พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4325/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาทุนทรัพย์เพื่ออุทธรณ์ในคดีฟอกเงิน ความสัมพันธ์ผู้กระทำผิดและทรัพย์สิน
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2 ตกเป็นของแผ่นดินนั้น แม้ปัญหาว่าทรัพย์สินตามคำร้องแต่ละรายการเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือไม่ สามารถพิจารณาทรัพย์สินแต่ละรายการแยกจากกันได้ แต่การพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินแต่ละรายการก็ต้องพิจารณาในประเด็นหลักเดียวกันว่ามีการกระทำความผิดมูลฐานตามคำร้องหรือไม่ และสำหรับผู้คัดค้านที่อ้างว่าเป็นเจ้าของที่แท้จริงหรือเป็นผู้รับโอนโดยสุจริตตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง อาจต้องพิจารณาว่าผู้คัดค้านนั้นเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินหรือไม่ด้วย ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับทรัพย์สินแต่ละรายการของผู้คัดค้านแต่ละราย จึงไม่ได้แยกเป็นแต่ละรายการอย่างแท้จริง และไม่ได้ขึ้นอยู่กับการแยกทรัพย์สินเป็นแต่ละรายการตามคำร้องของผู้ร้อง ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ที่จะพิจารณาเกี่ยวกับข้อห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงต้องเป็นไปตามราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่ผู้คัดค้านแต่ละรายอุทธรณ์คัดค้านเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้คัดค้านรายนั้นรวมกัน กรณีนี้ทรัพย์สินรายการที่ 3 ของผู้คัดค้านที่ 2 แม้มีราคาประเมิน 32,484.24 บาท แต่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทที่ผู้คัดค้านที่ 2 อุทธรณ์รวม 3 รายการ มีราคาประเมินรวม 1,879,495.26 บาท คดีของผู้คัดค้านที่ 2 เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้ง 3 รายการ จึงเกินห้าหมื่นบาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3950/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การเล่นการพนันและฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ศาลฎีกาวินิจฉัยลงโทษตามบทหนัก
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันเล่นการพนันไฮโลว์ อันเป็นการพนันตามที่ระบุไว้ในบัญชี ก. อันดับที่ 23 โดยจำเลยที่ 1 เป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และจำเลยทั้งสี่ร่วมกันเล่นการพนัน กับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันมั่วสุมตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นข้อ ๆ ต่างหากจากกัน ทั้งความผิดทั้งสองฐานจะเป็นความผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายหลายบทต่างกันและจำเลยทั้งสี่ให้การรับสารภาพก็ตาม แต่การที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชุมนุม ทำกิจกรรมและมั่วสุมกัน ณ บ้านที่เกิดเหตุอันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกันในสถานที่แออัดก็โดยมีเจตนาเพื่อร่วมกันเล่นการพนัน จึงเป็นการกระทำความผิดโดยเจตนาเดียวกันในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: การใช้เครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าอื่นไม่ถือเป็นการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
คดีนี้โจทก์ฟ้องของให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 3, 32, 43 ซึ่งมาตรา 32 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม" และวรรคสองบัญญัติว่า "การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใด ๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง" ได้ความจาก ส. พยานโจทก์เบิกความตอบคำถามค้านว่า ภาพช้างสีขาวสองเชือกหันหน้าเข้าหากันภายใต้น้ำพุสีเหลืองทองประกอบข้อความภาษาไทยสีขาวว่า "เครื่องดื่มตราช้าง" ข้อความภาษาอังกฤษสีขาวว่า "Chang" บนพื้นหลังสีเขียวตรงกับเครื่องหมายการค้าของบริษัท บ. ซึ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประเภทน้ำดื่ม เครื่องดื่มน้ำแร่ น้ำโซดา และขวดน้ำดื่มตราช้าง และมีสัญลักษณ์ตรงกับเครื่องดื่มตราช้างบนแผ่นป้ายไวนิล อีกทั้งภาพถ่ายขวดเบียร์ช้างไม่มีคำว่าเครื่องดื่มตราช้าง มีแต่ถ้อยคำเป็นภาษาอังกฤษว่า "PRODUCT OF THAILAND", "LAGER BEER", "CLASSIC BEER" และ ส. ยอมรับอีกว่า บริษัท บ. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับเบียร์ น้ำดื่ม น้ำโซดาและน้ำแร่ แยกต่างหากจากกัน ย่อมแสดงให้เห็นว่า แผ่นป้ายไวนิลตามฟ้องเป็นเพียงเครื่องหมายการค้าที่แสดงว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าน้ำดื่ม น้ำโซดาและน้ำแร่ จึงเป็นการส่งเสริมการขายสินค้าประเภทน้ำดื่ม น้ำโซดาและน้ำแร่ มิใช่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามนิยาม "เครื่องดื่มแอลกอฮอล์" แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 3 การที่จำเลยติดแผ่นป้ายไวนิลที่หน้าร้านจึงไม่เป็นการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3286/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลใช้ข้อมูลประวัติอาชญากรรมในการพิจารณาลงโทษจำเลยได้ แม้ไม่ได้บรรยายฟ้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องด้วยวาจาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20 โดยไม่ได้บรรยายฟ้องหรือกล่าวอ้างว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนเพื่อประกอบดุลพินิจในการลงโทษของศาล แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ศาลตรวจสอบประวัติการการกระทำความผิดของจำเลย และจากการตรวจสอบพบว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุก 1 ปี ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามคำพิพากษาศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีมาก่อน และศาลออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 ตามรายงานเจ้าหน้าที่ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 ซึ่งจำเลยเองก็ยอมรับมาในอุทธรณ์ของจำเลยว่า จำเลยเคยรับโทษจำคุกมาก่อนในความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานเจ้าหน้าที่ศาลดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อเท็จจริงในสำนวนคดีที่ศาลสามารถนำมาใช้ประกอบดุลพินิจในการลงโทษจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่รับฟังรายงานเจ้าหน้าที่ศาลที่ระบุข้อเท็จจริงว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน และพิพากษารอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3054/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเอาความอันเป็นเท็จ-เบิกความเท็จในคดีอาญา: ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษและไม่รอการลงโทษ
การที่โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดข้อหาเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญาตาม ป.อ. มาตรา 175 โดยกล่าวถึงข้อความซึ่งอ้างว่าจำเลยเอาความอันเป็นเท็จฟ้องโจทก์ต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา และได้บรรยายฟ้องให้เห็นด้วยว่าความจริงเป็นประการใด แล้วต่อมาโจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องต่อเนื่องเชื่อมโยงกับข้อหาเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาลตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคสอง โดยกล่าวถึงข้อความซึ่งอ้างว่าจำเลยเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาลไว้ด้วยแล้ว ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าความจริงเป็นประการใด แต่เมื่อได้อ่านคำฟ้องโดยรวมทั้งหมดแล้ว ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่า ความจริงดังกล่าวก็เป็นเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์บรรยายฟ้องให้เห็นว่าความจริงเป็นประการใดในข้อหาเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา จำเลยให้การปฏิเสธ ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำพิพากษา จำเลยได้ยื่นฎีกา จึงบ่งชี้ว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ คำฟ้องโจทก์ในข้อหาเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาลตาม ป.อ. มาตรา 177 จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4995/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไม่มีผลบังคับใช้เมื่อเงื่อนไขบังคับก่อนไม่สำเร็จ แม้จำเลยผิดสัญญาในการช่วยเหลือให้ได้อนุมัติ
โจทก์ทราบเงื่อนไขในสัญญาจ้างเหมาช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าโจทก์จะเริ่มทำงานตามสัญญาจ้างเหมาช่วงได้ต่อเมื่อโจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำงานจากเจ้าของงานหรือที่ปรึกษาโครงการซึ่งเป็นที่รับรู้และเข้าใจตรงกันว่าการได้รับอนุมัติจากเจ้าของงานเป็นสาระสำคัญในการก่อความผูกพันแก่ทั้งสองฝ่าย จึงถือได้ว่าสัญญาจ้างเหมาช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 183 เมื่อที่ปรึกษาโครงการปฏิเสธไม่ให้โจทก์เป็นผู้รับเหมาช่วง ถือว่าเงื่อนไขบังคับก่อนตามสัญญาไม่สำเร็จ สัญญาจ้างเหมาช่วงจึงไม่เป็นผลตาม ป.พ.พ. มาตรา 183 วรรคหนึ่ง โจทก์หาอาจกล่าวอ้างความผูกพันตามสัญญาจ้างเหมาช่วงได้ไม่ และเมื่อสัญญาจ้างเหมาช่วงไม่มีผลใช้บังคับเพราะติดเงื่อนไขบังคับก่อน ดังนั้น ทั้งโจทก์และจำเลยต่างฝ่ายต่างก็จะเรียกร้องค่าจ้างและค่าเสียหายโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาดังกล่าวไม่ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4244/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมชำระหนี้จากการประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่ การไม่มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหาย ไม่ต้องรับผิด
คดีเดิมบริษัท จ. ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดฐานรอนสิทธิตามสัญญาซื้อขายเนื่องจากบริษัท จ. ไม่สามารถนำที่ดินที่ซื้อมาจากจำเลยทั้งสองไปขายบุคคลอื่นได้เพราะถูกยึดไว้ตามหมายบังคับคดี และได้หมายเรียกโจทก์เข้ามาเป็นจำเลยร่วม แม้ศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจะพิพากษากำหนดให้จำเลยทั้งสองและโจทก์ในฐานะจำเลยร่วม ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายต่อบริษัท จ. ในหนี้จำนวนเดียวกัน และเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 บัญญัติว่า ถ้าบุคคลหลายคนเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แต่ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 296 ซึ่งบัญญัติให้ลูกหนี้ร่วมต่างคนต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นนั้น จะต้องพิจารณาด้วยว่าลูกหนี้ร่วมแต่ละคนนั้นมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นอย่างไรและเพียงใด เมื่อข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีเดิมได้ความว่าจำเลยทั้งสองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ไม่ตรวจดูว่าที่ดินที่ซื้อขายถูกยึดไว้หรือไม่ ประกอบกับคดีที่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ถูกฟ้องเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนโอนที่ดินทั้งที่มีหนังสือแจ้งการยึดจากเจ้าพนักงานบังคับคดี ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และจำเลยทั้งสองถูกฟ้องฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวนั้น ศาลพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสอง เมื่อโจทก์คดีนี้มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองรู้ว่าที่ดินเคยถูกยึดไว้ตามหมายบังคับคดีก่อนที่จำเลยทั้งสองจะขายให้แก่บริษัท จ. หรือมีพฤติกรรมใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองน่าจะทราบเรื่องดังกล่าวและปกปิดไม่แจ้งเรื่องให้บริษัท จ. ทราบ อันจะถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท จ. ด้วย จึงฟังได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่โจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว การชำระหนี้ของโจทก์ให้แก่บริษัท จ. ตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีเดิม จึงเป็นการชำระหนี้ในส่วนที่โจทก์เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายเองทั้งสิ้น โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของบริษัท จ. ที่จะมีสิทธิไล่เบี้ยจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3687/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายที่ดิน การบอกเลิกสัญญา ลาภมิควรได้ ค่าเสียหาย และดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว คู่สัญญาจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม
หลังจากที่มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแล้ว จำเลยทั้งสองยินยอมอนุญาตให้โจทก์เข้าพัฒนาที่ดินได้ทันทีและโจทก์ก็เข้าพัฒนาที่ดินโดยการปรับที่ดิน ถมดิน ก่อสร้างถนนและท่อระบายน้ำอันเป็นสาธารณูปโภคบ้างแล้ว ถนนและท่อระบายน้ำดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ที่ตกติดไปกับที่ดินที่จะซื้อจะขายกันอันเป็นประโยชน์ในการจัดสรรต่อไป กรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้มาซึ่งทรัพย์คือถนนและท่อระบายน้ำที่โจทก์ก่อสร้างขึ้นนั้น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์นั้นเสียเปรียบ ลักษณะลาภมิควรได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนทรัพย์นั้นให้แก่โจทก์ แต่เมื่อสภาพทรัพย์ดังกล่าวเป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะตรึงตรากับที่ดินอย่างถาวร โดยสภาพย่อมไม่อาจคืนทรัพย์นั้นได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนโดยใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์
หลังจากที่มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแล้ว จำเลยทั้งสองยินยอมอนุญาตให้โจทก์เข้าพัฒนาที่ดินได้ทันทีและโจทก์ก็เข้าพัฒนาที่ดินโดยการปรับที่ดิน ถมดิน ก่อสร้างถนนและท่อระบายน้ำอันเป็นสาธารณูปโภคบ้างแล้ว ถนนและท่อระบายน้ำดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ที่ตกติดไปกับที่ดินที่จะซื้อจะขายกันอันเป็นประโยชน์ในการจัดสรรต่อไป กรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้มาซึ่งทรัพย์คือถนนและท่อระบายน้ำที่โจทก์ก่อสร้างขึ้นนั้น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์นั้นเสียเปรียบ ลักษณะลาภมิควรได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนทรัพย์นั้นให้แก่โจทก์ แต่เมื่อสภาพทรัพย์ดังกล่าวเป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะตรึงตรากับที่ดินอย่างถาวร โดยสภาพย่อมไม่อาจคืนทรัพย์นั้นได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนโดยใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติกฎหมาย และการปรับบทลงโทษความผิดฐานกระทำอนาจารเด็ก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหาย เด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปี โดยข่มขู่บังคับให้ผู้เสียหายถอดเสื้อผ้าแล้วจำเลยใช้นิ้วสอดใส่ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นการฟ้องให้รับผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคห้า (ที่แก้ไขใหม่) แต่ขณะกระทำความผิดนั้น การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 277 วรรคสาม (เดิม) ซึ่งเป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็ก โดยบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวคงบัญญัติว่าการกระทำโดยใช้วัตถุหรืออวัยวะอื่นซึ่งมิใช่อวัยวะเพศล่วงล้ำอวัยวะเพศของผู้อื่นยังเป็นความผิดอยู่ มิได้เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติในภายหลังให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไปตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง เพียงแต่เปลี่ยนฐานความผิดจากข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารโดยการล่วงล้ำเท่านั้น ซึ่งเป็นคุณมากกว่า การฟ้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 279 วรรคห้า (ที่แก้ไขใหม่) จึงชอบแล้ว และเป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย/จ้างเหมา: การบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการเลิกสัญญากันโดยปริยาย
สัญญาซื้อขายและสัญญาจ้างเหมาที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้หรือเวลาส่งมอบงาน โจทก์ทั้งสองมีหนังสือขอเลื่อนการส่งมอบงาน จำเลยมีหนังสืออนุญาต แต่กำหนดเวลาให้โจทก์ทั้งสองเร่งงานให้เสร็จภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2560 ในชั้นต้นแสดงว่าจำเลยถือเอากำหนดเวลาเป็นสำคัญ แต่เมื่อโจทก์ที่ 2 ขอขยายเวลาออกไปถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2560 ต่อมาวันที่ 20 มิถุนายน 2560 ตัวแทนโจทก์ทั้งสองและผู้จัดการโครงการของจำเลยประชุมกันขยายเวลาออกไปถึงวันที่ 25 กรกฎาคม 2560 ประกอบกับหลังพ้นวันที่ 15 มิถุนายน 2560 โจทก์ทั้งสองยังคงทำงานอยู่ โดยจำเลยมิได้บอกเลิกสัญญา และเมื่อมีการส่งมอบงานไม่ปรากฏว่าจำเลยไม่ยอมรับงานหรือสงวนสิทธิเรียกค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า โจทก์ทั้งสองและจำเลยมิได้ถือเอากำหนดส่งมอบงานวันที่ 15 มิถุนายน 2560 เป็นสำคัญ และถือว่าเป็นสัญญาไม่มีกำหนดระยะเวลาส่งมอบงานแน่นอน การที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาจะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้น ถ้าไม่ชำระหนี้ จำเลยจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาทันทีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่พฤติการณ์ที่จำเลยบอกเลิกสัญญาและโจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ ถือว่าคู่ความตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย โดยไม่ถือว่าโจทก์ทั้งสองผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ทั้งสอง เมื่อสัญญาเลิกกัน โจทก์ทั้งสองและจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ส่วนงานอันได้กระทำให้ ให้ใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆ ตามมาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสาม และเมื่อโจทก์ทั้งสองมิต้องรับผิดต่อจำเลย จำเลยจึงไม่อาจนำหนังสือค้ำประกันทั้งสองฉบับไปเรียกให้ธนาคารรับผิดตามหนังสือค้ำประกันได้ จำเลยจึงมีหน้าที่เพียงคืนหนังสือค้ำประกันทั้งสองฉบับให้แก่โจทก์ทั้งสอง