คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ม. 17

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของกฎหมายใหม่ต่อคดีเก่า: การยกเลิก พ.ร.บ.ฝิ่น และการนับโทษที่ล่าช้า
ขณะจำเลยกระทำความผิดนั้น พระราชบัญญัติฝิ่นยังใช้บังคับอยู่ แต่ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 ยกเลิกพระราชบัญญัติฝิ่น เสียทั้งหมด แล้วกำหนดให้ฝิ่นและมูลฝิ่นเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 และการมีฝิ่นไว้ในความครอบครองกับการเสพฝิ่นยังเป็นความผิดอยู่ แต่ไม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดจึงต้องใช้พระราชบัญญัติฝิ่นที่ใช้ในขณะ กระทำความผิดบังคับแก่คดี สำหรับการมีกล้องสูบฝิ่นไม่ปรากฏว่า พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่2)พ.ศ. 2528 บัญญัติว่า เป็นความผิดการกระทำของจำเลยซึ่งเดิมเป็นความผิด จึงไม่เป็นความผิด อีกต่อไป จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
คำขอให้นับโทษจำเลยต่อจากอีกคดีหนึ่งนั้น โจทก์ต้องขอมาในฟ้อง หรือขอก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา163 การที่โจทก์ เพิ่งมายื่นคำร้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นเมื่อศาลชั้นต้น พิพากษาคดีแล้ว และโจทก์อุทธรณ์คดีอยู่ระหว่างศาลชั้นต้นจะส่ง สำนวนไปศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงขอไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของกฎหมายใหม่ต่อคดีเก่า: การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากฝิ่นเป็นยาเสพติด และข้อจำกัดในการขอให้นับโทษ
ขณะจำเลยกระทำความผิดนั้น พระราชบัญญัติฝิ่นยังใช้บังคับอยู่แต่ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 ยกเลิกพระราชบัญญัติฝิ่น เสียทั้งหมด แล้วกำหนดให้ฝิ่นและมูลฝิ่นเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 และการมีฝิ่นไว้ในความครอบครองกับการเสพฝิ่นยังเป็นความผิดอยู่ แต่ไม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด จึงต้องใช้พระราชบัญญัติฝิ่นที่ใช้ในขณะ กระทำความผิดบังคับแก่คดี สำหรับการมีกล้องสูบฝิ่นไม่ปรากฏว่า พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2528 บัญญัติว่า เป็นความผิดการกระทำของจำเลยซึ่งเดิมเป็นความผิด จึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
คำขอให้นับโทษจำเลยต่อจากอีกคดีหนึ่งนั้น โจทก์ต้องขอมาในฟ้อง หรือขอก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา63 การที่โจทก์ เพิ่งมายื่นคำร้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นเมื่อศาลชั้นต้น พิพากษาคดีแล้ว และโจทก์อุทธรณ์คดีอยู่ระหว่างศาลชั้นต้นจะส่ง สำนวนไปศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงขอไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอาญา: ความผิดเกิดขึ้นต่างท้องที่ – การสอบสวนในกรุงเทพฯ ทำให้ศาลอาญามีอำนาจพิจารณา
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เมื่อล่วงเลยกำหนดอายุอุทธรณ์แล้วว่า ความผิดคดีนี้เกิดขึ้นใน เขตศาลจังหวัดลำพูนและเขตศาลจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องที่ศาลอาญา ปัญหานี้แม้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้แต่ เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยได้
เจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 1 ที่จังหวัดลำพูน จับจำเลย ที่ 2 ที่กรุงเทพมหานคร ได้ในวันเดียวกันพร้อมด้วย มอร์ฟีนของกลาง ต่อมาจับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ที่ จังหวัดเชียงใหม่ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้ตั้งข้อหาว่า จำเลยร่วมกันมีมอร์ฟีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย และได้ทำการสอบสวนความผิดที่ถูกกล่าวหานี้แล้วที่ กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ ศาลอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฟ้องคดีอาญา: เขตอำนาจตามสถานที่จับกุมและสอบสวน
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เมื่อล่วงเลยกำหนดอายุอุทธรณ์แล้วว่า ความผิดคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดลำพูนและเขตศาลจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องที่ศาลอาญา ปัญหานี้แม้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้แต่ เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยได้
เจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 1 ที่จังหวัดลำพูนจับจำเลย ที่ 2 ที่กรุงเทพมหานคร ได้ในวันเดียวกันพร้อมด้วยมอร์ฟีนของกลาง ต่อมาจับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ที่ จังหวัดเชียงใหม่ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้ตั้งข้อหาว่าจำเลยร่วมกันมีมอร์ฟีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย และได้ทำการสอบสวนความผิดที่ถูกกล่าวหานี้แล้วที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ ศาลอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 22(1)
of 2