พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะจากละเมิด ศาลกำหนดตามสมควรแก่พฤติการณ์
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1453 สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกัน ดังนั้น เมื่อสามีโจทก์ถูกจำเลยยิงตายโดยละเมิด จำเลยจึงต้องชดใช้ที่โจทก์ขาดไร้อุปการะจากสามี และแม้โจทก์จะนำสืบไม่ได้แน่นอนว่าค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเท่าใด ศาลก็กำหนดให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิด
โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และได้ยื่นคำขอต่อศาลขอว่าความอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาได้โดยไม่จำต้องฟังคำคัดค้านของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนเพราะในกรณีเช่นนี้เป็นเรื่องระหว่างศาลกับคู่ความที่ร้องขอ
โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และได้ยื่นคำขอต่อศาลขอว่าความอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาได้โดยไม่จำต้องฟังคำคัดค้านของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนเพราะในกรณีเช่นนี้เป็นเรื่องระหว่างศาลกับคู่ความที่ร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาลและการเป็นผู้เสียหายโดยตรง: ศาลเป็นผู้เสียหายจากการไม่ชำระค่าธรรมเนียม ไม่ใช่คู่ความ
การที่กฎหมายบัญญัติให้ชำระค่าธรรมเนียมศาลนั้น เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการเก็บเป็นรายได้ของรัฐบาล เมื่อมีการหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาล ศาลย่อมเป็นผู้เสียหาย บุคคลอื่นหาใช่ผู้เสียหายโดยตรงไม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซึ่งแพ้คดีแพ่งได้ยื่นคำร้องและเบิกความในการขออุทธรณ์และฎีกาอย่างคนอนาถาอันเป็นเท็จว่า จำเลยยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะจำหน่ายจ่ายโอนเพื่อหาเงินมาเสียค่าธรรมเนียมได้ ทำให้โจทก์เสียหายโดยต้องอ้างพยานมาสืบต่อสู้ ต้องเสียค่าธรรมเนียมค่าทนายและค่าใช้จ่าย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,177 ดังนี้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซึ่งแพ้คดีแพ่งได้ยื่นคำร้องและเบิกความในการขออุทธรณ์และฎีกาอย่างคนอนาถาอันเป็นเท็จว่า จำเลยยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะจำหน่ายจ่ายโอนเพื่อหาเงินมาเสียค่าธรรมเนียมได้ ทำให้โจทก์เสียหายโดยต้องอ้างพยานมาสืบต่อสู้ ต้องเสียค่าธรรมเนียมค่าทนายและค่าใช้จ่าย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,177 ดังนี้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมศาลไม่ทำให้บุคคลอื่นเสียหายโดยตรง ศาลเป็นผู้เสียหาย
การที่กฎหมายบัญญัติให้ชำระค่าธรรมเนียมศาลนั้น เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการเก็บเป็นรายได้ของรัฐบาลเมื่อมีการหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาลศาลย่อมเป็นผู้เสียหายบุคคลอื่นหาใช่ผู้เสียหายโดยตรงไม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซึ่งแพ้คดีแพ่งได้ยื่นคำร้องและเบิกความในการขออุทธรณ์และฎีกาอย่างคนอนาถาอันเป็นเท็จว่า จำเลยยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะจำหน่ายจ่ายโอนเพื่อหาเงินมาเสียค่าธรรมเนียมได้ทำให้โจทก์เสียหายโดยต้องอ้างพยานมาสืบต่อสู้ต้องเสียค่าธรรมเนียมค่าทนายและค่าใช้จ่ายขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,177 ดังนี้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซึ่งแพ้คดีแพ่งได้ยื่นคำร้องและเบิกความในการขออุทธรณ์และฎีกาอย่างคนอนาถาอันเป็นเท็จว่า จำเลยยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะจำหน่ายจ่ายโอนเพื่อหาเงินมาเสียค่าธรรมเนียมได้ทำให้โจทก์เสียหายโดยต้องอ้างพยานมาสืบต่อสู้ต้องเสียค่าธรรมเนียมค่าทนายและค่าใช้จ่ายขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,177 ดังนี้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอนาถาและการสั่งรับฟ้อง การไม่มาศาลไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้อง แต่ให้ยกคำร้องอนาถา
โจทก์ยื่นฟ้องและยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลสั่งรับคำร้องนั้นและนัดไต่สวนคำร้อง ครั้นถึงวันนัดโจทก์ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ดังนี้ ศาลจะถือว่าเป็นการทิ้งฟ้องและสั่งให้จำหน่ายคดีเสียย่อมไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา เพราะในชั้นนี้ศาลเพียงแต่สั่งรับคำร้องขอดำเนินคดีอนาถา และสั่งให้ไต่สวนคำร้องเท่านั้น ยังมิได้สั่งรับคำฟ้องไว้เพียงแต่ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีพยานมาให้ไต่สวนให้ได้ความว่าโจทก์เป็นคนอนาถาจริง จึงต้องยกคำร้องเสีย หากโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปก็กำหนดให้โจทก์นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลภายในเวลาที่ศาลจะกำหนดเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตอุทธรณ์แบบอนาถาต้องยื่นภายใน 7 วัน มิฉะนั้นสิทธิระงับ
การที่ศาลจะอนุญาตให้คู่ความคนใดอุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้นั้นต้องประกอบด้วยเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมและผู้ขอต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาลด้วยว่าคดีมีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์ หากศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์ ก็ย่อมมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาเสียได้ โดยไม่จำต้องไต่สวนเรื่องอนาถาต่อไป
กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว ผู้ขอต้องอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคห้าจะอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 หาได้ไม่
กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว ผู้ขอต้องอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคห้าจะอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์อย่างคนอนาถาต้องทำภายใน 7 วัน หากศาลชั้นต้นไม่เห็นด้วยกับเหตุผลในการอุทธรณ์ ไม่ต้องไต่สวน
การที่ศาลจะอนุญาตให้คู่ความคนใดอุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้นั้นต้องประกอบด้วยเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมและผู้ขอต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาลด้วยว่า คดีมีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์ หากศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์ ก็ย่อมมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาเสียได้ โดยไม่จำต้องไต่สวนเรื่องอนาถาต่อไป
กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว ผู้ขอต้องอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคห้าจะอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 หาได้ไม่
กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว ผู้ขอต้องอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคห้าจะอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอนาถาและการจำหน่ายคดีเฉพาะส่วน หากไม่ชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ศาลต้องประทับฟ้องเฉพาะส่วนที่อนุญาต
โจทก์ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนและสั่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีอย่างคนอนาถาได้ในทุนทรัพย์ซึ่งน้อยกว่าที่โจทก์ขอมาในท้ายฟ้อง ก็เท่ากับศาลรับฟ้องของโจทก์ในจำนวนทุนทรัพย์ที่อนุญาต ส่วนทุนทรัพย์ที่เกินกว่านั้น เมื่อศาลกำหนดให้นำค่าธรรมเนียมมาชำระใน 15 วัน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ก็น่าที่ศาลจะไม่รับฟ้องของโจทก์เฉพาะในทุนทรัพย์ที่เกินนั้นไว้พิจารณา หาใช่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เสียทั้งหมดไม่ ต่อมาเมื่อปรากฏว่า โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลขอลดทุนทรัพย์ลงเท่ากับจำนวนที่ศาลอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา จึงไม่ใช่เรื่องโจทก์ทิ้งฟ้อง ศาลจึงต้องประทับฟ้องของโจทก์ไว้ดำเนินการพิจารณาเพียงเท่าทุนทรัพย์ที่ศาลอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟ้องคดีอนาถาและการลดทุนทรัพย์ - ศาลรับเฉพาะส่วนที่อนุญาต ไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนและสั่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีอย่างคนอนาถาได้ในทุนทรัพย์ซึ่งน้อยกว่าที่โจทก์ขอมาในท้ายฟ้อง ก็เท่ากับศาลรับฟ้องของโจทก์ในจำนวนทุนทรัพย์ที่อนุญาต ส่วนทุนทรัพย์ที่เกินกว่านั้น. เมื่อศาลกำหนดให้นำค่าธรรมเนียมมาชำระใน 15 วัน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ก็น่าที่ศาลจะไม่รับฟ้องของโจทก์เฉพาะในทุนทรัพย์ที่เกินนั้นไว้พิจารณา หาใช่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เสียทั้งหมดไม่ ต่อมาเมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลขอลดทุนทรัพย์ลงเท่ากับจำนวนที่ศาลอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา จึงไม่ใช่เรื่องโจทก์ทิ้งฟ้อง ศาลจึงต้องประทับฟ้องของโจทก์ไว้ดำเนินการพิจารณาเพียงเท่าทุนทรัพย์ที่ศาลอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาทำเหมืองแร่, การผิดสัญญา, ความรับผิดร่วมกัน, ตัวแทน, ละเมิด
เมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์ฟ้องอย่างคนอนาถาได้ การที่โจทก์จะขอแก้ฟ้องในภายหลังได้หรือไม่นั้น ต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 คือคำฟ้องเดิมและคำฟ้องหลังจะต้องเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ เมื่อศาลเห็นว่าเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งอนุญาตให้แก้ฟ้องได้แล้ว ก็หาจำเป็นที่ศาลจะต้องไต่สวนเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้ฟ้องอย่างคนอนาถาสำหรับคำฟ้องภายหลังอีกไม่ เพราะถือได้ว่า ยังคงเป็นคำฟ้องในคดีเดียวกัน ซึ่งศาลได้ไต่สวนและมีคำสั่งอนุญาตไว้แล้ว
ตามคำฟ้องเดิม โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กังจำเลยทำสัญญากันให้จำเลยชำระหนี้แทนโจทก์ และรับโอนที่ดินประทานบัตรของโจทก์ไว้เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยประกอบกิจการทำเหมืองแร่ จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา ไม่จัดตั้งบริษัทขึ้น แต่กลับขุดเอาแร่ของโจทก์ไปขายเป็นประโยชน์ส่วนตัว เป็นทั้งผิดสัญญาและละเมิด คำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์กล่าวความเดิมที่จำเลยผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วขอให้ศาลพิพากษาให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยให้จำเลยชำระหนี้ที่ออกให้แทนโจทก์ไป และโอนประทานบัตรพิพาทคืนให้โจทก์ ดังนี้ ย่อมเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันลบล้างสัญญาฉบับแรก เพื่อใช้ขู่เจ้าหนี้ของโจทก์ให้ยอมรับชำระหนี้และโอนที่ดินประทานบัตรซึ่งเป็นประกันคืนโดยโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาผูกพันกันจริงจัง ดังนี้ สัญญาฉบับหลังหามีผลเป็นการยกเลิกสัญญาฉบับแรกไม่
ตามสัญญาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อกัน จำเลยจะต้องชำระหนี้แทนโจทก์และรับโอนที่ดินประทานบัตรของโจทก์เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการทำเหมืองแร่แต่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการ ได้เข้าปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้และรับโอนประทานบัตรของโจทก์มาในนามจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าการชำระหนี้และรับโอนประทานบัตรดังกล่าวจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1
ตามสัญญาที่ทำไว้ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะต้องตั้งบริษัทขึ้น เพื่อประกอบกิจการทำเหมืองแร่ในที่ดินประทานบัตรของโจทก์ที่โอนให้จำเลย โดยโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ถือหุ้นตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ แต่เมื่อบริษัทยังมิได้จัดตั้งขึ้นตามสัญญา จำเลยจะถือสิทธิเข้าไปทำเหมืองแร่ในที่ดินประทานบัตรนั้นโดยลำพังหาได้ไม่ เพราะผิดข้อตกลงที่ทำไว้ การที่จำเลยที่ 1 เข้าดำเนินการและในฐานะที่จำเลยที่1 เป็นกรรมการผู้จัดการและผู้แทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลยินยอมให้จำเลยที่ 2 เข้าร่วมดำเนินการขุดหาแร่ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมหรือเกี่ยวข้องด้วยย่อมเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต และเป็นการผิดสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้
การที่จำเลยทั้งสองเข้าดำเนินการขุดเอาแร่ในที่ดินประทานบัตรของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว จำเลยต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในฐานผิดสัญญาของข้อตกลง ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีสิทธิอย่างใดในการขุดเอาแร่ในที่ดินประทานบัตรของโจทก์ ต้องรับผิดฐานละเมิด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจ พิพากษาให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือจะให้เป็นพับกันไปก็ได้
ตามคำฟ้องเดิม โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กังจำเลยทำสัญญากันให้จำเลยชำระหนี้แทนโจทก์ และรับโอนที่ดินประทานบัตรของโจทก์ไว้เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยประกอบกิจการทำเหมืองแร่ จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา ไม่จัดตั้งบริษัทขึ้น แต่กลับขุดเอาแร่ของโจทก์ไปขายเป็นประโยชน์ส่วนตัว เป็นทั้งผิดสัญญาและละเมิด คำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์กล่าวความเดิมที่จำเลยผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วขอให้ศาลพิพากษาให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยให้จำเลยชำระหนี้ที่ออกให้แทนโจทก์ไป และโอนประทานบัตรพิพาทคืนให้โจทก์ ดังนี้ ย่อมเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันลบล้างสัญญาฉบับแรก เพื่อใช้ขู่เจ้าหนี้ของโจทก์ให้ยอมรับชำระหนี้และโอนที่ดินประทานบัตรซึ่งเป็นประกันคืนโดยโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาผูกพันกันจริงจัง ดังนี้ สัญญาฉบับหลังหามีผลเป็นการยกเลิกสัญญาฉบับแรกไม่
ตามสัญญาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อกัน จำเลยจะต้องชำระหนี้แทนโจทก์และรับโอนที่ดินประทานบัตรของโจทก์เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการทำเหมืองแร่แต่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการ ได้เข้าปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้และรับโอนประทานบัตรของโจทก์มาในนามจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าการชำระหนี้และรับโอนประทานบัตรดังกล่าวจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1
ตามสัญญาที่ทำไว้ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะต้องตั้งบริษัทขึ้น เพื่อประกอบกิจการทำเหมืองแร่ในที่ดินประทานบัตรของโจทก์ที่โอนให้จำเลย โดยโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ถือหุ้นตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ แต่เมื่อบริษัทยังมิได้จัดตั้งขึ้นตามสัญญา จำเลยจะถือสิทธิเข้าไปทำเหมืองแร่ในที่ดินประทานบัตรนั้นโดยลำพังหาได้ไม่ เพราะผิดข้อตกลงที่ทำไว้ การที่จำเลยที่ 1 เข้าดำเนินการและในฐานะที่จำเลยที่1 เป็นกรรมการผู้จัดการและผู้แทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลยินยอมให้จำเลยที่ 2 เข้าร่วมดำเนินการขุดหาแร่ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมหรือเกี่ยวข้องด้วยย่อมเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต และเป็นการผิดสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้
การที่จำเลยทั้งสองเข้าดำเนินการขุดเอาแร่ในที่ดินประทานบัตรของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว จำเลยต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในฐานผิดสัญญาของข้อตกลง ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีสิทธิอย่างใดในการขุดเอาแร่ในที่ดินประทานบัตรของโจทก์ ต้องรับผิดฐานละเมิด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจ พิพากษาให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือจะให้เป็นพับกันไปก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาทำเหมืองแร่, การผิดสัญญา, ละเมิด, ตัวแทน, ความรับผิดร่วม
เมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์ฟ้องอย่างคนอนาถาได้ การที่โจทก์จะขอแก้ฟ้องในภายหลังได้หรือไม่นั้น ต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 คือคำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังจะต้องเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ เมื่อศาลเห็นว่าเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งอนุญาตให้แก้ฟ้องได้แล้ว ก็หาจำเป็นที่ศาลจะต้องไต่สวนเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้ฟ้องอย่างคนอนาถาสำหรับคำฟ้องภายหลังอีกไม่เพราะถือได้ว่า ยังคงเป็นคำฟ้องในคดีเดียวกันซึ่งศาลได้ไต่สวนและมีคำสั่งอนุญาตไว้แล้ว
ตามคำฟ้องเดิม โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยทำสัญญากันให้จำเลยชำระหนี้แทนโจทก์และรับโอนที่ดินประทานบัตรของโจทก์ไว้เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยประกอบกิจการทำเหมืองแร่ จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา ไม่จัดตั้งบริษัทขึ้น แต่กลับขุดเอาแร่ของโจทก์ไปขายเป็นประโยชน์ส่วนตัว เป็นทั้งผิดสัญญาและละเมิดคำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์กล่าวความเดิมที่จำเลยทำผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้ศาลพิพากษาให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยให้จำเลยรับชำระหนี้ที่ออกใช้แทนโจทก์ไป และโอนประทานบัตรพิพาทคืนให้โจทก์ ดังนี้ย่อมเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาฉบับแรก แล้วต่อมาทำสัญญาอีกฉบับหนึ่งซึ่งมีข้อความลบล้างสัญญาฉบับแรก เพื่อใช้ขู่เจ้าหนี้ของโจทก์ให้ยอมรับชำระหนี้และโอนที่ดินประทานบัตรซึ่งเป็นประกันคืนโดยโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาผูกพันกันจริงจัง ดังนี้ สัญญาฉบับหลังหามีผลเป็นการยกเลิกสัญญาฉบับแรกไม่
ตามสัญญาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อกัน จำเลยจะต้องชำระหนี้แทนโจทก์และรับโอนที่ดินประทานบัตรของโจทก์เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการทำเหมืองแร่ แต่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการ ได้เข้าปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้และรับโอนประทานบัตรของโจทก์มาในนามจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าการชำระหนี้และรับโอนประทานบัตรดังกล่าวจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1
ตามสัญญาที่ทำไว้ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะต้องจัดตั้งบริษัทขึ้น เพื่อประกอบกิจการทำเหมืองแร่ในที่ดินประทานบัตรของโจทก์ที่โอนให้จำเลย โดยโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ถือหุ้นตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ แต่เมื่อบริษัทยังมิได้จัดตั้งขึ้นตามสัญญา จำเลยจะถือสิทธิเข้าไปทำเหมืองแร่ในที่ดินประทานบัตรนั้นโดยลำพังหาได้ไม่เพราะผิดข้อตกลงที่ทำไว้ การที่จำเลยที่ 1 เข้าดำเนินการและในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการและผู้แทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลยินยอมให้จำเลยที่ 2 เข้าร่วมดำเนินการขุดหาแร่ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมหรือเกี่ยวข้องด้วย ย่อมเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต และเป็นการผิดสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้
การที่จำเลยทั้งสองเข้าดำเนินการขุดเอาแร่ในที่ดินประทานบัตรของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว จำเลยต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในฐานผิดสัญญาและข้อตกลง ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีสิทธิอย่างใด ในการขุดเอาแร่ในที่ดินประทานบัตรของโจทก์ ต้องรับผิดฐานละเมิด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจพิพากษาให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือจะให้เป็นพับกันไปก็ได้
ตามคำฟ้องเดิม โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยทำสัญญากันให้จำเลยชำระหนี้แทนโจทก์และรับโอนที่ดินประทานบัตรของโจทก์ไว้เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยประกอบกิจการทำเหมืองแร่ จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา ไม่จัดตั้งบริษัทขึ้น แต่กลับขุดเอาแร่ของโจทก์ไปขายเป็นประโยชน์ส่วนตัว เป็นทั้งผิดสัญญาและละเมิดคำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์กล่าวความเดิมที่จำเลยทำผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้ศาลพิพากษาให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยให้จำเลยรับชำระหนี้ที่ออกใช้แทนโจทก์ไป และโอนประทานบัตรพิพาทคืนให้โจทก์ ดังนี้ย่อมเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาฉบับแรก แล้วต่อมาทำสัญญาอีกฉบับหนึ่งซึ่งมีข้อความลบล้างสัญญาฉบับแรก เพื่อใช้ขู่เจ้าหนี้ของโจทก์ให้ยอมรับชำระหนี้และโอนที่ดินประทานบัตรซึ่งเป็นประกันคืนโดยโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาผูกพันกันจริงจัง ดังนี้ สัญญาฉบับหลังหามีผลเป็นการยกเลิกสัญญาฉบับแรกไม่
ตามสัญญาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อกัน จำเลยจะต้องชำระหนี้แทนโจทก์และรับโอนที่ดินประทานบัตรของโจทก์เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการทำเหมืองแร่ แต่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการ ได้เข้าปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้และรับโอนประทานบัตรของโจทก์มาในนามจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าการชำระหนี้และรับโอนประทานบัตรดังกล่าวจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1
ตามสัญญาที่ทำไว้ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะต้องจัดตั้งบริษัทขึ้น เพื่อประกอบกิจการทำเหมืองแร่ในที่ดินประทานบัตรของโจทก์ที่โอนให้จำเลย โดยโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ถือหุ้นตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ แต่เมื่อบริษัทยังมิได้จัดตั้งขึ้นตามสัญญา จำเลยจะถือสิทธิเข้าไปทำเหมืองแร่ในที่ดินประทานบัตรนั้นโดยลำพังหาได้ไม่เพราะผิดข้อตกลงที่ทำไว้ การที่จำเลยที่ 1 เข้าดำเนินการและในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการและผู้แทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลยินยอมให้จำเลยที่ 2 เข้าร่วมดำเนินการขุดหาแร่ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมหรือเกี่ยวข้องด้วย ย่อมเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต และเป็นการผิดสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้
การที่จำเลยทั้งสองเข้าดำเนินการขุดเอาแร่ในที่ดินประทานบัตรของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว จำเลยต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในฐานผิดสัญญาและข้อตกลง ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีสิทธิอย่างใด ในการขุดเอาแร่ในที่ดินประทานบัตรของโจทก์ ต้องรับผิดฐานละเมิด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจพิพากษาให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือจะให้เป็นพับกันไปก็ได้