พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินสงเคราะห์และบำเหน็จชราภาพจากประกันสังคมสำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้หลังผู้ประกันตนเสียชีวิต
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 73 เป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างซึ่งเป็นผู้มีฐานะด้อยในสังคม เพื่อให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างและครอบครัว ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนส่วนใหญ่จะอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ประกันสังคมดังกล่าว คำว่า "บุตร" จึงต้องหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและรวมถึงบุตรอันแท้จริงของผู้ประกันตนซึ่งถึงแก่ความตายด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นบุตรอันแท้จริงของ ป. โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ในกรณีที่ ป. ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 73 (2)
ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ที่ประสงค์จะให้ผู้ประกันตนหรือทายาทของผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุน เพื่อเป็นการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนหรือทายาทของผู้ประกันตน ประกอบกับ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1) ก็มิได้กำหนดให้บุตรชอบด้วยกฎหมายนั้นต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายขณะที่ผู้ประกันตนยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น เมื่อขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ ป. ตามคำสั่งศาลแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพของ ป. ผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1)
ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ที่ประสงค์จะให้ผู้ประกันตนหรือทายาทของผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุน เพื่อเป็นการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนหรือทายาทของผู้ประกันตน ประกอบกับ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1) ก็มิได้กำหนดให้บุตรชอบด้วยกฎหมายนั้นต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายขณะที่ผู้ประกันตนยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น เมื่อขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ ป. ตามคำสั่งศาลแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพของ ป. ผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4325/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ: การยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี และเหตุอันสมควร
ผู้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพที่ยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธิตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้า แต่หากผู้ยื่นคำขอดังกล่าวมีเหตุอันสมควรหรือมีความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไม่ได้ เมื่อตามบัตรประกันสังคมไม่มีข้อความใดที่บอกให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างผู้ประกันตนได้ทราบว่าต้องยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนต่อจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน แต่ข้อความนี้กลับมีระบุไว้เป็นคำเตือนในแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน ซึ่งลูกจ้างผู้ประกันตนจะเห็นคำเตือนให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปีนี้ได้ก็ต่อเมื่อมายื่นคำขอเท่านั้น ซึ่งเป็นการเห็นที่ไม่ก่อให้เกิดการรับรู้ก่อนการยื่นคำขอ ดังนั้น จึงมีเหตุอันสมควรที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ทราบว่าต้องยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน และมีเหตุอันสมควรที่โจทก์ต้องใช้สิทธิยื่นคำขอล่าช้า จึงนำระยะเวลาที่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเพราะไม่ทราบว่ามีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพและต้องยื่นคำขอภายใน 1 ปี มาตัดสิทธิของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3622/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม: การยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี และเหตุผลความจำเป็น
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง หากผู้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนมิได้ยื่นคำขอภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนตามปกติบุคคลนั้นย่อมเสียสิทธิ แต่เมื่อมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาดก็ต้องแปลว่า การที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธินั้นต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรเหรือมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอเสียทีเดียวหาได้ไม่ คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังยุติตามคำฟ้องของโจทก์ว่า สาเหตุที่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพภายใน 1 ปี นับแต่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเนื่องจากโจทก์ไม่ทราบว่าจะต้องยื่นคำขอภายในกำหนดดังกล่าว และโจทก์อ้างว่าเมื่อสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้วจำเลยก็น่าจะแจ้งให้โจทก์ทราบ ดังนี้ ข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวมิใช่เหตุอันสมควรหรือความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิล่าช้าแต่อย่างใด การที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน โจทก์ย่อมเสียสิทธิดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861-864/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร การพิจารณาช่วงเวลาการยื่นคำขอและเหตุผลความล่าช้า
สิทธิในการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรจะเกิดมีขึ้นเมื่อใดนั้นจะต้องพิจารณาจากวันคลอดบุตรของผู้ประกันตนประกอบกับผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดแล้วหรือไม่ แม้โจทก์ทั้งสี่ไม่ได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรต่อจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ทั้งสี่คลอดบุตร แต่ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาด กรณีที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธิ ต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าภายในระยะเวลา 1 ปีดังกล่าว โจทก์ทั้งสี่ยังไม่อาจใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรจากจำเลยได้ เนื่องจากมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับการส่งเงินสมทบระหว่างนายจ้างของโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยว่าจะต้องส่งเงินสมทบกรณีคลอดบุตรและตายเพียงใด ต่อมาหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว นายจ้างของโจทก์ทั้งสี่เพิ่งส่งเงินสมทบย้อนหลังกรณีคลอดบุตรและตายให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2543 โจทก์ทั้งสี่จึงอยู่ในฐานะที่อาจใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรต่อจำเลยได้นับแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2543 เป็นต้นไป การขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรของโจทก์ทั้งสี่ต่อจำเลย ถือว่าเป็นการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11394-11547/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม: เหตุผลอันสมควรล่าช้าการยื่นคำขอ
วันที่มีการคลอดบุตรหรือตายแล้วแต่กรณีตามฟ้องของโจทก์นั้น โจทก์ยังมิได้จ่ายเงินสมทบให้แก่จำเลยครบถ้วนตามกฎหมาย อันจะทำให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน เพราะอยู่ในระหว่างที่มีการโต้แย้งขององค์การค้าของคุรุสภาซึ่งเป็นนายจ้างกับจำเลยว่าจะต้องจ่ายเงินสมทบในกรณีคลอดบุตรหรือกรณีตายเพียงใด ดังนั้น โจทก์จึงยังมิอาจใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันคลอดบุตรหรือวันตายแล้วแต่กรณีตาม พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แต่มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาด การที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธินั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอเสียทีเดียวหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่า องค์การค้าของคุรุสภาออกประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทั้งหมดรวมทั้งโจทก์ทราบเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2543 ว่าจะต้องหักเงินสมทบส่วนของลูกจ้างเพิ่มเติมในกรณีคลอดบุตรและกรณีตาย โดยจะหักย้อนหลังไปจนถึงเดือนเมษายน 2538 และองค์การค้าของคุรุสภาได้สำรองจ่ายแทนเงินสมทบส่วนของลูกจ้างส่งไปให้จำเลยเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2543 และหักเงินสมทบจากลูกจ้างทั้งหมดครบถ้วน เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2544 ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนสำหรับกรณีคลอดบุตรหรือกรณีตายที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือนเมษายน 2538 ถึงเดือนสิงหาคม 2544 เกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันคลอดบุตรหรือวันตายอันเป็นวันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนนั้น เป็นกรณีที่โจทก์มีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้า โจทก์จึงยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนได้