พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3054/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเอาความอันเป็นเท็จ-เบิกความเท็จในคดีอาญา: ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษและไม่รอการลงโทษ
การที่โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดข้อหาเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญาตาม ป.อ. มาตรา 175 โดยกล่าวถึงข้อความซึ่งอ้างว่าจำเลยเอาความอันเป็นเท็จฟ้องโจทก์ต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา และได้บรรยายฟ้องให้เห็นด้วยว่าความจริงเป็นประการใด แล้วต่อมาโจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องต่อเนื่องเชื่อมโยงกับข้อหาเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาลตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคสอง โดยกล่าวถึงข้อความซึ่งอ้างว่าจำเลยเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาลไว้ด้วยแล้ว ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าความจริงเป็นประการใด แต่เมื่อได้อ่านคำฟ้องโดยรวมทั้งหมดแล้ว ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่า ความจริงดังกล่าวก็เป็นเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์บรรยายฟ้องให้เห็นว่าความจริงเป็นประการใดในข้อหาเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา จำเลยให้การปฏิเสธ ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำพิพากษา จำเลยได้ยื่นฎีกา จึงบ่งชี้ว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ คำฟ้องโจทก์ในข้อหาเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาลตาม ป.อ. มาตรา 177 จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4995/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไม่มีผลบังคับใช้เมื่อเงื่อนไขบังคับก่อนไม่สำเร็จ แม้จำเลยผิดสัญญาในการช่วยเหลือให้ได้อนุมัติ
โจทก์ทราบเงื่อนไขในสัญญาจ้างเหมาช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าโจทก์จะเริ่มทำงานตามสัญญาจ้างเหมาช่วงได้ต่อเมื่อโจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำงานจากเจ้าของงานหรือที่ปรึกษาโครงการซึ่งเป็นที่รับรู้และเข้าใจตรงกันว่าการได้รับอนุมัติจากเจ้าของงานเป็นสาระสำคัญในการก่อความผูกพันแก่ทั้งสองฝ่าย จึงถือได้ว่าสัญญาจ้างเหมาช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 183 เมื่อที่ปรึกษาโครงการปฏิเสธไม่ให้โจทก์เป็นผู้รับเหมาช่วง ถือว่าเงื่อนไขบังคับก่อนตามสัญญาไม่สำเร็จ สัญญาจ้างเหมาช่วงจึงไม่เป็นผลตาม ป.พ.พ. มาตรา 183 วรรคหนึ่ง โจทก์หาอาจกล่าวอ้างความผูกพันตามสัญญาจ้างเหมาช่วงได้ไม่ และเมื่อสัญญาจ้างเหมาช่วงไม่มีผลใช้บังคับเพราะติดเงื่อนไขบังคับก่อน ดังนั้น ทั้งโจทก์และจำเลยต่างฝ่ายต่างก็จะเรียกร้องค่าจ้างและค่าเสียหายโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาดังกล่าวไม่ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4244/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมชำระหนี้จากการประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่ การไม่มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหาย ไม่ต้องรับผิด
คดีเดิมบริษัท จ. ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดฐานรอนสิทธิตามสัญญาซื้อขายเนื่องจากบริษัท จ. ไม่สามารถนำที่ดินที่ซื้อมาจากจำเลยทั้งสองไปขายบุคคลอื่นได้เพราะถูกยึดไว้ตามหมายบังคับคดี และได้หมายเรียกโจทก์เข้ามาเป็นจำเลยร่วม แม้ศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจะพิพากษากำหนดให้จำเลยทั้งสองและโจทก์ในฐานะจำเลยร่วม ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายต่อบริษัท จ. ในหนี้จำนวนเดียวกัน และเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 บัญญัติว่า ถ้าบุคคลหลายคนเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แต่ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 296 ซึ่งบัญญัติให้ลูกหนี้ร่วมต่างคนต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นนั้น จะต้องพิจารณาด้วยว่าลูกหนี้ร่วมแต่ละคนนั้นมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นอย่างไรและเพียงใด เมื่อข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีเดิมได้ความว่าจำเลยทั้งสองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ไม่ตรวจดูว่าที่ดินที่ซื้อขายถูกยึดไว้หรือไม่ ประกอบกับคดีที่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ถูกฟ้องเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนโอนที่ดินทั้งที่มีหนังสือแจ้งการยึดจากเจ้าพนักงานบังคับคดี ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และจำเลยทั้งสองถูกฟ้องฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวนั้น ศาลพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสอง เมื่อโจทก์คดีนี้มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองรู้ว่าที่ดินเคยถูกยึดไว้ตามหมายบังคับคดีก่อนที่จำเลยทั้งสองจะขายให้แก่บริษัท จ. หรือมีพฤติกรรมใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองน่าจะทราบเรื่องดังกล่าวและปกปิดไม่แจ้งเรื่องให้บริษัท จ. ทราบ อันจะถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท จ. ด้วย จึงฟังได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่โจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว การชำระหนี้ของโจทก์ให้แก่บริษัท จ. ตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีเดิม จึงเป็นการชำระหนี้ในส่วนที่โจทก์เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายเองทั้งสิ้น โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของบริษัท จ. ที่จะมีสิทธิไล่เบี้ยจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3687/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายที่ดิน การบอกเลิกสัญญา ลาภมิควรได้ ค่าเสียหาย และดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว คู่สัญญาจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม
หลังจากที่มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแล้ว จำเลยทั้งสองยินยอมอนุญาตให้โจทก์เข้าพัฒนาที่ดินได้ทันทีและโจทก์ก็เข้าพัฒนาที่ดินโดยการปรับที่ดิน ถมดิน ก่อสร้างถนนและท่อระบายน้ำอันเป็นสาธารณูปโภคบ้างแล้ว ถนนและท่อระบายน้ำดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ที่ตกติดไปกับที่ดินที่จะซื้อจะขายกันอันเป็นประโยชน์ในการจัดสรรต่อไป กรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้มาซึ่งทรัพย์คือถนนและท่อระบายน้ำที่โจทก์ก่อสร้างขึ้นนั้น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์นั้นเสียเปรียบ ลักษณะลาภมิควรได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนทรัพย์นั้นให้แก่โจทก์ แต่เมื่อสภาพทรัพย์ดังกล่าวเป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะตรึงตรากับที่ดินอย่างถาวร โดยสภาพย่อมไม่อาจคืนทรัพย์นั้นได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนโดยใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์
หลังจากที่มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแล้ว จำเลยทั้งสองยินยอมอนุญาตให้โจทก์เข้าพัฒนาที่ดินได้ทันทีและโจทก์ก็เข้าพัฒนาที่ดินโดยการปรับที่ดิน ถมดิน ก่อสร้างถนนและท่อระบายน้ำอันเป็นสาธารณูปโภคบ้างแล้ว ถนนและท่อระบายน้ำดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ที่ตกติดไปกับที่ดินที่จะซื้อจะขายกันอันเป็นประโยชน์ในการจัดสรรต่อไป กรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้มาซึ่งทรัพย์คือถนนและท่อระบายน้ำที่โจทก์ก่อสร้างขึ้นนั้น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์นั้นเสียเปรียบ ลักษณะลาภมิควรได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนทรัพย์นั้นให้แก่โจทก์ แต่เมื่อสภาพทรัพย์ดังกล่าวเป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะตรึงตรากับที่ดินอย่างถาวร โดยสภาพย่อมไม่อาจคืนทรัพย์นั้นได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนโดยใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติกฎหมาย และการปรับบทลงโทษความผิดฐานกระทำอนาจารเด็ก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหาย เด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปี โดยข่มขู่บังคับให้ผู้เสียหายถอดเสื้อผ้าแล้วจำเลยใช้นิ้วสอดใส่ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นการฟ้องให้รับผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคห้า (ที่แก้ไขใหม่) แต่ขณะกระทำความผิดนั้น การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 277 วรรคสาม (เดิม) ซึ่งเป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็ก โดยบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวคงบัญญัติว่าการกระทำโดยใช้วัตถุหรืออวัยวะอื่นซึ่งมิใช่อวัยวะเพศล่วงล้ำอวัยวะเพศของผู้อื่นยังเป็นความผิดอยู่ มิได้เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติในภายหลังให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไปตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง เพียงแต่เปลี่ยนฐานความผิดจากข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารโดยการล่วงล้ำเท่านั้น ซึ่งเป็นคุณมากกว่า การฟ้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 279 วรรคห้า (ที่แก้ไขใหม่) จึงชอบแล้ว และเป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย/จ้างเหมา: การบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการเลิกสัญญากันโดยปริยาย
สัญญาซื้อขายและสัญญาจ้างเหมาที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้หรือเวลาส่งมอบงาน โจทก์ทั้งสองมีหนังสือขอเลื่อนการส่งมอบงาน จำเลยมีหนังสืออนุญาต แต่กำหนดเวลาให้โจทก์ทั้งสองเร่งงานให้เสร็จภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2560 ในชั้นต้นแสดงว่าจำเลยถือเอากำหนดเวลาเป็นสำคัญ แต่เมื่อโจทก์ที่ 2 ขอขยายเวลาออกไปถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2560 ต่อมาวันที่ 20 มิถุนายน 2560 ตัวแทนโจทก์ทั้งสองและผู้จัดการโครงการของจำเลยประชุมกันขยายเวลาออกไปถึงวันที่ 25 กรกฎาคม 2560 ประกอบกับหลังพ้นวันที่ 15 มิถุนายน 2560 โจทก์ทั้งสองยังคงทำงานอยู่ โดยจำเลยมิได้บอกเลิกสัญญา และเมื่อมีการส่งมอบงานไม่ปรากฏว่าจำเลยไม่ยอมรับงานหรือสงวนสิทธิเรียกค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า โจทก์ทั้งสองและจำเลยมิได้ถือเอากำหนดส่งมอบงานวันที่ 15 มิถุนายน 2560 เป็นสำคัญ และถือว่าเป็นสัญญาไม่มีกำหนดระยะเวลาส่งมอบงานแน่นอน การที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาจะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้น ถ้าไม่ชำระหนี้ จำเลยจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาทันทีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่พฤติการณ์ที่จำเลยบอกเลิกสัญญาและโจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ ถือว่าคู่ความตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย โดยไม่ถือว่าโจทก์ทั้งสองผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ทั้งสอง เมื่อสัญญาเลิกกัน โจทก์ทั้งสองและจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ส่วนงานอันได้กระทำให้ ให้ใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆ ตามมาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสาม และเมื่อโจทก์ทั้งสองมิต้องรับผิดต่อจำเลย จำเลยจึงไม่อาจนำหนังสือค้ำประกันทั้งสองฉบับไปเรียกให้ธนาคารรับผิดตามหนังสือค้ำประกันได้ จำเลยจึงมีหน้าที่เพียงคืนหนังสือค้ำประกันทั้งสองฉบับให้แก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิค่าใช้จ่ายส่วนกลางอาคารชุด: มีลำดับก่อนเจ้าหนี้จำนอง แม้แจ้งหนี้ล่าช้า ตราบใดที่แจ้งก่อนจ่ายเงิน
แม้ผู้ร้องไม่ได้ส่งรายการหนี้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 335 วรรคสอง ก็มิได้ทำให้บุริมสิทธิของผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18 วรรคสอง ซึ่งเป็นบุริมสิทธิลำดับเดียวกับบุริมสิทธิตามมาตรา 273 (1) แห่ง ป.พ.พ. และมีอยู่เหนือทรัพย์ส่วนบุคคลของแต่ละเจ้าของห้องชุด ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 41 (2) ต้องเสียไป และเมื่อผู้ร้องส่งรายการหนี้ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 41 วรรคท้าย ก่อนที่จะมีการจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดห้องชุดพิพาทแล้ว ย่อมทำให้ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิอยู่ในลำดับก่อนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับความผิดตาม พ.ร.บ.บริษัทฯ และความผิดทางแพ่ง การฟ้องที่ไม่ชัดเจนและข้อเท็จจริงที่ไม่ครบถ้วน
จำเลยที่ 6 เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท น. จำเลยที่ 6 ย่อมมีสิทธิเข้าประชุมในที่ประชุมใหญ่ได้เสมอไม่ว่าจะเป็นประชุมชนิดใดคราวใด แต่หากจำเลยที่ 6 มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใดซึ่งที่ประชุมจะลงมติแล้ว จำเลยที่ 6 ย่อมไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนด้วยในข้อนั้น ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1176 และ 1185 แห่ง ป.พ.พ. ดังนั้น การที่จำเลยที่ 6 ได้ออกเสียงลงคะแนนในกรณีดังกล่าว จึงมีผลเพียงทำให้มีข้อพิจารณาว่ามติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นดังกล่าวเป็นมติพิเศษชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่หาได้เป็นการลวงว่าตนเป็นผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 6 จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 47
การกระทำความผิดตามมาตรา 42 และมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 ผู้กระทำความผิดจะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นหรือผู้มีส่วนได้เสียในบริษัทขาดประโยชน์อันควรได้ แต่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดมิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้อย่างไรบ้าง จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
การทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลง หรือตัดทอนหลักประกันของบริษัทตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 42 (1) นั้น หมายถึงหลักประกันที่บริษัทได้รับเข้ามา หาใช่ทรัพย์สินของบริษัทที่นำไปใช้เป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ตามฟ้องข้อนี้จึงไม่เป็นความผิด
การกระทำความผิดตามมาตรา 42 และมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 ผู้กระทำความผิดจะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นหรือผู้มีส่วนได้เสียในบริษัทขาดประโยชน์อันควรได้ แต่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดมิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้อย่างไรบ้าง จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
การทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลง หรือตัดทอนหลักประกันของบริษัทตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 42 (1) นั้น หมายถึงหลักประกันที่บริษัทได้รับเข้ามา หาใช่ทรัพย์สินของบริษัทที่นำไปใช้เป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ตามฟ้องข้อนี้จึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาต้องระบุเจตนาพิเศษในการหลอกลวงเพื่อประโยชน์ทางการเงิน หากคำฟ้องขาดองค์ประกอบนี้ ศาลยกฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้ากระทำหรือยินยอมให้กระทำเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ต้องระวางโทษ... ดังนั้น การกระทำความผิดฐานดังกล่าวผู้กระทำจะต้องมีมูลเหตุจูงใจอันเป็นเจตนาพิเศษ เพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานนี้ แต่โจทก์บรรยายคำฟ้องเพียงว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการกระทำหรือยินยอมให้กระทำในการจัดทำเอกสารเท็จหรือลงข้อความอันเป็นเท็จในเอกสารของมูลนิธิเพื่อลวงให้กรรมการมูลนิธิและประชาชนเชื่อว่ามีการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิตามวันเวลา สถานที่ และรายละเอียดการประชุมจริง เพื่อแสดงให้เชื่อว่ามูลนิธิเป็นเจ้าของกิจการบ้านลุงสนิทของโจทก์ อันเป็นการทำให้โจทก์ในฐานะส่วนตัวและเป็นกรรมการของมูลนิธิได้รับความเสียหาย โดยคำฟ้องมิได้บรรยายว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มีมูลเหตุชักจูงใจอันเป็นเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้แต่ประการใด คำฟ้องของโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิด ตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 วรรคสอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2308/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามบันทึกเรื่องทรัพย์สินหลังหย่า และอายุความของคดีเรียกร้องสิทธิ
บันทึกเรื่องทรัพย์สินท้ายทะเบียนการหย่าระหว่าง ก. และโจทก์ระบุเรื่องทรัพย์สินชัดเจนว่า ข้อ 3.2 แมนชั่น เลขที่ 246/18 ฝ่ายหญิงยินยอมให้เป็นกรรมสิทธิ์ของฝ่ายชาย แต่มีเงื่อนไขข้อ 3.2.1. ว่าฝ่ายชายจะต้องจ่ายเงินจากรายได้ค่าเช่าให้ฝ่ายหญิงทุกวันที่ 5 ของเดือน ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นไปตลอดชีวิตของฝ่ายหญิง และข้อ 3.2.2. ถ้าฝ่ายชายขายแมนชั่นต้องแบ่งเงินให้แก่ฝ่ายหญิงครึ่งหนึ่ง ข้อ 3.3 ฝ่ายชายจะแบ่งรายได้จากค่าเช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 819 ปีละ 40,000 บาท โดยชำระ 2 งวด งวดละ 20,000 บาท ข้อ 3.4 ถ้าฝ่ายชายขายที่ดินได้จะแบ่งเงินให้ฝ่ายหญิงร้อยละ 10 ของรายได้สุทธิที่ได้จากการขายที่ดิน ข้อตกลงดังกล่าวทำให้เห็นว่าหาก ก. ต้องการให้โจทก์มีรายได้จากทรัพย์สินจนกว่า ก. จะถึงแก่ความตาย ย่อมสามารถระบุให้ชัดเจนได้ว่า ตลอดชีวิตของฝ่ายชาย การที่ ก. ระบุว่า จะต้องจ่ายเงินจากรายได้ค่าเช่าให้ฝ่ายหญิงตลอดชีวิตของฝ่ายหญิง แสดงให้เห็นว่า ก. ต้องการให้โจทก์มีรายได้เลี้ยงตัวเอง และหากมีการขายทรัพย์สินดังกล่าวจะต้องแบ่งเงินให้ฝ่ายหญิง บันทึกเรื่องทรัพย์สินเป็นข้อตกลงที่ผูกพันทรัพย์สิน เมื่อจำเลยที่ 1 บุตร ก. เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินทั้งสองรายการจาก ก. จึงต้องผูกพันตามบันทึกเรื่องทรัพย์สินดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามบันทึกเรื่องทรัพย์สินท้ายทะเบียนการหย่า จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
ก. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนที่ ก. ถึงแก่ความตาย การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก ก. ซึ่งเป็นบิดา เพื่อให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามบันทึกเรื่องทรัพย์สินท้ายทะเบียนการหย่า มิได้ฟ้องคดีโดยใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อเจ้ามรดกอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ก. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนที่ ก. ถึงแก่ความตาย การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก ก. ซึ่งเป็นบิดา เพื่อให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามบันทึกเรื่องทรัพย์สินท้ายทะเบียนการหย่า มิได้ฟ้องคดีโดยใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อเจ้ามรดกอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ