คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา ธนานันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นบุตรและการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดู โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและการยอมรับของจำเลย
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า เมื่อระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม 2530ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2531 โจทก์จำเลยได้มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวและร่วมประเวณีกันหลายครั้งในระยะเวลาที่โจทก์สามารถตั้งครรภ์ได้และทำให้โจทก์ตั้งครรภ์ในเวลาต่อมาและจำเลยเขียนจดหมายถึงโจทก์ยอมรับว่าเด็กหญิงที่คลอดจากโจทก์คือเด็กหญิง บ. เป็นบุตรของจำเลย ตามเอกสารท้ายฟ้องนั้นเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยจะเข้าใจแล้วส่วนจำเลยและโจทก์ร่วมประเวณีกันเมื่อใดที่ไหนที่เป็นเหตุให้โจทก์ตั้งครรภ์และจำเลยยอมรับเด็กหญิง บ. เป็นบุตรอย่างไรเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์คลอดเด็กหญิง บ. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2531 จำเลยได้ร่วมประเวณีกับโจทก์หลายครั้งในระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม 2530ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2531 และจัดการให้โจทก์ไปอยู่กับเพื่อนของจำเลยที่กรุงเทพมหานคร จากนั้นจำเลยไปเยี่ยมโจทก์หลายครั้งพาโจทก์ไปหาแพทย์และเขียนจดหมายถึงโจทก์หลายฉบับมีข้อความที่แสดงว่าเด็กหญิง บ. เป็นบุตรของจำเลย ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ร่วมประเวณีกับชายอื่น ย่อมมีเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่าเด็กหญิง บ. มิได้เป็นบุตรของชายอื่น โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยรับเด็กหญิง บ. เป็นบุตรของจำเลยได้ การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายในกรณีที่ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1557(3) ดังนั้นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจะต้องกำหนดให้นับแต่วันดังกล่าวมิใช่นับแต่วันฟ้อง จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่าควรกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูเท่าไร ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ชำระตามที่ศาลล่างกำหนดคือเดือนละ 1,000 บาท นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดจนกว่าบุตรจะมีอายุครบ 10 ปีบริบูรณ์ หลังจากนั้นให้ชำระเดือนละ 1,500 บาท จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ โดยให้จำเลยชำระเป็นเงินก้อนครั้งเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: ต้องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยปัญหาอำนาจฟ้องก่อน
คดีนี้เมื่อศาลแรงงานเห็นสมควรยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ขึ้นวินิจฉัย แสดงว่ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้วว่าคดีนี้จะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง ที่บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัย เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีนี้จะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่การที่ศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยเสียเองว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจวินิจฉัยคดีแรงงาน: อธิบดีศาลแรงงานกลางมีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
คดีนี้เมื่อศาลแรงงานเห็นสมควรยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ขึ้นวินิจฉัย แสดงว่ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้วว่าคดีนี้จะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 9 วรรคสอง ที่บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัย เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีนี้จะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยเสียเองว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: ต้องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยปัญหาอำนาจฟ้องก่อน
เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นสมควรยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ขึ้นวินิจฉัย แสดงว่ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้วว่าคดีนั้นจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ต้องตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง ที่บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัย ศาลแรงงานกลางหามีอำนาจวินิจฉัยเสียเองไม่เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีดังกล่าวอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยเสียเองว่าเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดีแรงงานและผลกระทบต่อฟ้องแย้ง: ศาลยังต้องพิจารณาฟ้องแย้งต่อไป
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ในคดีแรงงานนัดแรก ทนายจำเลยมาศาลส่วนโจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือว่าโจทก์ขาดนัด-พิจารณา แม้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ จำเลยจึงมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องแย้งและโจทก์เดิมจึงตกเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง ต้องถือว่าโจทก์ตามฟ้องแย้งมาศาลแล้ว และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 202 บัญญัติว่า ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.โดยอนุโลม แม้การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์อันทำให้ไม่มีคำฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวน-พิจารณาต่อไปก็ตาม แต่ก็ยังมีตัวโจทก์ที่ยังคงเป็นจำเลยของฟ้องแย้งอยู่ต่อไปจึงมีคู่ความครบถ้วนทั้งสองฝ่ายที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ ดังนี้ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมด รวมทั้งคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยออกเสียจากสารบบความเพราะเหตุโจทก์ขาดนัดพิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ขาดนัด และผลกระทบต่อคดีฟ้องแย้ง: ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาฟ้องแย้งต่อไป
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ในคดีแรงงานนัดแรก ทนายจำเลยมาศาลส่วนโจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรกประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ จำเลยจึงมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องแย้งและโจทก์ เดิมจึงตกเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง ต้องถือว่าโจทก์ตามฟ้องแย้ง มาศาลแล้ว และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 บัญญัติว่า ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวัดนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่ง แสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาด ตัดสิน คดีนั้นไปฝ่ายเดียว ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับแก่การ ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้ง กับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติโดยอนุโลม แม้การที่ ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์อันทำให้ไม่มีคำฟ้องเดิม ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปก็ตาม แต่ก็ยังมีตัวโจทก์ ที่ยังคงเป็นจำเลยของฟ้องแย้งอยู่ต่อไปจึงมีคู่ความครบถ้วน ทั้งสองฝ่ายที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ ดังนี้ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมด รวมทั้งคดี ตามฟ้องแย้งของจำเลยออกเสียจากสารบบความเพราะเหตุโจทก์ ขาดนัดพิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน จำหน่ายคดีฟ้องแย้งไม่ชอบ ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ทนายจำเลยมาศาล ส่วนโจทก์ ไม่มา ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรกประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ด้วย จำเลยจึงมีฐานเป็นโจทก์ และโจทก์เดิมตกเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง ต้องถือว่าโจทก์ตามฟ้องแย้งมาศาลแล้วและตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 ถ้าจำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว แม้การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์อันทำให้ไม่มีคำฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปก็ตาม แต่ก็ยังมีตัวโจทก์ที่ยังคงเป็นจำเลยของฟ้องแย้งอยู่ต่อไป จึงมีคู่ความครบถ้วนทั้งสองฝ่ายที่ศาลแรงงานจะดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนของฟ้องแย้งต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขต 'เงินชดเชยการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า' ไม่รวมถึงค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างมีข้อความว่า "อัตราการจ่ายเงินจำนวนเท่ากับอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างปกติในขณะนั้นหนึ่งเดือนทุกเวลาหนึ่งปีเต็มที่ผู้นั้นได้ทำงานกับบริษัทโดยติดต่อกัน หักด้วยเงินชดเชยการบอกเลิกจ้างล่วงหน้าหรือเงินทดแทนอื่นใดในการสูญเสียงาน ซึ่งพนักงานผู้นั้นมีสิทธิได้รับตามข้อความในสัญญาจ้างหรือกฎหมาย" คำว่า "เงินชดเชยการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า" นั้นมีความหมายชัดเจนว่าหมายถึงเงินที่ให้แทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า ไม่อาจแปลว่าเป็นเงิน "ค่าชดเชย" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับนายจ้าง ไม่ถือเป็นค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างมีข้อความว่า "อัตราการจ่ายเงินจำนวนเท่ากับอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างปกติในขณะนั้น หนึ่งเดือนทุกเวลาหนึ่งปีเต็มที่ผู้นั้นได้ทำงานกับบริษัทโดยติดต่อกัน หักด้วยเงินชดเชยการบอกเลิกจ้างล่วงหน้าหรือเงินทดแทนอื่นใดในการสูญเสียงาน ซึ่งพนักงานผู้นั้นมีสิทธิได้รับตามข้อความในสัญญาจ้างหรือกฎหมาย" คำว่า "เงินชดเชยการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า" นั้นมีความหมายชัดเจนว่าหมายถึงเงินที่ให้แทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า ไม่อาจแปลว่าเป็นเงิน"ค่าชดเชย" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3045/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการบังคับคดี: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคำพิพากษาไม่ขัดแย้งกัน แม้มีการถอนการยึดทรัพย์
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้โจทก์นำเงินค่าที่ดินมาวางศาลภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันทำยอมแล้วจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันชำระเงิน แต่เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาวางเงินแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอไม่วางเงินอ้างว่าที่ดินพิพาทถูก น. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยอีกคดีหนึ่งยึดไว้ ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากรณีเป็นการแก้ไขคำพิพากษาตามยอมไม่อาจสั่งให้โจทก์ไม่วางเงินได้ ดังนี้แม้จะปรากฏว่าในคดีแพ่งที่ น. เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลย โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ถอนการยึดที่ดินพิพาทและศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า การที่โจทก์ยังไม่ได้วางเงินเพราะจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญายอมได้ เนื่องจากน. ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทไว้ก่อน จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญายอม และโจทก์มีสิทธิตามคำพิพากษาตามยอมที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนจึงให้ถอนการยึดที่ดินพิพาทในคดีดังกล่าวก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองเรื่องนี้ก็ไม่ขัดกันเพราะประเด็นในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องวางเงินภายในกำหนดเวลาตามคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ แต่ประเด็นตามคำพิพากษาศาลฎีกาคดีดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องถอนการยึดทรัพย์ แม้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาคดีดังกล่าวจะกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญายอมก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงกล่าวอ้างถึงเหตุอันสมควรถอนการยึดที่ดินพิพาทเท่านั้น กรณีจึงมีประเด็นพิพาทต่างกัน และผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองคดีก็เป็นคนละเรื่องกัน หาขัดแย้งกันไม่ โจทก์จึงไม่ชอบที่จะนำคำพิพากษาศาลฎีกาคดีดังกล่าวมาอ้างในคดีนี้เพื่อขอวางเงินตามคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ได้อีก
of 37