คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา ธนานันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4168/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิด – พยานหลักฐานสนับสนุน – การรับฟังพยาน
คำเบิกความและคำให้การในชั้นสอบสวนของ ภ.ว่าตนได้นำสร้อยข้อมือของผู้เสียหายที่ลักมาไปขายให้แก่จำเลยโดยบอกด้วยว่าเป็นทรัพย์ที่ลักมาถือได้ว่าเป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน แม้มิใช่เป็นคำซัดทอดที่เป็นการปัดความผิดของผู้ซัดทอดให้เป็นความผิดของจำเลยผู้เดียวก็ตาม แต่ก็มีน้ำหนักน้อยและจะต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง ลำพังคำเบิกความและคำให้การในชั้นสอบสวนของ ภ.ดังกล่าวโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นประกอบ ไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทำร้ายร่างกายในที่ทำงาน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ข้อบังคับการทำงานของผู้ร้องกำหนดประเภทการลงโทษไว้โดยมิได้ระบุขั้นตอนการลงโทษไว้ ผู้ร้องจึงไม่จำต้องลงโทษตามขั้นตอนในข้อบังคับการทำงานผู้ร้องอาจเลือกวิธีใด ๆ ตามข้อบังคับการทำงานโดยพิจารณาจากความหนักเบาของความผิดของพนักงานแต่ละคน ผู้คัดค้านกระทำผิดในขณะปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ทำงานโดยไม่ยำเกรงต่อข้อบังคับการทำงานของผู้ร้อง การกระทำของผู้คัดค้านไม่เป็นเยี่ยงอย่างอันดีทำให้แตกความสามัคคี ยากแก่การปกครองบังคับบัญชา กรณีจึงมีเหตุสมควรให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้เมื่อกระทำผิดวินัยร้ายแรง แม้ข้อบังคับไม่ได้กำหนดขั้นตอนการลงโทษ
ข้อบังคับการทำงานของผู้ร้องกำหนดประเภทการลงโทษ ไว้โดยมิได้ระบุขั้นตอนการลงโทษไว้ ผู้ร้องจึงไม่จำต้อง ลงโทษตามขั้นตอนในข้อบังคับการทำงานผู้ร้องอาจ เลือกวิธีใด ๆ ตามข้อบังคับการทำงาน โดยพิจารณา จากความหนักเบาของความผิดของพนักงานแต่ละคนผู้คัดค้านกระทำผิดในขณะปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ทำงานโดยไม่ยำเกรงต่อข้อบังคับการทำงานของผู้ร้องการกระทำของผู้คัดค้านไม่เป็นเยี่ยงอย่างอันดี ทำให้แตกความสามัคคี ยากแก่การปกครองบังคับบัญชากรณีจึงมีเหตุสมควรให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4101/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยและบำเหน็จสำหรับลูกจ้างเกษียณอายุ การคำนวณตามข้อบังคับบริษัทที่สอดคล้องกับกฎหมาย
ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย ข้อ 29.2 ระบุว่า ลูกจ้างที่ทำงานครบ 101/2 ปีขึ้นไป ให้คิดบำเหน็จและค่าชดเชยตามข้อบังคับเรื่องเงินบำเหน็จค่าชดเชยและเงินทดแทนข้อ 1(2)ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2526 โจทก์ทั้งหกทำงานมานานเกินกว่า101/2 ปีขึ้นไป จึงอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องนำมาคำนวณได้แม้ข้อบังคับดังกล่าวมีข้อความระบุว่า ลูกจ้างที่ทำงาน1 ปีขึ้นไป แต่ไม่ครบ 3 ปี จำเลยจ่ายค่าชดเชยต่ำกว่าประกาศของกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ก็ตาม ข้อบังคับในส่วนนี้ก็ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย และไม่ได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ทั้งหก เพราะโจทก์ทั้งหกทำงานมานานเกินกว่า 24 ปี สามารถคำนวณตามเกณฑ์ข้อบังคับการจ่ายเงินข้อ 29.2 ได้ เมื่อจำเลยจ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์ทั้งหกตามข้อบังคับข้อ 29.2 ไปครบถ้วนแล้ว โจทก์ทั้งหกจึงเรียกเอาค่าชดเชยซ้ำอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่ชัดเจน ยักยอกเงิน: ศาลฎีกายกฟ้อง เหตุโจทก์ไม่ได้ระบุรายละเอียดการยักยอก
โจทก์ไม่ได้บรรยายว่า จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์เป็นค่าสินค้าอะไรบ้าง แต่ละรายการเป็นเงินเท่าใด และเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากลูกค้าคนใดของโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นจึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อเป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245(1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่ชัดเจน ยักยอกเงินค่าสินค้า ศาลฎีกายกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำใบเสร็จรับเงินที่ลูกค้าของโจทก์สั่งซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อในเดือนมิถุนายน 2535ไปเรียกเก็บเงินจากลูกค้าของโจทก์ในเขตจังหวัดลำปางแล้วยักยอกเงินไปเป็นของตน รวมเป็นเงิน 360,065.86 บาทในวันที่ 26 มิถุนายน 2535 ครบกำหนดจำเลยที่ 1 นำส่งค่าสินค้าแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่นำส่งเงินค่าสินค้าแต่ทิ้งงานและเอาเงินค่าสินค้าไป โดยไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์เป็นค่าสินค้าอะไรบ้างแต่ละรายการเป็นเงินเท่าใดและเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากลูกจ้างคนใดของโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุม ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 และเมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่ชัดเจน ยักยอกเงินค่าสินค้า: ฟ้องเคลือบคลุมทำให้ศาลยกฟ้อง แม้ศาลมีอำนาจพิจารณาถึงจำเลยที่ไม่ยื่นอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำใบเสร็จรับเงินที่ลูกค้าของโจทก์สั่งซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อในเดือนมิถุนายน 2535 ไปเรียกเก็บเงินจากลูกค้าของโจทก์ในเขตจังหวัดลำปางแล้วยักยอกเงินไปเป็นของตน รวมเป็นเงิน 360,065.86 บาทในวันที่ 26 มิถุนายน 2535 ครบกำหนดจำเลยที่ 1 นำส่งค่าสินค้าแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่นำส่งเงินค่าสินค้า แต่ทิ้งงานและเอาเงินค่าสินค้าไป โดยไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์เป็นค่าสินค้าอะไรบ้าง แต่ละรายการเป็นเงินเท่าใดและเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากลูกค้าคนใดของโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 และเมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4036/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดโดยมิชอบ การแจ้งหมายและการส่งประกาศ
พนักงานเดินหมายปิดประกาศขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทยังบ้านที่จำเลยแจ้งย้ายออกไปแล้ว ไม่ใช่เป็นการปิด ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานทำการงานของจำเลยและเจ้าพนักงานบังคับคดีใช้วิธีการประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์แทนการส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดา ทั้ง ๆ ที่การส่งโดยวิธีธรรมดายังทำได้อยู่ ย่อมเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคแรก ถือได้ว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทไม่ทราบประกาศขายทอดตลาด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขาย-ทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปโดยไม่แจ้งให้ทราบซึ่งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดแก่จำเลยผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี จึงเป็นการดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 2 6 วรรคสอง และมาตรา 306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4036/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดโดยไม่แจ้งเจ้าของทรัพย์ การปิดประกาศไม่ชอบ และการบังคับคดีที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย
พนักงานเดินหมายปิดประกาศขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทยังบ้านที่จำเลยแจ้งย้ายออกไปแล้ว ไม่ใช่เป็นการปิด ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานทำการงานของจำเลยและเจ้าพนักงานบังคับคดีใช้วิธีการประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์แทนการส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดา ทั้ง ๆที่การส่งโดยวิธีธรรมดายังทำได้อยู่ ย่อมเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคแรก ถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทไม่ทราบประกาศขายทอดตลาด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปโดยไม่แจ้งให้ทราบซึ่งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดแก่จำเลย ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี จึงเป็นการดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา296 วรรคสอง และมาตรา 306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความข้อตกลงสภาพการจ้างเรื่องค่าครองชีพและค่าจ้างขั้นต่ำ: จำเลยต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้าง
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ เอกสารหมาย จ.6 ข้อ 1.1 มีความหมายว่า จำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ่างขั้นต่ำกับเงินค่าจ้าง โดยอ้างว่ามีประเพณีปฏิบัติมาตั้งแต่เริ่มมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งได้แยกจ่ายค่าจ้างกับค่าครองชีพออกจากกันมาโดยตลอด และการจ่ายค่าจ้างจำเลยจะจ่ายไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายทุกครั้ง ซึ่งตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯก็ให้ปฏิบัติต่อไป ดังนั้นการที่โจทก์นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ระบุว่าสิทธิและผลประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากข้อตกลงนี้และจำเลยได้จัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนแล้ว ให้เป็นไปในอัตราและระบบเดิม อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ถึงการแปลความหมายของข้อความ จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า การนำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ มีความหมายว่า จำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าการดังกล่าวอยู่ในความหมายของคำว่าสิทธิประโยชน์ที่จำเลยจัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมซึ่งจำเลยจะต้องปฏิบัติไปตามเดิมหรือไม่ อันเป็นการแปลความหมายของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเช่นกัน
โจทก์อ้างเหตุว่า ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมมุ่งหมายจะให้จำเลยจ่ายค่าครองชีพแยกจากค่าจ้าง โดยจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งจำเลยก็ได้ปฏิบัติเช่นนั้นตลอดมาโดยจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ซึ่งหากเป็นความจริงก็อาจถือได้ว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างทำให้เกิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับลูกจ้างของจำเลยว่าจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ส่วนตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ ที่ระบุว่าค่าครองชีพไม่ได้นำเข้ามาร่วมกับเงินเดือน หลักเกณฑ์เหมือนเดิมนั้น ก็คือให้จำเลยจ่ายค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและจ่ายค่าครองชีพแยกจากกันโดยไม่นำมารวมคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามผลของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งหากเป็นความจริง ตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสองประการดังกล่าวก็อาจถือได้ว่าจำเลยทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับลูกจ้างของจำเลยที่จะไม่นำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และจะจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และการที่จำเลยนำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนในการคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำก็อาจเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
of 37