คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา ธนานันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความข้อตกลงสภาพการจ้างเรื่องค่าครองชีพและค่าจ้างขั้นต่ำ: จำเลยต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้าง
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ เอกสารหมาย จ.6 ข้อ 1.1 มีความหมายว่า จำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ่างขั้นต่ำกับเงินค่าจ้าง โดยอ้างว่ามีประเพณีปฏิบัติมาตั้งแต่เริ่มมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งได้แยกจ่ายค่าจ้างกับค่าครองชีพออกจากกันมาโดยตลอด และการจ่ายค่าจ้างจำเลยจะจ่ายไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายทุกครั้ง ซึ่งตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯก็ให้ปฏิบัติต่อไป ดังนั้นการที่โจทก์นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ระบุว่าสิทธิและผลประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากข้อตกลงนี้และจำเลยได้จัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนแล้ว ให้เป็นไปในอัตราและระบบเดิม อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ถึงการแปลความหมายของข้อความ จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า การนำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ มีความหมายว่า จำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าการดังกล่าวอยู่ในความหมายของคำว่าสิทธิประโยชน์ที่จำเลยจัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมซึ่งจำเลยจะต้องปฏิบัติไปตามเดิมหรือไม่ อันเป็นการแปลความหมายของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเช่นกัน
โจทก์อ้างเหตุว่า ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมมุ่งหมายจะให้จำเลยจ่ายค่าครองชีพแยกจากค่าจ้าง โดยจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งจำเลยก็ได้ปฏิบัติเช่นนั้นตลอดมาโดยจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ซึ่งหากเป็นความจริงก็อาจถือได้ว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างทำให้เกิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับลูกจ้างของจำเลยว่าจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ส่วนตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ ที่ระบุว่าค่าครองชีพไม่ได้นำเข้ามาร่วมกับเงินเดือน หลักเกณฑ์เหมือนเดิมนั้น ก็คือให้จำเลยจ่ายค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและจ่ายค่าครองชีพแยกจากกันโดยไม่นำมารวมคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามผลของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งหากเป็นความจริง ตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสองประการดังกล่าวก็อาจถือได้ว่าจำเลยทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับลูกจ้างของจำเลยที่จะไม่นำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และจะจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และการที่จำเลยนำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนในการคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำก็อาจเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างยังผูกพันแม้สิ้นสุดอายุ สิทธิสวัสดิการค่าทำศพลูกจ้างยังคงมีผล
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมสิ้นสุดลง แต่จำเลยกับสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมอาภรณ์ไทยก็มิได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกันใหม่ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมจึงยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปอีกคราวละ 1 ปี จนกว่าจะได้มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกันใหม่ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 12 การนัดหยุดงานเป็นเพียงการที่ลูกจ้างร่วมกันหยุดงานชั่วคราวเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน หามีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสิ้นสุดลง ทั้งเงินช่วยเหลือค่าทำศพเป็นเงินสวัสดิการที่จำเลยจ่ายให้เมื่อลูกจ้างถึงแก่กรรมมิได้จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ จึงเป็นสวัสดิการที่ไม่เกี่ยวกับการทำงานตามปกติ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าทำศพให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3843/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนกรรมการบริหารสภาองค์การลูกจ้างฯ การแก้ไขข้อบังคับ และสิทธิสมาชิกที่ชอบด้วยกฎหมาย
อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่ในประเด็นที่ว่า จำเลยรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย ตามคำขอของ จ. ฉบับลงวันที่ 16 มีนาคม2535 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นประเด็นตามคำฟ้องของโจทก์ที่ 4 ที่ขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับดังกล่าว โดยโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3ไม่ได้ฟ้อง และขอให้บังคับจำเลยในประเด็นนี้ด้วยอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่ในส่วนที่เป็นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1ถึงที่ 3 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 การจดทะเบียนคณะกรรมการบริหารของสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย เป็นเพียงวิธีการทางกฎหมายเพื่อให้ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้น และตามข้อบังคับสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย ข้อ 19ก็กำหนดไว้เพียงว่า ให้คณะกรรมการบริหารมาจากการเลือกตั้งจากผู้แทนสมาชิกในที่ประชุมใหญ่ ไม่มีข้อกำหนดให้ต้องนำรายชื่อคณะกรรมการบริหารไปจดทะเบียน ดังนั้นแม้จะไม่ได้นำรายชื่อคณะกรรมการบริหารไปจดทะเบียน ก็ถือได้ว่าเป็นคณะกรรมการบริหารที่ชอบด้วยกฎหมาย มีอำนาจพิจารณารับสมาชิกของสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย และสมาชิกดังกล่าวมีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดประชุมใหญ่วิสามัญทั้งมีสิทธิเข้าร่วมประชุมแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับได้มติที่ให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับจึงเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3843/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนคณะกรรมการสภาองค์การลูกจ้างแรงงานฯ ไม่ใช่สาระสำคัญ มติแก้ไขข้อบังคับชอบด้วยกฎหมายหากสมาชิกมีสิทธิ
การจดทะเบียนคณะกรรมการบริหารของสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย เป็นเพียงวิธีการทางกฎหมายเพื่อให้ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้น และตามข้อบังคับสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย ก็กำหนดไว้เพียงว่าให้คณะกรรมการบริหารมาจากการเลือกตั้งจากผู้แทนสมาชิก ในที่ประชุมใหญ่ โดยไม่มีข้อกำหนดให้ต้องนำรายชื่อคณะกรรมการบริหารที่ได้รับเลือกตั้งไปจดทะเบียน ดังนั้น แม้จะไม่ได้ นำรายชื่อคณะกรรมการบริหารวาระสิงหาคม 2531 ถึง 2534ที่ได้รับเลือกตั้งใหม่ไปจดทะเบียน ก็ถือได้ว่าเป็น คณะกรรมการบริหารของสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย และมีอำนาจพิจารณารับสมาชิกได้โดยชอบสมาชิกที่เข้าเป็นสมาชิกระหว่างคณะกรรมการบริหารวาระสิงหาคม 2531 ถึง 2534 จึงเป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ตามกฎหมายมีสิทธิ เข้าชื่อขอเปิดประชุมใหญ่วิสามัญและมีสิทธิเข้าร่วมประชุมแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับได้ ดังนั้น มติที่ให้แก้ไขเพิ่มเติม ข้อบังคับเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2535 จึงเป็นมติที่ ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาพยานหลักฐานในคดีตัวแทน: ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาเอกสารท้ายฟ้องประกอบคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยในฐานะตัวแทนมีหน้าที่ต้องส่งมอบเงินและทรัพย์สินให้โจทก์ในฐานะตัวการ รวมทั้งเงินสดที่จำเลยในฐานะตัวแทนได้รับไว้แทนโจทก์ในฐานะตัวการ 2 รายการคือ ลูกหนี้58,301.35 บาท ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์กล่าวในฟ้องว่ามีเงินสดจำนวนดังกล่าวอยู่ที่จำเลยแล้ว ส่วนอีกรายการคือสินค้าคงเหลือ57,887.95 บาท ปรากฏตามสำเนาหนังสือทวงถามจากทนายโจทก์ให้จำเลยชำระหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 เมื่อพิจารณาตามฟ้องโจทก์ประกอบกับเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องโจทก์ได้ยืนยันว่าจำเลยได้จำหน่ายสินค้าคงเหลือเป็นตัวเงินแล้วดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาเพียงจากสภาพคำฟ้องและพิพากษากลับให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าตามฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยชำระเงินสดจำนวน116,189.30 บาท แต่ตามคำฟ้องทั้งสองรายการแปลได้ว่าไม่มีเงินสดอยู่ที่จำเลย ฟ้องโจทก์จึงไม่อาจบังคับกับจำเลยได้นั้น ถือว่าศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิจารณาพยานหลักฐานตามที่คู่ความนำสืบโต้แย้งก่อนแล้วจึงวินิจฉัย กรณีมีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาและมีคำพิพากษาใหม่ ตามมาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 243(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาพยานหลักฐานในคดีตัวแทน จำหน่ายสินค้าคงเหลือ ศาลต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยในฐานะตัวแทนมีหน้าที่ต้องส่งมอบเงินสดที่จำเลยในฐานะตัวแทนได้รับไว้ รวม 2 รายการ คือ ก.ลูกหนี้ 58,301.35 บาท " ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์กล่าวในฟ้องว่ามีเงินสดจำนวนดังกล่าวอยู่ที่จำเลยแล้ว ส่วนรายการ "ข.สินค้าคงเหลือมีข้อความระบุว่า" ตลอดจนเงินสดตามบัญชีเงินสดดังกล่าวว่าด้วยลูกหนี้และสินค้าคงเหลือซึ่งท่านได้จำหน่ายไปหมดสิ้นแล้วจำนวน 116,189.30 บาท จำหน่ายสินค้าคงเหลือจำนวน116,189.30 บาท คืน" ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ยืนยันแล้วว่าจำเลยได้จำหน่ายสินค้าคงเหลือเป็นตัวเงินแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาเพียงจากสภาพคำฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า รายการในบัญชีเงินสดลูกหนี้และสินค้าคงเหลือในทางบัญชีย่อมหมายความว่าเป็นรายการที่บุคคลภายนอกหรือลูกหนี้ค้างชำระอยู่ จำเลยยังหาได้รับเงินจากลูกหนี้ไม่จึงไม่มีเงินสดอยู่ในความครอบครองของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด และพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ โดยไม่พิจารณาพยานหลักฐานตามที่คู่ความนำสืบโต้แย้งกันก่อนถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกรณีมีเหตุย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาและมีคำพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบด้วย243(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากถูกกล่าวหาลักทรัพย์ แม้พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องและศาลยกฟ้อง การเลิกจ้างไม่ถือว่าไม่เป็นธรรม
การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมนั้นย่อมหมายความถึงการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีสาเหตุหรือแม้จะมีสาเหตุบ้างแต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่จำเป็นหรือสมควรจะต้องถึงกับเลิกจ้างลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามก็เนื่องจากบริษัท ฮ. ซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยแจ้งความดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสามกับพวกในข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ของบริษัทไป อีกทั้งในชั้นจับกุม โจทก์ทั้งสามก็ให้การรับสารภาพ พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้จำเลยมีความระแวงสงสัยและไม่ไว้วางใจโจทก์ทั้งสาม จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้ และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรและเป็นธรรม แม้ต่อมาพนักงานอัยการจะสั่งไม่ฟ้องโจทก์ที่ 1 และศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ก็หามีผลทำให้การเลิกจ้างของจำเลยกลับเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ เมื่อจำเลยให้การต่อสู้เพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์ทั้งสามได้ฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยในข้อที่ว่า "ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่บริษัท""จงใจทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย"และ "ลูกจ้างต้องไม่ลักทรัพย์หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นลักทรัพย์ของบริษัท หรือของผู้อื่นภายในบริเวณบริษัท" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในคดีที่โจทก์ทั้งสามถูกกล่าวหาว่า โจทก์ทั้งสามร่วมกันลักทรัพย์นั้น พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องโจทก์ที่ 1 และศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามได้ฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยดังกล่าว กรณีไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสามทันทีเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อไม่จ่ายก็ต้องถือว่าผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยร้อยละ7.5 ต่อปีของเงินดังกล่าว จำนวนนับแต่วันเลิกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากเหตุถูกแจ้งความลักทรัพย์ ศาลตัดสินให้จ่ายค่าชดเชยและเงินสมทบ
การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหมายถึงการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีสาเหตุหรือแม้จะมีสาเหตุบ้างแต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่จำเป็นหรือสมควรจะต้องถึงกับเลิกจ้างลูกจ้าง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามเนื่องจากบริษัทลูกค้าจำเลยแจ้งความดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสามข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ชั้นจับกุมโจทก์ทั้งสามให้การรับสารภาพย่อมทำให้จำเลยระแวงสงสัยและไม่ไว้วางใจโจทก์ทั้งสามจำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควรและเป็นธรรม แม้ต่อมาพนักงานอัยการจะสั่งไม่ฟ้องโจทก์ที่ 1 และศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่มีผลทำให้การเลิกจ้างของจำเลยกลับเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ เมื่อในคดีที่โจทก์ทั้งสามถูกกล่าวหาว่าร่วมกันลักทรัพย์พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องโจทก์ที่ 1 และศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยกรณีไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47 ที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยรวมทั้งเงินสมทบเงินสะสม เมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินแต่ละจำนวนนับแต่วันเลิกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: การขายทอดตลาดทรัพย์สิน การพิสูจน์ราคาตลาด และการเพิกถอนการขาย
การขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทนี้ได้ราคาสูงสุด 1,240,000 บาทซึ่งสูงกว่าวงเงินจำนองถึงเท่าตัว เพียงแต่ค่าอุปกรณ์คือดอกเบี้ยค้างส่งถึง 5 ปี จึงทำให้ขายได้สูงกว่าวงเงินจำนองพร้อมค่าอุปกรณ์เพียงเล็กน้อย ที่จำเลยอ้างว่าหากขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทรวมกับทรัพย์สินอื่นของจำเลยจะได้ราคารวมกันถึง5,000,000 บาท นั้น ก็ได้ความจากคำเบิกความของพยานจำเลยว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาเสนอขาย แต่เมื่อต่อรองแล้วจำเลยว่ามีผู้มาเสนอซื้อ 3,300,000 บาทดังนั้น ที่จำเลยอ้างว่าทรัพย์พิพาทและทรัพย์สินอื่นของจำเลยมีราคาจริงถึง5,000,000 บาท จึงรับฟังไม่ได้ ส่วนทรัพย์พิพาทจะมีราคาในท้องตลาดเท่าใดจำเลยก็หาได้นำสืบไม่เพียงแต่จำเลยอ้างว่าหากขายได้ต่ำกว่า 2,000,000 บาทจะคัดค้านตลอดไป ตามข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีไม่เพียงพอให้ฟังได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รวบรัดการขายหรือรู้เห็นหรือยินยอมหรือกระทำการไม่สุจริตหรือกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ และทำการขายทอดตลาดทรัพย์ใหม่ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3621/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กองมรดกไม่มีอำนาจฟ้องร้องได้ เพราะไม่ใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
สิทธิในการดำเนินคดีทางศาลจะมีได้ก็แต่เฉพาะบุคคลเท่านั้นซึ่งคำว่าบุคคลหมายถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล กองมรดกของผู้ตายหามีกฎหมายใดบัญญัติให้มีสภาพเป็นนิติบุคคลไม่ จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดได้
of 37