 เมื่อจำเลยเพิกเฉยมิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2).