พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพสงเคราะห์: ทายาทตามกฎหมายเท่านั้น
คำว่า "ทายาท" ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 หมายถึง ทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงทายาทตามความเป็นจริงด้วย เมื่อโจทก์เป็นบิดาตามความเป็นจริง แต่มิใช่เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตน และมิใช่เป็นทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตน จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 77 จัตวา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ: 'ทายาท' ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ต้องเป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 73 (1) บัญญัติว่า การจ่ายเงินค่าทำศพให้จ่ายแก่ "บุคคล" ตามลำดับดังนี้... มาตรา 73 (2) การจ่ายเงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายให้จ่ายแก่ "บุคคล"... มาตรา 75 จัตวา การจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรแก่ "บุคคล" ตามลำดับ ดังนี้ แต่ในมาตรา 77 จัตวา บัญญัติว่า "ทายาท" ของผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ "ทายาท" ผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่งได้แก่ (1) (2) (3)... เมื่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวใช้คำว่า "บุคคล" กับ "ทายาท" แสดงว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะให้มีความแตกต่างกัน และคำว่า "ทายาท" ซึ่งเป็นถ้อยคำในบทบัญญัติของกฎหมายจึงต้องแปลความหมายโดยเทียบเคียงกับคำว่า "ทายาท" ในกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 และกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในกรณีนี้ก็คือบทบัญญัติใน ป.พ.พ. บรรพ 6 ว่าด้วยมรดก ซึ่งมีบทบัญญัติถึงคำว่า "ทายาท" อยู่ในมาตรา 1659, 1603 โดยคำว่า "ทายาท" ในบทบัญญัติดังกล่าวนี้หมายถึงเฉพาะทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ดังนั้น คำว่า "ทายาท" ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 จัตวา จึงต้องหมายถึง ทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นมิได้หมายความรวมถึงทายาทตามความเป็นจริงด้วยแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินสงเคราะห์และบำเหน็จชราภาพ: การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหลังผู้ประกันตนเสียชีวิต
พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ เป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างซึ่งเป็นผู้มีฐานะด้อยในทางสังคม เพื่อให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างและครอบครัว ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนส่วนใหญ่จะอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ดังนั้น ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ ดังกล่าว คำว่า "บุตร" ตามมาตรา 73 จึงต้องหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและรวมถึงบุตรอันแท้จริงของผู้ประกันตนซึ่งถึงแก่ความตายด้วย
พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1) ก็มิได้กำหนดให้บุตรชอบด้วยกฎหมายนั้นจะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายขณะที่ผู้ประกันตนยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น เมื่อในขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนตามคำสั่งศาลแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1)
พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1) ก็มิได้กำหนดให้บุตรชอบด้วยกฎหมายนั้นจะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายขณะที่ผู้ประกันตนยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น เมื่อในขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนตามคำสั่งศาลแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินสงเคราะห์กรณีตายของบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: เจตนารมณ์ของพรบ.ประกันสังคม
ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 คำว่า "บุตร" ตามมาตรา 73 (2) มิได้หมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น แต่รวมถึงบุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนด้วย เมื่อโจทก์เป็นบุตรอันแท้จริงของผู้ประกันตนซึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายตามมาตรา 73 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8889/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีเสียชีวิต: การจ่ายค่าจ้างวันหยุดตามประเพณีและหน้าที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม แม้ผู้รับจ้างลาป่วย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 29 บัญญัติให้นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างมีวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาตินั้น ก็เพื่อให้ลูกจ้างประกอบกิจกรรมสำคัญทางศาสนาหรือตามประเพณีนิยม ซี่งวันหยุดดังกล่าวล้วนแต่ให้หยุดในระหว่างการทำงานทั้งสิ้น เมื่อ ฉ. ลาป่วยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ตลอดมาจนถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 โดยไม่มีการทำงานให้แก่นายจ้าง จึงไม่มีวันหยุดตามประเพณีดังกล่าว นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณีให้แก่ ฉ. และไม่ได้หักค่าจ้างของ ฉ. ส่งสำนักงานประกันสังคมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2545 เมื่อ ฉ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 โดยไม่ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนภายในระยะเวลาหกเดือนก่อนถึงแก่ความตาย พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 73 โจทก์ซึ่งเป็นภรรยาของ ฉ. จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีตายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4788/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีตายหลังสิ้นสภาพลูกจ้าง: การส่งเงินสมทบต่อเนื่องและการปฏิเสธการรับชำระเงิน
ผู้ประกันตนถูกนายจ้างเลิกจ้าง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ต่อไปอีก 6 เดือน คือถึงวันที่ 31 มกราคม 2544 สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 อนุมัติให้เป็นผู้ประกันตนต่อไปตามมาตรา 39 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 และให้ส่งเงินสมทบภายในวันที่ 1 ถึง 15 มีนาคม 2544 โจทก์ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบแต่เจ้าหน้าที่ของจำเลยปฏิเสธที่จะรับชำระเงินสมทบ ครั้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายดังนี้ สำนักงานประกันสังคมจะปฏิเสธจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีตายโดยอ้างว่าผู้ประกันตนถึงแก่ความตายหลังจากสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเกิน 6 เดือน โดยผู้ประกันตนไม่ได้ส่งเงินสมทบหนึ่งเดือนภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนถึงแก่ความตายไม่ได้ เพราะโจทก์ได้แสดงความจำนงขอชำระเงินสมทบงวดแรกตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2544 แล้ว เป็นความผิดของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคมเองที่ไม่ยอมรับ สำนักงานประกันสังคมจึงต้องจ่ายเงินประโยชน์ทดแทนในกรณีตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4940/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินสงเคราะห์กรณีตายของบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม
ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "บุตร" ว่ามีความหมายอย่างไร เมื่อพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างซึ่งเป็นผู้มีฐานะด้อยในทางสังคมเพื่อให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างและครอบครัว ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนส่วนใหญ่มักจะอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ดังนั้น คำว่า "บุตร" ตามมาตรา 73 จึงต้องหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและรวมถึงบุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนด้วยเมื่อโจทก์เป็นบุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ส. ผู้ประกันตนซึ่งถึงแก่ความตายโจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ในกรณี ส. ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 73(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม-การเรียกร้องค่าเสียหาย-การสละสิทธิ-ค่ารักษาพยาบาล
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนประสบอันตรายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานโดยถูกบุคคลอื่นทำละเมิดขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่อชนได้รับบาดเจ็บ โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมตามพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 และยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดอีกด้วย
การที่โจทก์และมารดาโจทก์ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ไม่ใช้สิทธิประกันสังคมกับโรงพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมทำความตกลงไว้แต่จะเลือกใช้สิทธิให้ผู้ทำละเมิดต่อโจทก์เป็นผู้ออกค่ารักษาพยาบาลซึ่งมีมาตรฐานการรักษาพยาบาลสูงกว่าสิทธิที่จะได้รับจากการประกันสังคมนั้น ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้อตกลงตามหนังสือดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับเงินค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด และนำไปชำระเป็นค่ารักษาพยาบาลแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากกองทุนประกันสังคมซ้ำอีก
การที่โจทก์และมารดาโจทก์ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ไม่ใช้สิทธิประกันสังคมกับโรงพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมทำความตกลงไว้แต่จะเลือกใช้สิทธิให้ผู้ทำละเมิดต่อโจทก์เป็นผู้ออกค่ารักษาพยาบาลซึ่งมีมาตรฐานการรักษาพยาบาลสูงกว่าสิทธิที่จะได้รับจากการประกันสังคมนั้น ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้อตกลงตามหนังสือดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับเงินค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด และนำไปชำระเป็นค่ารักษาพยาบาลแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากกองทุนประกันสังคมซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคมและการสละสิทธิเพื่อรับการรักษาพยาบาลที่ดีกว่า
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนประสบอันตรายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานโดยถูกบุคคลอื่นทำละเมิดขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่อชนได้รับบาดเจ็บโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533และยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดอีกด้วย การที่โจทก์และมารดาโจทก์ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ไม่ใช้สิทธิประกันสังคมกับโรงพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมทำความตกลงไว้แต่จะเลือกใช้สิทธิให้ผู้ทำละเมิดต่อโจทก์เป็นผู้ออกค่ารักษาพยาบาลซึ่งมีมาตรฐานการรักษาพยาบาลสูงกว่าสิทธิที่จะได้รับจากการประกันสังคมนั้นไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงตามหนังสือดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์เมื่อโจทก์ได้รับเงินค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดและนำไปชำระเป็นค่ารักษาพยาบาลแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากกองทุนประกันสังคมซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม: พิจารณาจากโครงสร้างเงินเดือนลูกจ้างทั้งระบบ
เมื่อปรากฏว่าสวัสดิการที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างในกรณีการตาย นั้น บางกรณีลูกจ้างได้รับประโยชน์สูงกว่าบางกรณีได้รับประโยชน์ต่ำกว่าประโยชน์ทดแทนกรณีตาย ตามพ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ดังนี้การจะพิจารณาว่าสวัสดิการของโจทก์ที่จัดให้แก่ลูกจ้างในกรณีการตาย อันมิใช่เนื่องมาจากการทำงานนั้น มีการจ่ายในอัตราสูงกว่าประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ หรือไม่ จะต้องพิจารณาจากโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบ มิใช่พิจารณาแต่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง กรณีนี้เมื่อพิจารณาโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบแล้วสวัสดิการของโจทก์ที่จัดให้แก่ลูกจ้างมีอัตราสูงกว่าประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ โจทก์จึงมีสิทธิขอลดส่วนอัตราเงินสมทบสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีตาย ได้.